Holistic Corner : ทีมสุขภาพ ของเราคือใคร


เวลาหนึ่ง สถานที่แห่งหนึ่ง จะมีบุคคลหนึ่ง ที่เหมาะสมต่อการดูแล ซึ่งอาจไม่ใช่แพทย์ พยาบาล ก็ได้

อยากเล่าบทเรียน   เรื่องการทำงานเป็นทีมที่ผมได้เจอ    เมื่อก่อนผมก็มองว่าต้อง สหวิชาชีพ ครับ แต่พอทำงานไปนาน ๆ   พบว่าการติดที่วิชาชีพ และพยายามที่จะทำให้เกิด ทีมสหวิชาชีพ แบบจัดตั้งเนี่ย กลับเป็นกรอบกำแพงอันแน่นหนา 

                    มลองสัมภาษณ์ กลุ่ม สะเดาหวาน   แกนนำที่เป็นผู้ติดเชื้อ    มีประวัติการหล่อหลอมมานับ 10 ปี  ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV สามารถกลับมายืน  มีชีวิตอีกได้และเป็นแกนนำ  สามารถช่วยเหลือเพื่อนได้   ทำให้ผมเข้าใจเลยว่าทีมเราคือใคร

 


ที่คลินิก HIV เราจัด พื้นที่เฉพาะครับ  มีแพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  เจ้าหน้าที่ lab นักโภชนากร  มีหมอเด็กด้วย คุณหมอ ก็ใจดี  เภสัชก็ใจดี

 

 

 

เราก็อาจจะมองว่ามันก็ สหวิชาชีพแล้วนี่   แต่การดูแล ชีวิตมันอาจไม่เพียงพอ แค่นี้

 

       มลองสัมภาษณ์ แกนนำผู้ติดเชื้อ   คนหนึ่งที่เปิดเผยตัวได้  อุทิศตัวเพื่อการช่วยเพื่อน  รวมตัวกันชื่อ กลุ่มสะเดาหวาน     แกบอกว่า ไม่ว่าหมอจะให้ความรู้อย่างไร ก็ไม่ฟัง เพราะหมอไม่ได้เป็นเหมือนเรา หมอจะเข้าใจเราได้อย่างไร  สุดท้าย คนที่เข้าใจมากที่สุดก็คือ คนที่เป็นเหมือเรา รู้ทุกข์ รู้สุข   เดียวกัน 

 

         อ้อ ( ชื่อสมมุติ )     ติดเชื้อ HIV มาจากกรุงเทพ พอกลับมาบ้าน พ่อก็บวชไปแล้ว    แม่เสียชีวิตแล้ว  กลับมาอยู่กับ ญาติ ๆ ก็สร้างกระต๊อบไว้ นอนคนเดียว  เพราะญาติกลัวกันหมด   จนป่วยมารักษาที่ โรงพยาบาล สุดท้าย เรา plan ว่าจะดูแลแบบ  end of life  พยาบาลให้สวดโพชฌงค์ แล้ว  ญาติก็เตรียมเต้นท์ รอจัดงานแล้ว   ร.พ.ก็ให้กลับไปสงบที่บ้าน    แต่เรื่องไม่จบครับ  มีสะเดาหวาน  แกนนำที่เป็นผูติดเชื้อ   2 คน  ตามไป ช่วยดูแล อาบน้ำให้ จัดยาให้ ให้กำลังใจ  จนค่อย ๆ ดีขึ้น ญาติจากเดิม รังเกียจ  เห็นคนอื่นมาดูแล แตะเนื้อต้องตัวได้    ก็ ค่อย ๆ เข้ามาช่วยดูแล   จนเธอกลับมายืนได้ มีชีวิตใหม่ได้             ในที่สุดจากผู้รับ ก็กลับมาอุทิศตัวเป็นผู้ให้  

เธอบอกอย่างหนักแน่น ว่า  “  ที่กลับมามีชีวิตได้ เพราะพี่สะเดาหวาน เขามาดูแล เขาเอา ใจ นำ ไม่ได้เอาความรู้นำ    คนเหล่านี้ไม่มีความรู้หรอกครับ แต่ มีใจ   เผอิญการดูแลที่ใช้ใจนำ   มันเหมาะมากกับการดูแลชีวิตคน   ผมชอบเอาเรื่องนี้เล่าให้คนฟัง  วันหนึ่ง ทีมนำคุณภาพ รพ.  ฟังแล้วบอกว่า  อย่างนี้ต้องทำมาตรฐาน สะเดาหวานนะ ว่าควรรู้อะไรบ้าง  

 ผมกระซิบกับคนข้าง ๆ ว่า   ตูจะเล่า ให้เห็นความงามเสียหน่อย  ดันวกกลับไปมาตรฐานเสียชิบ     มันมองไม่เห็นความงามของจิตอาสาเล้ย

  

 

                    มีผู้ป่วยคนหนึ่งชื่อป้า  นิ่ม  ( เป็นนามสมมุติ ครับ )   แกติดเชื้อโดยบังเอิญ แล้วก็กลับจากกรุงเทพมาอยู่กับ พ่อ  พ่อก็สร้างกระต๊อบไว้อยู่คนเดียว  ห่าง ๆ ครับ

 

               

 

                  จนแกป่วยมาก มา ร.พ.วาริน ก็เช่นกันครับ  plan end of life  แล้ว      แล้วก็กลับบ้านตามระเบียบรัตน์ เอ๊ย ระเบียบ เฉย ๆ    เรื่องของโรงพยาบาลก็มักจะจบเท่านี้แหละครับ  ทำตามมาตรฐานแล้วนี่      แต่อย่างที่ผมว่า ชีวิตมันยังไม่จบ       อ้อ   สะเดาหวาน คนก่อนที่ผมเล่าให้ฟัง จากผู้รับมาเป็นผู้ให้บ้างครับ กับเพื่อนสะเดาอีก 2-3 คน   ขี่มอร์เตอร์ไซค์   ตามไปดูต่อที่บ้าน     ผมชอบบอกว่า เวลาเด็กแท้งออกมา ก็รู้อยู่ว่าอาจจะตาย แต่เราเห็น ดิ้น กะเด้ว ๆ     เราก็ยังช่วยเลย     พวกนี้ก็คงรู้สึกอย่างนั้น และเคยเป็นมาก่อน   

จนต่อมา      ติ๊ก  กับ หนิงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของเรา  พากันมาตามดูต่อ   เจ้าหน้าที่ pcu ชื่อ ยุ ก็มาดูด้วย 

 

       

หลังจากกลับจากโรงพยาบาล    นอนรอวันสุดท้าย   อยู่คนเดียว อย่างนี้ที่บ้านแหละครับ         

              ยุ เจ้าหน้าที่ pcu  ดูจะซาบซึ้ง กับการช่วยแล้วเห็นแกดีขึ้น       ยุช่วยสอนให้ หลาน ห่าง ๆ ของแก กล้าที่จะดูแลแก วันดีคืนดี  พวกเราที่เอ่ยทั้งหมด ก็พาแกมาอาบน้ำ แต่งตัว  พาแกหัดยืน เดิน  พาแกกินยา ที่สำคัญ พาแกกลับมามีชีวิต  อีกครั้ง   โดยไม่เคยกลับมาโรงพยาบาลอีกเลย   เพราะการเยียวยาทั้งหมดอยู่ที่บ้าน กระต๊อบของแก

  

 

 

                         

  

               ตอนขอรูปภาพจากหม่ำ  เจ้าหน้าที่ องค์กรแชร์      ผมดูรูปที่พวกเราพากัน อาบน้ำ ตัดผมแกแล้วคุ้น คุ้น เหมือนจะเคยเห็นที่ไหน  นึกขึ้นมาได้ว่า เหมือนรูปที่ สำนักพุทธ ฉือจี้ ที่ไต้หวัน เลยครับ   คนพวกนี้ ทำงานด้วย    Mission to be a humane doctor.  เยียวยา ที่ใช้ใจนำ ไม่ใช้ความรู้นำ

 

 

ล่าสุด แกก็กลับมาแบบนี้ครับ  ปลูกผักกินเอง ใช้ชีวิตต่อได้  ผมเห็นแกหัวเราะตลอดการคุยครับ

 

 

 

            

 

 อย่าเข้าใจผิดว่า   ผมเป็นหมอคนเก่งที่ทำให้ป้านิ่มกลับมามีชีวิตใหม่ได้นะครับ     ที่เล่ามาทั้งหมด ไม่มี ผมหรือหมอ คนอื่นมาเกี่ยวข้องรักษาอีก เลย     หลังจากแกกลับไปนอนรอตายที่บ้านแล้ว 

 ที่เล่าได้เป็น วรรคเป็นเวร  นี่ เป็นเรื่องที่ผม นั่งฟัง สะเดาหวานเล่าให้ฟังครับ   ผมก็พยายามฟังแบบลึก    ได้แต่   อื้อ อ้อ  อือหื้อ อึม    แล้วก็ขอรูปมาเล่าให้ฟังนี่แหละครับ    


 

      ผมเลย พบว่า  ณ. เวลาหนึ่ง  สถานที่แห่งหนึ่ง จะมีบุคคลหนึ่ง   ที่เหมาะสมต่อการดูแล ซึ่งอาจไม่ใช่แพทย์   พยาบาล ก็ได้ 


 

ทีมของเรา   ก็คือ   ทุกคนที่เหมาะสม  เพียงแต่เรา  ะให้โอกาสเหล่านี้เกิดขึ้นหรือไม่  ารเยี่ยมบ้านผู้ติดเชื้อ และการให้คำแนะนำ เราพบว่าบุคลากรที่ดีที่สุด ก็ สะเดาหวานนี่แหละครับ  จนวันนี้ สะเดาหวานเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบริการที่เราต้องมีครับ 

 

 

ภาพที่สะเดาหวานนั่งคุยกับเพื่อน   เราไม่ค่อยได้เคยเห็น หมอไปนั่งคุยกับคนไข้     อย่างนี้หรอกครับ

 

หมายเลขบันทึก: 248687เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ดีจังเลยค่ะ มีกลุ่มแบบนี้ด้วย

จริงๆแล้วทีมสหวิชาชีพไม่ใช่มีแค่บุคลากรเท่านั้น

ยังมีกลุ่มคนไข้ที่คอยช่วยเหลือกัน น่าสนับสนุนมากค่ะ

เข้ามาเรียนรู้ค่ะ และเห็นด้วยกับคุณหมอด้วยว่า

  • "ในเวลาหนึ่ง สถานที่แห่งหนึ่ง จะมีบุคคลหนึ่งที่เหมาะสมต่อการดูแล ซึ่งมักไม่ใช่แพทย์ พยาบาล"

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความดี ที่เราอยากให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยทุกวันนี้ การอยู่ในกรอบหรือระบบระเบียบมันอาจดูดี แต่บางครั้งเมื่อเรานำมาใช้จริงในแต่ละบริบทของสังคมมันก็เข้ากันม่ายค่อยได้สักเท่าไรนัก การที่เราได้มีโอกาสช่วยเหลือคนอื่นด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ไม่จำเป็นต้องมีค่าตอบแทนขอให้มีใจนำ เป็นสิ่งที่น่ายกย่องและเชิดชู ขอเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

สวัสดีครับพี่จิ้น ขอบคุณที่ลงเรื่องนี้ ถึงแม้ผมจะเคยฟังพี่เล่าแล้วแต่พอได้อ่านก็ยังประทับใจครับ"

ขอบคุณมากนะคะสำหรับความร้ ประสบการณ์ดีดี เห็นด้วยจริงจริงคะ

เช่นเดียวกับผู้ป่วยจิตเวช ใช่ว่าทีมสหวิชาชีพเท่านั้น ผู้ดูแล(ญาติ)แกนนำก็มีความสำคัญ เพราะเมื่อใดชุมชน สังคมยอมรับเขาได้ คอยให้กำลังใจคอยสอบถามความเป็นอยู่และช่วยประสานงานระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแลกับบุคลากรสาธารณสุข ผู้ป่วยก็สามารถอยู่ในชุมชนได้นาน

อ่านแล้วซาบซึ้งใจมาก

นับถือยกย่องผู้เกี่ยวข้องทุกคนคะ

 

สวัสดีค่ะ คุณหมอจิ้น

ขออนุญาตนอกเรื่องนิดนึงนะคะ

พอดีทางทีมงานส่งอีเมล์เชิญผู้ที่เคยได้รับรางวัลสุดคะนึงมาร่วมงาน GotoKnow Forum ตามรายละเอียดในบันทึก http://gotoknow.org/blog/my-usablelabs/247537  ซึ่งจะจัดในวันที่ 25พฤษภาคม 2552 ค่ะ 

หนูได้ส่งอีเมล์ติดต่อคุณหมอจิ้นไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับอีเมล์ตอบกลับ เลยไม่แน่ใจว่าคุณหมอจิ้นจะได้รับอีเมล์รึยังค่ะ

หนูรบกวนคุณหมอจิ้นพิจารณารายละเอียดข้างต้น และรบกวนติดต่อกลับโดยส่งอีเมล์ติดต่อผ่านฟอร์มที่ http://gotoknow.org/email/soontrees ด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะเข้าแถวต่อใหม่ของ G2K ค่ะ อ่านแล้วชอบมาก เห็นบรรยากาศ แม้คนเล่าฟังเขาเล่ามาอีกทีก็เถอะ

ซึ้งมากค่ะ และคิดถึงพี่ๆจิตอาสาในบันทึกของเราด้วย http://gotoknow.org/blog/hhc/270637

พึ่งได้ Blog จากน้องที่รู้จักส่งมาให้

อ่านแล้วชื่นชม และมีกำลังใจที่จะทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด

ดีใจจังที่ยังมีเรื่องดี ๆ ในสังคมของเรา

คุณหมอจิ้น

พี่เคยได้ฟังได้ยิน ได้เห็น สิ่งสวยๆงามในสังคม ที่คุณหมอถ่ายทอด แต่พอมาอ่านอีกครั้งก็ยังประทับใจ

อยากให้มีเรื่องเล่าดีๆแบบนี้อีก อ่านแล้วชื่นใจ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท