การพัฒนาบุคลากรที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่( 6 )


ไปร่วมเวทีสนทนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ในพื้นที่บ้านท่าพุทราตำบลโกสัมพีอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

การพัฒนาบุคลากรที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ในตอนที่6นี้จะกล่าวถึงการสอนน้องในการออกแบบงานและการทบทวนข้อมูลการวิจัยแนวทางการพัฒนากล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร

 

วันนี้วันที่ 17 มีนาคม 2552 ผมได้มีโอกาสไปร่วมเวทีสนทนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ ในพื้นที่  บ้านท่าพุทรา ( หมู่ 6และหมู่9 ) ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ในการเดินทางไปครั้งนี้จะประกอบไปด้วยทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรและน้องๆที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่( นักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ )ซึ่งอยู่ในช่วงการทดลองการปฏิบัติราชการ ไปร่วมฝึกปฏิบัติงานในภาคสนามด้วย  โดยมีคุณบุญช่วย เข็มคง ( นวส.ชำนาญการ ) รับผิดชอบตำบลโกสัมพี ได้นัดหมายเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการปลูกกล้วยไข่ ไม่น้อยกว่า 20 รายโดยใช้สถานที่ ศาลากลางบ้านหมู่ที่ 9 บ้านท่าพุทรา ตำบลโกสัมพี

 

             ความจริงแล้วทางทีมงาน อยู่ระหว่างการดำเนินการวิจัยแนวทางการพัฒนากล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร มาแต่ต้น ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ไปแล้ว และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ในเชิงปริมาณ  ในการลงพื้นที่  โดยจัดเวทีสนทนากลุ่ม มีวัตถุประสงค์ก็เพื่อต้องการให้เกษตรกรที่เป็นประชากรเป้าหมายของการวิจัย ได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ของข้อมูล ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ได้เพิ่มเติมข้อมูลที่ตกหล่น

 

 

            ในขณะเดียวกันทางทีมงาน ได้สอนงานน้องๆที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ได้เข้าใจในการลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคสนาม ซึ่งจะต้องมีการเตรียมการดังนี้

 

          ขั้นที่ 1. วางแผนการลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคสนามไว้ล่วงหน้า  พร้อมการขออนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงาน

 

         ขั้นที่ 2. ทำการประสานงานให้เกษตรอำเภอและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานระดับตำบล ได้เข้าไปนัดหมายกับเกษตรกรเป้าหมาย โดยนัดหมายวัน เวลา และสถานที่

 

         ขั้นที่ 3.. ออกแบบงานร่วมกันของทีมงานว่าการลงไปปฏิบัติงานแต่ละครั้ง นักส่งเสริมการเกษตรจะต้องออกแบบกระบวนงาน ว่าเป้าหมายงานที่จะทำคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร กำหนดเวลาที่จะใช้แต่ละขั้นตอน  กำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการสื่อสารกับเกษตรกร( การสื่อสารสองทาง) รวมทั้งการตั้งคำถาม และการมอบหมายงานให้ทีมงานรับผิดชอบแต่ละขั้นตอน

 

         ขั้นที่ 4. การลงปฏิบัติงานจริงก็จะต้องสังเกตว่าสถานที่ที่จะทำการสนทนาเหมาะสมหรือไม่ อากาศถ่ายเทดีไหม  การจัดเก้าอี้นั่ง ควรเป็นรูปตัวยู หรือครึ่งวงกลม ทั้งนี้ให้คำนึงถึงบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วย  ซึ่งอาจจะต้องคำนึงถึงการใช้เครื่องมือสื่อสารสองทาง เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล

 

 

        ขั้นที่ 5. การสร้างความคุ้นเคยก่อนที่เริ่มกระบวนการในการสนทนา บอกวัตถุประสงค์ของการลงพื้นที่ครั้งนี้  รวมทั้งการแนะนำตัว จากนั้นก็เริ่มใช้คำถามนำ ในช่วงแรกนี้ เราได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย สภาพทั่วไปของการปลูกกล้วยไข่ของตำบลโกสัมพี  ต้นทุนการผลิตกล้วยไข่ต่อไร่ ปัญหาอุปสรรคที่พบ และแนวทางการพัฒนาการปลูกกล้วยไข่ ให้เวทีสนทนาได้รับทราบ

 

 

      ขั้นที่ 6. การนำเสนอข้อมูลที่มีประเด็นข้อสงสัยเช่น ตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์ ด้านต้นทุนการผลิตต่อไร่ ระหว่างกล้วยไข่ปีที่1 (ปลูกใหม่) กับกล้วยไข่ปีที่ 2 (กล้วยตอปีที่2 ) จากนั้นเราได้แบ่งกลุ่มเกษตรกร ออกเป็น สองกลุ่มให้ร่วมกันคิดต้นทุนการผลิตต่อไร่ แล้วให้ผู้แทนกลุ่มย่อยได้นำเสนอในที่เวทีใหญ่ เพื่อให้ทุกคนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง

 

 

      ขั้นที่ 7. การนำเสนอข้อมูลที่เป็นประเด็นปัญหาอุปสรรคที่พบ จากแบบสัมภาษณ์มีประเด็นปัญหาที่เรียงลำดับมากไปหาน้อย ได้แก่ น้ำท่วม  ลมพัด  กล้วยไข่เป็นโรค  ผลผลิตต่อไร่ลดลง  แมลงทำลาย ดินเสื่อม  ฝนแล้ง  ขาดแรงงาน  การจัดการแปลงยาก เป็นต้น จากนั้นเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้ทบทวนพร้อมให้เพิ่มเติมปัญหาได้

 

 

     ขั้นที่ 8. การนำเสนอแนวทางพัฒนากล้วยไข่ ที่ได้จากแบบสัมภาษณ์  มีประเด็นที่สำคัญที่เรียงลำดับความสำคัญมากไปหาน้อย ได้แก่ ประกันราคาผลผลิต สนับสนุนปัจจัยการผลิต การชดเชยตามราคาต้นทุนที่จ่าย การสนับสนุนพันธุ์ดี การตรวจวิเคราะห์ดิน การสนับสนุนเงินทุนและกองทุน  การรวมกลุ่มผู้ผลิต เป็นต้น จากนั้นเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้ทบทวนพร้อมให้เพิ่มเติมแนวทางการพัฒนาได้

 

      ขั้นที่ 9. การคืนข้อมูลทั้งหมดตามขั้นที่6-8 ไว้ให้กับชุมชน( กลุ่มผู้ปลูกกล้วยไข่ บ้านท่าพุทรา )ไว้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการปลูกกล้วยไข่ของชุมชนต่อไป จากนั้นเราพักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน แล้วเราก็ขอตัวกลับ  พร้อมมอบหมายให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลโกสัมพี (คุณบุญช่วย เข็มคง ) ได้วางแผนปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มผู้ปลูกกล้วยไข่บ้านท่าพุทรา ต่อไป

 

      ขั้นที่ 10. ทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ ได้ร่วมกันประเมินหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานด้วยเทคนิค  AAR

         สรุปบทเรียนที่น้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ได้เรียนรู้งานในการลงฝึกภาคปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคสนาม ทั้ง 10 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นโดยมุ่งเน้นการใช้ความรู้ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร โดยการทำการวิจัยในงานประจำ ณ.ปัจจุบันนั่นเองครับ............

หมายเลขบันทึก: 249105เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2009 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

-สวัสดีครับ

-แวะมาเยี่ยมดูการพัฒนาบุคลากรครับ

-ยินดีต้อนรับ(พี่)น้องใหม่สู่ พรานกระต่าย นะคร๊าบ....

  • สวัสดีค่ะ
  • ดีใจกับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ของกำแพงเพชร ที่ได้ทีมพี่เลี้ยงเยี่ยมยุทธ
  • เป็นการสอนงานที่ครบกระบวนการงานส่งเสริมการเกษตร จริงๆ ชื่นชมค่ะ
  • ขอบคุณอ.สิงห์ป่าสัก
  • ที่แวะมาให้กำลังใจกันเสมอมา
  • ขอบคุณเพชรน้ำหนึ่ง
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • อีกไม่นานคงจะส่งน้องใหม่ไปฝึกปฏิบัติงานที่อ.พรานกระต่าย
  • ฝากการสอนงานให้น้องใหม่ด้วยนะครับ
  • ขอบคุณน้องมุ่ยฮวง
  • ที่แวะมาทักทายกันเสมอมา
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ...

ขอบคุณมากนะคะ

สำหรับคำแนะนำที่มีให้คะ

  • ขอบคุณน้องก้อนกรวด
  • ดีใจมากเลยครับ
  • ที่น้องเราเปิดBlogแล้ว
  • แล้วจะตามไปอ่าน
  • ขอใหขยันบันทึกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท