วิเคราะห์เวทีแลกเปลี่ยนครั้งที่ 2 (2)


ทำงานอย่างมีความสุข การมีความสมดุลทั้งทักษะการใช้ชีวิตและทักษะการทำงาน การสร้างสรรค์บรรยากาศให้ที่ทำงานเป็นเหมือนบ้านหลังที่สองหรือเป็นทุกอย่างที่เราอยากจะให้เป็น

ลองติดตามต่อในกลุ่มต่อไปเลยคะ

กลุ่มการดำเนินงานในปัจจุบัน

วิทยากรกระบวนการ :  อ.อธิวัฒน์  เจี่ยวิวรรธน์กุล

 

          ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มนี้ สรุปสาระสำคัญเป็นแผนภาพการเรียนรู้ ดังนี้

 

          คำอธิบายแผนภาพ

ภาพแรกที่เราเห็นนะคะนั่นคืออดีต  คือต้นไม้สังเกตบางต้นแตกต่างกันไหมคะ  ปัจจุบันลำต้นใหญ่ขึ้นแล้ว  รากเริ่มไม่เห็นแล้วเพราะเป็นรากที่ฝังลึกแล้ว  สังเกตมีนกบินเข้ามาก็เริ่มมีผล ก็คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำเพื่อให้ได้เกิดความสุข   มีการแชร์กันมากมาย  จากตรงนี้ผู้นำที่เป็นพระอาทิตย์เปลี่ยนบทบาทแล้ว  ทุกอย่างเมื่อทำได้ดีก็จะเป็นทั้งปุ๋ยที่ให้ทั้งความรู้  ความคิดบำรุงให้ดินดีขึ้น  และไม้ค้ำที่ทำให้ต้นไม้ไม่ล้มไม่เซ  ไม่ออกนอกกรอบเพราะมีรั้วที่กั้นอยู่   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างที่ทำมาก็จะเกิดความเคยชิน  จึงควรมีการรับฟังเขา  และต้องคอยให้กำลังใจ  บางครั้งก็ควรมีสิ่งตอบแทนให้ คือการคอยรดน้ำพรวนดิน

          HR ต้องทำให้ทุกอย่างไปได้ด้วยดี  เป็นเหมือนผู้คอยประคองหรือโค้ช  แต่ในปัจจุบันนี้มันไม่พอถ้าให้ตัวเอง นกที่บินเข้าเริ่มบินออก เราต้องเผื่อแผ่ให้กับสังคม ถ้าสังคมอยู่ได้เราก็อยู่ได้  แต่อนาคตเศรษฐกิจตอนนี้ไม่ดี  ไม่มีเงินก็อยู่ไม่ได้จะให้มีเงินก็ต้องมี KPI  (Key Performance Index) หน้าที่ของเราคือ balance อนาคตจะ balance ยังไง

 

นิยามของคำว่า คุณภาพชีวิตคนทำงาน

1.      การมีความสุขสบายและสุขใจ  จะทำให้อะไรก็ดี 

2.      คนที่มีความสุขคือ คนที่ทำเป็น คือสมดุลของตัวเอง  สมดุลของการทำงาน  ชีวิตครอบครัว

3.      เป็นคนที่สมประกอบและมีสติ

4.      การมีความ balance ของ work skill กับ life skill

5.   ที่ทำงานควรเป็นอะไรมากกว่าที่ทำงาน อาจเป็นทั้งที่ทำงาน วัดหรือมัสยิดก็ได้  เป็นคลับที่เรามีเพื่อนคุย เป็นหลาย ๆ อย่างในนั้น  เป็นโรงเรียนก็ได้ บางครั้งก็รู้สึกได้เป็นนักเรียนบ้าง  แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องไปสร้างอะไรที่ลงทุนอลังการ  แต่สามารถ set ให้มีบรรยากาศเหล่านี้ในที่ทำงาน  จนเรารู้สึกว่าตื่นเช้าวันจันทร์เราอยากไปทำงานให้เป็น Happy Monday ไม่ใช้ Happy Friday

6.      สุขได้แม้มีภัยมา ไม่ว่าจะภัยทางด้านไหน เศรษฐกิจ สังคม การงาน สุขภาพ ทุกอย่างแก้ไขได้

7.      การทำให้ที่ทำงานเป็นบ้านที่สองรองจากบ้านเรา  

ในการนิยามความหมายของคำว่า คุณภาพชีวิตคนทำงาน ในมุมมองของแต่ละคนมีความหมายใกล้เคียง สรุปได้ว่าคุณภาพชีวิตคนทำงาน ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ทำงานอย่างมีความสุข  การมีความสมดุลทั้งทักษะการใช้ชีวิตและทักษะการทำงาน การสร้างสรรค์บรรยากาศให้ที่ทำงานเป็นเหมือนบ้านหลังที่สองหรือเป็นทุกอย่างที่เราอยากจะให้เป็น  การทำเกิดองค์ประกอบดังกล่าวแล้วจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนทำงานดีขึ้น  ทำให้เกิด Happy Workplace 

 

การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำขององค์กร

          เครือข่ายสมาชิกภายในกลุ่มได้ยกตัวอย่างกิจกรรมการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรที่เกิดขึ้นในรอบปีนี้ภายใต้นโยบายของผู้บริหารแต่ละองค์กรที่น่าสนใจ ได้แก่

          Big C ภายใต้แนวคิดทีว่า ให้คุณมากกว่าคำว่าถูก คือความพยายามจะจำหน่ายสินค้าให้ถูกที่สุด  กิจกรรมด้านแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทมีประมาณ 15 กิจกรรมที่มีอยู่ตอนนี้ต่อปี  ยกตัวอย่าง งานวันเกิด งานปีใหม่ การจัด sport day การจัดให้แต่ละสาขามาพบปะกันพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น

          โรงพยาบาลพญาไท มีการปรับวิสัยทัศน์ใหม่เป็นสร้างสรรค์สุขภาพชีวิตที่ดีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้ชีวิตเพราะเข้ากับธุรกิจหลัก การมีมองว่าก่อนที่จะดูแลคนอื่นเราต้องดูแลสุขภาพพนักงานก่อน  มีการตรวจสุขภาพให้พนักงานโดยแบ่งตามกลุ่มสายงานต่าง ๆ  และพนักงานมีการรวมตัวจัดเป็นชมรมกันเองเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ

          บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด รู้จักกันดีคือ ผลิตภัฒน์ของเนสกาแฟ มีกิจกรรมร่วมกัน ที่เรียกว่า QCC Day   โดยมีกิจกรรมสองแบบ  แบบแรกคือ ช่วยกันคิดช่วยกันทำ รวมกลุ่มกันปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ส่วนกิจกรรมที่สองคือ การให้ข้อเสนอแนะ ทุกคนทำได้  ประกวดผลงานของพนักงาน รางวัลคือ การได้ไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ใช่เงิน แต่นี่คือส่วนของการที่พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบริษัท

          สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) แลกเปลี่ยนในเรื่องของหลักการทำงานที่ได้จากผู้นำองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ ขณะที่ทำงานจะได้รับการกระตุ้น learning sense อยู่ตลอดเวลา  ถูกฝึกให้ create อะไรใหม่ ๆ ออกมา  บางครั้งก็กลัวบ้างแต่ก็กล้าเดินออกไป  กล้าจะกลัว การเสริมพลังให้กับบุคลากรจากผู้นำองค์กรอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เกิดความมั่นใจ  สิ่งเหล่านี้มันมีคุณค่าในตัวของมัน คิดเป็นเงินเป็นทองไม่ได้ 

          บริษัท  โอสถสภา จำกัด  ได้นำแนวคิด Happy 8 ไปใช้ในองค์กร อาทิ การจัดมุมน้ำสุขภาพให้พนักงาน ถือเป็น happy relax  มุมสุขภาพ น้ำสมุนไพรธรรมชาติ โดยพยาบาลต้มเองด้วยทำให้เกิดความภูมิใจ  แล้วเขียนว่าน้ำนี้ดีอย่างไร  มีน้ำหลายประเภทโดยผลัดกันทุกวัน  ทำให้พนักงานที่ไม่สบายรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้บริษัทยังมีคณะกรรมการสโมสรโอสถสภา  ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง บทบาทอันแรกคือ คิดแผนงานประชาสัมพันธ์  อันที่สองแผนงานของสโมสร  อันที่สามเป็นแผนงานของบุคคล  อันที่สี่แผนงาน Happy Workplace โดยจะแบ่งงาน Happy Workplace ซึ่งจะมี Happy 8 ตัว บางตัวเป็นตัวที่ใหม่ บางตัวมีอยู่แล้ว

          บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิส จำกัด มีแนวทางที่ทำอย่างไรให้ได้ สิ่งนั่นก็คือ การมอบของขวัญวันเกิด  โดยมีทีมงานคิดทำของขวัญแล้วส่งให้ผู้จัดการบริษัทและผู้จัดการฝ่ายทุกฝ่ายเซ็น  ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีและผูกพันต่อองค์กร นอกจากนี้บริษัทยังมีความเชื่อมั่นว่าระเบียบวินัยคือสิ่งที่จะต้องบังคับ  คนไทยถ้ามีกรอบก็จะอยู่ในกรอบ  มีระเบียบวินัยที่จะต้องปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยของคนทำงาน

          องค์กรสุดท้ายที่ได้แบกเปลี่ยนเรียนรู้คือ บริษัท Somboon Advance Technology จำกัด (มหาชน) มีหลักคิดในการทำงานที่ว่า การขับเคลื่อนเข้าไปในใจพนักงาน มากกว่าการจับต้องภายนอก  รู้จักการให้กับผู้อื่น ซึ่งกิจกรรมที่ทำอยู่และมีการขยายออกไปอย่างรวดเร็ว คือ กิจกรรมพนักงานอาสา  เกิดจากความสมัครใจของพนักงาน เริ่มต้นจากการประชาสัมพันธ์อาสา ด้วยช่วยองค์กรประชาสัมพันธ์ไปสู่พนักงานโดยการแจกใบปลิว พอเกิดการร่วมตัวก็มีงานชุมชน ชุมชนผู้สูงอายุ กลุ่มนี้ก็ออกไปช่วยดูแล ได้เห็นแก่ถูกทอดทิ้ง พอออกไปพนักงานได้เห็นว่าสิ่งที่เขาได้รับจากองค์กรบางครั้งมันเกินจากความต้องการของเขา เขามาร่วมกันโดยที่องค์กรยังไม่ได้ช่วยเหลืออะไรแล้วนำไปช่วยเหลือ พอทำไปเรื่อยๆ ก็ขยายออกไปนอกองค์กร

          สรุปได้ว่ากลุ่มนี้ได้สาระความรู้ และหลักคิดในการทำงานดีจากประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับชีวิตคนทำงานในแต่ละองค์กรที่มีสไตล์ของตนเอง และควรค่าแก่การนำไปปรับใช้ต่อไป

 โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 248101เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท