Be green
กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14

นักท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว


Be green เพิ่งกลับจากการอบรมในหลักสูตร การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาค่ะ ก็เลยอยากเชิญชวนให้คนไทยทุกคนที่มีหัวใจสีเขียว เลือกท่องเที่ยวแบบนักท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว โดยเลือกท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หรือ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กันค่ะ บางคนอาจงง ว่าแล้วท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับท่องเที่ยวเชิงนิเวศมันต่างกันอย่างไร คือว่ามันเป็นอย่างนี้ค่ะ

ในช่วงแรกการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดทำแผนพัฒนาและอนุรักษ์การท่องเที่ยว โดยจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา เรื่อง Ecotourism ระยะแรกคณะทำงานมีมติใช้คำจำกัดความ Ecotourism ในความหมายภาษาไทยว่า "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" โดยมีความประสงค์ที่จะสื่อความหมายให้กับชาวไทยทุกระดับเข้าใจว่า รูปแบบการท่องเที่ยว Ecotourism นับเป็นรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ในการรับรู้ของชาวไทย คือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


     ต่อมา ททท. ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) ทำการศึกษาเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ และขอให้ราชบัณฑิตยสถานกำหนดความหมาย ในที่สุดได้ความหมายของคำว่า Ecotourism คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

หวังว่าคงจะพอหายงง นะคะ สำหรับการอบรมในครั้งนี้ก็มีโอกาสพักที่ เกาะพิทักษ์ และทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดูนก ศึกษาระบบนิเวศชายฝั่ง ตกหมึก ดูดาว ตลอดจนแวะไปดำน้ำดูปะการังและสัตว์น้ำ ที่เกาะหลักแรด เกาะละวะ และเกาะมาตรา แวะชมเส้นทางป่าชายเลนทีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร สุดท้ายก็แวะไปเรียนรู้กิจกรรมของโรงแรมชุมพรคาบาน่า คือศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และกสิกรรมธรรมชาติ"เพลิน" (Play + Learn = Plearn)

น้ำลงเลยต้องเดินมาขึ้นเรือ

ถึงที่พักแล้ว

บรรยากาศยามเย็น

ได้เรียนรู้เพิ่มเติมมากมายไม่ว่าจะในเรื่องของผู้นำ ซึ่งจะเห็นได้ชัดในหลายชุมชนที่ผู้นำสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดการดูแลรักษาพื้นที่ของตน จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือที่ศึกษาดูงาน จากนั้นก็เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ส่งผลต่อความยั่งยืน เราได้พูดกันในเรื่องของการสื่อความหมายที่ควรสื่อให้คนที่มาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติให้คงอยู่ไปยังลูกหลานในอนาคต

จากนากุ้งร้างมาเป็นป่าชายเลน

หมายเลขบันทึก: 247945เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากร่วมอบรมแบบนี้บ้างค่ะ

 

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ น่าส่งเสริมค่ะ สร้างอาชีพ รายได้ มีความสุข และอนุรักษ์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ คุณ berger0123 และคุณน้อยหน่า
  • ขอโทษที่มาทักทายช้าไปหน่อย เพิ่งได้กลับเข้ามาที่ทำงานนี่แหละค่ะ
  • ค่ะ อยากให้คนไทยหัวใจสีเขียวทุกคนช่วยเหลือชาวไทยด้วยกันด้วยการท่องเที่ยวโดยใช้บริการของชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกันหลายแห่งหลายที่ ที่สุราษฎร์ธานีเองก็มีเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว ตอนนี้ที่ดัง ๆ ก็มี ลีเล็ด แต่ยังมีที่พุมเรียง ไชยา ถ้ำผึ้ง คลองน้อย ฯลฯ ไว้ว่างๆ จะหามาฝากเพิ่มเติมจ้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท