ข้อสอบของการทำงาน : ยากง่ายขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการในการทำงานของเรา


ก็เป็นการทำงานที่ทำให้ค้นพบว่า "ปัญหา" ที่เผชิญจะเหมาะสมกับระดับพัฒนาการในการทำงานของตัวเรา

เสร็จประชุมเย็นวันนี้ ผมรู้สึกดีมากครับที่สามารถผ่านงานต่างๆที่ประดังกันเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกันได้ และจริงๆแล้วแม้ว่า ผลของมันอาจจะไม่สวยงามน่าพอใจมากนัก แต่ ก็อดตบบ่าตัวเองเป็นการให้รางวัลแก่ตัวเองเงียบๆ และบอกตัวเองว่า ดีมาก นายทำดีที่สุดแล้วหละ

ตอนนี้ผมเริ่มคุ้นชินกับการเผชิญ "สงครามเก้าทัพ" แล้วละซิครับ หมายถึงการรับมือกับงานหรือกิจกรรมหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน อดแปลกใจตัวเองไม่ได้ว่า ก่อนหน้านี้ผมมักจะอารมณ์เสีย และบ่นดังๆกับสิ่งที่กำลังโจมตี แต่ในหลายวันมานี้ ผมได้มีโอกาสอยู่เงียบๆเพื่อพิจารณาดูว่า "แล้วผมจะได้อะไรกับการบ่น การตำหนิ และมันได้ทำให้ปัญหาเบาบางลงไปหรือไม่ เพียงใด???"

เปล่าเลย... ก็เลยมานั่งคิด นอนคิด จนแม้นอนหลับมันยังตามเข้าไปก่ายหน้าผากในความฝัน แล้วผมจะทำเช่นนั้นทำไม ในเมื่อมันไม่ได้ผลดีเลย ผลเสียนั้นมีแน่และมากว่าผลดีด้วยซ้ำ

ก็เลยเอาละ ยังไงๆก็ต้องต่อกรกับ "สงครามเก้าทัพไปอีกนาน" สู้หาทางรับมือกับมันไม่ดีกว่าหรือ ก็เลยนั่งนึกทบทวนขุดเอาความรู้ประสบการณ์ต่างๆที่เคยมี เคยผ่าน เคยทำ เคยเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ก็เลยทำให้ใจเริ่มสงบ และเริ่มมองเห็นปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่เป็น "ข้อสอบ" ของการทำงาน จริงซินะ หากเราอยู่ระดับอนุบาล ข้อสอบก็ยากและเหมาะสมกับระดับอนุบาล ระดับประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ป.ตรี ป.โท และหรือ ป.เอก ก็จะมีข้อสอบที่เหมาะสมกับระดับของมัน

ก็เลย list ปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ กับเวลาที่มีอยู่ ก็พบว่า ยังมีเวลาอีกตั้ง ๒ วัน ถ้าคิดเพียงแค่ ๒ วัน ก็จะทำให้รู้สึกเครียดขึ้นมาตะหงิดๆ งั้นเอางี้ คิดเป็นชั่วโมงดีกว่า ก็พบว่ายังมีเวลาอยู่ อีก ๔๘ ชั่วโมง รู้สึกดีขึ้นหน่อย เอา ๔๘x๖๐ นาที โห ผมยังมีเวลาอีกตั้ง ๒,๘๘๐ นาที แนะ

ก็เลยเริ่มคิดวางแผนบนพื้นฐาน ๒,๘๘๐ นาทีนี่แหละ รู้สึกดีขึ้นเพราะยังมีเวลาเหลือเฟือ  ก็เริ่มแก้ปัญหา ที่ละเรื่อง ทีละข้อ ผ่านเวลานาทีที่มีอยู่ สุดท้ายก็เรียบร้อยครับ แม้ว่าจริงๆแล้วจะมีบางจุดที่ยังไม่ดีนัก แต่โดยภาพรวมก็โอเค กับกำลังคนที่มีอยู่ อัลหัมดุลิลละฮฺ

ก็เป็นการทำงานที่ทำให้ค้นพบว่า "ปัญหา" ที่เผชิญจะเหมาะสมกับระดับพัฒนาการในการทำงานของตัวเรา

หากว่า กำลังทำงานอยู่โดยมีพัฒนาการของงานเทียบได้กับระดับอนุบาล เราก็จะเผชิญกับข้อสอบระดับอนุบาล แต่หากพัฒนาการในการทำงานค่อยๆสูงขึ้น ก็จะเผชิญกับข้อสอบที่ค่อยๆยากขึ้น จาก อนุบาล ประถม มัธยม ป.ตรี โท และป.เอกในที่สุด หรือสูงกว่านั้น

หมายเลขบันทึก: 250349เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2009 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท