การพัฒนาความสามารถในการแยกประเภทวัตถุดิบโดยใช้สื่อของจริง


แสดงว่าการใช้สื่อของจริงสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาความสามารถในการแยกประเภทวัตถุดิบโดยใช้สื่อของจริงในรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 ของนักเรียนชั้นปวส 2/4  สาขาวิชาการบัญชี

ผู้วิจัย           นางสาวนงลักษณ์  วัฒนพรหม

ปีการศึกษา     2551

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความสามารถในการแยกประเภทวัตถุดิบโดยใช้สื่อของจริงในรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1  ของนักเรียนสาขาวิชาการบัญชี 

          ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้  คือ นักเรียนชั้นปวส. 2/4 จำนวน 31 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน เรื่องการแยกประเภทวัตถุดิบทางตรง และวัตถุดิบทางอ้อม  โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัย  มีดังนี้

          1.  ค่าเฉลี่ยหรือตัวกลางเลขคณิต  (Mean)  พบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้สื่อของจริงมีค่าเท่ากับ  4.23  คะแนน  และคะแนนเฉลี่ยหลังใช้สื่อของจริง มีค่าเท่ากับ  7.81  คะแนน  แสดงว่าการใช้สื่อของจริงสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น

          2.  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation )  พบว่า  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนใช้สื่อของจริงมีค่าเท่ากับ  0.95  คะแนน  ส่วนเลี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนหลังใช้สื่อของจริงมีค่าเท่ากับ  0.78  คะแนน  นั่นคือ คะแนนก่อนใช้มีการกระจายของคะแนนมาก ซึ่งคะแนนหลังใช้สื่อของจริงมีการกระจายน้อยกว่า  จึงทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

          3.  ค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย  (Coefficient of  Variation )  ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายของคะแนนก่อนใช้เทคนิคมีค่าเท่ากับ  22.45  และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายของคะแนนหลังใช้สื่อของจริงมีค่าเท่ากับ  9.98  แสดงว่าหลังจากการใช้สื่อของจริง  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนดีขึ้น  และผลการสอนของครูอยู่ในระดับดี

4.  ข้อเสนอแนะ

              4.1  ศึกษาความพอใจของการใช้สื่อของจริงมาช่วยสอนโดยทำแบบสอบถาม

    4.2  จัดทำชุดการสอนร่วมกับการใช้เทคนิคนั้น ๆ

คำสำคัญ (Tags): #kmanw#kmanw3
หมายเลขบันทึก: 246506เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2009 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท