การเรียนรู้นอกชั้นเรียนนิสิตปรด.มน.


ประสบการณ์การเรียนรู้จากของจริง

 

การศึกษาดูงานประเทศสิงค์โปร์ และมาเลเซีย

เรื่องเล่าจาก....นิสิตชั้นปีที่ 2 (พี่ติ๋ม พี่อ๋อย พี่ไก่ แดง กบ ประโยชน์ ตูน อ้วน ไดเอ็ด) หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษา แขนงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ไปศึกษาดูงานระบบการศึกษาและพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของประเทศต่างประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียกับระบบการศึกษาไทยและบริบทของเพื่อให้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน การไปดูงานครั้งนี้ได้อะไรมากกว่าที่คิด  โดยมี รศ.ดร.ฉันทนา จันทร์บรรจง เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมดูแล  ซึ่งนิสิตต้องยกนิ้วให้อาจารย์ที่นิสิตควรเอาแบบอย่างทุกๆด้าน เช่น วินัยการเรียนรู้  วิธีการสอนลูกศิษย์ที่โดนใจจริงๆ  การตรงต่อเวลา  การใช้ภาษาอังกฤษที่เยี่ยมมากๆ เป็นต้น 

          เริ่มที่สิงคโปร์ (Singapore) ได้ชื่อว่าเป็นเทมาเส็ก (Temasek) หรือเมืองแห่งทะเล  สิงคโปร์มาจากคำว่า  สิงคปุระ (Singapura)  หมายถึงเมืองแห่งสิงโต (Lion City)  โดย เซอร์ โธมัส สแตมฟอร์ด บิงส์เลย์ ราพเฟิล คือผู้ค้นพบสิงคโปร์เป็นคนแรก 

สภาพสังคม  เน้นการสร้างความสมานฉันท์ทางสังคม  เนื่องจากสิงคโปร์มีลักษณะเป็นพหุสังคม

ระบบเศรษฐกิจ เป็นแบบเสรี  เงินตราเป็นดอลลาร์สิงคโปร์  อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 23.61 บาท (ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552) ข้อมูลเศรษฐกิจ  ด้านการเพาะปลูกมีพื้นที่น้อย  ด้านอุตสาหกรรมพัฒนารวดเร็วมาก  อาศัยวัตถุดิบจากเพื่อนบ้าน  มีกิจการกลั่นน้ำมัน  ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา  และเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย  และด้านการค้าขาย  เป็นท่าเรือปลอดภาษี  มีท่าเรือน้ำลึก  เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า

วัฒนธรรม จากการที่มีประชากรหลายเชื้อชาติ  สิงคโปร์จึงมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ คือ พุทธ  ฮินดู  คริสต์  และลัทธิเต๋า

ภาษา  ภาษาราชการใช้  ภาษาอังกฤษ - ภาษามลายู – ภาษาจีนแมนดาริน (จีนกลาง) – ทมิฬ  แต่ภาษาประจำชาติคือภาษามาเลย์  คนส่วนใหญ่พูดได้สองภาษา  คือ  ภาษาอังกฤษ  กับภาษาแม่ของชาติตนเอง

การปกครอง แบบประชาธิปไตย  โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข  ประธานาธิบดีคนปัจจุบันชื่อ Seelapan Rama  NATHAN  และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ  คือ  Lee Hsien Loong

ภูมิประเทศ  ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 137 กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  641.1 ตารางกิโลเมตร  ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ มากมาย  โดยมีเกาะใหญ่คือเกาะสิงคโปร์ ซึ่งมีพื้นที่ 586.5 ตารางกิโลเมตร

ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น  มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี  เนื่องจากอิทธิพลทางทะเลและที่ตั้งของประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร  อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26 – 33 องศาเซลเซียส

สัญลักษณ์ประจำชาติ Merlion

บทเรียนรู้ที่ได้

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ  หรือสินทรัพย์ที่จะนำมาแข่งขันกับนานาประเทศได้  แต่สิ่งที่สิงคโปร์ทำคือ  มองสินทรัพย์ที่ตัวเองมีอยู่ซึ่งก็คือ “คน” แล้วพัฒนาให้มีขีดความสามารถที่จะนำมาแข่งขันได้เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ  (Neo Boon Siong)

แหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยในสิงคโปร์ที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้ มีเรื่องราวต่างๆมากมาย

Science Centre  การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับบุคคลทุกวัย  ที่ไปเราสามารถเทียบเคียงกับกลุ่มดูงานเป็นเด็กชั้นอนุบาล เราทักทายกันเป็นภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนาน

เข้าไปชมแต่ละ station ดูเหมือนจะบริหารเซลสมองได้ดีจริงบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชาติที่ศึกษาได้จากพิพิธภัณฑ์  รวมไปถึงสื่อในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เช่น  ด้านพลังงาน  เทคโนโลยี  ร่างกายมนุษย์  การเกิดโรค  เชื้อโรค เป็น รวมไปถึงการสร้างจินตนาการที่กว้างไกลให้เห็นว่าอนาคตประเทศจะไปในทางใด

ชุมชน  Orchart Road   ความมีวินัยในการข้ามถนน

สภาพบ้านเมืองทั่วไปที่ดูสะอาดตา ความมีวินัยของคนในการเข้าคิวรอ 

ห้างสรรพสินค้า Mustafa ความเชื่อตามศาสนาฮินดู  Shopping สนุกสนาน 

Little India  สัมผัสได้ถึงบรรยากาศความเป็นชาวอินเดีย  เครื่องเทศ  กลิ่นกำยาน  การแต่งกายด้วย

ชุดส่าหรี  สถาปัตยกรรมแบบอินเดีย

City HIPPO tours

การสร้างให้เกิดการเรียนรู้สามารถเห็นได้แม้แต่การไปยืนรอรถประจำทาง ที่จะมีป้ายรายละเอียดเกี่ยวกับสายรถ  ในรถทัวร์รอบเมืองที่มีแผ่นพับจัดพิมพ์อย่างดีเป็นภาพสีสวยงาม ประกอบด้วยแผนที่ การแนะนำสถานที่สำคัญ 

Sentosa  เกาะ Sentosa เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากที่สุด  ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ  มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายหลายแห่ง  แต่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว  คือบริเวณ Asian Village ซึ่งภายในหมู่บ้านนี้จะประกอบด้วยหมู่บ้าน 3 แบบ ตั้งห่างจากกันอยู่บริเวณชายหาด  โดยมีรูปแบบด้านสถาปัตยกรรมที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

การศึกษาดูงาน ประเทศมาเลเซีย หรือ สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia)   

สภาพเศรษฐกิจ  มาเลเซียมีเศรษฐกิจแข็งแกร่งและได้รับการยกย่องว่าเป็นเสือเศรษฐกิจ 1 ใน 5 ของเอเชีย  นโยบายหลักทางเศรษฐกิจอิงนโยบายที่เลื่อนไหลไปตามกระแสเศรษฐกิจโลก สินค้าพื้นฐานที่เป็นรายได้หลักของประเทศคือแร่ดีบุกและน้ำมันดิบ

วัฒนธรรม  มาเลเซียเป็นเมืองที่มีสังคมและวัฒนธรรมแบบผสมผสานด้วยคนหลายเชื้อชาติ  คือ  มาเลย์  จีน  และอินเดีย  มีประชากร  27.73 ล้านคน 

ภาษาราชการ  คือภาษามาเลเซีย (Bahasa Melayu)  ส่วนภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ในท้องถิ่นเป็นภาษาพูดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

มาเลเซียเป็นประเทศแบบสหพันธรัฐ (Federation)  ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ  มีการปกครองแบบรัฐสภา  มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ  เรียกเป็นภาษามาเลย์ว่า “ยัง ดีเปอร์ตวน อากง”  หรือสมเด็จพระราชาธิบดี 

ภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อน  อากาศขึ้นอยู่กับภูมิประเทศและอิทธิพลของลมมรสุมด้านฝั่งทะเลตะวันออก  ตามปกติแล้ว  ภูมิอากาศในมาเลเซียอยู่ในเกณฑ์ดี  ไม่ร้อนมากเหมือนบางประเทศในภูมิภาคเดียวกัน

สัญลักษณ์ประจำชาติ  กัวลาลัมเปอร์  เมืองหลวงของมาเลเซีย  เป็นศิลปะผสมผสานของชาวมาเลย์  ชาวจีน 

ชาวอินเดีย  และชาวยุโรป  มาเลเซียมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ  กัวลาลัมเปอร์เป็น

เมืองมุสลิมที่ทันสมัย  เต็มไปด้วยอาคารที่ออกแบบทันสมัย  มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่  นอกจากเมืองหลวงของมาเลเซียยังมีสิ่งก่อสร้างที่เชิดหน้าชูตาอวดชาวโลกด้วยคือ  ตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลกที่ชื่อว่า  เปโตนาสทาวเวอร์ (Petronas twin Towers, KLCC)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมาเลเซียประเทศเล็ก ๆ ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้สโลแกนที่ว่า “Malaysia, Truly Asia”  มาเลเซียเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์  มีทัศนียภาพที่งดงามและตรึงติดเสน่ห์ดึงดูดใจของวัฒนธรรมที่ผสมผสานกับความทันสมัยอย่างลงตัว  อาทิเช่น  กัวลาลัมเปอร์เมืองหลวง  หรือเกนติ้งเมืองแห่งความหรรษา  ปุตราจายาเมืองเนรมิต  นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยธรรมชาติพิสุทธิ์และหาดทรายชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์  สมกับดินแดนที่นิยามตนเองเอาไว้ว่า  “มาเลเซีย, ที่นี่เอเชีย”

มาเลเซีย  gement

แหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยในมาเลเซีย

สิ่งก่อสร้างอัศจรรย์ 

ตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลกที่ชื่อว่า  เปโตนาสทาวเวอร์ (Petronas twin Towers, KLCC)

มี  88 ชั้น พื้นสูงกว่า 450 เมตร  สร้างพิเศษด้วยเหล็กกล้า  เชื่อมด้วยสกายบริส (Skybridge) ชั้นที่ 22 (ความเร็วของลิฟท์ของตึกเร็วมาก 5 เมตรต่อวินาที  เฉลี่ยชั้นละวินาทีเลยทีเดียว)

เที่ยวเมืองใหม่ ปุตราจายา  แต่เดิมดูเป็นปาล์ม ถูกพัฒนาในปี2001 รัฐบาลวางผังเมืองทั้งหมด ใช้เอกลักษณ์เฉพาะตัว ของศิลปะแบบอิสลาม

มัสยิดสีชมพู โดมใหญ่สีชมพู ดูโดมน้อยอีก 8 อัน ดูมุมไหนไม่แพ้กัน ตื้นตันใจใช้ศิลปะอิสลาม

สุดท้ายคงต้องสรุปว่าวัฒนธรรมที่ต่างกันของแต่ละประเทศนั้นบอกถึงวิวัฒนาการที่น่าสนใจ  ที่ควรได้มาสัมผัสนอกชั้นเรียน เพื่อการเรียนรู้ที่ได้สัมผัสประสบการณ์ ดังสุภาษิตโบราญว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นก็คราวนี้แหล่ะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกใบนี้  เพื่อความดำรงอยู่ของเผ่าพันธ์ต่อไป............

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 247366เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ดีจังค่ะ  จานแดง

ดีใจและภูมิใจมากเลยที่ได้เข้ามาอ่าน
ในฐานะเป็นชาวมน.ปโทน่ะค่ะ


อ่านไปยิ้มไปเป็นปลื้มค่ะ

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมชม ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

สวัสดีครับ..จานแดง

ถ้าใครเคยไปประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย นี้ ก็จะบอกว่าอยากไปอีก (โดยเฉพาะสิงคโปร์) เพราะเป็นเมืองที่น่าอยู่ น่าท่องเที่ยวมากๆ สำหรับใครที่ยังไม่เคยไปนั้น ต้องไปให้ได้ ลองไปดูว่าประเทศเขา มีระบบการพัฒนาอย่างไร ซึ่งจะมองเห็นง่ายๆว่า ต้นไม้ของประเทศสิงคโปร์ยังเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วคนล่ะ เขามีวิธีพัฒนาอย่างไร ตรงนี้ไปหาประสบการณ์เรียนรู้จากที่นั้น จริงไหมครับ ขอบคุณครับ

เห็นด้วยกับมาหาอ้วนที่ว่าพลเมืองของประเทศสิงค์โปร์มีระเบียบวินัย ทั้งๆที่มีหลายเชื้อชาติอยู่ในประเทศนี้ คนที่นี่มีวินัยในการอยู่ร่วมกันได้อย่างน่าคิดทีเดียว พอคิดไปคิดมาก็นึกถึงประเทศไทย ทำอย่างไรเราจะมีวินัยเหมือนเค้าเสียที่เนอะ มาหาอ้วนเพื่อนรัก

สวัสดีค่ะ จานแดง

- ขอเข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

- จะเห็นได้ว่าทั้งประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียนั้น ประชากรจะประกอบไปด้วยหลากหลายเชื้อชาติ หากแต่การเคารพตามกฎระเบียบและความมีวินัย ก็ทำให้เขาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ทำให้คิดถึงประเทศไทย ถ้าพวกเราคนในชาติรัก สามัคคีกัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคมโดยคำนึงถึงประเทศเป็นสำคัญ ในอนาคตประเทศอาจจะอยู่ภายใต้สโลแกน "Thailand, Truly Asia (ประเทศไทย ที่นี่เอเชีย)" ก็ได้นะคะจานแดง ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ จานแดง หิ่งห้อยหาพบแล้ว ขอโทษที่เมื่อคืนไม่ได้เข้ามา เน็ตมีปัญหาบ่อยค่ะ ก่อนอื่นขอชื่นชมความขยัน ของจานแดงมากๆ หิ่งห้อยรู้สึกอายจริงๆ จานแดง ถ่ายทอดประสบการณ์การไปศึกษาดูงานได้ชัดเจน เห็นภาพของทั้งสองประเทศทั้งสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว การดูงานครั้งนี้ พวกเราได้เรียนรู้ ประสบการณ์มากมายจริงๆ และยังเพิ่มความรัก ความเข้าใจของพี่น้องเราในกลุ่มอีกมากพวกเราชาวปรด.ทุกคน ต้องกราบขอบพระคุณท่าน รศ.ดร.ฉันทนา จันทร์บรรจงเป็นอย่างสูงที่วางแผน นำทีมสร้างประสบการณ์ให้พวกเราในครั้งนี้ หิ่งห้อยขอตั้งความหวังว่าพวกเราทุกคนต้องได้มีโอกาสไปเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ในต่างแดนอีกในครั้งต่อไปนะจ๊ะ...

สวัสดีค่ะ อาจารย์ตูน อาจารย์อ๋อย เพื่อนรัก(ต่างวัย) ดีใจที่เพื่อนๆเข้ามาทักทาย หลังจากที่เราทำ AAR การไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ สรุปได้มากกว่าที่คิด และมีความคิดว่าอะไรที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายในครั้งนี้ ก็เตรียมเก็บเงินไปกันใหม่เมื่อทุกคนในรุ่นจบ(ความหว้งของทุกคนในรุ่น) บุคคลที่นิสิตชื่นชมกันมากๆในการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ก็คือ รศ.ดร.ฉันทนา จันทร์บรรจง ผู้เป็นสุดยอดของครูในดวงใจของนิสิตปรด.ทุกคน พวกเราคิดว่าจะนำแบบอย่างที่ดีของอาจารย์ไปใช้ต่อไปค่ะ จานแดง

หวัดดีครับจานแดง ขอโทษทีที่น้องคนนี้มาสายตามเคย

ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณที่เข้ามาทักทาย

จานแดง

ดีใจที่จานแดงเผยแพร่ประสบการณ์ให้คนอื่นได้เรียนรู้ด้วย ตามกระบวนการ KM ขอให้ทำต่อไปเรื่อย ๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท