วิเคราะห์หาความต้องการในการเรียนของผู้เรียน… คิดสักนิด ก่อนจะก้าวต่อไป…


ถ้า อยากจะให้การสอนได้ผลนั้น ต้องใช้ศิลปะในการหาความต้องการของผู้เรียนเสียก่อน ว่าเขานั้นต้องการแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้ให้ความรู้ได้อย่างเหมาะสม

สวัสดีครับทุกๆ ท่าน ที่ได้เข้ามาอ่านใน Blog ของเรานี้ครับ

วันนี้ผมเกิดความคิดที่ทำให้นึกถึงคำถามที่ผมมักจะถามผู้ที่เข้ามาฝึกวิชาธรรมกายว่า “ท่านต้องการอะไรจากวิชาธรรมกายหรือ?” ซึ่งคำตอบที่ผมได้รับก็มักจะแตกต่างกันออกไป

แต่โดยหลักๆ นั้น ก็มักจะไม่พ้นการแก้ทุกข์ ภัย โรค บางคนก็เพียงแค่อยากรู้ไว้ประดับสมอง บางคนก็อยากที่จะหลุดพ้น บางคนก็อยากที่จะทำวิชาชั้นสูง โดยสรุปก็คือมักจะต่างๆ กันออกไป

ในการสอนหรือแนะนำนั้น ถ้าเป้าหมายของผู้ที่มาเรียนไม่พ้นทางโลก ความรู้ที่ให้นั้น ก็ต้องเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าเป้าหมายของผู้เรียนสูงกว่านั้น การสอนก็ต้องปรับตามไปอีก

ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดก็คือ การที่ผู้สอนไม่ได้หาข้อมูลจากผู้เรียนมา เพื่อจะวิเคราะห์หา Need ของเขาเสียก่อน

ซึ่งผู้สอนมักจะเอาเจตนาดีเข้านำ แต่ผลที่มักจะออกมาก็เหมื่อนกับการเหวี่ยงแห หรือแนวคิดที่ว่า One fit for all นั่นเอง

จะหาครูที่เก่งๆ พอที่จะจัดการนำความรู้ให้ match กับผู้เรียนนั้น หายากนัก

จากประสบการณ์ที่ผมได้ร่วมสอนวิชาธรรมกายมาเกือบ 10 ปีได้นั้น ผมอยากบอกว่า ผมไม่ได้ทำเป็นงานอดิเรก แต่ทำแบบจริงจัง ทำืทุกวันเลยทีเดียว จากประสบการณ์ที่ผ่านมานี้ พอที่จะทำให้เห็นข้อผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมามากทีเดียว หนึ่งในนั้น ก็คือ ข้อผิดพลาดในเรื่องของการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนนี้เอง

เพราะทุกคนไม่ได้คิดเหมือนเรา

ทุกคนอาจจะคิดว่า ก็เรื่องพื้นๆ นี้เอง

พื้นๆ นี้แหละครับ ที่ทำให้ตกม้าตายมานักต่อนักแล้วครับ ผมจะได้ว่า ตอนที่ผมเห็นวิชาใหม่ๆ นั้น และตอนนั้นก็อยากจะสอนเพื่อนๆ เพื่อนมาบ้านก็จับสอนหมด ผลออกมาก็คือ เพื่อนมันก็เห็นวิชาเหมือนเราน่ะแหละครับ แต่! เขาไม่ได้เห็นความสำคัญของวิชาเหมือนกันเรา ทำให้เพื่อนๆ มองผมเพี้ยนๆ ไปก็มี

นี่คือ ผลของความปรารถนาดีครับ

ต่อมาเมื่อไปสอนตามโรงเรียนแบบ Full Time เราก็อยากจะให้เด็กเห็นวิชา เพราะ่ว่ามีแนวคิดเดิมมาว่า ถ้าเด็กเห็นหรือเข้าถึงธรรมกายได้แล้วนั้น จะทำให้ดีอย่างนั้น อย่างนี้

แต่ฟังผมก่อน… มันไม่ง่ายขนาดนั้น

มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย และธรรมกายเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน

ซึ่งผมจะค่อยๆ ว่าในโอกาสต่อไป

ประเด็นก็คือ ถ้าอยากจะให้การสอนได้ผลนั้น ต้องใช้ศิลปะในการหาความต้องการของผู้เรียนเสียก่อน ว่าเขานั้นต้องการแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้ให้ความรู้ได้อย่างเหมาะสม

ในทางปฏิบัตินั้น ถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนรู้ 10 แต่ผู้เรียนต้องการเพียง 2 เราก็ต้องให้ความรู้แก่เขาในระดับ 2 ก่อน โดยคัดเลือกความรู้ที่สำคัญ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ค่อยๆ สร้างฉันทะและศรัทธาให้เกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยๆ ชี้ให้เห็นความสำคัญของความรู้ต่อๆ ไป ผู้เรียนจะต้องการที่จะเรียนเอง

ซึ่งแนวคิดนี้ก็คือ “การศึกษาแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” นั้นเอง

ไม่เว้นแม้แต่การสอนธรรม

นี่คือวิชาครูครับ

สำหรับต่อไปนี้ผมจะค่อยๆ ทยอยมาเขียนประสบการณ์เก็บไว้ในนี้ ไว้เป็นแหล่งความรู้ในการเผยแพร่และสอนวิชาธรรมกายกันครับ

วิชาธรรมกายไม่ยากอย่างที่คิดหรอกครับ ถ้าได้ครูที่สอนเป็น และรู้จริง

สำหรับการอบรม 18 กาย ในวันที่ 5 เมษายน 52 นี้ ตอนนี้มีผู้สมัครเข้ามาเยอะมากแล้วนะครับ ดังนั้น ขอให้รีบจัดเวลาและเข้ามาอบรมกันได้เลยครับ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>

สำหรับวันนี้ ผมไปสอนมาที่ โรงเรียนวัดดุสิตาราม กทม. - 4 มีนาคม 2552 มาครับ ก็ขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยครับ ไว้เจอกันใหม่ในฉบับต่อไปครับ

สายป่าน

http://www.velvetartists.com/Burton/magnifying%20glass.jpg

ที่มา: http://trainers.wisdominside.org/2009/03/04/dhammakaya-background-concept

----------------------------------------------

เว็บแนะนำครับ  

ศูนย์รวมข้อมูลการเผยแพร่ การเรียนการสอน วิชา ธรรมกาย
เว็บบอร์ดของเว็บ Wisdominside
เว็บ Wisdom Inside ภาคภาษาไทย
ตำราเกี่ยวกับวิชาธรรมกายทุกหลักสูตรสำหรับให้ค้นคว้า ฟรี!!
Blog of Free Meditation Training

ประชาสัมพันธ์

เชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรมนอกสถานที่ในโครงการต่างๆ ครับ
หมายเลขบันทึก: 246385เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณ ธรรศ

แป๋มเคยไปวัดพระธรรมกายครั้งหนึ่งสมัยยังเด็ก
นั่นคือความเกี่ยวข้องครั้งสุดท้ายจนกระทั่งบัดนี้

และนี่คือเป็นอีกครั้งกับ วิชา"ธรรมกาย"
มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ 

สวัสดีครับคุณครูแป๋ม

ยินดีด้วยครับผม แต่ขอบอกนิดหนึ่งว่า ผมเองไม่ได้มาจากวัดธรรมกายนะครับ แต่สนใจที่จะศึกษาวิชานี้ และได้ไปเรียนมาจากหลายๆ สำนักด้วยกัน

ที่มาสรุปทางนี้ ก็เพราะเหตุผลเดียวคือ "การสอนที่ได้ผลครับ"

ส่วนสำนักอื่นนั้น ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ไม่ขอวิจารย์ เพราะต่างก็มีเจตนาที่ดีในการทำให้คนเป็นคนดีเหมือนๆ กันครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

น่าสนใจมากครับ   ผมกำลังจะสมัครโครงการหลักสูตรผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม V Star ครับ

เข้ามาอีกรอบ ผมสมัครการอบรม 18 กาย แล้วครับ

ตอนนี้ผมได้รับการลงทะเบียนแล้วครับ แล้วเจอกันในการอบรม 18 กายครับ

การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างนั้น เริ่มมาจากภายใน หรือที่เีรียกว่า "Inside Out" แต่การเปลี่ยนจะค่อยเป็นค่อยไป

การอบรมในหลักสูตร 18 กายนั้น เป็นหลักสูตรวิชาธรรมกายเบื้องต้น (เนื้อวิชา) ถ้าเปรียบเหมือนการเรียนวิทยาศาสตร์ ก็คือ Pure Science ซึ่งนี่คือการอบรมในครั้งนี้ครับ

สำหรับการนำไปใช้งานจริงกับผู้อื่น (หมายถึงผู้ที่ไม่มีความรู้หรือพื้นฐาน หรือไม่สนใจ) เลยนั้น ต้องอาศัย "ศิลปะ" ในการประยุกต์ ศาสตร์นี้เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงอีกที

ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

ผมกับครอบครัวได้ออกไปสอนตามโรงเรียนทั่วประเทศ ทำฟรีครับ ไม่ได้ผลตอบแทนอะไรในทางโลกเลยผมทำกันมาเกือบ 10 ปีแล้ว ดูผลการอบรมได้ที่ Wisdominside.org ครับ

"เราเรียนภาษาอังกฤษกันมาเป็น 10 ปี กว่าจะพูด อ่าน เขียนได้ กว่าจะใช้งานได้จริง ก็ยากแสนยาก เวลาฝึก เวลาเรียนก็นานนับ 10 ปี

แต่การฝึกใจนั้น ยากกว่านั้นหลายเท่านัก หลักสูตรที่เป็นรูปธรรมก็ไม่มี ครูสอนก็หายาก กลายเป็นเรื่องลึกลับ เฉพาะ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องของเราทั้งนั้น"

ผมเป็นเด็กโรงเรียนวัดมาก่อน

ได้ยินคนพูดกันเรื่องธรรมกายในสมัย "กรณีธรรมกาย"

มีการแสดงความเห็นที่หลากหลาย

ก็อยากศึกษาและแสวงหาข้อเท็จจริง

สิ่งที่เป็นคำถามอยู่ทุกวันนี้คือ

นิพพานคือ อัตตา หรือ อนัตตา วานคุณธรรมช่วยชี้แจงตรงนี้ให้ชัดเจนด้วย

เรียนคุณ สุวัฒน์ กอไพศาล ครับ

ผมขอเรียนตอบในมุมมองของผมนะครับว่า ก่อนอื่นนั้น ต้องแยก 2 ส่วนให้ออกก่อน ซึ่ง 2 ส่วนนั้นก็คือ 1. ตัวเนื้อหาวิชา และ 2. ตัวองค์กร

ที่ต้องบอกอย่างนี้ก่อนก็เพราะว่า ตอนนี้คนส่วนมากนั้น มักจะแยก 2 ส่วนนี้ไม่ออก ซึ่งสาเหตุนั้นก็มาจากหลายสาเหตุ ซึ่งผมยังไม่ขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้

ผมจะไม่กล่าวถึงส่วนขององค์กรแต่ประการใด แต่ในส่วนของเนื้อหาวิชานั้น สามารถอธิบายได้ ซึ่งถ้าศึกษาอย่างจริงๆ แล้วจะพบว่า วิชาธรรมกายนี้สามารถอธิบายปรากฎการณ์หลายๆ อย่างได้อย่างเป็นรูปธรรมทีเดียว

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่า คนส่วนมากนั้น ก็มักรู้จักเนื้อหาวิชาธรรมกายเพียง ดวงแก้ว พระพุทธรูป เท่านั้นเอง แต่วิชาลึกๆ นั้น หาคนรู้ยากมาก ส่วนหนึ่งนั้นก็เกิดมาจากการห้ามเรียนกันเอง ในหมู่คนที่เป็นวิชาด้วยกันเองบ้าง โดยอ้างเหตุผลนานาประการ

เมื่อคนไม่รู้ ก็ไม่รู้ว่าจะเอาความรู้อะไรมาอธิบาย ก็ตีความกันไปตามตัวหนังสือหรือหลักฐานเท่าที่มี ซึ่งถ้าคิดด้วยสามัญสำนึกแล้ว ก็พบว่า มันแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง ส่วนที่ตกหล่นไปอีกไม่รู้เท่าไรที่ไม่รู้

สรุปก็คือ ถ้าไม่ศึกษา ไม่เรียนโดยการปฏิบัติเอง ย่อมไม่มีทางรู้อย่างแน่นอนครับ

และจากที่คุณถามมาว่า "นิพพานคือ อัตตา หรือ อนัตตา" นั้น ผมขอตอบโดยเบื้องต้นง่ายๆ ก่อนว่า ในวิชาธรรมกายนั้น เมื่อศึกษาและปฏิบัติไปแล้วจะพบว่า "เป็นได้ทั้ง 2 อย่าง" ครับ

แต่คำถามนี้นั้น ยากนักที่จะอธิบาย ถ้าไม่มีพื้นมาก่อนเลย และเป็นคำถามที่กว้างมากทีเดียว อีกทั้งเรื่องที่สำคัญกว่าันั้นก็คือ ตอนนี้จิตใจของคนต่ำลงเรื่อยๆ นี่คือ ปัญหาเฉพาะหน้าที่เราต้องหันมาแก้ไขกันมากกว่าีครับ

แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องคิดอะไร? แต่เท่าที่ผมเจอมา คนเอาจริง ศึกษาจริงน้อย เมื่อรู้น้อย ก็อาศัยความรู้สึกเป็นตัวตัดสิน ไม่เกิดประโยชน์อะไรมากนัก

เท่าที่ผมกับอีกหลายๆ คนที่สนใจในวิชานี้ยังคงอยู่ก็คือ ความเป็นเหตุเป็นผลของวิชาที่เกี่ยวข้องกัน และมีความเป็นรูปธรรมในตัว มีขั้นมีตอนการฝึกชัดเจนครับ

ถ้ายังไงอยากรู้อะไรจริงๆ ผมยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นกันครับ

สำหรับ Source ที่แนะนำก็คือ www.wisdominside.org ครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

 

 

 

 

ถ้าอัตตาคือ ความเที่ยง และมีตัวตน

อนัตตา คือ ความไม่เที่ยง และไม่มีตัวตน

แต่ นิพพาน ไม่ใช่ทั้ง อัตตา และ อนันตา นิพพานเป็นกลางๆ ระหว่าง ๒ อันนี้

ความจริงพระพุทธเจ้าไม่ให้บอกว่า นิพพาน เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง ฉะนั้นข้าพเจ้าจึง จะอธิบายว่า

นิพพาน นั้นว่างจาก สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ คือความมีตัวตน ก็ ทุกข์ ความไม่เที่ยงก็ ทุกข์

นิพพานนั้น หมายถึง เมื่อดวงจิตที่ทำงานตามหน้าที่ของมันนั้นดับสนิท นั้นจึงเรียกว่า นิพพาน

สรุปคือ ว่างเปล่า ไม่อยากเขียนยาว ถ้าจะเปรียบ ดวงจิต เสมือน กระดาษ ตัวกิเลส เสมือน หมึก ผลกรรม เสมือน ปากกา จะถามว่า ผู้ที่ทิ้งปากกา ไม่สร้างบาปเพิ่มดีไหม

ผู้ที่ลบหมึกในกระดาษ บาปที่มีอยู่ในจิตใจลบออกดีกว่าไหม

ผู้ที่ทำลาย กระดาษ เมื่อไม่มีปากกา ไม่มีหมึก จะเก็บไว้ทำไม ทิ้งดีกว่าไหม

ถ้ามี กระดาษอยู่ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ปากกาและหมึก จะไม่แต่งเติมมีอีก

ถ้ากระดาษยังอยู่ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า กระดาษนั้นจะอยู่ในสภาพเดิม

ดังที่พระพุทธเจ้าว่า ถ้าตราบใดที่ เรือยังไม่ถึงฝั่ง คือนิพพาน ตราบนั้นยังไว้วางใจไม่ได้ เคยได้ยินไหมละคำนี้ อยากนิพพานยัง ห่วงดวงจิตอยู่อีกเหรอนี่ สะมะพล จิตนี้แหละที่ผู้ต้องการนิพพานเขาต้องการทำลาย

แต่ธรรมเกินทั้งหลาย กับไปคิดว่าดวงจิต มีอยู่ก็นิพพานได้ จะนิพพานได้อย่างไรละ สะมะพล เมื่อคนยังห่วงจิตอยู่ เมื่อจิตยังเป็นที่รักอยู่ เมื่อจิตยังเป็นที่อาศัยอยู่ เมื่อปรารถนาจิตยังอยู่ แล้วนิพพานจะมีความหมายอะไร ในเมื่อทิ้งปากกา ไม่มีหมึกในกระดาษ ยังอยากจะเก็บ กระดาษนั้นไว้อยู่ ยังเสียดาษกระดาษนั้นอยู่หรือ เหมือนดังจิตเช่นกัน เมื่อไกลจากกิเลสแล้ว ไม่ผูกพัน ไม่ทะยานอยากแล้ว เหมือนดังหลอดไฟที่เสีย เก็บไว้ดูต่างหน้าทำไหม บอกบอกว่า นิพพานที่ว่าเหลือไว้แต่จิตนั้นเป็น การหลง ศึกษาให้ดีๆ จะรู้ว่านิพพาน นั้นมันไม่ได้ เกี่ยวกับสิ่งสุดโต่งทั้ง ๒ ทางนั้นเลย นั้นก็คือ อัตตา และอนัตตา เพราะนิพพานก็คือ นิพพาน เหมือนดัง คนยากจนคนหนึ่งทิ้งความขี้เกียจขยันทำมาหากิน ทิ้งความฟุ่มเฟือยรู้จักเก็บออม แบ่งทำบุญบ้างในบ้างส่วน เขาผู้นั้นย่อมได้ซื่อว่า เศรษฐี ผู้ที่มีปัญญา ย่อมจะทิ้งทั้ง อัตตา เจริญซึ่งการปลง และ ทิ้งอนัตตา เจริญซึ่ง ปัญญา จึงจะได้มาซึ่งคำว่านิพพาน คำว่า เศรษฐีได้มาด้วย ความขยันและอดออม นิพพานก็ได้มาซึ่ง ซึ่งการปลง และปัญญา ฉันนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท