เรื่องของคนทำงาน : ระดับล่างต้อง “อดทน” ระดับบนต้อง “อดกลั้น”


พฤติกรรมการทำงานของคนสองระดับ จะต้องปรับเข้าหากัน ระดับล่างต้อง “อดทน” ระดับบนต้อง “อดกลั้น” เพื่อความสัมพันธ์ที่พอไปได้

                      ผมอ่านบทความของนักวิชาการท่านหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องของความอดทน และ อดกลั้น  ผมเห็นว่าน่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ดีนะครับ  ระหว่างนาย และ ลูกน้อง  ผมขอนำมาแต่แนวคิดหลักโดยไม่คัดลอก  แต่จะขอขยายความตามสไตล์ของผมเองดังนี้ครับ นั่นคือ

          ในการทำงานร่วมกันในองค์กร  ระหว่างคนที่เป็นนาย (คนระดับบน) กับคนที่เป็นลูกน้อง (คนระดับล่าง) ต่างก็ต้องมีการปรับความคิดเข้าหากันด้วยการยอมกันบ้างครับ นั่นคือ

          ระดับบน คนเป็นนาย ต้องแสดงความอดกลั้นครับ นั่นคือ ยอมอดกลั้นเพื่อให้ลูกน้องได้ปฏิบัติตามความต้องการของตน แม้ว่านายจะไม่เห็นด้วยก็ตาม  โดยจะต้องเป็นการกระทำที่ไม่ล้ำเส้น หรือ ไม่ละเมิดความคิดของนายมากเกินไป

          ระดับล่าง คนเป็นลูกน้อง ต้องแสดงความอดทนครับ  ต้องอดทนต่อคำสั่งของนาย  และ ต้องอดทนต่อการเชื่อฟังนาย

          ผมว่าคนทำงานทั้งสองระดับ   ต้องเป็นอย่างนั้นจริงๆนะครับ ที่ว่าระดับล่างต้อง อดทน   ระดับบนต้อง อดกลั้น  

 องค์กรจึงจะอยู่รอด

        ผมเอง ก็เคยเป็นทั้งนายและลูกน้องนะครับ  ปัจจุบันนี้ ก็ยังเป็นทั้งนาย และ ลูกน้อง   ผมก็ประคองตัวมาด้วยหลักดังกล่าวแหละครับ

       เพราะผมเชื่อว่า พฤติกรรมการทำงานของคนสองระดับ  จะต้องปรับเข้าหากันครับ    ระหว่าง  ระดับล่างต้อง อดทน   ระดับบนต้อง อดกลั้น   เพื่อความสัมพันธ์ที่พอไปได้

          นาย  ต้อง อดกลั้น เพื่อลูกน้องบ้างครับ  เพื่อประคับประคองกันไป

         ลูกน้อง   ต้อง  อดทน เพื่อนายบ้าง   เพื่อสร้างงานของเราเอง

 

                            ขอบคุณครับ

 

         

 

หมายเลขบันทึก: 248646เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อดทนและอดกลั้น..ใช้ได้ทุกสถาณการณ์นะคะ..

Pขอบคุณท่าน ศน.add มากครับ

      ผมก็ใช้ทั้งสองอย่างครับ 

 นายต้อง อดกลั้น

 ลูกน้องต้อง อดทน

 บางเวลาก็แอบทำตัวเป็น นาย

 บางเวลาก็แอบทำตัวเป็น ลูกน้อง

 อิอิ...เปลี่ยนกันค่ะ

 เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในบางองค์กรค่ะ

 

Pคุณ NU ครับ

   ผมเองก็กลับไปกลับมาครับ  ระหว่างอดทนและอดกลั้น

   บางครั้ง  ก็แอบหลุดบ้างเหมือนกันครับ

                    ขอบคุณมากครับ

       

สวัสดีค่ะ

  • การอดทน..เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติทุกเรื่อง
  • แม้กระทั่งตนเองนะคะ
  • หิวข้าว หิวน้ำ ร้อน หนาว เบื่อหน่าย
  • ก็ไม่ควรพูดให้ใครได้ยิน
  • คนฟังเขาจะเป็นทุกข์และเดือดร้อนใจ

สวัสดีค่ะ

ทั้งนายและลูกน้อง ถ้าเรียนรู้และฝึกฝน การอดทน อดกลั้น แล้ว...

จะเป็นหน่วยงานที่น่าทำงานที่สุดเลยค่ะ

(^___^)

Pพี่คิมครับ

    บางครั้ง "อดทน" เรื่องคน ก็ยากอยู่เหมือนกันนะครับ

                    ขอบคุณมากครับ

Pคุณคนไม่มีรากครับ

        ผมเอง ชอบเป็นประเภท ยึดถือความถูกต้องตามหลักการ  โดยไม่ค่อยยอมใคร 

        ตอนหลังดูว่าจะไปไม่สวยครับ  เลยต้องยอมๆ คนอื่นบ้าง

                 ขอบคุณมากครับ

  • ขออนุญาตไปใช้นะคะ
  • ชอบจริงๆ  นายต้องอดกลั้น....ลูกน้องต้องอดทน
  • แต่ถ้าเหลืออดไปประเมินอารมณ์
  • ทั้งของนายและลูกน้องกันหน่อยนะคะ ที่นี่เลยค่ะ

Pขอบคุณคุณมนัญญาครับ

    ผมเข้าไปประเมินอารมณ์มาแล้วครับ  ก็ตรงและได้ทราบอารมณ์ตัวเอง

ท่านรองฯคะ

  • ตามปกติ ท่านรองฯว่า นายหรือลูกน้องคะ ที่ต้องอดทนอดกลั้น
  • ครูลี่ก็ชอบถามจัง มีคนว่าครูลี่สงสัยไปหมด
  • ขอบคุณค่ะท่านรองฯ

P  ครูลี่ครับ   ทั้งนาย ทั้งลูกน้อง ครับ

   ลูกน้อง   ต้องอดทน    นาย   ครับ ( กรณีที่นายไม่เห็นด้วยกับเรา)

                  ขณะเดียวกัน

  นายที่ดี    ก็ต้อง อดกลั้น   อารมณ์   เพื่อลูกน้อง บ้างครับ

      ( ต่างฝ่าย ต่างต้องสะกดอารมณ์ตัวเองไว้บ้างครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท