เท่าที่ผมรู้ ตอนนี้วลัยลักษณ์มีเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนา 2 แบบคือ
1.แบบสำรวจความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร จัดทำโดยส่วนการเจ้าหน้าที่
2.แบบประเมินการควบคุมภายใน จัดทำโดยหน่วยตรวจสอบภายใน
แบบแรกในตารางความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองและพัฒนาศักยภาพในวิชาชีพคล้ายกับแบบประเมินตนเองในตารางอิสรภาพของธารปัญญา มี 5 หัวข้อคือ 1)กิจกรรมการทำงาน/ภาระงานที่รับผิดชอบ2)ความรู้และทักษะทั่วไปและเฉพาะตำแหน่งที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา 3)ปัจจุบันมีความรู้/ทักษะอยู่ในระดับใด1ถึง5 4)ระดับที่คาดหวังจากการพัฒนา1ถึง5 5)ความต้องการหรือความสนใจในเรื่องหลักสูตรทั่วไป(ที่จะใช้ในการพัฒนา)
คล้ายกับธารปัญญาคือ1)ประเมินความรู้และทักษะตนเองที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา(จัดลำดับความรู้และทักษะที่ใช้ในการทำงาน) 2)ประเมินระดับการพัฒนาในปัจจุบันและที่คาดหวัง 3)เสนอหลักสูตรที่ต้องการหรือสนใจ
การพัฒนาควรทำควบคู่กันไปคือ การเรียนรู้จากกันและกันและการอบรมเชิงปฏิบัติการ(ในข้อ3) ถ้าจัดกลุ่มข้อมูลเบื้องต้นก็เท่ากับจัดกลุ่มคนที่มีภาระงานหรือความรู้และทักษะที่ใกล้เคียงกัน นำมาจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพร้อมกับการอบรมเชิงปฏิบัติในบางเรื่องโดยใช้แนวทางของCop
การเรียนรู้ประการแรก เป้าหมายของงานต้องชัดเจน พัฒนาตัวชี้วัดความรู้และทักษะในแต่ละระดับจาก1ถึง5 ทำแผนที่สายน้ำและแผนภูมิขั้นบันได ให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างผู้พร้อมให้กับผู้พร้อมรับ โดยจัดการเรียนรู้ควบคู่กับโครงการ"รักวลัยลักษณ์ ทำงานเพื่อวลัยลักษณ์"
ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะนำผู้เรียนลงลึกในภาระงานและวิธีการทำงานที่แต่ละคนปฏิบัติอยู่ ซึ่งเป็นความรู้และทักษะของจริงที่เติมเต็มให้กับความรู้และทักษะที่ได้จากการประเมินตนเองเบื้องต้น