เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง อังกะลุง


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอังกะลุง

วิวัฒนาการของอังกะลุง

                 จากภาพถ่ายเครื่องดนตรีชวาซึ่งปรากฏในหนังสือ Music in Java Vol II ของ J. Kunst พบว่า อังกะลุงของชวามีสองชนิด คือ ชนิดที่ใช้ตีด้วยไม้ และชนิดที่เขย่าด้วยมือ ชนิดที่ ใช้ตีนั้น เขานำเอากระบอกที่บากได้เสียงตามต้องการแล้วประมาณ
12 กระบอก นำมาเรียงกันในแนวตั้งติดไว้กับราว โดยนำด้านใดด้านหนึ่งขึ้นบน หรือลงล่างก็ได้ แต่ต้องให้เหมือนๆ กัน ใช้ตีด้วยไม้เหมือนไม้ตีระนาดของไทย 

                                                                                                

    อังกะลุงชนิดที่ใช้เขย่าด้วยมือนั้น คือชนิด     ที่มีในเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งทำได้โดยการเอา
     ไม้ไผ่ที่มีรูกลวงมาตัดเป็นท่อนๆ แล้วบากปลาย ข้างหนึ่งให้ได้เสียงตามต้องการ การเทียบเสียง
     โดยเทียบจากขลุ่ยเพียงออ เสร็จแล้วนำกระบอกสองหรือสามขนาด ที่มีเสียงเดียวกันแต่มี
      ระยะห่างของเสียงในขั้นคู่แปด ร้อยด้วยไม้ซีก
     ลักษณะของอังกะลุงในปัจจุบัน           ใส่ในรางเดียวกัน  ไม้ไผ่ที่จะเอามาทำอังกะลุงนั้นนิยมใช้เฉพาะไม้ที่แก่แล้วเท่านั้น เพราะเนื้อไม้แน่นและทนทานดี ตรงข้ามมักไม่นิยมเอาไม้ที่ยังอ่อนมาทำ เพราะมันอาจทำให้เสียงเพี้ยนได้ง่าย เมื่อตัดลำไม้ไผ่มาจากตอแล้วต้องทิ้งไว้ให้แห้งสนิทเพื่อให้เนื้อไม้อยู่ตัว ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณหกเดือนหรือหนึ่งปี  จึงนำมาทำกระบอกอังกะลุงได้  ไม้ไผ่แต่ละลำนั้นจะตัดเป็นท่อนๆ ได้

 จำนวนจำกัด คือท่อนหนึ่งทำได้หนึ่งเสียง หากไม่ชำนาญจะทำให้เสีย หรือได้น้อยกว่าที่ควรทำ
  อังกะลุงกระบอกหนึ่งๆ อาจใช้ไม้ไผ่หนึ่งถึงสองปล้อง แล้วแต่ว่าต้องการเสียงสูงเสียงต่ำแค่ไหน 
   ถ้าต้องการเสียงต่ำก็ใช้กระบอกใหญ่ ยาว ถ้าต้องการเสียงสูงก็ต้องใช้กระบอก เล็ก สั้น   เวลาตัดเป็น
            ไม้ไผ่ลายนำมาผลิตอังกะลุง             ท่อนๆ ต้องเหลือข้อล่างไว้เสมอ ในท่อนหนึ่งๆ โดยตัดต่ำกว่าข้อลงมาเล็กน้อย รวมหนึ่งหรือสองนิ้ว แล้วบากส่วนล่างที่ต่อลงมาให้มีรูปร่างเหมือนขาสองขา เพื่อเป็นที่กระทบกับรางเวลาเขย่า   การบากไม้ไผ่ทำอังกะลุง ผู้ทำต้องอาศัยความอดทนและความชำนาญเป็นพิเศษ ทั้งยังต้องเป็นผู้ที่มีประสาทที่เยี่ยม สามารถทราบความแตกต่างของเสียงแม้เพียงเล็กน้อยได้เป็นอย่างดี  จึงจะทำให้เสียงไม่เพี้ยน หากบากออกมามากเพียงเล็กน้อยก็ย่อมทำให้เสียงเพี้ยนไป ซึ่งแก้ไขได้ยาก ด้านที่จะบากนั้นหากไม่ตรงปลายสุดต้องตัดข้อนั้นทิ้ง และถ้าท่อนนั้นมีสองปล้องก็ต้องเจาะข้อระหว่างปล้องให้ทะลุ แล้วบากปรับเสียงให้ได้ตามต้องการ เจาะรูตรงปลายต่อจากนั้นก็นำไปเข้าราง ซึ่งเดิมทีเดียวรางนั้นทำด้วยไม้ไผ่ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นไม้    อย่างอื่น ซึ่งทนทานดี รูปร่างลักษณะของรางก็เป็นท่อนไม้ตัดให้ได้ความยาวพอจะใส่อังกะลุง    เรียงกันในแนวตั้งได้สามกระบอก   แต่ละกระบอกก็จะมีหลัก  โดยเสียบหลักเหล่านั้นแนบขึ้นข้างติดกับรางให้ปลายสูงกว่ากระบอกอังกะลุงเล็กน้อย  ระยะห่างระหว่างหลักก็ขุดเป็นร่องเพื่อให้ขาอังกะลุงแกว่งไปมากระทบราง เกิดเป็นเสียงได้ ส่วนทางด้านบนของหลัก ก็จะมีราวต่อระหว่างหลักเป็นที่  แขวนกระบอกอังกะลุงโดยสอดตามรูที่เจาะไว้

หมายเลขบันทึก: 250466เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถ้าต้องการจะสั่งซื้ออังกะลุงแบบที่มาตรฐาน จะสั่งซื้อกับใคร หมายความว่าซื้อมาแล้วจะไม่มีปัญหาต่าง ๆ ติดตามมา คือต้องการอังกะลุงมาทำงานวิจัย โดยให้เด็กเล่น ประกอบวงดนตรี แต่ปัญหาคือเห็นในอินเตอร์เนทมีหลายเจ้า แต่ไม่เคยมีประสบการณ์ตรง กลัวสั่งซื้อมาแล้วจะมีปัญหาภายหลัง เช่น เสียงเพื้ยน ไม่แข็งแรง และเสียงไม่ตรงกับคีย์บอร์ด จึงอยากถามคนที่มีความรู้เรื่องนี้ จึงถามมา กรุณาช่วยให้ความคิดเห็นด้วย ขอบคุณล่วงหน้า

ซื้อได้ที่บ้านครูพัฒน์ จังหวัดนนทบุรี ระดับคุณภาพของไม้และเสียงรับประกันได้ เพราะผมเองก้สั่งซื้อมาหลายชุดแล้ว ไม่มีปัญหาใดๆ ถ้ากระบอกแตกก็สามารถซ่อมเองได้(แตกไม่มากนะ) ถ้าต้องการสั่งซื้อกับครูพัฒน์ได้โดยตรง จัดส่งทางไปรษรียืให้ด้วยครับ

555+ 555555555+ 5+ 5 5 555 5 55 5 5 5 5 5 5 5 5 55 5 5 5 5555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555

5555555555555555555

555555555555

555

55555555555555

55555555

5555555555

555

5555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555

55

5

5

5

5

55

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท