การใช้เทคนิค TGT (Team Games Tournament) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์


ชื่อเรื่อง            การใช้เทคนิค TGT (Team Games Tournament) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ใน

การออกแบบการส่งเสริมการตลาด ปวส.1 สาขาวิชาการตลาด

โรงเรียนหาดใหญ่อำนวยวิทย์บริหารธุรกิจ

ผู้วิจัย                      นางสาวสุนิท  หนูกุ้ง

ปีการศึกษา        2551

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการส่งเสริมการตลาดประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด ห้อง ปวส.1/7 โรงเรียนหาดใหญ่อำนวยวิทย์บริหารธุรกิจ ที่เรียนในรายวิชาหลักการตลาด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นวัตกรรมเรื่องเทคนิค TGT โดยมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตามใบงาน แบบบันทึกพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบบันทึกคะแนนการแข่งขัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย และค่า t-test ซึ่งผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

          1. ค่าร้อยละ เมื่อพิจารณาค่าร้อยละคะแนนก่อนเรียน นักเรียนผ่านเกณฑ์ 50% และคะแนนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ 100% แสดงว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนดีขึ้นกว่าเดิม

          2. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คะแนนก่อนเรียน 4.63 คะแนน และคะแนนหลังเรียน 8.00 คะแนน แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นกว่าเดิม

          3. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนก่อนเรียน 1.78 คะแนน และคะแนนหลังเรียน 0.83 คะแนน นั่นคือคะแนนก่อนเรียนมีการกระจายของคะแนนมากกว่าคะแนนหลังเรียน แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเกาะกลุ่มมากขึ้น

          4. ค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย คะแนนก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 38.44 คะแนน และคะแนนหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 10.37 คะแนน แสดงว่าผลการเรียนรู้ทางการเรียนของผู้เรียนดีขึ้น และผลการสอนของครูอยู่ในระดับดี

          5. ข้อเสนอแนะ

              5.1 ข้อเสนอแนะในการนำวิจัยไปใช้

                                - หากใบความรู้ที่นักเรียนได้รับอธิบายไม่ละเอียด ใช้คำพูดที่ยากเกินไปจะทำให้นักเรียนเกิดความสับสนและเข้าใจยาก ทำให้นักเรียนไม่สนุกกับกิจกรรม

                   - ใบงานที่นักเรียนทำเป็นกลุ่มไม่ควรยากเกินไป ควรให้จากข้อง่าย ๆ ก่อนเพื่อที่นักเรียนจะได้เกิดความภูมิใจที่สามารถทำได้แล้วจึงให้ทำข้อที่ยาก

                                - การใช้เทคนิค TGT อาจไม่เหมาะกับเนื้อหาบางเรื่อง

              5.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

                   - การทำวิจัยโดยใช้เทคนิคการสอนแบบศูนย์การเรียน เพื่อที่จะให้นักเรียนได้กิจกรรมที่หลากหลายขึ้นซึ่งอาจจะน่าสนใจกว่า ทั้งนี้ก็ต้องดูเนื้อหาในแต่ละเรื่องด้วยว่าควรใช้เทคนิคการสอนวิธีใดจึงจะเหมาะสม

                   - ก่อนใช้นวัตกรรมควรตกลงกับนักเรียนถึงกิจกรรมให้เข้าใจก่อน เนื่องจากถ้านักเรียนไม่เข้าใจจะทำให้นวัตกรรมไม่เกิดประโยชน์สูงสุด

คำสำคัญ (Tags): #kmanw#kmanw3
หมายเลขบันทึก: 246507เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2009 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท