สอนงานผ่านบล็อก : 32. วิเคราะห์ตนเอง (กำจัดจุดอ่อน)


“เรายังมีสิ่งใดที่ยังต้องปรับ-ต้องพัฒนาอยู่บ้าง”

สอนงานผ่านบล็อก : 31. วิจัยในงาน

        รู้เขา   รู้เรา   รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง   ทุกคนล้วนเคยได้ยินมาแล้วทั้งนั้น  แม้จะเป็นศาสตร์โบราณของจีนเป็นภูมิปัญญาตะวันออก ที่มีมานานแล้ว  แต่ก็ยังสามารถปรับใช้ได้มาจนถึงปัจจุบัน  

       

        แต่หลัก รู้เขา รู้เรา นี้   ไม่ได้มีแต่ทางตะวันออกเท่านั้น  ทางตะวันตกที่หลายท่านต่างก็เคยได้ยินมาแล้วเช่นกัน  ที่มีหลักคิดและหลัการเหมือนกันนั่นก็คือ การวิเคราะห์สวอท ( SWOT Analysis)  ซึ่งก็คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน-ภายนอก  อันประกอบไปด้วย

 

·        ส่วนที่ควบคุมได้     อยู่ภายในหรือรู้เรา (S จุดแข็ง - W จุดอ่อน)  และ

·        ส่วนที่ควบคุมไม่ได้ ภายนอกที่มากระทบหรือรู้เขา (O โอกาส T อุปสรรคหรือข้อจำกัด)

 

ไม่ได้เอา"มะพร้าวห้าวมาขายสวน" แต่หลักการและเครื่องมือเหล่านี้ ไม่ได้มีไว้ใช้ในการทำงานเพื่อวิเคราะห์งาน  วิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อที่จะได้กำหนดแนวทางพัฒนา หรือวางแผนให้เหมาะสมและถูกต้องเท่านั้น   แต่สิ่งที่เรามักจะมองข้าม หรือไม่ค่อยให้ความสำคัญ  นั่นก็คือการลืมวิเคราะห์ตนเอง  เราต้อง รู้เรา-ภายใน  ให้ได้เสียก่อน   ก่อนที่จะไป  รู้เขา-ภายนอก

 

วิเคราะห์ตนเองเพื่อ รู้เรา-ภายใน ไปเพื่ออะไร  ก็เพื่อที่จะได้ รู้ตนเอง  รู้จุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเราเอง  จะได้นำข้อดีหรือจุดแข็งของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์  และในขณะเดียวกันเราก็จะได้แก้ไขปรับปรุงจุดอ่อนของตนเอง  ว่า เรายังมีสิ่งใดที่ยังต้องปรับ-ต้องพัฒนาอยู่บ้าง  เพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น  หรือพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถในการทำงานให้มากขึ้นนั่นเอง

 

ถึงแม้ว่า ในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบที่สุด   เป็นข้อสรุปที่ง่ายๆ และตรงกับความเป็นจริงมาก   เพราะคนธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ   ต่างก็จะมีทั้งข้อดีและข้อด้อยอยู่บ้างเป็นของธรรมดา   แต่ประเด็นที่สำคัญนั้นอยู่ที่ว่า  ใครจะเปิดใจรับรู้ข้อบกพร่องหรือข้ออ่อนด้อยของตัวเองได้มากกว่ากัน  เพื่อที่จะยอมรับและปรับปรุงตนเอง  ลดข้อด้อยหรือจุดอ่อนตนเองให้มากที่สุด

 

เราในฐานะนักส่งเสริม-พัฒนา  ที่จะลงไปทำงานกับชาวบ้าน-เกษตรกร และหน่วยงาน-คนทำงานในองค์กรต่างๆ  เราจะต้องไม่ลืมที่จะพิจารณา-วิเคราะห์ตนเองอยู่เสมอๆ   ว่าเรายังมีสิ่งใดที่ยังไม่รู้   ยังไม่เข้าใจ  ยังมีสิ่งใดที่เป็นจุดอ่อน เป็นจุดบกพร่องที่ควรปรับปรุง   เมื่อพบแล้วก็พยายามหาช่องทางในการพัฒนา-ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างค่อยเป็นค่อยไป  อย่าคิดที่จะปิดบัง เพราะไม่เกิดประโยชน์กับตัวเราเลย 

 

 จงหันหน้าเข้าหาความเป็นจริง  ยอมรับความเป็นจริงเสียตั้งแต่ต้น  เพื่อที่จะได้เปิดใจรับ  เปิดใจพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  สิ่งที่สิ่งดีๆ แก่ชีวิตของเราให้มากที่สุด   อย่าอายที่จะเรียนรู้  หรือไม่อายที่จะบอกใครว่าบางเรื่องเรายังไม่รู้   ขอเพียงเราทำให้ดีที่สุด  

หากยังไม่ดีพอก็ปรับปรุงกันใหม่ ไปเรื่อยๆ  แต่ก็อย่าลืมว่า ในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบที่สุด นะครับ (แล้วเราจะสบายใจ)

 

บันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วีรยุทธ  สมป่าสัก   27  มีนาคม  2552

 

หมายเลขบันทึก: 251147เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 06:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนท่านสิงห์ป่าสัก

  • กำจัดจุดอ่อน
  • self reflection นับว่าเป็น เครื่องมือ สะท้อนตนเองได้อย่างดี
  • เพียงแต่ว่า "ต้องทำใจ" ยอมรับ ของอ่อนครับ

  • สวัสดีครับ
  • ระลึกถึง คิดถึง และเป็นห่วงเสมอ
  • สวัสดีค่ะ
  • ไปดูหนังเรื่องสามก๊กมาแล้ว ก็ถึงบางอ้อว่า ที่จริงแล้ว ขงเบ้ง ได้เริ่มใช้หลักการวิเคราะห์ SWOT มาตั้งนานแล้ว
  • สวัสดีครับ อ.หมอ JJ 2009
  • ใช่เลยครับท่าน "ต้องทำใจ" ยอมรับของอ่อน
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับท่าน เบดูอิน
  • คิดถึงเช่นกันครับ
  • ขอบคุณมากครับที่เยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

 

  •  สวัสดีครับคุณ มุ่ยฮวง
  • อิอิ..ภูมิปัญญาตะวันออกมามานมนานแล้ว
  • และใช้ได้เสมอนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยียมเยียน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท