บันทึกการสนทนางานวิชาการเรื่องการจำแนกข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ระหว่าง อ.วิว และ อ.ชนันภรณ์ บุญเกิดทรัพย์ ๒


ข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง

สืบเนื่องจาการสอนรายวิชากฎหมายองค์การระหว่างประเทศในภาคเรียนที่ ๒ ซึ่งผมได้สั่งงานนิสิตไปสองอย่าง หนึ่งในนั้นคือ รายงานกลุ่มโดยให้นิสิตทำการวิเคราะห์ลักษณะของข้อมติของสหประชาชาติกับการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ครับ

พื้นฐานการศึกษาที่สำคัญจะต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อมติของสหประชาชาตินั้นเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานต่างๆ โดยในองค์การสหประชาชาตินั้นมีหลายองค์กรย่อย โดยองค์กรย่อยๆ ที่ทำหน้าที่หลักในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศที่คุกคามสันติภาพของโลก คือ คณะมนตรีความมั่นคง หรือที่เรียกอย่างย่อๆ ในภาษาอังกฤษ ว่า S.C.[Security Council]

     นอกจากคณะมนตรีความมั่นคง แล้วยังมี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือที่เรียกย่อๆ ว่า G.A. [General Asseembly]  ซึ่งแม้ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการคุกคามสันติภาพ แต่ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาต่างๆของโลก ในฐานะที่ GA เป็นองค์กรที่เป็นที่รวมของสมาชิกเต็มจำนวนเพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆ

  ข้อมติขององค์กรทั้งสององค์กรนี้มีสองลักษณะ คือ

๑.๑ ข้อมติที่เรียกว่าคำวินิจฉัย (Decision) ซึ่งข้อมติในลักษณะนี้หากออกโดย SC และอาศัยอำนาจตามกฎบัตรสหประชาชาติ หมวด ๗ แล้ว ก็จะมีผลทางกฎหมายคือ ผูกพันให้รัฐต้องปฏิบัติตามตามหลักกฎหมาย Pacta sund Servanda  และตามบทบัญญัติข้อ ๒๕  แต่หากออกโดย GA ก็จะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายแต่จะมีผลผูกพันทางการเมืองเพราะไม่มีฐานทางกฎหมายให้อำนาจ GA ออกคำสั่งได้ หรือหากออกก็ไม่ผูกพันให้รัฐต้องทำตาม

๑.๒ ข้อมติที่เรียกว่าคำแนะนำ(Recommendation)ซึ่งข้อมติในลักษณะนี้ไม่ว่าจะเป็นการออกโดย SC หรือ GA ก็ตาม ก็ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายให้รัฐต้องปฏิบัติตามเพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติ ไม่ได้กำหนดให้คำแนะนำมีผลทางกฎหมาย

ในการทำงานชิ้นนี้ นิสิตได้พบปัญหาระหว่างการทำงานคือ  การพิจารณา ลักษณะทางกฎหมายของข้อมติขององค์กรย่อยของสหประชาชาติจะต้องพิจารณาอย่างไร ? ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจะแนกความแตกต่างระหว่าง ข้อมติที่เป็น คำวินิจฉัย และข้อมติที่เป็นคำแนะนำ ด้วยเหตุที่ผมไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้โดยตรงในการศึกษาชั้นปริญญาโท ผมจึงได้สอบถามไปยัง อ.ชนันภรณ์ บุญเกิดทรัพย์  แห่งสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งท่านก็ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาไว้ดังนี้ครับ

การการศึกษาของอาจารย์ชนันภรณ์ในชั้นปริญญาโทเองท่านได้พบว่าข้อมติส่วนใหญ่ของ S.C. ที่ออกเป็นคำวินิจฉัยจะมีข้อสังเกต คือ ในข้อมติฉบับนั้นจะมีคำว่า " Acting under chapter 7 "  ดังตัวอย่างในรูปครับ

ข้อสังเกต

   หลังจากผมมได้เล่าให้นิสิตฟังแล้ว ก็ได้รับความเห็นจากนิสิตและวิธีการจำแนกที่นิสิตใช้เหมือนกันครับ ลองไปอ่านดูงานเขียนของนิสิตกันครับ(กด Linkเพื่ออ่านครับ) และผมก็ได้ไปค้นเพิ่มเติมพบว่าในข้อมติบางฉบับของ SC ที่ไม่มีคำว่าActing Under Chapter 7 บางคร้งก็มีการใช้คำว่า Decides เหมือนกันครับ ซึ่งผมก็ยังไม่แน่ใจว่ามติดังกล่าว เป็นคำวินิจฉัยหรือไม่ และมีผลผูกพันทางกฎหมายแค่ไหนเพียงไรครับ ไว้ถ้าได้ถามอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านอื่นๆ แล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อครับ

หมายเลขบันทึก: 247367เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมทำเสร็จแล้วนะครับอาจารย์

http://gotoknow.org/blog/kittyza

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท