การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลว


การดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต สิ่งหนึ่งที่พบได้เสมอ ก็คือ ภาวะการหายใจล้มเหลว เนื่องจากการถูกคุกคามทางชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึก อวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับอันตราย

อาการที่บ่งบอกถึงชีวิตถูกคุกคาม ได้แก่

  • มีการเปลี่ยนแปลงทางระดับความรู้สึก
  • มีอาการเขียวอย่างรุนแรง
  • เสียงหายใจเบาลงหรือไม่ได้ยิน
  • ได้ยินเสียง stridor
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ซีดและมีเหงื่อออก
  • มีแรงดึงของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ

ภาวะการหายใจล้มเหลว หมายถึงหน้าที่การแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดไม่เพียงพอ ทางด้านการแพทย์ใช้เกณฑ์ระดับของอ๊อกซิเจนและคาร์บอนได้ออกไซด์ในเลือดแดงเป็นเกณฑ์การวินิจฉัย ได้แก่ค่า

PaO2 น้อยกว่า 50 mmHgและ PaCo2 มากกว่า 50 mmHg

มีศัพท์บางคำที่เกี่ยวข้องได้แก่

Hypoxemia หมายถึงมีระดับ PaO2 ต่ำ

Hypoxia หมายถึงอ๊อกซิเจนในเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ

Hypercarbia หมายถึงระดับ PaCO2 สูงขึ้น

Ventilation หมายถึงการผ่านของอากาศเข้าไปและออกจาก alveoli

Diffusion หมายถึง ก๊าซผ่านจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศผ่าน physical barriers

Perfusion หมายถึง การส่งไปและออกจากเนื้อเยื่อ ซึ่งต้องการ แรงดันของเลือดเพื่อการส่งไปถึงเนื้อเยื่อ ต้องการ hemoglobin

(hemoglobin เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่บอกถึงความสามารถในการพาอ๊อกซิเจน)

Oxygen delivery เป้าหมายหลัก คือ การแก้ไขภาวะ hypoxia คือการเพิ่ม oxygen ไปสู่เนื้อเยื่อ การเพิ่ม O2 delivery อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การแก้ไข cardiac output และการปรับระดับ hemoglobin

 

ค่าที่เกี่ยวข้องในภาวะการหายใจล้มเหลว หรือความเป็นกรดด่างในร่างกาย โดยดูค่าจากการตรวจระดับจากเลือดแดง ได้แก่

PaO2 บอกถึงภาวะอ๊อกซิเจนในเลือด ค่าปกติอยู่ที่ 80-100 mmHg

PaCO2 บอกถึงภาวะการระบายอากาศ ค่าปกติอยู่ที่ 35-45 mmHg

PH ความเป็นกรด-ด่าง ค่าปกติอยู่ที่ 7.35-7.45 ต่ำกว่า 7.35 เป็นภาวะกรด มากกว่า7.45 เป็นภาวะด่าง ค่า pH บอกถึงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการหายใจ การขับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออก การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกาย การชดเชยอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระดับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ จะมีการขับออกโดยการระบายอากาศ(ventilation) และตามด้วยการขับออกอย่างช้าๆโดยทางไต

 

การเปลี่ยนแปลงค่าของ PaCO2 โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก

  1. การสร้าง CO2 เพิ่มขึ้น เช่น ภาวะที่มีไข้ หนาวสั่น ภวะชัก การติดเชื้อในร่างกาย การมีภาวะเครียดและการตอบสนองต่อความเครียด
  2. การระบาย CO2ลดลง เช่น ผู้ป่วยหายใจช้าลง การมี dead space เพิ่มขึ้น ภาวะ atelectasis ,pneumothorax

 

สิ่งที่เรามักจะพูดกันเป็นประจำว่าเกิดภาวะใดกับคนไข้ของเรา เช่น

Respiratory acidosis : low pH,high PaCO2

Respiratory alkalosis : high pH,low PaCO2

Metabolic acidosis : low pH,low HCO3

Metabolic alkalosis : high pH,high HCO3

 

อีกค่าหนึ่งที่ควรคำนึงคือ ค่า PaO2/Fio2(ค่าความเข้มข้นของอ๊อกซิเจนในเลือดแดง) น้อยกว่า 200 แสดงถึงระดับอ๊อกซิเจนต่ำอย่างรุนแรง

 

เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว สิ่งที่ต้องช่วยเหลือผู้ป่วยได้แก่ การให้อ๊อกซิเจนแก่ผู้ป่วย โดยการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม  เครื่องช่วยหายใจเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ช่วยการหายใจให้ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะเลือกใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มข้อบ่งชี้เท่านั้น

บทบาทของพยาบาล คือการทำให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายและได้รับอ๊อกซิเจนอย่างเพียงพอ การเฝ้าระวังสัญญานชีพ การเลือกอุปกรณ์อย่างเหมาะสม การติดตามการรักษา การดูเฝ้าระวังลักษณะการหายใจ สิ่งเหล้านี้หมายความร่วมถึงต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและสามารถวินิจฉัยและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

ขอขอบพระคุณ

อาจารย์ รศ.ดร.พิกุล บุญช่วง

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

CCN_104_March 2009

หมายเลขบันทึก: 251089เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีคะ น้องป้าแดงคะ

จำคุณยายของแม่ต้อยที่นอน ICU ได้ไหมคะ

ตอนนี้ออกจากรพ.ได้แล้วนะคะ

ทานข้าวได้เอง คุยจ้อเลยคะ

ทีมงานเก่งมากๆคะ

เป็นกำลังใจให้พยาบาลคนสวยนะคะ

ถอดบทเรียนได้เยี่ยมเลยท่านป้าแดง

  • สวัสดีค่ะ อ.แม่ต้อย อ.พอลล่า อ.JJ
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ
  • ออกแนวเครียดค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท