ด.ช.วิษณุ บุญชา (๒):คนต่างด้าวในประเทศไทย มีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยอย่างไร?


ซึ่งจากข้อเท็จจริงปรากฎว่านับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมากำหนดสถานะการอยู่ในประเทศไทยสำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้ด.ช.วิษณุ ซึ่งมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ยังคงถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายจนถึงทุกวันนี้

---------------------------------------------------

การกำหนดสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย

--------------------------------------------------

สถานะบุคคลประการที่หนึ่ง     ด.ช.วิษณุ มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับการรับรองศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ดังปรากฎในบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ตลอดจนมาตรา...แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 เรื่อยมาจนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนั้น จึงถือได้ว่า ด.ช.วิษณุ เป็นผู้ทรงสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา

สถานะบุคคลประการที่สอง   ด.ช.วิษณุ มีสถานะเป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่งแห่งพระราช บัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 จึงมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย และไม่ปรากฎว่ามีสัญชาติของรัฐใดเลย ดังนั้น จึงประสบปัญหาความไร้สัญชาติตั้งแต่เกิดถึงปัจจุบัน

สถานะบุคคลประการที่สาม   ด.ช.วิษณุ มีสถานะเป็นคนไร้รัฐ เพราะไม่ได้รับการบันทึกตัวบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย

สถานะบุคคลประการที่สี่       ด.ช.วิษณุ ถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535  เพราะเกิดในประเทศไทยและไม่มีสัญชาติไทย จึงถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายทั้งที่เกิดในประเทศไทยนับตั้งแต่เกิด– 27/2/2551 วันที่ พรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2และ 3) พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับ

สถานะบุคคลประการที่ห้า       ด.ช.วิษณุ มีสถานะเป็นผู้ทรงสิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทย ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติครม. 18 มกราคม 2548 เพราะเป็นบุตรของชนกลุ่มน้อยไร้สัญชาติที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว(เกินกว่า 10 ปี) จนมีความกลืนกับสังคมไทย(socialization) นอกจากนี้ยังถือเป็นกลุ่มเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติที่เรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทยอีกด้วย ดังนั้น ด.ช.วิษณุ จึงมีสิทธิร้องขอสัญชาติไทย ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม.วันที่ 18 มกราคม 2548 นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2548 เป็นต้นมา

สถานะบุคคลประการที่หก      นับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551  อันเป็นวันที่ พรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา ด.ช.วิษณุ มีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย ดังนี้

1.  ในขณะที่ยังไม่มีสัญชาติไทย ด.ช.วิษณุ ก็จะพ้นจากสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยผลของบทบัญญัติมาตรา 22 ประกอบกับ มาตรา 7ทวิ วรรคสามแห่ง พรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 ซึ่งวางหลักไว้ว่าฐานะการอยู่ของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศจะต้องไม่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

ดังนั้น ด.ช.วิษณุ  ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทีเกิดในประเทศไทยจีงไม่อาจถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามหลักทั่วไปที่ว่าจะลงโทษบุคคลในความผิดที่บุคคลนั้นมิได้กระทำไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมากำหนดฐานะการอยู่ในประเทศไทย คนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวจึงยังคงถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งที่เกิดในประเทศไทย

ซึ่งจากข้อเท็จจริงปรากฎว่านับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมากำหนดสถานะการอยู่ในประเทศไทยสำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้ด.ช.วิษณุ ซึ่งมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ยังคงถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายจนถึงทุกวันนี้

2. หากมีพยานหลักฐานมายืนจนเชื่อได้ว่าเป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย จากมารดาที่ไม่ได้สัญชาติไทยหรือถูกถอนสัญชาติไทยโดยผลของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337  ด.ช.วิษณุ ย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 แห่งแห่งพรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ.2551

 

 

 

(มีต่อ...ว่าด้วยการพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย คลิก )



[1]             มาตรา ๒๓  บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ข้อ ๑ และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ข้อ ๒ รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้าบุคคลผู้นั้นอาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทยให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

            เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียนราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาในปัจจุบัน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 250812เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2009 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วิษณุในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ที่คณะนิติศาสตร์ มธ. เพื่อขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย

วิษณุในวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งได้พบนายกรัฐมนตรี เพื่อร้องขอความช่วยเหลืออีกครั้งหนึ่ง

 

ไม่แน่ใจว่าจะต้องอ้างสถานะตามระเบียบ ๔๘ และ ตาม ม.๓๘ ว.๒ พรบ.ฉบับใหม่ด้วยไหมอ่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท