Lily pink
พลับพลึง พลับพลึง สีชมพู

งานวิชาการ


การบริหารงานวิชาการ

ความหมายการบริหารงานวิชาการ

                การบริหารงานวิชาการเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นงานที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน  ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของสถานศึกษาและเป็นเครื่องชี้ความสำเร็จ  และความสามารถของผู้บริหาร

                 การบริหารงานวิชาการ  หมายถึง  การบริหารกิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษา หรือโรงเรียนเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดี  และมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาทุกแห่ง  คือ การให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่ผู้เรียน(ภิญโญ  สาธร,2526: 324)  การบริหารกิจกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวกับการพัฒนา  และปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด หรือการบริหารที่ให้พลเมืองมีความรู้  มีคุณธรรม  สามารถประกอบสัมมาอาชีพ  ดำรงตนเป็นพลเมืองดี  ช่วยกันพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป(อุทัย  ธรรมเตโช,2531: 6)  การบริหารวิชาการ

ประกอบด้วยงานหลายอย่าง  สิ่งสำคัญของงานด้านวิชาการ คือ หลักสูตรเป็นตัวกำกับงานด้าน

วิชาการ  ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ  ในการนำไปใช้ในแต่ละสถานศึกษาจึงแตกต่างกันไป       การจัดโปรแกรมการศึกษาขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น  บุคลากร  งบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์  รวมทั้งผู้เรียนด้วย (สงวน  สุทธิเลิศอรุณ,2533 : 133)  การบริหารสถานศึกษาโดยมีการจัดกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุง  การพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดี  และมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน (ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ ,2535 : 16)

 

ความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ

                งานวิชาการเป็นงานที่มีความสำคัญในการจัดระบบงานให้รัดกุม  และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ฉะนั้น  จึงมีนักการศึกษาได้ให้ความสำคัญของงานวิชาการไว้ดังนี้

                งานวิชาการเป็นหัวใจของโรงเรียน  เป็นชีวิตจิตใจของสถาบันทีเดียว ส่วนงานด้านอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สถาบันดำเนินไปด้วยความราบรื่นเท่านั้น(พนัส  หันนาคินทร์,2524 : 235)

ผู้บริหารการศึกษา ทุกคนควรจะรับผิดชอบเป็นผู้นำของครูในด้านวิชาการเป็นอันดับแรก  เพราะหน้าที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกแห่ง คือ  การให้ความรู้แก่นักเรียนในด้านวิชาการ  โดยการทำงานร่วมกับครู  กระตุ้นเตือนครูให้คำแนะนำครู  และประสานงานให้ครูทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในการสอน(ภิญโญ  สาธร, 2526 : 232 )  งานวิชาการเป็นงานหลักของการบริหารสถานศึกษา  ไม่ว่าสถานศึกษาจะเป็นประเภทใด  มาตรฐานและคุณภาพของสถานศึกษาจะพิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ  เนื่องจากงานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตร  การจัดโปรแกรมการศึกษา  และการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องทางตรงหรือทางอ้อม ก็อยู่ที่ลักษณะของงานนั้น(ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์, 2535 : 15 )

                สมิธ (Smith,1961) ได้ศึกษาและจัดลำดับความสำคัญของงานวิชาการไว้เป็นอันดับแรกงานในความรับผิดชอบของผู้บริหารแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้

                งานบริหารงานวิชาการ                                     ร้อยละ 40

                งานบริหารบุคลากร                                            ร้อยละ 20

                งานบริหารกิจการนักเรียน                                ร้อยละ 20

                งานบริหารการเงิน                                             ร้อยละ 5

                งานบริหารอาคารสถานที่                                  ร้อยละ 5

                งานบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน ร้อยละ 5

                งานบริหารทั่วไป                                 ร้อยละ 5

                ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า   งานวิชาการถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา เพราะจุดมุ่งหมายของสถานศึกษาก็คือ  การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ  ซึ่งขึ้นอยู่กับงานวิชาการทั้งสิ้น  งานวิชาการเป็นกิจกรรมการจัดการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  แบบเรียน  งานการเรียนการสอน  งานสื่อการเรียนการสอน  งานวัดผลและประเมินผล  งานห้องสมุด  งานนิเทศการศึกษา  งานวางแผนการศึกษา  และงานประชุมอบรมทางวิชาการ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

                จะเห็นได้ว่าการบริหารงานวิชาการนับเป็นงานที่สำคัญของโรงเรียน  เป็นหน้าที่หลักของโรงเรียน ถือเป็นหัวใจของการบริหารโรงเรียน  โรงเรียนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับงานวิชาการของโรงเรียน ที่จะสร้างนักเรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้  มีจริยธรรม  และคุณสมบัติตามที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้เป็นอย่างดี

 

 

ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ

                งานวิชาการมีขอบข่ายครอบคลุมเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร  และการเรียนการสอน  ตั้งแต่การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ  การจัดดำเนินงาน  เกี่ยวกับการเรียนการสอน  การจัดบริการการสอน  ตลอดจนการวัด และประเมินผล  รวมทั้งติดตามผล และสื่อการสอนรวมไปถึงการพัฒนาผู้สอนตลอดจนการดำเนินกิจการของโรงเรียนจะต้องเป็นไปตามหลักสูตร  และระเบียบพิธีการของการเรียนการสอน จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมทุกระยะ  ด้วยการจัดเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย  บางครั้งก็มีการเพิ่มวิชาใหม่ ๆ เข้าไปด้วยผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างแท้จริงนั้น เกิดจากการเรียนการสอน  ดังนั้น  เมื่อหลักสูตรเปลี่ยนก็จำเป็นต้องอบรมครูตามไปด้วย เพราะการใช้หลักสูตรในโรงเรียนจะมีส่วนเกี่ยวโยงไปถึงการจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน  วิธีสอน การใช้อุปกรณ์การสอนและการประเมินผลด้วย (ก่อ  สวัสดิพาณิชย์, 2535 : 83)  ถ้ามองในด้านของงานสถานศึกษา  การบริหารงานวิชาการ ได้แก่  งานควบคุมดูแลหลักสูตร  การสอน  อุปกรณ์การสอน  การจัดการเรียน  คู่มือครู  การจัดชั้นเรียน  การจัดครูเข้าสอน  การปรับปรุงการเรียนการสอน  การฝึกอบรมครู  การนิเทศการศึกษา การเผยแพร่งานวิชาการ  การวัดผลการศึกษา การศึกษาวิจัย  การประเมินมาตรฐานสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพ  และประสิทธิภาพสถานศึกษา(ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ , 2535 : 59)  

                ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  งานวิชาการเป็นงานที่มีขอบข่ายครอบคลุมหลายด้าน  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนทุกด้าน  ซึ่งสามารถสรุปขอบเขตของงานวิชาการได้ดังนี้  งานการจัดหลักสูตร  งานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  งานการใช้วิธีการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอน  งานการวัดผลการเรียนการสอน และการนิเทศการสอน

 

หลักการบริหารงานวิชาการ

                ในการบริหารงานวิชาการจะต้องมีหลักการและวิธีการดำเนินงาน  เพื่อให้เกิดความ

คล่องตัวในการบริหาร  ดังนั้นในหลักการเบื้องต้นของการบริหารจึงต้องมีข้อความชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

                1. ยึดหลักให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง  โดยมีครู  ผู้บริหาร  ผู้ปกครอง  และชุมชนมีส่วนร่วม

                2. มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้  โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

                3. มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้

                4. มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัดหลักสูตร

และกระบวนการเรียนรู้ และสามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาได้ทุกช่วงชั้นทั้งระดับเขต

พื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

                5. มุ่งส่งเสริมให้มีการร่วมมือเป็นเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

ขอบข่ายและภารกิจงานวิชาการ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงศึกษาธิการ

                1.  การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระ

หลักสูตรท้องถิ่น

                2.  การวางแผนงานด้านวิชาการ

                3.  การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา

                4.  การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา

                5.  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

                6.  การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา

                7.  การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา

                8.  การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้

                9.  การนิเทศการศึกษา

                10. การแนะแนว

                11. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา

                12 การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ

                13. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น

                14. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล  ครอบครัว  องค์กร 

หน่วยงาน  สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา

                15. การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา

                16. การคัดเลือกหนังสือ  แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา

                17. การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

 

 

 

การบริหารงานวิชาการ

                ในการบริหารงานวิชาการจะต้องมีหลักการและวิธีการดำเนินงาน  เพื่อให้เกิดความ

คล่องตัวในการบริหาร  ดังนั้นในหลักการเบื้องต้นของการบริหารจึงต้องมีข้อความชัดเจน

                ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์(2535: 15)  ได้กล่าวถึงหลักการในการบริหารงานวิชาการ

ไว้ดังนี้

 1. หลักแห่งประสิทธิภาพ  หมายถึง  การได้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยไม่เพิ่มการลงทุน

คือ นักเรียนนักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาตามกำหนดของหลักสูตร  โดยไม่ลาออกกลางคัน 

เรียนเกินเวลาและช้ากว่ากำหนด

2. หลักแห่งประสิทธิผล  หมายถึง  ผลผลิตได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ นั่นคือ นักเรียน

นักศึกษามีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  มีความรู้ความสามารถ  ทักษะ  คุณภาพ  และ

การจัดการได้

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถดำเนินการบริหารงานวิชาการได้ตามภาระงาน 

ที่กฎกระทรวงศึกษาธิการ และประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

ยกเว้นภาระงานดังต่อไปนี้  มิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่

                                1.  การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา

                                2.  การวัดผล  ประเมินผล  และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน

                                3.  การคัดเลือกหนังสือ  แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา

                ส่วนการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สถานศึกษาประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สอง 

ก็สามารถดำเนินการบริหารงานวิชาการได้ทุกรายการตามภาระงานที่กฎกระทรวงศึกษาธิการ และประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเช่นกัน

 

รูปแบบการสอนใหม่ : การปรับกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ

                 จุดมุ่งหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการปฏิรูปการศึกษา  ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จึงได้ดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนไทยที่มีคุณภาพ  โครงการที่สำคัญคือโครงการครูต้นแบบในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีครูต้นแบบจำนวนทั้งสิ้น ๕๘๖ คน ครูเครือข่ายของครูต้นแบบจำนวน ๘,๘๔๘ คน รวมครูต้นแบบและครูเครือข่ายทั้งสิ้น ๙,๔๓๔ คน กลุ่มครูดังกล่าวได้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนกระจายอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศ ครูกลุ่มนี้มีภารกิจสำคัญ คือพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ผลการดำเนินงานโครงการครูต้นแบบทำให้เกิดการค้นพบองค์ความรู้ด้านรูปแบบการเรียนสอนที่ได้จากการปฏิบัติของครู   จำนวน  ๑๕ รูปแบบ ซึ่งมีความหลากหลายมาก ดังนั้น สำนักงานฯ จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำรูปแบบการเรียนรู้ของครูต้นแบบมาวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาสำนักงานฯ ได้คัดเลือกรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน ๙ รูปแบบมาวิจัยและพัฒนา นำไปทดลองในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๙๐ แห่งทั่วประเทศ  ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรา 22  การจัด

การศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาจามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 24 (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติ่ม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545  หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด  การฝึกทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  การฝึกปฏิบัติจริง และ

การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหา  โดยสำนักงานฯ สนับสนุนให้ครูต้นแบบ จำนวน

90 คน จากทุกภูมิภาควิจัยและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้จากสถาบันครุศึกษา ผลการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาดังกล่าวพบว่า  แนวทางการจัดการเรียนรู้ทั้ง   9  แนวทางสามารถใช้ได้ผลดีผลการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น 

                แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้ง  9  แนวทางนี้ มิใช่เป็นแนวทางที่ตายตัว  ผู้สอนสามารถปรับประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของตน  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นเพียงตัวอย่างให้ผู้สอนพิจารณาเพื่อพัฒนาตามความถนัดและความสนใจ  แต่ละแนวทางการจัดการเรียนรู้สามารถผสมผสานให้สอดคล้องกับบริบทของสาระการเรียนรู้  หรือสถานการณ์ในชั้นเรียนได้  แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้ง  9  ดังกล่าว ข้างต้น ประกอบด้วย  

                1. การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้

                การใช้แหล่งเรียนรู้มีความสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริง การจัดการเรียนรู

หมายเลขบันทึก: 248647เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท