รวมเผ่า นักวิจัย ครั้งแรกในเมืองไทย


การก้าวเข้ามาร่วมเวทีชุมชนคนวิจัย ครั้งนี้ เป็นเหมือน การประกาศตัวของคนกระเหรี่ยงคอยาวที่จะเข้ามาจัดการทรัพยากรของตนเอง โดยอาศัยการท่องเที่ยวที่ชุมชนของเธอ และ กระบวนการที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องอาศัยกระบวนการคิด และทำความเข้าใจผ่านเวที ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย “รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสม”

รวมเผ่า นักวิจัย ครั้งแรกในเมืองไทย

 

                เวที การพบเจอ ของบรรดาเหล่านักวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมไปในฐานะของ เป็นที่ปรึกษาของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

                บรรยากาศที่น่าสนใจ ในเวทีที่ว่านี้ ก็คือ มีผู้คนหลากหลาย  (รวมเผ่า) ทั้งนักวิจัยชาวบ้านเดิม นักวิจัยหน้าใหม่ ว่าที่นักวิจัย ตลอดจนผู้สนใจเรียนรู้  คนม้ง คนกระเหรี่ยง ลาหู่ ลีซู  จีนยูนาน  ไทยใหญ่ และคนเมือง กว่า ๔๐ ชีวิตมานั่งคุยกันเพื่อพิจารณาประเด็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เกิดประเด็นใหม่ๆขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

                วันนี้คึกคักเป็นพิเศษ ด้วยมีชาวกระเหรี่ยงคอยาว ๒ ท่าน มาร่วม เวทีด้วย


จากการสนทนากับน้องกระเหรี่ยงคอยาวทั้งสองคน (น้องมะลิ กับ น้องมะปราง)  ถึงมูลเหตุที่มาเข้าร่วมเวทีชุมชนคนวิจัยแม่ฮ่องสอน ครั้งนี้ 


               

มะลิ บอกว่า เธอสนใจงานวิจัย เธอคิดว่า "งานวิจัยน่าจะแก้ไขปัญหาชุมชนเธอได้ น่าจะเป็นทางเลือกในการพัฒนาชุมชนที่เธออยู่"

ผมถามต่อว่า น้องมะลิ สนใจ ประเด็นใด หรือ ชุมชนของน้องมะลิ มีประเด็นอะไรที่ น่าจะใช้ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบ้าง ? เธอบอกว่า “ประเด็นการท่องเที่ยว”   เธอบอกต่อว่า “ที่ผ่านมา ชุมชนและพวกเธอเป็นผู้ถูกเที่ยวอย่างเดียว ไม่ได้มีส่วนในการท่องเที่ยวของผู้คนที่มาเที่ยวยังชุมชนของเธอ”
เธอบอกกับผมอีกว่า ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวตกอยู่ที่นายทุนหมด ทั้งที่ ทรัพยากร ทั้งหมดเป็นของชุมชน “มันไม่เป็นธรรมเลย”

การก้าวเข้ามาร่วมเวทีชุมชนคนวิจัย ครั้งนี้ เป็นเหมือน การประกาศตัวของคน     กระเหรี่ยงคอยาวที่จะเข้ามาจัดการทรัพยากรของตนเอง โดยอาศัยการท่องเที่ยวที่ชุมชนของเธอ และ กระบวนการที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องอาศัยกระบวนการคิด และทำความเข้าใจผ่านเวที ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย “รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสม” ทั้งนี้ ผลของงาน จะหมายถึง การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการประเด็นปัญหา การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ และเป็นธรรม และสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด ก็คือ “การอนุรักษ์ ฟื้นฟู สิ่งดีๆของชุมชน” ไม่ว่าจะเป็น “ทุน” ทุนทางธรรมชาติ ภูมิปัญญา ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้ว ยังเป็นกระบวนการที่จะจัดการองค์ความรู้ของชุมชนเอง

"งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น" น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่พวกเขาจะประกาศตัวตนของพวกเขา ในสังคมนี้

 ให้กำลังใจนะ น้องมะลิ น้องมะปราง

หมายเลขบันทึก: 24999เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ขอบคุณคุณจตุพรที่นำมาเล่านะคะ ดีใจกับความคืบหน้า แม้จะทีละก้าวเล็กๆ ฝากกำลังใจให้น้องทั้งสองสำหรับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่จะเกิดต่อๆไปด้วยค่ะ

เยี่ยมมากคะ เป็นกำลังใจให้คะ

ขอร่วมเป็นกำลังใจให้คนทำงานเพื่อท้องถิ่นอีกคนค่ะ

ในตอนแรกที่เขายอมให้นายทุนจัดการทุกอย่าง อาจเป็นเพราะความไม่รู้และเข้าไม่ถึงข้อมูลต่างๆ นะคะ และตอนนี้เขาได้เรียนรู้แล้วล่ะค่ะ ว่าการปล่อยให้คนอื่นเข้ามาจัดการเรื่องที่เป็นของเราเอง ไม่มีใครทำได้ดีกว่าเราเอง หรือเจ้าของเรื่องหรอกค่ะ

เพียงแต่คุณให้กำลังใจ ให้ความเชือมั่น ว่าเขาสามารถทำได้ รับรองค่ะ ความยั่งยืน และการพัฒนาก็จะเกิดขึ้นค่ะ

ขอปรบมือให้ค่ะ

-ขจิต ฝอยทอง( khajit's blog)
  • เยี่ยมมากครับ
  • ขอเป็นกำลังใจให้ หวังว่าจะได้อ่านเรื่องต่อไปนะครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง  และคิดว่าควรหาสมดุลย์ที่ดีได้ครับ

 

สิ่งสำคัญที่มองเห็น คือ การให้โอกาส

ให้โอกาส เพื่อให้ "คน" นั้นได้ให้โอกาสตนเอง

              งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น แนวคิดของการวิจัยแบบนี้ ผูกกับชุมชน เป็นปัญหาของชุมชนจริงๆ และชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการปัญหาด้วยชุมชนเอง คนภายนอกเป็นเพียงพี่เลี้ยง ผู้ให้คำปรึกษา โดยใช้งานวิจัยเครื่องมือ ในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหา

            โจทย์วิจัย มาจากชุมชน ลองทำ ลองผิดลองถูก อาจไม่ต้องให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์มากมายนัก แต่สิ่งที่มีคุณค่าที่สุด ก็คือ"กระบวนการเรียนรู้ของคนที่เข้าร่วมกระบวนการวิจัย" ตรงนี้ เป็นอาวุธทางปัญญาที่ติดให้ทุกคน เป็นการพัฒนาศักยภาพคนทำงาน ภายใต้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น

เป็นสิ่งที่เรา"คาดหวัง" ครับ 

"สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท