ซ.ซวง
นาย นพรัตน์ รัตนพงศ์ผาสุข

"สุนทรียสนทนา" รากฐานแห่งประชาธิปไตยและการเมืองใหม่ที่ใครๆ ถวิลหา


สุนทรียสนทนาคือ กระบวนการที่จะนำไปสู่การยึดอำนาจ "อธิปไตย" คืนจากชนชั้นปกครอง จะนำไปสู่การเมืองใหม่ และประชาธิปไตยที่แท้จริง

ผมขออนุญาตนำบันทึกที่เขียนไว้นานแล้ว (ตั้งแต่ ก.ย. 51) มาปัดฝุ่นให้อ่านกันนะครับ  เห็นว่าสถานการณ์การเมืองเรามันกำลัง replay ภาพเดิมๆ กลับมา แต่เปลี่ยนสี เปลี่ยนขั้ว เปลี่ยนตัวผู้เล่น ขออนุญาติเอามาให้อ่านกันแบบเดิมๆ เลยนะครับ (ขี้เกียจแก้ไขแล้ว)  

ทนอ่านหน่อยนะครับ ยาวนิดนึง

แต่กล้ารับประกันว่า ยังไงเวลาที่ท่านอ่าน น้อยกว่าเวลาที่ผมใช้ไปในการเขียนบันทึกนี้อย่างแน่นอน

-------------------------------------

 

สถานการณ์บ้านเมืองในยามนี้

ตามความรู้สึกของผมถือว่า วิกฤติสุดๆ

 

ช่วงที่ผ่านมายอมรับว่ากระแสการตื่นตัวเรื่องการเมืองของคนไทย (รวมทั้งผมด้วย)

มีเพิ่มขึ้นมาก หลังจากเหตุการณ์พันธมิตรยึดทำเนียบฯ

แต่สิ่งที่ทำให้ผมตั้งข้อสงสัยหนักขึ้นทุกวันก็คือ

วิกฤติครั้งนี้มันจะจบลงอย่างไร???

 

ตอนนี้ผมรู้สึกว่า เรากำลังมาถึง "ทางแยก" แล้วครับ ไม่ใช่ "ทางตัน" อย่างที่หลายๆฝ่ายพูด

 

ทางที่หนึ่ง   -  ผมขอเรียกว่า "ทางแห่งความแตกแยก"

บนเส้นทางสายนี้   ผู้คนเดินทางกันอย่างหวาดระแวง

ด้วยความเคียดแค้นชิงชังที่มีต่อคนที่คิดไม่เหมือนตัว หรือพวกตัว

บนทางสายนี้ จุดหมายคงอยู่ไม่ไกลนักหรอกครับ

ไม่นานคงได้เห็น ประเทศไทยเหนือ กับ ประเทศไทยใต้ เหมือนเกาหลีไง

ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้กระแสเกาหลีจะลุกลามจากวงการบันเทิง เข้ามาถึงการเมืองโดยไม่รู้ตัว

 

ทางที่สอง - ผมขอเรียกว่า  "ทางแห่งความสมานฉันท์"

สำหรับทางสายนี้  ผู้คนต่างเดินทางกันอย่างมีความสุข

อบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่ง "กัลยาณมิตร"

เราต่างยอมรับในความแตกต่าง  

เคารพในคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของกันและกัน

ผู้คนมีอิสระ มีเสรีภาพทางความคิดโดยสมบูรณ์  

แต่ก็ไม่มีใครแหกคอกนอกกฏ

ทุกคนเสมือนหนึ่งครอบครัวเดียวกัน 

 

ถึงตรงนี้ อยากให้ทุกท่านเตรียม "เลือก" ว่าอยากไปเส้นทางไหนดี

แต่ก่อนที่จะเลือก ผมมีความเห็นบางอย่างที่จะขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ...

 

เกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา  นับจากผมได้รู้จัก เรียนรู้

และพยายามฝึกฝนกระบวนการ "สุนทรียสนทนา"  หรือ "Dialogue" มาอย่างต่อเนื่อง

มันคือกระบวนการในการสนทนาที่เน้นการฟังเป็นหลัก

ผนวกกับการคิดไตร่ตรองอย่างปราศจากอคติ ฐานความคิด หรือสมมติฐานใดๆ

สุดท้ายก็มีการนำเสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์ ไม่เน้นการเอาชนะคะคานกันด้วยเหตุผล

(หากท่านใดยังไม่คุ้นกับเรื่องดังกล่าวลองถามสาวยาคูลท์  เอ้ย!...ถามกูเกิ้ลดูนะครับ)

 

กระบวนการนี้มันทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนแปลงไปมาก  ทั้งวิธีคิด ทัศนคติการมองคน มองโลก

ผมคงไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เพราะมันค่อนข้างเป็นเรื่องเฉพาะตน

คงต้องให้แต่ละท่านได้พยายามหาโอกาสพิสูจน์กันเอง

 

แต่ผมเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า  กระบวนการสุนทรียสนทนา นี่แหละ 

ที่จะนำพาชาติให้รอดได้ในอนาคต

และนำพาองค์กรให้เข้มแข็ง

และทำให้เรามีความสุขกับชีวิตมากขึ้น

 

เท่าที่ผมพอจะบอกได้คร่าวๆ ในตอนนี้ คือ

กระบวนการสุนทรียสนทนา  มันมีความเชื่อมโยงบางอย่างกับ "ประชาธิปไตย"

เดี๋ยวผมจะขอขยายความนะครับ 

แต่ขออนุญาตพูดถึงความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับ "ประชาธิปไตย" กันก่อน

 

ก่อนหน้านี้.... (ที่ผมจะรู้จักสุนทรียสนทนา)

 

เมื่อมีคำถามว่า   เมื่อคุณนึกถึง "ประชาธิปไตย" คุณจะนึกถึงอะไร?

ผมคงตอบไปว่า...

"เสียงส่วนใหญ่"  "การเลือกตั้ง"  "รัฐสภา"  "ผู้แทนฯ"  "รัฐธรรมนูญ"  หรือ "ประชามติ" เป็นต้น

 

ผมขอเรียนด้วยความเคารพว่า

หากท่านได้เคยมีโอกาสเข้าร่วมวง "สุนทรียสนทนา" ดีๆ สักครั้ง

ท่านคงต้องกล่าวเหมือนผมว่า 

นิยามของประชาธิปไตยข้างต้นนั้นมัน "ชิวๆ"  "ผิวๆ"  "เดะๆ"

 

แต่ตอนนี้ หากมีใครมาถามผม (ด้วยความหมั่นไส้เล็กๆ) ว่า

 "แล้วไอ้ประชาธิปตง ธิปไตยในแบบที่เอ็งว่ามันคืออะไรฟะ?"

ผมคงจะตอบไปด้วยคำประมาณนี้ครับ

มันคือ "การรับฟังอย่างไม่ตัดสิน (ผิด/ถูก/ดี/เลว)" 

"ทุกคนมีอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี"

"เคารพในความเท่าเทียม และคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของทุกคน"

 

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือนิยามของ ประชาธิปไตย ในแบบของผมครับ

และนิยามดังกล่าว  ก็เป็นสิ่งที่จับต้องได้  รู้สึกได้ สัมผัสได้  ในวงสุนทรียสนทนา

ผมคงไม่ขยายความอะไรมากกว่านี้เพราะป่วยการที่จะพูดให้มากความ

ประสบการณ์เท่านั้นคือเครื่องยืนยัน

 

ในวงสุนทรียสนทนา 

ผมพบว่า  ผู้คนในวงล้วนมีความคิดดีๆ ที่ไหลรินออกมาอย่างต่อเนื่อง

กระแสความคิดแห่งการสร้างสรรค์ได้เผยตัวออกมา

พลังแห่งความไว้เนื้อเชิ่อใจได้ร้อยเรียงคนในกลุ่มให้มีพลัง

เจาะทะลุเกราะกำแพงแห่งตัวตนให้มลายไป

ณ ที่นั่น เราจะรู้สึกได้ถึงคำว่า "ชุมชน"

 

ผมเริ่มปิ๊งว่า

ด้วยกระบวนการคุยกันแบบง่ายๆ นี่เอง

ที่จะทำให้ "รากหญ้า" อย่างเราๆ ท่านๆ นี่แหละ ที่จะพัฒนาเติบใหญ่กลายเป็น "รากหญ้าแฝก"

อันมีรากที่ยาว และแตกแขนงร้อยรัดกวัดเกี่ยวกันอย่างแน่นหนา 

และอาจพัฒนาเติบใหญ่กลายเป็น "รากแก้ว" แห่ง "ประชาธิปไตย" ในที่สุด

 

ขอวกกลับมาที่สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันหน่อยนะครับ

ใครที่ได้ดูการประชุมสองสภา เพื่อหาทางออกแก้วิกฤติชาติ คงต้องส่ายหน้าไปตามๆกัน

เพราะทำให้เห็นทางตันแทนที่จะช่วยกันหาทางออก

เราชอบบ่นกันไปเรื่อยเปื่อยว่า

นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคุณภาพ 

เพราะส่วนใหญ่มาจากระบบอุปถัมภ์  เส้นสาย  อิทธิพล

(หากใครไม่เป็นก็ไม่ต้องเดือนร้อนนะครับ)

 

แต่เราก็ลืมมองดูไปว่า  ผู้แทนก็สะท้อนภาพของสังคมไทย

มันคือกระจกเงาที่ดีที่สุดในการสะท้อนว่าสังคมไทยเป็นอย่างไร

ภาพการอภิปรายในแบบสาดโคลน ขุดคุ้ย ค่อนแคะ เหน็บแนม กันในสภาของทั้งสองฝ่าย

ก็ไม่ต่างอะไรกับสภาพที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบัน 

 

บางทีเราก็ไปหวังแบบลมๆ แล้งๆ ว่า

จะต้องมีการเมืองใหม่ การปฏิรูปการเมือง  รัฐธรรมนูญใหม่ หรือเครื่องมืออะไรใหม่ๆ

ที่จะทำให้เราได้ผู้แทนที่ดีขึ้นมาเป็นผู้นำพาประเทศนี้

 

แต่บางที  เราก็ลืมมองไปว่า 

หากปราศจาก "ราก" ที่แข็งแรง ไม้ใหญ่ย่อมไม่อาจยืนหยัดต้านแรงลม

หากปราศจาก "เสาเข็ม" ที่ดี แล้วไซร้  ตึกสูงใหญ่ย่อมโค่นล้ม

หากปราศจาก "เหตุ" ที่ดี แล้วจะไปคาดหวัง "ผล" ที่เป็นเลิศได้อย่างไร

 

แล้วอะไรล่ะ คือ "รากฐาน" ที่แท้จริงของ "ประชาธิปไตย"

อะไรล่ะ ที่จะนำเราไปสู่การเมืองใหม่

 

ผมว่าคำตอบอาจอยู่ในวง  "สุนทรียสนทนา" นั่นเองครับ

หากเราต้องการให้สังคมไทยเป็น "สังคมอุดมปัญญา" ได้จริงละก็

เราจะต้องเลิกหวังกับสิ่งไกลตัว

แต่เราจะต้องให้ความสนใจกับ ตัวเอง กับครอบครัว กับชุมชน กับหน่วยงานที่เราอยู่

เพราะสิ่งเหล่านี้คือ "รากฐาน" ของประเทศ

หากตราบใดที่ ยังมีความขัดแย้งในตัวเอง ในครอบครัว ในชุมชน ในหน่วยงาน

อย่าไปหวังเลยว่าประเทศนี้จะสงบสุข

 

แต่...สิ่งท้าทายประการเดียวคือ เราทั้งหลายพึงตระหนักร่วมกันว่า

กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด

"ประชาธิปไตย" และ "การเมืองใหม่" ก็ไม่อาจได้มาในเวลาอันสั้น

คงไม่ได้มาง่ายๆ เพียงแค่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือผู้แทนหน้าใหม่

แต่จะได้มาก็ต่อเมื่อ เราได้สร้าง "รากหญ้า" ให้แข็งแรง

 

ผมประเมินว่า หากอยากสร้างรากฐานกันอย่างจริงจัง

เราอาจเห็นผลได้ในระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป

ดังนั้นสิ่งเดียวที่ทำได้ในขณะนี้คือ

เชื่อมั่น และ รอคอยอย่างอดทนว่า

พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้

 

ก่อนจะเพ้อเจ้อไปมากกว่านี้

ผมจะขอเปิดเผยความลับประการหนึ่ง....ของสุนทรียสนทนาก็ว่าได้

ส่วนตัวผมไม่ค่อยอยากจะเปิดเผยนักหรอกเพราะมันสุ่มเสี่ยงมากๆ

ต่อการดำเนินกระบวนการนี้ในอนาคต

นี่หากไม่ปวารณาตัวกันเป็นกัลยาณมิตรผมก็คงไม่เปิดเผยหรอกนะครับว่า...

 

สุนทรียสนทนา  คือ เครื่องมือในการกระจาย "อำนาจ"

 

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า   ลำพังการตั้งวงพูดคุยสนทนา 

มันจะเป็นการกระจายอำนาจได้อย่างไร

ก็คงต้องกลับมาตั้งคำถามว่า  "อำนาจ"  คืออะไร 

 

หากเราเชื่อในสุภาษิตโบราณว่า "ความรู้คืออำนาจ"  

เราก็จะเชื่อมโยงได้ว่า คนที่มีความรู้มากก็ย่อมมีอำนาจมากตาม" 

 

ก็ต้องถามต่อว่า   แล้ว "ความรู้" คือ อะไร?

ผมว่า  ความรู้ไม่ได้อยู่ที่การเรียนจบด๊อกเตอร์

ไม่ได้อยู่ที่การจบเมืองนอก หรือสถาบันชั้นนำหรอกครับ

แต่ผมว่า  ความรู้  คือ  ผลผลิตที่ได้จาก "กระบวนการคิด"

 

ดังนั้นจึงอาจเชื่อมโยงได้ว่า 

หากเรามี "กระบวนการคิด" ที่ดี

เราก็ย่อมมี "ความรู้" ที่ดี

และจะทำให้เรามี "อำนาจ" ในที่สุด

 

ก็จะมีคำถามต่อเนื่องมาอีกว่า  อะไรทำให้คนมีกระบวนการคิดที่ดีได้ ?

จริงๆต้องขอออกตัวก่อนว่า  ผมก็ยังไม่ทราบเหมือนกัน  ตามทฤษฎีมันคงมีหลายปัจจัย

แต่จะขออ้างอิงจากประสบการณ์ที่ได้จากวงสุนทรียสนทนาว่า...

 

ภายใต้กฎกติกา และบรรยากาศของสุนทรียสนทนา

ในเบื้องต้น มันคล้ายๆกับจะทำให้เราเกิดการ "คิดแนวข้าง"  (Lateral Thinking)

ซึ่งเป็นแนวคิดที่ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน  เจ้าของทฤษฎีผู้โด่งดังระดับโลก

ได้เขียนไว้เป็นหนังสือ Best Seller

และขายเป็นหลักสูตรฝึกอบรมที่แพงหูฉี่ตาฉี่

ขอบอกว่า  ท่านไม่ต้องไปเสียเงินเข้าคอร์สแพงๆ ของเขาหรอกครับ

แค่ลองมานั่งในวงสุนทรียสนทนา  แล้วตั้งใจฟังสิ่งที่คนในวงได้พูดให้เราฟัง

เราก็จะได้รับรู้มุมมองอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของตัวเองได้อย่างง่ายๆ 

เพียงแค่ "ตั้งใจฟัง" จากคนข้างๆ  ให้ดี  แล้วเราจะ "คิดแนวข้าง" ได้เอง

 

ในลำดับต่อมา  หากเรามีการนำสิ่งที่คนอื่นพูด  มาคิดไตร่ตรองอย่างมีสติ

โดยไม่ยึดเอา ความคิด ความเชื่อของเราเป็นฐานคติ

เราก็จะสามารถคิดได้อย่างอิสระ  แจ่มชัด  คิดพิจารณาได้ตามความเป็นจริง

ผมว่านี่แหละ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ "ปัญญา"

 

เมื่อเห็นคำว่า ปัญญา  ก็หวลนึกถึงสุภาษิตอีกบทหนึ่งที่ความหมายคล้ายๆ กับบทแรก

"ปัญญาประดุจดัง อาวุธ"

 

 

ดังนั้นคงพอสรุปสั้นๆ จากการชักแม่น้ำที่ยืดยาวได้ว่า

 

กระบวนการสุนทรียสนทนา ทำให้เกิดกระบวนการคิดที่ดี

ช่วยให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริง 

ซึ่งทำให้เรามีองค์ความรู้ และนั่นทำให้เรามี "อำนาจ" และ "อาวุธ"  ในที่สุด

 

ต้องขอบอกว่า นี่คือความลับที่ผมอยากแบ่งปันให้เหล่ากัลยาณมิตรได้รับรู้โดยทั่วกัน

แต่ก็ไม่อยากให้ใครบางคนรู้!!!

 

ท่านอาจสงสัยว่าใครกันเหรอ???

 

ก็คนที่ชอบรวบอำนาจ

คนที่ชอบควบคุมทุกอย่างไว้ในมือ 

ชอบสั่งการทุกอย่างราวกับว่า คนอื่นๆ เปรียบเสมือนหุ่นยนต์ที่ไร้สมองคิด

คนที่คิดว่า ตัวเองฉลาดสุดๆ อยู่เพียงคนเดียว คนอื่นๆ ล้วนโง่ไปหมด

(หวังว่าคงไม่มีใครกินปูนร้อนท้องนะครับ)

 

ผมว่านี่คือ "อาวุธ" อันทรงอานุภาพ ที่จะทำให้เราสามารถต่อสู้กับความไม่ชอบธรรมต่างๆ ได้

และมันคือ "อำนาจ" ที่ทำให้เราสามารถร่วมกันกำหนดชะตากรรมของตัวเอง ของสังคม และของประเทศนี้ได้

 

ลองคิดดูเล่นๆ สิครับว่า หากคนในประเทศนี้มีปัญญากันหมด

แล้วจะเขาจะไปเลือกคนไม่มีปัญญามาเป็น ส.ส. ได้อย่างไรกัน

และถัดไป ส.ส.  ก็ต้องเลือกนายกที่เพียบพร้อมด้วยเช่นกัน

"การเมืองใหม่"  "การเมืองภาคประชาชน"   หรือ "ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" 

ต้องมีรากฐานจากตรงนี้ครับ

 

หรือกรณีคนในองค์กรล้วนมีปัญญากันหมด  ใครจะมาเป็นผู้นำก็ต้อง

เป็นผู้มีปัญญาเสมอกัน หรือสูงกว่าถึงจะมาปกครองได้ 

ไม่งั้นจะไปมีอำนาจบารมี ให้เป็นที่เคารพนับถือได้อย่างไร เสียศักดิ์ศรีผู้นำแย่เลย

(อาจใช้คำว่า "ขาดความชอบธรรม"  ที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้ได้)

และนี่ก็อาจตอบคำถามของการสรรหาผู้นำสูงสุดของรัฐวิสาหกิจต่างๆ ได้ว่า

หากต้องการจะได้ผู้นำที่เก่งและเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม

เราก็คงต้องมุ่งมั่น และเอาจริงเอาจังกับการทำให้คนในองค์กร

มี "อาวุธ (ทางปัญญา)" และ "อำนาจต่อรอง (ทางความคิด)"

 

แต่ก็ไม่ต้องไปเคืองแค้น น้อยใจ ในโชคชะตาปัจจุบันหรอกนะครับ

ที่เรายังมีผู้แทน หรือผู้นำที่ "ขาดความชอบธรรม" อยู่ไม่ใช่น้อย

ทั้งนี้ก็เพราะ ตัวเราก็ยังอ่อนแอ สับสน โง่เขลา และรุนแรง

ความสัมพันธ์ในครอบครัวบางครั้งก็ระส่ำระสาย

หน่วยงานก็ยังไม่เข้มแข็ง

องค์กรก็กำลังจะล่มจม

ประเทศชาติก็กำลังย่อยยับ

อย่างไปโทษใครคนใดคนหนึ่งเลยครับ

เราทุกคนล้วนต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

 

มาถึงตรงนี้ต้องขอบอกว่า ชักรู้สึกกังวลเหมือนกันที่ได้เปิดเผยความลับ

ที่อาจเรียกได้ว่า "ลับที่สุด" ของสุนทรียสนทนา

เหตุเพราะมันสุ่มเสี่ยงต่อการถูก "คนพวกนั้น"  ต่อต้าน และขัดขวาง

ด้วยเหตุว่า เมื่อคนคิดได้ คิดเป็น และรวมพลังกันได้ 

พวกเขาจะสามารถสร้าง "อำนาจต่อรอง" ได้

และบรรดาชนชั้นปกครองที่มีนิยมลัทธิเผด็จการ ซึ่งมีจิตใจคับแคบ

คงจะรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง

พวกเขาไม่ปรารถนาจะเห็นคนโน้นคนนี้ ลุกขึ้นมาแสดงความคิดความเห็นอย่างอิสระ

ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการทำให้เขาเสีย "อำนาจ" ไปในที่สุด

 

แต่ในฐานะคนรากหญ้า อย่างเราๆ ท่านๆ  

ผมว่านี่คือแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อย่างแท้จริง

นี่คือ "อาวุธ" และ "อำนาจ" ที่จะทำให้เรายืนหยัดอย่างสมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ได้อีกครั้ง

และมันจะช่วยทำให้พวกเราสามารถควบคุมชะตากรรม ความเป็นไปต่างๆได้

และผมขอยืนยันว่า

สุนทรียสนทนาคือ กระบวนการที่จะนำไปสู่การยึดอำนาจ "อธิปไตย" คืนจากชนชั้นปกครอง

มาสู่เหล่า "ประชาชน" คนรากหญ้าอย่างพวกเราโดยแท้

และนี่คือกระบวนการเพื่อการ "ปฏิวัติ"  ไปสู่ "ประชาธิปไตย" ที่แท้จริง

 

สุดท้ายนี้ก็มาถึงเวลาของท่านแล้วที่จะต้อง "เลือก"  แล้วล่ะ

แต่ก่อนจะเลือก อยากให้ท่านลองถามตัวเองหน่อยเถอะว่า

 

ท่านจะยังคงพฤติกรรมที่สื่อสารกับคนรอบข้าง ในครอบครัว  ที่ทำงาน  หรือกับคนในสังคม

ด้วยคำพูดที่เต็มไปด้วยคำเสียดสี ทิ่มแทง หยาบคาย ให้ร้ายป้ายสี ต่อไปหรือไม่

และท่านจะยังคงยึดติด กับความคิด ความเชื่อ หรือมุมมองอันคับแคบของตน

จนไม่อาจฟังเสียงแห่งความแตกต่างจากผู้อื่นได้หรือไม่

 

หากท่านยังคงหวงแหนพฤติกรรมเหล่านี้

ท่านคงต้องเลือกต่อแล้วล่ะ  ว่าท่านอยากอยู่ในประเทศไทยเหนือ  หรือไทยใต้

 

แต่หากท่านยังอยากอยู่ในประเทศไทย (อันแบ่งแยกมิได้)

ท่านคงพอจะทราบนะครับว่าต้องทำยังไง

 

ถึงเวลาแล้วที่ "คนไทย" ทุกคนต้อง "เลือก"

หวังว่าเราคงไม่ต้องแต่งเพลงชาติกันใหม่

และออกแบบธงชาติกันใหม่นะ

 

ด้วยความปรารถนาดีแด่กัลยาณมิตรทุกท่าน

นพรัตน์

14 ก.ย. 51

 

หมายเลขบันทึก: 251407เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

สวัสดีค่ะ

  • แม้จะยาว..แต่อ่านง่าย
  • มีข้อสรุปเป็นตอน ๆ
  • วงสนทนา..อาจจะฝึกอีกยาวนานเพราะ..มีโรงเรียนฝึกพูดแต่ไม่มีโรงเรียนฝึกฟัง
  • ...เมื่อวานเข้าไปในหมู่บ้านนอกจากเขาจะมีความสุขเรื่องฝนตกทำให้เขามีอาหารตามธรรมชาติและฤดูกาลแล้ว...
  • เขามีความสุขเรื่อง..เงิน ๒๐๐๐  มากที่สุด นั่งล้อมวงฉลองเฮฮา..ไม่อาจบอกได้ว่าในวงล้อมมีอะไรบ้าง
  • ก็ดีนะคะ..ทำให้เขาคลายเครียดและมีความสุขได้ไม่ต้องเสียเหงื่อ..
  • ฮ่า..แต่พี่คิมรู้สึกเจ็บลึก ๆ  จากที่ได้เห็น
  • สวัสดีค่ะ
  • ยาวจังจ๊ะ
  • แต่ก็อ่านจจนจบ
  • มีความสุขนะคะ

สวัสดีค่ะ

ยาวจริงด้วยค่ะ  อ่านเพลินจนจบ.....

ว่าจะเม้นท์สักหน่อย....ลืม....ล้อเล่นค่ะ แก้เครียด!!!!!

เคยมีคนบอกว่า...กระบวนการปลูกฝังประชาธิปไตยของคนไทย คล้ายกับการ ตอนต้นไม้ ซึ่งอย่าสงสัยเลย เพราะอะไรประชาธิปไตยของเมืองไทย จึงไม่ตาย ไม่โต ไม่งดงาม ออกดอกออกผล เสียที...

ก็เพราะ...ไม่มี รากแก้ว ... จริงไหมคะ

ขอบคุณความคิดที่ทำให้ต้องไปคิดต่อค่ะ

(^___^)

  สวัสดีค่ะ...

    * แวะมาอ่านด้วยคนจ้ะ...

    * แต่ขอสาธุ... ขอเป็นคนไทยของ "พ่อหลวง"  ตลอดไปค่ะ              น้องหมาคำนับ         น้องหมาคำนับ         น้องหมาคำนับ       น้องหมาคำนับ      น้องหมาคำนับ

อ่านแล้ว สบายใจ ดีใจที่มีคนคิดดีดี ขอบคุณนะคะ สุนทรียสนทนายังช่วยให้คนเล่า

(ที่ไม่มีคนคัดค้าน) เกิดความภาคภูมิใจด้วยนะคะ ไม่จำเป็นว่าจบอะไรมา ประถม มัธยม ปริญญา คนเราใช่ว่าจะเก่งไปซะทุกเรื่อง เรียนด้านไหนก็เก่งด้านนั้น แต่ประสบการณ์สามารถสอนให้คนมีความรู้ได้ การฟังผู้อื่นแบบสุนทรียสนทนายังช่วยให้คุณฝึกสมาธิไปในตัวด้วยคะ

เคยมีประสบการณ์ในการฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟังไปสบายใจ มีความสุขไป เพราะผู้เล่าเล่าอย่างมีความสุข ภาคภูมิใจ และดีใจที่มีคนมานั่งฟังเขาพูด ทั้งทั้งที่บางครั้งขณะทำงานอยากพูดแต่พูดไม่ได้ไม่มีใครฟัง(ไม่มีบทบาทนขณะนั้น)( คิดว่าคนพูดเขารู้สึกอย่างนั้นนะ)ท่านอื่นคิดว่าอย่างไรคะ

P

ขอบคุณครับ คุณพี่ครูคิม

หนทางถึงแม้จะอีกยาวไกล

แต่ถ้าใจยังมุ่งหวังให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้น

ก็ต้องพยายามเดินไปอย่างมีความสุขครับ

อย่างน้อยตัวเองก็ต้องทำตัวเองให้ได้ก่อน

....

ประเด็นที่คุณพี่พูดถึง "โรงเรียนฝึกฟัง" น่าสนใจมากนะครับ

หรือว่าคุณพี่จะลองเปิดวิชาฝึกฟัง ให้เด็กๆ น้องๆ ที่วิทยสัมพันธ์ลองเรียนดูก็น่าจะดีนะครับ  ถ้าทำได้จริงจะขออนุโมทนา และเป็นกำลังใจให้แรงๆ เลยครับ

P

ขอบคุณครับที่อ่านจนจบ

เห็นคุณครูมาเยี่ยมก็รู้สึก "สุขใจ" ขึ้นมาเลยล่ะครับ

P

ขอบคุณครับคุณพี่ไม่มีราก

อ่านเม้นท์แล้วทำให้คิดนึกต่อไปได้อีกว่า

กับบางเรื่อง ต้องอาศัย "ราก" ที่แข็งแรง

แต่กับบางเรื่อง การ "ไม่มีราก" กับอิสระ เสรี เบาสบายกว่า

จริงมั๊ยครับคุณพี่...

(แอบแซวเล็กๆ)

P

ขอบคุณครับ

ผมก็ขอเป็น "คนไทย" ที่ไม่แบ่งแยก เหมือนคุณครูนะครับ

(เป็นไงครับ ลีลาหมัด พอไปวัดไปวาได้ไหมครับ)

สวัสดีค่ะ พี่ซวง

มาอ่าน ต่ยังไม่จบค่ะพี่ ... ไม่ชอบการเมืองเลย แต่ชอบสุนทรียสนทนา แบบฉบับของพี่นี่แหละ ค่ะ

คิดถึงนะคะ ไปเยี่ยมบันทึกพอลล่าบ้างนะคะ

P

รู้สึกดีใจครับหลังจากอ่านที่คุณ Lekka เม้นท์กลับมาในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง  หวังว่าคงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอีกนะครับ

....

ผมคิดว่าสุนทรียสนทนา มันคือการเปิดพื้นที่ เพื่อยกระดับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เท่าเทียมกัน 

ผมว่าถ้าฝึกจนเป็นนิสัย เราจะมองคนอื่นด้วยสายตาที่ต่างไปจากเดิม

จิตใจเราเองก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกันครับ คุณ Lekka น่าจะทราบดีใช่ไหมครับ

P

มีความสุขมากๆ เช่นกันนะครับ ท่านผอ.ประจักษ์ (รวมไปถึงคุณหลานที่น่ารักด้วยนะครับ)

P

ขอบคุณครับ คุณน้องพอลล่า

พี่ก็ไม่ชอบหรอก "การเมือง"

มีแต่เรื่อง "ผลประโยชน์ (ส่วนตัว)"

แต่ก็ไม่อยากให้ "คนการเมือง"

ทั้งหลายมานำพาเราไปไหนก็ไม่รู้

โดยเฉพาะชอบนำพาประเทศไปสู่ความแตกแยก

เขียนบันทึกนี้ออกมา (ในขณะนั้น) ด้วยความอัดอั้น อยากระบาย

ฝากไว้ก่อนเถอะ พวกนักการเมืองตัวดีทั้งหลาย  เอาไว้ให้สุนทรียสนทนา หรือ สานเสวนา แพร่หลายไปทั่วประเทศเมื่อไหร่ รับรองได้ พวกท่านสูญพันธุ์หมดแน่...ขอบอก

  • ทักทายวันอาทิตย์จ๊ะ

หวัดดีตอนใกล้เที่ยง

สวัสดีครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา ผมก็หวังอย่างนั้นเหมือนกัน หวังให้เหมือนกับในห้องเรียนหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๑ ของพระปกเหล้า เสื้อเหลืองเสื้อแดงเรียนด้วยกัน เรียนกันไปแซวกันกันไป ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทย วันหนึ่งเราเห็นเขานั่งคุยกันสองคน หัวเราะกัน เราจับทางการเมืองว่าเอ๊ะ..สงสัยจะมีการเปลี่ยนแปลง และแล้วก็เป็นความจริง เพราะได้มีการฟังกัน

หากเราบอกให้ใช้สุนทรียสนทนา แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมฟังตั้งแง่รังเกียจรังงอน เหมือนกับที่บอกว่าจะให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพในการปฏิรูปการเมือง ยังไม่ทันรู้เลยว่าสถาบันจะวางแผนการปฏิรูปการเมืองอย่างไรก็ออกมาโจมตีแล้วว่าไม่เป็นกลาง แล้วเมื่อไหร่มันจะจบ สาระสำคัญคือการฟังอย่างปราศจากอคติ ต้องฟังเหตุผลว่าเพราะอะไรเขาถึงได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเรามาหาว่าจุดสนใจที่แท้จริงของเขาคืออะไร เราจะแก้ปัญหาที่จุดสนใจเขาอย่างไร นั่นแหละถึงจะคุยกันรู้เรื่องครับ

P

ขอบคุณครับคุณครูป้อม

แหม...วันหยุดยังอุตส่าห์สละเวลามาเยี่ยมลูกศิษย์ตัวน้อยอีกนะครับ

ครูมาเยี่ยมทีไร

ก็ดีใจทุกคราไป

P

ขอบคุณมากครับท่านอัยการ

สำหรับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากประสบการณ์ตรง

แต่ผมมองว่า "สุนทรียสนทนา" หรือ "สานเสวนา" ที่สถาบันพระปกเกล้ากำลังผลักดันอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ปัญหาบ้านเมืองนั้น คงไม่สามารถทำได้ในเร็ววัน เหตุเพราะ เรื่องนี้มันเป็น "ทักษะ" หรือ "นิสัย" ที่ต้องฝึกฝนจนกลายเป็น "สันดานดี" ติดตัวครับ

ผมจึงมองว่า ถ้าจะเห็นผลจริงต้องเล่นที่รากหญ้า  และหากทำจริงอีกอย่างน้อย 5 - 10 ปี  จึงจะเห็นผล

ส่วนที่จะใช้แก้ปัญหาการเมืองปัจจุบันละก็ ผมคิดว่าเหนื่อยมาก  คนเคยด่าว่ากันแรงๆ มา  คงไม่สามารถพูดจากันดีๆ ได้หรอกครับ  แค่เห็นหน้ากันมันก็จะพลอยนึกไปถึงเรื่องเก่าๆ ไอ้นี่มันเคยด่าเราไว้ ต้องเอาคืนๆๆๆ

เหนื่อยมากครับ

แต่ก็ขอชื่นชมในความพยายามของสถาบันพระปกเกล้า จากใจจริงครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาติดตามการบ้านค่ะ
  • ขอขอบคุณมากนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

P

ขอบคุณครับ คุณครูสาวสวยมวยไทย

ทุกวันนี้ก็พยายามให้ลูกสวดมนต์ก่อนนอนครับ

ส่วนตัวผมเองน่ะ...สารภาพตามตรงว่า

ไม่เค๊ย...ไม่เคยเลยจริงๆ

ตอนนี้ ก่อนนอน หากไม่ง่วงมาก ก็จะออกกำลังกายแบบ "แกว่งแขน" แล้วก็ฝึกดูจิตดูกายไปพร้อมๆ กันน่ะครับ

ไม่รู้ว่าจะพอทดแทนการสวดมนต์ได้บ้างหรือเปล่า

P

ขอบคุณมากครับ คุณพี่ครูคิม

เอ...งงๆ นิดหน่อยน่ะครับ

คุณพี่บอกว่ามา "ติดตามการบ้าน"

ขยายความอีกสักนิดนะครับ

<h4 style="text-align: left;"><span style="color: #ff0000;">ทนอ่านหน่อยนะครับ ยาวนิดนึง</span></h4>

<h4 style="text-align: left;"><span style="color: #ff0000;">แต่กล้ารับประกันว่า ยังไงเวลาที่ท่านอ่าน น้อยกว่าเวลาที่ผมใช้ไปในการเขียนบันทึกนี้อย่างแน่นอน</span></h4>

<h4 style="text-align: left;"><span style="color: #000000;">โอ้โห เจอประโยคนี้เข้าไป</span></h4>

<h4 style="text-align: left;"><span style="color: #000000;">อิอิ แล้วจะมาอ่านเป็นการเมืองอีกครั้งน่ะค่ะ</span></h4>

งง ทำไม เม้นของกอมีสูตรด้วย

ไม่เข้าใจเลย

ก็เมื่อกี้พิมพ์ปกตินี่นา

งง จริง ๆ

สวัสดี ครับ คุณ P

ผมไม่มี ดาวเด่นในดวงใน ให้คุณ (ตอนนี้) หรอกนะครับ
แต่ผมมีนี่
เอาไว้ให้...หล่อเล็ก...ไว้มอบให้คนที่เค้าอยากให้ นะครับ
ขอบคุณครับ

คำของพี่ซวงในบันทึกนี้

วิกฤติครั้งนี้มันจะจบลงอย่างไร???

กอว่าไม่มีใครรู้ เพราะไม่มีใครวางจุดจบไว้ให้

ตอนนี้ผมรู้สึกว่า เรากำลังมาถึง "ทางแยก" แล้วครับ ไม่ใช่ "ทางตัน" อย่างที่หลายๆฝ่ายพูด

ใช่แล้วค่ะ ทางแยก ไม่ใช่ทางตัน

ไม่นานคงได้เห็น ประเทศไทยเหนือ กับ ประเทศไทยใต้ เหมือนเกาหลีไง

ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้กระแสเกาหลีจะลุกลามจากวงการบันเทิง เข้ามาถึงการเมืองโดยไม่รู้ตัว

ไม่น่ะค่ะ ถ้าจะมีคงอีกเป็นร้อยปี พวกเราตายส่ะก่อนแล้ว

ทุกคนเสมือนหนึ่งครอบครัวเดียวกัน 

อันนี้เลยค่ะ ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก จากประเทศให้เป็นครอบครัว มันก็จะดี

(หากท่านใดยังไม่คุ้นกับเรื่องดังกล่าวลองถามสาวยาคูลท์  เอ้ย!...ถามกูเกิ้ลดูนะครับ)

นิยามของประชาธิปไตยข้างต้นนั้นมัน "ชิวๆ"  "ผิวๆ"  "เดะๆ"

อันนี้ความรู้ใหม่จริง ๆ เลย อ๋อ เป็นจังซี้

ภาพการอภิปรายในแบบสาดโคลน ขุดคุ้ย ค่อนแคะ เหน็บแนม กันในสภาของทั้งสองฝ่าย

ก็ไม่ต่างอะไรกับสภาพที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบัน 

เดี๋ยวนี้เทรนด์นี้มาแรงค่ะ เป็นการทั้งบ้านทั้งเมืองแล้ว

หากเราต้องการให้สังคมไทยเป็น "สังคมอุดมปัญญา" ได้จริงละก็

เราจะต้องเลิกหวังกับสิ่งไกลตัว

แต่เราจะต้องให้ความสนใจกับ ตัวเอง กับครอบครัว กับชุมชน กับหน่วยงานที่เราอยู่

เพราะสิ่งเหล่านี้คือ "รากฐาน" ของประเทศ

เราจะหวังไกล ๆ เพื่ออะไร เอ้ ยังไม่ทราบค่ะ ถ้าหวังใกล้ ๆ ก็เพื่อตัวเรา ถ้าหวังไกล ๆ ก็เพื่อนรุ่นหลังเรา เอาแล้ว ให้พี่ซวงคิดต่อดีกว่า

บันทึกยาวจริง ๆ น่ะค่ะพี่ซวง กออ่านถึงตรงนี้ก่อนค่ะยังไม่จบ แล้วจะกลับมาอ่านต่อค่ะ

ขอบคุณน่ะค่ะ

อ๋อ แสดงว่า สาวยาคูลท์ และสาวกูเกิ้ล นี่ดีจริง ๆ  อิอิ

  • สวัสดีค่ะ
  • มาทักทายตามความคิดถึง
  • มีความสุขนะคะ

P

ขอบคุณเช่นกันนะครับน้องกอ

ที่แม้จะไม่ชอบการเมือง ยังอุตส่าห์ทนอ่าน

ไม่เป็นไรนะ หากรู้สึกไม่อยากอ่านก็ผ่านเลยไปก็ได้ครับ

ของอย่างนี้แล้วแต่ชอบนะ

พี่เองก็ไม่ค่อยชอบหรอกนะ แต่มันอัดอั้นนะ

นี่ก็บ้านเรานี่นา อยากบ่นอะไรก็บ่นกันไป

P

ขอบคุณมากครับสำหรับ "หัวใจ"

ที่งดงามและสว่างไสวไปด้วยประกาย "แสงแห่งความดี"

แล้วจะนำไปฝากเด็กน้อยนะครับ

P

ขอบคุณนะครับ คุณครูป้อม

ที่พยายามสอนบทเรียนให้อยู่ตลอดเวลา

"คิดถึง" คนอื่นบ่อยๆ  แล้วเขาก็จะนึกถึงเราใช่ไหมครับคุณครู

สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะอ่านแล้วรู้สึกดีมากมาย...

 แอบซึ้ง...เป็นกำลังใจ...อย่างดี...เวลาท้อจะมาอ่านบันทึกนี้...

 อาจจะเป็นเพราะชีวิตวัยเด็กผ่านการสูญเสีย เงียบเหงา...แม่ตายจาก...พ่อและน้องสาวเสียชีวิตพร้อมกัน...

 เลยเข้าใจความหมายของชีวิต...เข้าใจความรู้สึก... บางครั้งไม่อยาก...sympaty... แต่มีความสุขที่ได้ระลึกถึงเด็กๆที่จากไป... หนูมีความสุขที่มีคนรักหนู...หนูได้ของที่หนูชอบ... นี่คือบันทึกของน้องโอ๋ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ในโครงการสานฝันของเรา แวะไปอ่านเรื่องของน้องพอลล่านะคะ สานฝันเด็กค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท