Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๗๐)


นานาเรื่องราวการจัดการความรู้ (๒๖)


การจัดการความรู้ในปูนซิเมนต์ไทย
Knowledge Management จากประสบการณ์

         เริ่มจากการได้ศึกษา KM แล้วได้รับความเข้าใจที่หลากหลาย และดูจากความสัมพันธ์ในองค์กรแล้วจะเห็นว่า KM คือการพัฒนาบุคลากรทั่วทั้งองค์กร ด้วยขบวนการแบ่งปัน, แลกเปลี่ยน, จัดเก็บและเผยแพร่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากการจัดอบรม ที่หน่วยงานได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดขบวนการบริหารความรู้ขึ้น

         โดยมีการพัฒนาความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  Soft Learning, e-Learning, Book Briefing, Case Study, Working Knowledge รวมทั้ง e-File ทั้งหลาย มีการจัดอบรม KM ให้พนักงานทุกคนในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือในการรวบรวมจัดเก็บความรู้ทั้งหลาย ในเรื่องการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ เราได้จัดทำระบบ Web Board  เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้ามาสอบถามเรื่องที่ตนเองอยากรู้ และมีผู้รู้คอยตอบหรือให้ความรู้ผ่าน Web Board  ด้านการเผยแพร่ เราได้จัดทำ Exhibition เพื่อแนะนำและส่งเสริมให้พนักงานทุกคนเข้ามาเรียนรู้ผ่าน Web ที่เราจัดทำขึ้น
         ต่อมาได้พัฒนารูปแบบการรวบรวมความรู้เป็นกลุ่ม โดยจัดทำ Website ตามอรรถประโยชน์ เช่น Health Website เราจะรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการรักษาสุขภาพไว้บน Website เดียวกัน เพื่อผู้ที่ต้องการรู้ หรือติดตามสถานการณ์ด้านสุขภาพ   เข้ามาศึกษา จัดทำ Website ด้าน Go Regional สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ได้มีความรู้    ถึงแผนผังที่ตั้งวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ที่ประเทศนั้น ๆ ตลอดจนถึงขั้นเมื่อไปอยู่ในต่างประเทศก็สามารถติดต่อกลับไปหาครอบครัวผ่านหน้าจอ MSN บน Internet นอกจากนี้เรายังมี Website อีกมากมาย เสมือนหนึ่งเป็นปากทางเข้าไปหาความรู้ที่จัดเก็บอยู่บน Knowledge Base ขององค์กร

         เราได้มีการจัดการเกี่ยวกับความรู้ และติดตามสภาพการปรับตัวของพนักงานเข้ากับขบวนการบริหารความรู้ และกำลังจะพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ต่อไป โดยได้มองเป้าหมายตาม  Stage ของการบริหารความรู้ ซึ่งเราได้กำหนดไว้ว่า
         ใน  Stage ที่ 1 จะต้องมีระบบ  Knowledge Base เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ เราไม่ได้กำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนความรู้ เพราะเราต้องมองข้ามไปถึงขั้นการส่งเสริมให้พนักงานเข้ามาเรียนรู้ เพราะหากมีความรู้ แต่พนักงานไม่เข้ามาเรียนรู้ก็ไม่เกิดผล เมื่อส่งเสริมให้พนักงานเข้ามาเรียนรู้แล้ว เรายังหวังผลจากการเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา Competency ของพนักงานนั่น หมายถึง  เราต้องมีการเรียบเรียงความรู้แบบทดสอบเพื่อประเมินความสามารถ หรือ Competency ของพนักงาน การถามตอบกรณีที่มีข้อสงสัยหรือข้อแนะนำต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายใน Stage ที่ 1 ของการบริหารความรู้.

คุณสุรสิทธิ์  ตันธนาศิริกุล
ผู้จัดการศูนย์พัฒนาความรู้เครือปูนซิเมนต์ไทย
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
1 ถนนปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทร. 1-2586-3677 e-mail :
[email protected]

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24817เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท