Palliative Care สำหรับแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน ๖​: family support, physician role after patients' death


ในหัวข้อความช่วยเหลือเยียวยาครอบครัว และบทบาทของแพทย์ภายหลังคนไข้เสียชีวิต กิจกรรมต่อเนื่องกัน เพราะเป็นประเด็น grief &  bereavement ความเศร้าโศกและการเยียวยา

กิจกรรมเริ่มจากให้พี่ฟ่ง..คุณกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ พยาบาลที่มีประสบการณ์ให้ความช่วยเหลือคนไข้ระยะสุดท้ายและครอบครัวอย่างยาวนาน เล่าเรื่องครอบครัวคนไข้ภายหลังเสียชีวิตและการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีทั้งครอบครัวที่ประสบปัญหาและประสบความสำเร็จ

บทบาทของแพทย์คือ ต้องวินิจฉัยให้ได้ว่า ครอบครัวใดเป็นครอบครัวที่มีแนวโน้มจะมีปัญหา หรือมีโอกาสจะโศกเศร้าผิดปกติ (complicated/pathologic grief) ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา ต้องแยกให้ออกจากครอบครัวที่มีความเศร้าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของคนเราเมื่อต้องสูญเสียระดับนี้

หลังจากนั้น ผมก็ให้เล่นเกมส์ ที่เป็นการจำลองให้ได้สัมผัส เสี้ยวหนึ่งของความสูญเสีย

ผมแจกกระดาษสี ๔​ สีๆละ ๔ แผ่นให้น้องหมอทุกคน เกมส์นี้มีอาจารย์ขอร่วมเล่นด้วย โดยให้แต่ละคนเขียนสิ่งต่อไปนี้ในกระดาษแต่ละสี สีละประเด็น

  • บุคคลที่เรารัก ๔ คน: อาจจะเป็น พ่อ แม่ สามี ภรรยา ลูก กิ๊ก
  • บทบาทสำคัญของเรา ๔ อย่าง: เป็นพ่อ เป็นหมอ เป็นลูก เป็นคนไทย
  • งานที่อยากทำ เป็นสุขและมีพลังที่จะทำ ๔ อย่าง: ตรวจคนไข้ สอนหนังสือ อันนี้ไม่รวมงานที่จำใจต้องทำ
  • กิจกรรมที่อยากทำยามว่าง ๔ อย่าง: ไปเที่ยวรอบโลก ว่ายน้ำ 

หลังจากเขียนเสร็จแล้ว ผมสมมุติว่า ถ้าแต่ละคนไม่สบายแล้วจำเป็นต้องทิ้งของสำคัญเหล่านี้ อย่างละ ๑ สิ่งเพื่อแลกกับสุขภาพที่ดีขึ้น โดยขอให้แต่ละคนเลือกทิ้งกระดาษสีละหนึ่งใบ ให้เลือกเอง


แล้วผมก็สมมุติต่อว่า ถ้าโรคที่เราเป็นกลับไม่ดีขึ้น แถมทรุดลงจนต้องทิ้งสิ่งสำคัญเหล่านี้ไปอีก แต่คราวนี้เราไม่มีโอกาสเลือก ผมให้จับคู่กันแล้วให้เพื่อนข้างๆ เลืิอกดึงกระดาษที่เหลืออยู่ ๑๒ ใบออกครึ่งหนึ่งคือ ๖ ใบ จะสีอะไรก็ได้

แล้วผมก็ให้แต่ละคนดูกระดาษ ๖ ใบที่เหลืออยู่ แล้วเล่าความรู้สึกทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างเล่นเกมส์นี้


ประเด็นที่เกิดขึ้น

  • เราให้ความสำคัญกับความสูญเสียสิ่งต่างๆในชีวิตแตกต่างกันมาก
  • บางคนไม่ชอบ..เลือกทิ้งเอง บางคนไม่ชอบ..ให้คนอื่นหรือโชคชะตาเลือก ขอเลือกเอง
  • เราหวงสีท่ี่เป็นตัวแทนคนที่เรารักมากที่สุด พยายามทุกวิถีทางไม่อยากให้เพื่อนหยิบสีนั้น แต่บางทีเพื่อนก็..ใจร้าย พยายามแกล้งหยิบสีนั้นอยู่เรื่อย โชคชะตาก็มักเป็นเช่นนั้น
  • สีที่เป็นเรื่องงานหรือกิจกรรมยามว่าง ดูจะสูญเสียได้ง่ายกว่า
  • สิ่งที่เหลืออยู่บางครั้งก็ไม่สอดคล้องกัน เช่น เสียคนรักคือลูกไป แต่บทบาทความเป็นพ่อยังคงอยู่

ครับ แม้แต่เป็นเหตุการณ์สมมุติ เราก็มีความรู้สึกและอารมณ์กับความสูญเสียกันแล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 250351เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2009 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

P

พี่แก้วลองเอาไปเล่นดูก็ได้ครับ ผมพยายามอธิบายวิธีการอย่างละเอียด เพื่อคนอ่านสามารถนำไปปรับใช้เองได้เลยครับ ปรับแก้อย่างไรก็เขียนมาเล่าเป็นการต่อยอดด้วยครับพี่

เกมนี้เล่นได้หลายมิติดี

ผมเล่นครั้งแรกตอนไป intensive ที่สิงคโปร์ (palliative care) ตอนที่ "ไพ่เด็ด" เราถูกดึงออกไปนั้น เป็น "ความรู้สึกสะเทือนใจที่อับจนปัญญา" อย่างบอกไม่ถูก (ฉะนั้น ถ้าจะเล่นเกมนี้ให้ดี ตอนให้ทุกคนเขียนการ์ด อาจจะต้องมีสมาธิดีๆหน่อย หรือทางที่ดี ไม่รู้ล่วงหน้าว่าจะเล่นเรื่องการสูญเสีย จะได้ไม่มีใคร "กั๊ก" ของรักตัวเองไว้)

นอกเหนือจากเรียนรู้เรื่องความรู้สึกสูญเสียแล้ว ถ้ามีเวลา เรายังสามารถให้คนลองพยายาม "cope" หรือ "เผชิญ" กับความสูญเสียนั้นว่าจะทำอย่างไรต่อไป ตรงนี้ ให้ลองอธิบายเป็น strategy ที่จับต้องได้ และ practical จะเห็นและเข้าใจเหตุการณ์จริงได้มากย่ิงขึ้น เช่น ชอบออกกำลังกาย แต่ตอนนี้เป็นมะเร็ง ต้องตัดขาไปแล้ว weak มาก จะทำอย่างไร

ต่อเมื่อเรา "รู้จัก" ความสูญเสียและความเจ็บปวด เราจึงจะสามารถรู้สึกในน้ำหนักของงานของเรา ความอยากที่จะช่วย และเกินไปกว่านั้น อาจจะถึงขั้น "อุเบกขา" ได้ เมื่อไพ่ในมือเราเหลืออะไรก็ตาม สิ่งสุดท้ายที่เรามีก็คือ "ปัญญา" เท่านั้น

คิดต่อได้อีกนิดนึง

ถ้าหลังจากที่เขียนไพ่ครบสำรับ ที่ที่แต่ละคนถืออยู่ น่าจะเรียกได้ว่าเป็น "สุขภาวะกำเนิด (salutogenesis)" หรือ "ต้นทุนความสุข" ของแต่ละคน อาจจะลองให้นำเอาทั้งหมดมาเขียนเป็น "ชีวิตจำลอง" คือสร้างชีวิตที่มีพื้นฐานจากไพ่เหล่านี้ให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น หลังจากนั้น พอไพ่หลุดไปแต่ละใบ ก็ลองเขียน script ให้ชีวิตนี้ใหม่ โดยสาเหตุของไพ่หลุดให้เกิดจากความเจ็บป่วย โรคแทรกซ้อน และส่ิงที่เกิดขึ้นกับบริบทรอบข้าง (สูญเสียงาน ลูก ภรรยา อวัยวะ ฯลฯ) ลองเขียนความคิด ความรู้สึกของ "ตัวเอก" ในละครสั้นนี้ลง สุดท้าย แต่ละท่าน อาจจะได้เรื่องราว palliative care ที่สมบูรณ์ แต่คนละ mechanisms ในการ cope ลงหลากหลายเรื่องราว แล้วนำมา share กัน (ถ้าเป็น workshop หลายวัน อาจจะให้ทำข้ามคืน ข้ามวัน แล้วลองนำประเด็นหลักมาสะท้อนวันรุ่งขึ้น หรือวันสุดท้าย)

P

  • Hello!!!
  • ขอบคุณสกลครับที่มาเติมบันทึกให้สมบูรณ์ขึ้น วันนั้นผมไม่มีโอกาสคุยเรื่อง cope ตามที่สกลว่า เพราะเวลาจำกัด..ตามเคย ตอนแรกว่าจะไม่เล่นเกมส์นี้แล้ว แต่พอคุยกันว่าไหนๆก็ๆไหนๆแล้ว ก็เล่นไปได้แค่ครึ่งทางเท่านั้น
  • คิดถึงจัง เสาร์นี้ก็ปฐมนิเทศน์ พชท.ใหม่อีกแล้ว คิดถึงสกลเสมอ เวลา..งานเข้า  ฮึ่ม!! กรอด!!
  • อ้อ วันนี้ผมจัดสนทนา palliative care เรื่องประสบการณ์การใช้ยาฉีดพวก morphine midazolam เพื่อดูทั้งกลเม็ดและปัญหา แล้วจะเขียนบันทึกให้อ่าน
  • เวลาสกลเขียนบันทึกเกี่ยวกับการเรียนการสอนอบรม ช่วยใส่ tag ms-pcare ด้วยนะ ตอนนี้โครงการกสพท.อนุมัติแล้ว

อิ อิ คิดถึงพี่เหมือนกัน เวลาได้ยินว่างานเข้าครับ!

อาจจะเอาชุดใหญ่ไปใช้ ตอน workshop ของกสพท. (dialogue) เพื่อให้อาจารย์แพทย์ empathy ลงไปในเรื่องราวมากขึ้น ทำเป็นสามคืน (อาจจะช่วงกลางคืน คืนละ 1/2 ชม.)

เดี๋ยวจะ tag บทความทั้งหมดด้วย ms-pcare ครับ (ขอเบิกเบี้ยเลี้ยงค่าแฮมเบอเกอร์เนื้อจิงโจ้ด้วยได้ไหมเนี่ย)

PS: ผม tag บทความก่อนหน้านี้ ที่เราจะเริ่ม project ที่เกี่ยวกับ palliative care ด้วย MS-PCARE ได้รึเปล่าครับ? ดูๆแล้วเราจะได้มีบทความ palliative care เป็นผลงานของ project นี้ในปริมาณพอสมควร

  • น่าสนใจเรื่องทำเป็น series แบบเว้นช่วงตามที่สกลว่า
  • เรื่อง tag ผมว่าน่าจะได้ แต่ผมก็ยังไม่ว่างนั่งใส่ tag เหมือนกัน
  • อีกเรื่องก็ต้องแก้เรื่องลิขสิทธิ์ creative common ที่ทาง G2K เพิ่งพัฒนา กะจะแก้ไปทุกบันทึกพร้อมกัน
  • มาอ่านเม้นที่คุยกันแบบสาระๆ
  • เหมือนนั่งฟังอยู่ด้วยเลย
  • ขอบคุณสำหรับเกมนี้
  • พี่ขออนุญาตนำไปใช้ได้หรือไม่คะ

P พี่เขี้ยวครับ

  • พี่เอาไปใช้อย่างไร เขียนเล่าต่อยอดด้วยนะครับ
  • ในแผนงานเครือข่าย palliative care ในโรงเรียนแพทย์ เราเน้น สร้างความรู้ สร้างเครือข่าย พัฒนาคน พัฒนาหลักสูตร
  • ในส่วนของการพัฒนาคน เรารวมทั้งหมอ พยาบาล ผู้ดูแล อาสาสมัครด้วย อยากจะเชิญพี่ร่วมเขียนประสบการณ์ในชุมชนนะครับ

อ่านแล้วรู้สึกอยากเรียนรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์จริงๆครับ

P

  • ยินดีครับ แต่อยากให้เติม..แลกเปลี่ยน ไว้ข้างหน้า เรียนรู้ ด้วยนะครับ
  • ผมได้เรียนจากน้องๆหลายคนผ่าน b'og
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท