ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่อง เมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์


เมื่อใช้ชุดฝึกทักษะเรื่อง เรื่องเมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ พบว่านักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับเมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ได้ดีขึ้น

ชื่อเรื่อง           ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่อง เมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์

                ในรายวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับ ปวส.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ผู้วิจัย           นางสาววันดี  ปานรินทร์

ปีการศึกษา     2551

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องเมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับ ปวส.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โรงเรียนหาดใหญ่อำนวยวิทย์บริหารธุรกิจ

          ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นปวส.2/1  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551  จำนวน 41 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เลือกมาโดยวิธีการเจาะจง จำนวน 20 คน ได้แก่ นายทวีศักดิ์  สงเหมือน, นายธรณ์เทพ  จุฑาชวนันท์, นายสิทธิกร  กาญจนวิกรัย, นายอานนท์  สามเส้ง, นายเอกพงษ์  หนูอุไร, นางสาวกนิษฐา  สารดิษฐ์, นางสาวขนิษฐา  เกิดกาย, นางสาวเฉลิมนาถ  คำมณี, นางสาวนงลักษณ์  ทองคำ, นางสาวนิภาวรรณ  อินทนิล, นางสาววรวลัญช์  เพชรรักษ์, นางสาวปิยวรรณ  พรมเจริญ, นางสาวมะลิวรรณ  วิบูลย์เขตร์,  นางสาวรจนา  อนันตเสนา, นางสาวเรณู สุวรรณรัตน์, นางสาวเรวดี  จินดามณี, นางสาวศรัญญา  คำปาน, นางสาวกัญชพร  ติเสส, นางสาวโสวลักษณ์  มากผล, นางสาวอรอนงค์  วันปู เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เนื้อหาเรื่องเมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์  โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เรื่องคุณสมบัติของเมตริกซ์ ตอนที่ 2 เรื่องการกระทำของเมตริกซ์ และตอนที่ 3 เรื่องดีเทอร์มิแนนต์ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม สิงหาคม 2551 โดยใช้เวลาในคาบว่างของนักเรียนและของครูผู้สอนซึ่งตรงกัน จำนวน 3 วัน ต่อสัปดาห์ (จำนวน 15 ครั้ง รวม 30 คาบเรียน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยก่อน – หลังเรียน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ผลการวิจัยมีดังนี้

        เมื่อใช้ชุดฝึกทักษะเรื่อง เรื่องเมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์  พบว่านักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับเมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ได้ดีขึ้น  และสามารถนำความรู้มาปรับใช้กับการทำแบบฝึกหัดประจำคาบเรียนได้ดี โดยดูจากคะแนนทดสอบก่อนเรียน  2.20% และหลังเรียน 100% และจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ขณะเรียนมีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการทำงาน มีการซักถามเมื่อสงสัยหรือไม่เข้าใจมากกว่าเดิม จึงทำให้นักเรียนมีค่าพัฒนาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

คำสำคัญ (Tags): #kmanw#kmanw3
หมายเลขบันทึก: 246513เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2009 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจนะค่ะ เด็ก ๆ มีความสุขในการทำงานด้วย

คริๆๆ อาจาย์เอาชื่อผมไปทำวิจัยด้วยหรอ อ.สบายดีป่าวครับ ผมนายอานนท์ สามเส้งครับ

คนเดือดร้อนเพราะคนชื่อวรวลัญช์

ถึงคุณวันดี ปานรินทร์ ไม่ทราบว่าคุณเป็นนักศึกษาหรืออาจารย์คะพอดีอยากทราบที่อยู่ของ นางสาววรวลัญช์ เพชรรักษ์ ที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ด้านบนเนื่องจากเค้าเป็นบุคคลที่ดิฉันต้องการแจ้งความจับเขา เรื่องที่เขาโกงเงินฉันไป15000บาทถ้าติดต่อเค้าได้ช่วยบอกเค้าให้เอาเงินมาคืนฉันด้วยนะคะดิฉันจะไม่แจ้งความถ้าอยากรู้ความเป็นมาโทรถามฉันได้ที่เบอร์089-2350137 หรือ e-mail : [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท