ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย


กำเนิดไทย

                                                 ถิ่นกำเนิดชนชาติไทย

                                                                               

                                        ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย  ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจากยังหาหลักฐานมา

ยืนยันอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าชนชาติไทย มีถิ่นกำเนิดที่แท้จริงอยู่ที่บริเวณใด  คงมีเพียงข้ออ้างอิง  ทฤษฎี  และข้อ

สันนิฐาน ว่ามีถิ่นกำเนิดในที่ต่างๆ  กันไป ตามแต่ใครจะหาหลักฐานอ้างอิง หรือมีเหตุผลประกอบการนำเสนอ

พร้อมหลักฐานอ้างอิงได้  ซึ่มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ค้นคว้า  ศึกษา  เสาะแสวงหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์

มายืนยันอยู่หลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเสนอพยานหลักฐานยืนยันแนวความคิดของ

ตนเอง  ซึ่งได้เสนอไว้เป็นแนวทางในการศึกษาถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ดังนี้                                                                               ภาชนะเครื่องใช้ มีอายุประมาณ 4500 ถึง 3500 ปีมาแล้วพบว่า

                                                                                                                                                              มีการตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ราบลุ่มริมทางน้ำใหญ่  จ.ลพบุรี

1.  บริเวณตอนเหนือของประเทศจีน

                                        วิลเลี่ยม  กลิฟตัน  ดอดด์  มิชชันนารีชาวอเมริกัน  เคยเดินทางไปมณพลยูนนานในประเทศจีน  ระหว่าง พ.ศ.2450 2461  และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับชนชาติไทย ชื่อ  ชาติไทย : พี่อ้ายของคนจีน  ซึ่งหลวงแพทย์นิติสวรรค์  ฮวดหลี  หุตะโกวิท  ได้แปลเป็นภาษาไทยว่า ชนชาติไทย  ดอด์ด อธิบายว่า กลุ่มคนไทยมีเชื้อชาติสายมองโกล  พูดภาษาไทย  อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจีน  เรียกตนเองว่า อ้ายลาว  (จีนเรียก ต้ามุง)  ชนชาตินี้เคยครอบครองดินแดนประเทศจีนปัจจุบัน  แต่ถูกจีนรุกราน  จึงถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานในมณฑลยูนนาน  ไกวเจา  กวางตุ้ง  และกวางสี  โดยอยู่ภายใต้การปกครองของจีน  แต่มีคนไทยบางส่วนได้อพยพลงมาทางใต้  เข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีนและได้ร่วมกันก่อตั้งอาณาจักรน่านเจ้าในเวลาต่อมา

                                         ขุนวิจิตรมาตรา  (รองอำมาตย์โทสง่า  กาญจนาคพันธ์)   ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในหนังสือ หลักไทย ว่าถิ่นเดิม

ของชนชาติไทยอยู่ที่บริเวณเทือกเขาอัลไต  ทางตอนเหนือของจีน (ติดกับมองโกเลีย)  ต่อมาจึงได้อพยพลงไปทางใต้เพื่อหาที่อยู่ใหม่ที่อุดม

สมบูรณ์กว่า   และได้ก่อตั้ง นครลุง  ขึ้น หลังจากนั้นอพยพมาทางบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน  แล้วสร้างเมืองใหม่ คือ นครปา

  หรือ  อ้ายลาว  ซึ่งต่อมาถูกจีนครอบครอง จึงอพยพลงมาทางใต้  เข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน  และดินแดนประเทศไทยปัจจุบันตามลำดับ   

 

2. บริเวณตอนกลางของประเทศจีน

                                        เทเรียน  เดอ  ลา  คูเปอรี   เป็นชาวอังกฤษ และเป็นผู้เชียวชาญทางภาษาศาสตร์ของอินโดจีน  ได้ศึกษาจากเอกสารจีน  กล่าวว่า

อาณาจักรต้ามุง  ซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติไทยในมณฑลเสฉวนของจีน  ระยะแรกชนชาติจีนได้ยกย่องชนชาติไทยว่าเป็นชนชาติที่น่ายกย่อง  เพราะต้ามุง

หมายถึงเมืองใหญ่ และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกั้น  แต่ต่อมาจีนเริ่มรุกรานเข้ามาในอาณาจักรต้ามุง  คนไทยจึงได้อพยพลงมาทางใต้บริเวณมณฑลเสฉวน                             ขุนวิจิตรมาตรา

 และเข้าสู่ตอนเหนือของคาบสมุทรอินโดจีนในระยะต่อมา

                                        หลวงวิจิตรวาทการ และ  พระยาอนุมาณราชธร   ได้วิเคราะห์เรื่องถิ่นกำเนิดของไทยไว้ในหนังสือเรื่อง งานค้นคว้าเรื่องเชื้อ

ชาติไทย  ว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนที่เป็นมณฑลเสฉวน  ฮูเป  อันฮุย  และ  เกียงสี  บริเวณตอนกลางของจีน  ต่อจากนั้นจึงอพยพลงมา

ทางตอนใต้ที่เป็นมณฑลยูนนานและแหลมอินโดจีน

 


3. บริเวณตอนใต้ของจีน

                                        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  (บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย)  ได้แสดงพระราชดำริไว้ในนิพนธ์

เรื่อง  แสดงบรรยายพงศาวดารสยามและลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ  ว่า   แต่เดิมชนชาติไทยมีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนใต้ของจีน  แถบ

มณฑลกวางตุ้ง  และยูนนาน  ต่อมาถูกจีนรุกรานจึงอพยพเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่  โดยแยกออกเป็น  2  สายดังนี้

-          สายที่ 1  อพยพไปทางทิศตะวันตกแถบลุ่มน้ำสาละวินในพม่า  และบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดียปัจจุบัน  เรียกว่า ไทยใหญ่

-          สายที่ 2  อพยพลงมาทางใต้แถบบริเวณแคว้นตัวเกี๋ย  สิบสองจุไท  สิบสองปันนา  ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน  เรียกว่า ไทยน้อย

ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของคนไทยปัจจุบัน

                                                                                                                                                                                                                                                                สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

4.  บริเวณดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน                                                                                                                                                                                   

                                        อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์  ในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้  ได้มีนักโบราณคดี นักมนุษยวิทยา และนักชาติพันธุ์วิทยา  ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในยุดที่ยัง  ไม่มีตัวอักษรสำหรับใช้บันทึกเรื่องราวของตนเป็นหลักฐานและความรู้ทางเทคโนโลยี ก็อยู่ในระดับต่ำซึ่งเรียกว่า ยุคหิน  และ  ยุคโลหะ  อันเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏว่าได้ค้นพบโครงกระดูก  เครื่องมือ  เครื่องใช้  ของมนุษย์ในสมัยดังกล่าวเป็นจำนวนมาก  สันนิษฐานว่า ในดินแดนอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบันนี้เคยเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกแห่งหนึ่ง  ก่อนจะถึงยุดที่มีตัวอักษรบันทึกเรื่องราว  แหล่งที่ค้นพบอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่สำคัญ คือ                                                                                                                       

-          ถ้ำผี  อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และ                                                                                                                    

         เครื่องมือที่ทำด้วยหิน  มีอายุรุ่นเดียวกับโครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบที่กรุงปักกิ่งของจีน                                                                                                                  

-          ถ้ำพระ   อยู่ในเขตอำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  ได้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และ                                                                                                               

          เครื่องมืดที่ทำด้วยหิน แสดงถึงพิธีกรรมในการฝังศพ  และมีความเชื่อถือในเรื่องวิญญาณ                                                                                                               

          ที่จะกลับมาฟื้นคืนชีพได้อีก

 

                                                                                        ภาพเขียนสีบนเผิงหิน ที่เขาจันทร์งาม จ.นครราชสีมา          

                                                                                                                                                                                                                                                                                          

 

                                                                                                                                                                จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์บริเวณภาคกลางของประเทศไทย เป็นที่อยู่อาศัย
                                                                                                                         ของกลุ่มชนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้
  เป็นกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
                                                                                                                         อายุประมาณ
4500-3500 ปีมาแล้ว  และได้พัฒนามาเป็นชุมชน
                                                                                                                         โบราณสมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา

 

                                        -      บ้านเชียง   เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์  เครื่องปั้นดินเผาที่มีการ

เขียนลวดลายด้วยสีสรรอย่างสวยงาม  นอกจากนี้ยังพบปลายหอกทำด้วยสำริด  กำไลแขนสำริด  ลูกปัดแก้ว  ซึ่งมีอายุมากกว่า 7,000-5,000 ปีมาแล้ว  หรือ

ราว 1,800 ปีก่อนพุทธกาล  ถือเป็นแหล่งกำเนิดอารยะธรรมอันเก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง

                                        เมื่อปี พ.ศ.2500 ได้มีการขุดพบภาชนะดินเผา ที่ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี

ต่างๆ หลายประเภท ทั้งที่เป็นโครงกระดูก และภาชนะเคื่องปั้นดินเผาที่เขียนลวดลายด้วยสีแดง รวมทั้งวัตถุที่ทำด้วยหิน  สำริด  และเหล็ก เป็นจำนวนมาก  ทาง

กรมศิลปากรได้ตรวจหาอายุด้วยวิธี เทอร์โมมิเนสเซนต์ พบว่าเป็นโบราณวัตถุที่มีอายุราว 7,000 5,000 ปี เป็นโบราณวัตถุยุดก่อนประวัติศาสตร์

เชสเตอร์ กอร์แมน และอาจารย์พิสิฐ  เจริญวงศ์  นักโบราณคดีได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับสำริดที่บ้านเชียงว่า  การขุดพบสำริดในดินแดนต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นเอเชียไมเนอร์  ทะเลเมดิเตอเรเนียน ลุ่มแม่น้ำสินธุ  ซึ่งดินแดนเหล่านั้มีแร่ทองแดงอยู่เป็นจำนวนมาก  แต่ไม่พบดีบุกเลย จึงเป็นไปได้ว่าดินแดน            เครื่องปั้นดินเผา

หมายเลขบันทึก: 245865เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด 

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 51

ราคามันสำปะหลังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น และเพื่อป้องกันมิให้มีการหักร้างถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การปลูกมันสำปะหลัง ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง จึงได้แนะนำ หลักในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้
 
1. การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลิตมันสำปะหลัง หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดีและการเพิ่มธาตุอาหารหลักให้กับดิน ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หรือเปลือกมันจากโรงงานแป้งหรือปุ๋ยพืชสดจากปอเทืองและถั่วพร้าปลูกแล้วไถกลบ ในกรณีที่ดินถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดชั้นดินดานใต้ดิน ทำให้ระบายน้ำลงใต้ดินได้ยากในฤดูฝน เกิดปัญหาหัวเน่าจากน้ำท่วมขัง ในช่วงฤดูแล้งมันสำปะหลังไม่สามารถใช้น้ำใต้ดินได้ ทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น ควรไถระเบิดชั้นดินดาน หรือ ใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ 1-2 ปี เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึกถึง 3 เมตร สามารถทำลายชั้นดินดานได้ อีกทั้งเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินด้วย
  
2. การเลือกฤดูปลูก หลักสำคัญก็คือควรจัดวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือนของมันสำปะหลังได้รับน้ำฝนมากที่สุด เพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าว โดยในช่วงแรกระยะตั้งแต่ 1-3 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังต้องการน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้ว พบว่า การปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) รองลงมา คือ ต้นฤดูฝน (เมษายน-พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อนและปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์
 
3. การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าเป็นดินดี ดินชนิดนี้สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลางถึงเลว ดินชนิดนี้ไม่สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ เนื่องจากดินแตกง่ายไม่เกาะติดกัน โดยดินร่วนเหนียว ควรปลูก พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 ส่วนดินร่วนทรายควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์ เมื่อนำไปปลูกในดินร่วนเหนียวจะเจริญเติบโตในส่วนของ  ลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกว่าลงหัว หรือที่ชาวบ้าน  เรียกกันว่าขึ้นต้นหรือบ้าต้นเกินไป ส่วนพันธุ์ระยอง 7 นั้นเหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรายที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของการเจริญเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง   
 
4. การเตรียมดินให้ลึก หลักสำคัญก็คือ ต้องไถดะครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยผาล 3 หรือ ผาล 4 เท่านั้น ควรไถดะในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยผาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึกการ ไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้นและมันสำปะหลัง  ลงหัวได้ง่าย จากนั้น ตากหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตาย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินร่วนทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย ในกรณีที่ เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักได้ควร หว่านก่อนไถดะ ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ผลดี คือ ปุ๋ยหมักมูลไก่ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ วัสดุอินทรีย์จากกากมันที่เหลือจากโรงงานแป้ง 2 ตันต่อไร่
 
5. การปลูกที่ถูกต้อง หลักสำคัญก็คือ ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด โดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร 
 
6. การกำจัดวัชพืช หลักสำคัญก็คือ มันสำปะหลังใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากปลูก เพื่อสร้างพุ่มใบให้คลุมพื้นที่ระหว่างร่องทั้งหมด ดังนั้น ภายในช่วง 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงวิกฤติของมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลัง มันสำปะหลังจะแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดยใช้จอบถาง รถไถเดินตามแถก ระหว่างร่อง ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอกหรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น ห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
 
7. การใส่ปุ๋ยเคมี ควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน  2 : 1 : 2  ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก และต้องใส่ปุ๋ยเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย ถ้าไม่กลบปุ๋ยอาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเก็บเกี่ยวควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสมตั้งแต่อายุ 10-18 เดือน ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังในช่วงฝนแรก คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อน จะให้เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ
 
8. การให้น้ำมันสำปะหลัง ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อจะช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือทำให้ใบร่วงน้อยที่สุด มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน มีการให้น้ำในช่วง สองเดือนแรกของการเจริญเติบโตตามความจำเป็น และให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม เก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว          
 
รายละเอียดสอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0603 และ 0-2940-5492 และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง  0-3868-1515 ทุกวันในเวลาราชการ

 

ว่านงาช้างเขียว บำรุงโลหิต รักษาฝ้า ตกกระ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sanseviera intermidia (N.E. Br.)
วงศ์: Liliaceae
ลำต้น เป็นลักษณะแท่งกลมๆ สีเขียว แทงขึ้นมาจากใต้ดินทีเดียว ยาวขึ้นมาเป็นสีเขียวสดประมาณ 1 ศอกเศษ ส่วนปลายเรียวแหลม คล้ายงาช้างสีเขียว 
ใบ ใบอ่อนของว่านนี้จะเป็นสีเขียวสดใส พอแก่จัดสีเขียวของใบนี้จะเป็นสีเขียวเข้ม ออกสีลายขาวสลับกันอยู่ แตกต่างจากเมื่อยังอ่อนอยู่
เวลาออกดอก ก้านดอกจะแทงออกมาจากโคนกอ หาต้นสูงขึ้นไปอีกก็จะมีดอกตามก้านใบไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงส่วนปลายของก้านทีเดียว
ดอก จะเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเข้ม เวลาบานออกจะเห็นเป็นสีขาวตามกลีบดอกของใบ ส่งกลิ่นหอม ลักษณะเด่นของว่านหางช้างอีกอย่างคือ หอมได้ทนนาน ดอกก็อยู่ทนนาน จึงเหมาะที่จะปลูกบริเวณบ้าน
สรรพคุณ- บำรุงโลหิตได้ดี โดยเอาใบว่านงาช้างเขียวประมาณ 1 กำมือ ดองกับเหล้าขาวหรือเหล้าโรง 1 ขวด ดองไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วเอามาดื่มเพียงครั้งละค่อนถ้วยตะไล เวลาเย็นวันละ 1 ครั้ง หรือจะดื่มเช้าและเย็นก็ได้ ก่อนอาหาร  หากว่าไม่ชอบดื่มเป็นเหล้า ให้เอามาต้มเป็นยาต้มก็ได้ ให้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็นวันละ 2 เวลา ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล จะทำให้มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง
- รักษาอาการใบหน้าเป็นฝ้าหน้าตกกระ  โดยเอาใบของว่านงาช้างมาล้างให้สะอาด แล้วเอามาตัดเป็นท่อนสั้นๆ โขลกหรือทุบให้แตกออกมากๆ เอาไปต้มกับน้ำสะอาด เอาน้ำยาที่ได้มาดื่มครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้าเย็นอย่างละครั้ง- ใช้ขับโลหิตเสีย โลหิตเป็นพิษหลังคลอด โดยให้เอาใบของว่านงาช้างเขียวมาล้างให้สะอาด ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ โขลกให้ละเอียดเสียก่อน เอามาต้มสัก 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมขึ้นมาพอสมควร ต้มไปสัก 15 นาที ยกเอาลงมาให้เย็นลงตามปกติ พออุ่นๆก็รินเอาดื่มครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้าและเย็น ก่อนอาหาร ทุกวัน- คั้นเอาน้ำมาดื่มเพื่อเบื่อพยาธิในร่างกาย- รักษาริดสีดวงทวาร- เอามาเผา แล้วคั้นเอาน้ำออกมา เอาไปหยอดรูหู แก้อาการปวดในหู หูอักเสบ เจ็บปวด หูน้ำหนวกก็ใช้ได้- น้ำคั้นจากว่านมาชโลมเส้นผม รักษารากผมให้สมบูรณ์แข็งแรง เส้นผมดกดำเป็นเงางาม ไม่ร่วงหล่น

    ความเป็นมาของสภาเกษตรกรแห่งชาติ       สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 84(8) ประกอบมาตรา 303(1) ได้บัญญัติให้รัฐจัดทำกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการยกร่างกฎหมาย ว่าด้วยสภาเกษตรกร โดยมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์) เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการกองนิติการ (ขณะนั้น) เป็นกรรมการ และเลขานุการ เพื่อ ดำเนินการ ศึกษา และยกร่างกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกร คณะกรรมการฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิต และการตลาดเพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และมีสภาสำหรับเกษตรกร ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเสริมสร้างสมานฉันท์ ของเกษตรกรทั้งประเทศ ทำให้เกษตรกร มีความเข็มแข็ง และมีการรวมตัวกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยสร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถจัดทำแผนแม่บท เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพปัญหาอันแท้จริง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับ การพัฒนา ส่งเสริมให้ได้รับความร ู้และข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรรมด้านต่างๆในการนี้ ได้มีการนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกไปรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ แต่ละภาค รวม 4 ภาค แล้วนำข้อมูลที่ได้ จากการรับฟังความคิดเห็น มาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และได้เสนอไปยัง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินการ ตามกระบวนการตรากฎหมาย         ความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.       ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... มีผู้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา รวม 9 ฉบับ คือ       1. คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เสนอต่อ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 19 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 28 มีนาคม 2552   2. นายเจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน กับคณะ (ปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทย) ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552   3. นายศุภชัย โพธ์สุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษกร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 และได้บรรจุ ระเบียบวาระการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552   4. นายขยัน วิพรหมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552   5. นายอนันต์ ศรีพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2552   6. นายสถาพร มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 28 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2552   7. นายภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทยพัฒนา กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ 9 กันยายน 2553 
8. นางวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ 9 กันยายน 2552  9. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อ กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ 9 กันยายน 2552  สำหรับ ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) นั้น คณะรัฐมนตรีได้พิจารณา และมีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์เสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป    ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ 9 กันยายน 2552 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (นายเจริญ จรรย์โกมล กับคณะเป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (นายศุภชัย โพธิ์สุ กับคณะเป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (นายขยัน วิพรหมชัย กับคณะเป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (นายอนันต์ ศรีพันธุ์ กับคณะเป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (นายสถาพร มณีรัตน์ กับคณะเป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (นายภราดร ปริศนานันทกุล กับคณะเป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ...(นางวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ กับคณะเป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... (นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ กับคณะเป็นผู้เสนอ) โดยที่ประชุมเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... ทั้ง 9 ฉบับนั้น มีหลักการเป็นไปในทำนองเดียวกัน จึงเห็นควรให้นำมาพิจารณารวมกัน ในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ในการนี้คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงหลักการและเหตุผล ดังนี้    หลักการ    ให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรแห่งชาติ    เหตุผล    โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้รัฐ ต้องดำเนินการคุ้มครอง และรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิต และการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่ม ของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกร เพื่อวางแผนเกษตรกรรม และรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร เพื่อสนับสนุน การมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการกำหนดนโยบาย และวางแผนการพัฒนาเกษตรกรรม อย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปเพื่อเกษตรกรอย่างแท้จริง และมีกระบวนการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐด้านการปฏิบัติตาม นโยบายเกษตรกรรม อันจะนำไปสู่ การพัฒนาภาคเกษตรกรรม และระบบเศรษฐกิจโดยรวม ของประเทศ อย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนั้น เพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับเกษตรกรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้    หลังจากคณะรัฐมนตรีได้แถลงหลักการ และเหตุผลแล้ว ผู้เสนอร่าง พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... ได้แถลงหลักการ และเหตุผล ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว รวมทั้งร่างฯ ของคณะรัฐมนตรีได้เสนอ จนครบทั้ง 9 ฉบับ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปราย แสดงความคิดเห็น อย่างกว้างขวางเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง 9 ฉบับ พร้อมกันไปด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 304 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 5 เสียง งดออกเสียงไม่มี และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 36 คน เพื่อพิจารณาโดยถือเอาร่างพระราชบัญญัต ิของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ในการพิจาณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ กำหนดการแปรญัตติภายใน 7 วัน      สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้     1. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบายการส่งเสริม และการพัฒนาความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การผลิต การแปรรูป การตลาด และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม   2. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบาย และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ระบบวนเกษตร ระบบเกษตรธรรมชาติ ระบบไร่นาสวนผสม ระบบเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมรูปแบบอื่น   3. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร การพัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   4. เสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรี   5. 5. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านพันธุธรรมพืช และสัตว์ท้องถิ่น ผลผลิตทางเกษตรกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรกรรม   6. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการประกันความเสี่ยงของราคา และผลผลิตทางเกษตรกรรม รวมทั้งการกำหนดสวัสดิการให้แก่เกษตรกร   7. เสริมสร้างคาวมร่วมมือ และประสานงานกับภาครัฐ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเกษตรกรรม   8. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร   9. ให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎหมาย หรือข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อเกษตรกร   10. ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และตามที่สภาเกษตรกรจังหวัดเสนอ   11. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษาตามความจำเป็น   12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย      

   >> การเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกร   >> ความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผน      การเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกร       บทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรแห่งชาติฯ ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าที่เลขาธิการของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี รวมทั้งจะต้องดำเนินการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร ขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดชุดแรก ซึ่งประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจะได้เป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยตำแหน่ง ภารกิจดังกล่าวมีความสำคัญ และต้องใช้อาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายในการจัดการให้การเลือกตั้งสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภา       ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาเกษตรกร ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 227/2553 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 และคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 330/2553 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว องค์ประกอบคณะกรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสิงห์ทอง ชินวรรังสี) เป็นประธานกรรมการ นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และนายทรงพล พนาวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ มีผู้แทนกรมการปกครอง และผู้แทนส่วนราชการในสังกัดอีกหลายแห่ง รวมทั้งเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา และเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนนทบุรี ร่วมเป็นกรรมการ และมีสำนักกฎหมายเป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ คณะกรรมการเตรียมการฯ ได้จัดทำแผนงาน กำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องเตรียมการก่อนพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติประกาศใช้บังคับ ได้แก่       1. การทำหน้าที่ของเลขาธิการฯ และหัวหน้าสำนักงานฯ ได้แก่ การกำหนดโครงสร้าง อัตรากำลัง สถานที่ทำการ และงบประมาณ การจัดจ้างบุคลากร การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด และการประชุมอบรม ให้ความรู้แก่บุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่   2. การจัดทำหลักเกณฑ์ ด้านกฎหมาย และแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ ได้แก่ การกำหนด หลักเกณฑ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกร หลักเกณฑ์ การรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร หลักเกณฑ์การได้มาซึ่ง สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ มาตรา 5(2) และ (3) ชุดแรก การกำหนดแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ รวมทั้งการจัดทำคู่มือ การเลือกตั้ง และรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร และการจัดเตรียมบุคลากร สำหรับชี้แจง หรือตอบข้อซักถาม   3. การประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ ทางสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เอกสารเผยแพร่ และทางอินเตอร์เนต การจัดจ้างดำเนินการ ตามโครงการประชาสัมพันธ์   4. การประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเกษตรกร ตามบัญชีครัวเรือนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง จัดเตรียมบัญชีรายชื่อเกษตรกร ตามบัญชีครัวเรือนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และผู้มีสิทธิ์รับเลือกตั้ง และการจัดเตรียมสถานที่ บุคลากร และอุปกรณ์การเลือกตั้ง       นอกจากนี้ คณะกรรมการเตรียมการฯ ได้มอบหมายให้สำนักแผนงาน และโครงการพิเศษ ร่วมกับ สำนักกฎหมาย จัดให้มีการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553 ที่โรงแรมปริ๊นพาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ในการประชุมสัมมนา ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาท ภารกิจของเกษตร และสหกรณ์จังหวัด ตามร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติฯ ให้เกษตร และสหกรณ์จังหวัด และหน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ทราบข้อมูล และมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจในแนวทาง การดำเนินการจัดตั้ง สภาเกษตรกรแห่งชาติ และจากการประชุมสัมมนาฯ ดังกล่าว ที่ประชุมได้ร่วมเสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ สรุปโดยย่อได้ดังนี้       1. ประเด็นเกี่ยวกับ วิธีการเลือกตั้ง ผู้เข้าสัมนาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรใช้วิธีการเลือกตั้งวิธีลับ โดยการเข้าคูหา อันจะเป็นผลดีต่อผู้เลือกตั้ง ที่มีอิสระในการตัดสินใจ โดยไม่เกรงต่อผลกระทบของอิทธิพลท้องถิ่น และระยะเวลาดำเนินการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นในวันเดียว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการเลือกตั้ง ของกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ขอให้ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กำหนดขั้นตอน ให้ชัดเจน โดยจัดทำเป็น คู่มือปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการ และป้องกันปัญหา การถูกร้องเรียน รวมทั้งเห็นควร ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การดำเนินการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ เห็นควรประสานขอความร่วมมือจากครู และอาจารย์ในพื้นที่ ให้ช่วยเป็นเจ้าหน้าที่ ควบคุมดูแลการเลือกตั้ง ตลอดจนการอบรมให้ความรู้ แก่เจ้าหน้าที่ ที่ควบคุมดูแลการเลือกตั้งด้วย ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่ ประมาณคูหาละ 5 – 7 คน   2. การประชาสัมพันธ์ เห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์ ทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด และควรจัดทำ TOR จัดจ้าง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้รวดเร็ว เพื่อให้มีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ พอสมควร ก่อนถึงวันเลือกตั้ง โดยเน้น ประชาสัมพันธ์ ระดับจังหวัดให้มาก โดยประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และจัดแถลงข่าว ให้เกษตรกรได้รับรู้เกี่ยวกับสภาเกษตรกรที่กำลังจะเกิดขึ้น   3. การบริหารจัดการ ควรจัดทำคำสั่งให้อำนาจเกษตรและสหกรณ์จังหวัด อย่างเหมาะสม เพียงพอแก่การบริหารจัดการ และควรขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทย ไม่ควรดำเนินการเอง เพื่อป้องกันข้อขัดแย้ง รวมทั้งต้องจัดทำโครงสร้างหน่วยงานเบื้องต้น เพื่อรองรับการเลือกตั้งก่อน   

ความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผน    เนื่องจากระยะเวลาในการเตรียมการมีไม่มาก โดยคาดว่าพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติฯ จะสามารถประกาศใช้บังคับได้ประมาณต้นเดือนตุลาคม 2553 คณะกรรมการเตรียมการฯ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวม 3 คณะ เพื่อแบ่งแยกให้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมในแต่ละเรื่อง ดังนี้    1. คณะอนุกรรมการจัดทำร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกฎหมาย และคู่มือปฏิบัติงานตามบทเฉพาะกลางของร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... ตามคำสั่งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ 1/2553 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณายกร่างหลักเกณฑ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร  2. คณะอนุกรรมการจัดทำแผน และกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ตามคำสั่งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ 2/2553 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ ในระดับจังหวัด และระดับชาติ  3. คณะอนุกรรมการ จัดเตรียมบัญชีรายชื่อเกษตรกร ตามคำสั่งคณะกรรมการเตรียมการ จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ 3/2553 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2553 คณะอนุกรรมการฯ ได้ประสานงานกับ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยได้ร่วมกันพิจารณาถึง ปัญหา และรายละเอียด ในการจัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรแล้ว และกรมการปกครองรับจะดำเนินการตรวจสอบ และจัดพิมพ์บัญชีรายชื่อเกษตรกรให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนี้ อยู่ในระหว่างการพิจาณา เพื่อกำหนดรายละเอียด ระยะเวลาดำเนินการ และค่าใช้จ่าย  4. ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 497/2553 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2553 เพื่อดำเนินการในการ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ประสานงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ให้คำปรึกษา ตอบข้อหารือในการปฏิบัติงาน ติดตามผลการปฏิบัติงาน เสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์




    >> กรอบเวลาการใช้บทเฉพาะกาล 2 ปี   >> การดำเนินการตามบทเฉพาะกาล   >> การจัดตั้งหน่วยงานเป็นการภายใน เพื่อปฏิบัติภารกิจตาม พ.ร.บ.        สภาเกษตรกรแห่งชาติ      กรอบเวลาการใช้บทเฉพาะกาล 2 ปี       ภารกิจ    ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าที่เลขาธิการสำนักงาน และหัวหน้าสำนักงานกรุงเทพมหานคร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานจังหวัด       ระยะเวลา    2 ปี นับตั้งแต่ พ.ร.บ. ใช้บังคับ       สภาเกษตรกรจังหวัดชุดแรก     1. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ภายใน 30 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ใช้บังคับ และมีเวลาขึ้นทะเบียน 30 วัน ประกาศรายชื่อเกษตรกร ภายใน 60 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ใข้บังคับ   2. เลือกตั้ง   ระดับหมู่บ้าน ภายใน 30 วัน นับแต่ประกาศชื่อเกษตรกร   ประกาศผู้แทนหมู่บ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่เลือกตั้ง   ระดับตำบล ภายใน 30 วัน นับแต่ประกาศผู้แทนหมู่บ้าน   ประกาศผู้แทนตำบล ภายใน 15 วัน นับแต่เลือกตั้ง   ระดับอำเภอ/สมาชิกสภาจังหวัด ภายใน 30 วัน นับแต่ประกาศผู้แทนตำบล   ประกาศ/แจ้งรายชื่อให้ ภายใน 15 วัน นับแต่เลือกตั้ง   
3. การประชุมสภาเกษตรกรครั้งแรก ภายใน 45 วัน นับแต่ประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา เพราะฉะนั้น ตั้งแต่วัน พ.ร.บ. ใช้บังคับ ถึงวันประชุมครั้งแรก 60 + 45 + 45 + 45 + 45 = 240 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ใช้บังคับ       สภาเกษตรกรแห่งชาติชุดแรก       1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดหลักเกณฑ์ และจัดให้มีการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร 60 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ใช้บังคับ ระยะเวลาขึ้นทะเบียน ไม่น้อยกว่า 90 วัน ไม่เกิน 150 วัน   2. การคัดเลือกตัวแทนองค์กรเกษตรกร ตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กำหนด   3. การประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติครั้งแรก ภายใน 30 วัน นับแต่ประกาศรายชื่อ   

    ผ่าคลอด “สภาเกษตรกรแห่งชาติ” เป็นตัวแทนหรือดาบทิ่มแทงเกษตรกรรากหญ้าหลังรอมานานกว่า 30 ปี เพื่อให้มีสภาซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกรทั้งประเทศ วันนี้ร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติกำลังอยู่ระหว่างผ่าคลอดออกมาบังคับใช้โดยเร็ว โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนขอนำเสนอคำถาม-คำตอบที่น่าฟังว่า “กฎหมายดังกล่าวจะเป็นดาบสองคมที่ทิ่มแทงเกษตรกรรากหญ้าหรือไม่?”ปลายเดือนมิถุนายน ร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา และการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าจะมีผลบังคับใช้เป็นกฏหมายภายในสิ้นปี 2553 นี้ โดยมีปลัดกระทรวงฯนั่งเป็นเลขาธิการสภาฯ ให้เกษตรกรจังหวัดเป็นหัวหน้าสำนักงานเตรียมเลือกตั้งสภาเกษตรแห่งชาติชุดแรกจากทั่วประเทศภายใน 2 ปีเจตนารมณ์ของการมีสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่รักษาและสร้างประโยชน์ให้เกษตรกรที่เป็นคนกลุ่มใหญ่และเป็นอาชีพสำคัญของประเทศ โดยสาระสำคัญจะเป็นการคุ้มครองรักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิต การตลาด เพื่อให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุด มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายอย่างเป็นเป็นเอกภาพเข้มแข็ง ที่สำคัญเกษตรกรสามารถจัดทำแผนแม่บทเสนอคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงกับความเป็นจริงดูน่าจะเป็นความหวังหลังรอมานานกว่า 30 ปีของการผลักดันโดยภาคประชาชน แต่ในอีกมุมหนึ่งวันนี้กลับมีคำถามที่น่าฉุกคิดว่า “สภาเกษตรกรแห่งชาติ” ที่กำลังคลอดออกมานี้ แทนที่จะเป็นตัวแทนเกษตรกรรากหญ้าส่วนใหญ่ของประเทศ กลับจะเป็นตัวแทนภาคธุรกิจการเกษตรและ “ฤาจะเป็นดาบสองคมทิ่มแทงเกษตรกรรายย่อย” โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนพาไปฟังคำถาม และเหตุผลเหล่านี้จากคณะทำงานติดตามร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรแห่งชาติ….ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์  กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเรื่องนี้ผลักดันกันมากว่า 30 ปี โดยมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มเกษตรกรจำนวนมากที่ต้องการให้มีสภาฯเพื่อดูแลแก้ไขปัญหาของเกษตรกรด้วยกันเอง เนื่องจากขณะนั้นมีสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และสภาอื่นๆเกิดขึ้นมาเพื่อดูแลคนในภาคส่วนนั้นๆ แต่ภาคเกษตรกรรมมีคนมากกว่าภาคส่วนอื่นยังไม่มีตรงนี้ จึงเป็นที่มาของการรวมตัวเสนอร่างกฏหมายโดยภาคประชาชน แต่เสนอครั้งใดก็ยุบสภาฯทุกครั้ง ร่างนี้จึงถูกดองและแทนที่ด้วยร่างใหม่หลายฉบับที่เสนอโดยภาคการเมือง รวมถึงฉบับล่าสุดที่ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาและกำลังเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในสมัยประชุมสามัญวันที่ 4 ส.ค.นี้“ผมมองสภาเกษตรจะเป็นเวทีเสนอแนะนโยบาย สู่การปรับปรุงส่งเสริมและแก้ไขปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานของเกษตรกรจริงๆ ไม่ใช่อยู่บนฐานของกระทรวงแบบเดิมๆ ร่างปัจจุบันมีสาระสำคัญเปลี่ยนแปลงไปบ้างจากเจตนาเดิม แม้พอรับได้แต่ยังมีข้อกังวล โดยเฉพาะประเด็นการคัดเลือกผู้แทนมานั่งในสภาฯ”เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกเป็นระบบผู้แทน จากระดับหมู่บ้านไล่มาถึงระดับจังหวัด โดยประธานสภาระดับจังหวัดจะเข้าไปเป็นสมาชิกของสภาเกษตรระดับชาติ ข้อเป็นห่วงอยู่ที่ผู้แทนที่เข้ามาอาจไม่ได้เป็นเกษตรกรตัวจริง ไม่เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งในแง่จำนวนเพียง 21 คนในระดับจังหวัด และ 99 คนในระดับชาติอาจดูแลเกษตรกร 20-30 ล้านคนได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีเรื่องอำนาจหน้าที่ซึ่งเสมือนว่าแค่ตั้งสภาเพื่อเสนอนโยบาย ไม่ได้ต่างจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาอื่นๆ
“เกษตรกรมีความหลากหลายมาก คนที่เข้ามามักเป็นพวกที่อยู่ในแวดวงราชการมีสายสะพาย เสนอว่าในเชิงโครงสร้างอาจต้องเคร่งครัดในกระบวนการสรรหา เพราะแนวโน้มข้างหน้าจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้แทน ที่ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักวิเคราะห์และเจรจา เพราะการเกษตรไม่ใช่แค่เพาะปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ แต่โยงไปถึงการนำเข้า ส่งออก และต่างประเทศด้วย”อีกส่วนคือบทเฉพาะกาลที่ระบุให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เลขาธิการของสภาฯ คล้ายกับคณะทำงานชั่วคราวในการจัดตั้งสภาฯโดยตั้งสมมติฐานเอาเองว่าเกษตรกรอาจไม่มีความพร้อมและรัฐบาลยังขาดงบประมาณ  มองว่าเป็นข้ออ้างที่ดูใจแคบเกินไปเสียหน่อย เพราะในความเป็นจริง สามารถจ้างผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาเป็นกองเลขาฯ เตรียมความพร้อมและข้อมูลให้เกษตรกรเสนอว่า 1.ควรมีสภาเกษตรกรหมู่บ้าน ตำบล อำเภอด้วย นอกเหนือจากสภาระดับจังหวัดและชาติ เพื่อให้ดูแลกันได้ถ้วนทั่ว 2.จำเป็นต้องเพิ่มอำนาจหน้าที่ของสภาฯให้เป็นที่รวมตัว แก้ไขปัญหา และสร้างพลังต่อรอง ไม่ใช่แค่เสนอนโยบายอย่างเดียว 3.ควรตั้งสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติที่เป็นอิสระปลอดจากการแทรกแซงโดยรัฐ และ 4.ทันทีสภาฯจัดตั้งควรมีการประเมินงานภายใน 6 เดือนและปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ปิดกั้นหรือสร้างเงื่อนไขให้เกษตรกร“ทุกวันนี้ภาคการเกษตรเติบโตมีรายได้และกำไรมหาศาล แต่เกษตรกรเป็นหนี้สินปีละแสนล้าน เห็นชัดว่าเขาถูกเอารัดเอาเปรียบลืมตาอ้าปาไม่ขึ้น การมีกฎหมายที่ให้บทบาทเกษตรกรมีส่วนร่วมและเป็นผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายมีความสำคัญ แต่ต้องระวังอย่าให้ไปกดทับเกษตรกรจนกลายเป็นเบี้ยล่างฝ่ายอื่นอีก”ทศพล ทรรศนกุลพันธ์  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มาของร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรฯฉบับนี้ เป็นร่างเดิมของฝ่ายการเมืองและราชการ ที่นำเสนอเข้าพิจารณาในช่วงจังหวะเวลาที่สถานการณ์การเมืองกำลังครุกรุ่น หากมองย้อนไปถึงเจตนารมณ์เดิมในร่างของภาคประชาชน เกษตรกรเพียงต้องการให้มีการรวมกลุ่มเพื่อพูดปัญหาของตัวเอง โดยมีเป้าหมายคือการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตและสร้างหลักประกันสิทธิที่ดีขึ้น ซึ่งไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลยในร่างฉบับนี้“ด้วยบริบทของร่างนี้ ผมคิดกลับกันว่าแทนที่มีสภาเกษตรแล้วจะเป็นผลดี อาจเป็นอันตรายมากกว่า กลายเป็นว่าจะมีคนเข้ามาพูดแทนเกษตรกร ที่น่าห่วงที่สุดตอนนี้คือรูปแบบเกษตรพันธสัญญา ที่เกษตรกรจำนวนมากอยู่ในอำนาจและการควบคุมของธุรกิจ จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สภาเกษตรฯ เอื้อต่อการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือพาณิชย์มากกว่าเกษตรทางเลือก”ด้านโครงสร้างไม่ว่าจะมองเฉพาะคณะกรรมการชั่วคราว ที่ให้อำนาจรัฐเข้ามาจัดกระบวนการหรือแม้แต่กรรมการทั้งระดับจังหวัดและระดับชาติ ล้วนแต่มีเครือข่ายหรือสัมพันธ์

หลักคิด ทิศทางสำคัญ

วิสัยทัศน์

"แผนชีวิตชุมชน อนาคตของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน"

ยุทธศาสตร์ 

"สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น และทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้อง โดยกระบวนการแผนชีวิตชุมชน"

มิติของกระบวนการเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชน

ประตูแห่งปัญญา : ทะลุแผนชุมชน  จะพบการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนอย่างยั่งยืน

***************

          *  มีหลาย ๆ คนเข้าใจว่า  การทำแผนชุมชน  เป็นเรื่องของผู้นำที่อาสาเสนอตัวเข้ามาเพื่อรับใช้ประชาชน  หรือหน่วยงานพัฒนาต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องทำ  เพื่อจะได้มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชน  บางครั้งก็เชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่จำกัดเฉพาะคนที่ฉลาด  รู้เรื่อง  เข้าใจ  และคิดเป็นเท่านั้นถึงจะทำได้  เราก็เลยได้เห็นผลผลิต  ผลลัพธ์  ของการแปลงแผนชุมชน  ที่ใช้ทรัพยากรทุกชนิดของประเทศชาติอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  เป็นการทำแผนพัฒนา  หรือแก้ไขปัญหาแบบจัดให้

                *  ต่อมาเมื่อผู้คนได้เรียนรู้ผลของการจัดทำแผนชุมชนในรูปแบบเดิมว่า  เป็นไปในลักษณะที่ไม่สมดุล  การจัดทำแผนชุมชนแทนชาวบ้าน  ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงกระจายอำนาจ  และบัญญัติเรื่องของการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมทำ  ร่วมติดตามประเมินผล  ร่วมรับประโยชน์จากการร่วมวางแผนในทุกขั้นตอน  แต่ก็มีจุดอ่อนที่พบ  ได้แก่  ตัวประชาชนเองก็ยังไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม  ยังไม่เข้าใจเรื่องการกระจายอำนาจ  มองว่าเป็นหน้าที่ของผู้นำ  ของรัฐที่ต้องดำเนินการ  ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือถูก  เพราะประชาชนคุ้นเคยกับระบบ  และโครงสร้างแบบอุปถัมภ์มานานมาก  ประกอบทั้งผู้นำ  หน่วยงานที่ทำหน้าที่แก้ไขและพัฒนา  ก็คุ้นเคยกับการคิดแทน  ทำแทนมาโดยตลอดก็เชื่อในประสบการณ์ว่าสิ่งที่ตนเองทำ  ตนเองวางแผนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว  รวมไปถึงการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณด้วย  เราจึงได้เห็นงบประมาณของการพัฒนาประเทศของทุกภาคส่วน  ทุกหน่วยงานสูงขึ้นทุกปี  แต่ปัญหาก็มีมากขึ้นเข้าทำนองยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง  หรือ  ลงทุนเยอะ  ทำงานแยะ  แต่ได้ผลิตผลน้อย

                *  ต่อมา  มีนักคิด  นักปฏิบัติทั้งตะวันตก  และตะวันออก  ได้เสนอแนวคิดของการใช้หลักการมีส่วนร่วม  ซึ่งเป็นประชาธิปไตยแบบตรงมาประยุกต์ใช้  และดูเหมือนว่าได้ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกอยู่ในปัจจุบันว่าช่วยสมานเยียวยาความขัดข้องเดิมลงได้  วันนี้เรื่องดังกล่าวก็มายืนอยู่บนสังคมของประเทศไทยในทุกระดับแล้ว  ต่างอยู่ที่ว่าการแปลงสู่การปฏิบัติจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน  และผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดหรือไม่  ประชาชนเข้าใจ  เห็นคุณค่า เห็นความจำเป็นขนาดใด  เป็นสิ่งที่ต้องเฝ้ารอ  และติดตามพลวัตกันต่อไป

                *  กระบวนการเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชน  น้ำหนักจะอยู่ที่กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจเรื่องแผนชุมชน  รวมทั้งการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการแผนชุมชน  ให้กับประชาชนจำนวนหนึ่งเพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของตน  เป็นเรื่องที่ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นต้องลุกขึ้นมาดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง   หน่วยงานภาคีพัฒนาอื่น ๆ จะทำหน้าที่เป็นผู้เสริมหนุน  เอื้ออำนวยให้กระบวนการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นในทุกชุมชนท้องถิ่น  และนำแผนของชุมชน ไปแปลงสู่การปฏิบัติด้วยการบูรณาการอย่างเต็มกำลังขีดความสามารถของตน 

          *  การเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชน  ในครั้งนี้ทางคณะผู้ประสานงานเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง  ๔  ภาค ได้ปรับประยุกต์ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้เดิมที่เป็นรูปแบบตัวอย่างที่ดีของกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาในอดีต  ให้ง่ายต่อการเรียนรู้  แต่ครบถ้วนเป็นการผสมวิธีการของประชาคม  ประชาพิจัย  ผนวกกับกระบวนการเรียนรู้ด้วยการนำข้อมูลของชุมชน มาเป็นฐานดำเนินการอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกะเป็นวิทยาศาสตร์  ทั้งนี้เพื่อให้ได้แผนชุมชน  ที่มีความสมบูรณ์จากการใช้ฐานข้อมูลในการดำเนินการวางแผนมากกว่าการใช้ความรู้สึก  หรือแค่เพียงความต้องการเท่านั้น 

                *  มิติของการเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชน  อาจแบ่งในทางกว้าง  และลึกได้  ๖  มิติ  ดังนี้

                                +  มิติของการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้

                                +  มิติการเรียนรู้  และพัฒนาของทุกภาคส่วนภายในชุมชน

                                +  มิติของการบริหารจัดการ

                                + มิติของการเชื่อมโยงบูรณาการ  และการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ

                                +  มิติของประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล

                                +  มิติของประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชน

                *  มิติการเรียนรู้ทั้ง  ๖  มิตินี้  จะเป็นกุญแจดอกสำคัญของการเปิดประตูแห่งปัญญา  ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น  ให้ทะลุผ่านม่านปัญหาของชุมชน  ไปสู่เป้าหมายของการพึ่งตนเองได้โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นธงนำ  กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ในครั้งนี้เป็นการประสานพลังทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น  ของภูมิภาค  และภูมิปัญญาของโลกาภิวัฒน์  ในลักษณะเสริมพลังอย่างยิ่งใหญ่  อย่างเป็นระบบ

มิติแห่งการพัฒนาโดยกระบวนการแผนชุมชน

                1. แผนชุมชนเป็นเครื่องมือที่สำคัญและสร้างสรรค์การพัฒนา   มองเห็นอดีตที่ผ่านมา ปัจจุบัน และอนาคต  สามารถให้คนในชุมชนกำหนดชีวิตตนเอง   วางแผนการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน

                2.  สร้างความสัมพันธ์ใหม่  เช่น สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนโดยการพูดคุย ปรึกษา /ประชุมร่วมกัน   ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับชุมชน ใช้วิถีวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานที่ดำเนินงานในหมู่บ้าน/ชุมชน  แต่ละหน่วยงานบูรณาการร่วมกัน 

                3.  แก้ไขปัญหาสังคมและลดความยากจน   การแก้ปัญหาที่สำคัญจะต้องให้เจ้าของปัญหาลุกขึ้นมาแก้/จัดการกับปัญหาของตัวเอง

                4.  การป้องกันที่รู้เท่าทันโลก/โลกภิวัฒน์    แผนชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้  วิเคราะห์สังเคราะห์   นอกจากคนเรียนรู้ตัวเองและชุมชนแล้ว   แผนชุมชนยังสอนให้คนเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากภายนอก  เช่น การเปลี่ยนแปลงของด้านต่างๆ

                5.  ช่วยประเทศชาติ  เช่น ด้านเศรษฐกิจแผนชุมชนจะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง   ช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น   คนในชุมชนรู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดประโยชน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น  และด้านอื่นๆ             

 *  มิติทั้งหมดนี้จะบ่งชี้ถึงปัจจัยที่จะต้องนำเข้า  บ่งบอกถึงกระบวนการทำงาน  บ่งบอกผลผลิต  ผลลัพธ์ที่จะออกมา  รวมทั้งสิ่งที่จะต้องนำย้อนกลับเข้าสู่ระบบ  เป็นวงจรของการพัฒนาที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น  ถ้าชุมชนใดสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้อย่างต่อเนื่องก็จะเกิดความรู้ที่เป็นความรู้ที่ถูกต้องเพิ่มคุณค่ามากยิ่งขึ้นอย่างทวีคูณ  กลายเป็นความดีความงามที่จะส่งผลให้เกิดการอยู่ร่วมกันเป็นลักษณะเครือข่ายในชุมชน  อีกทั้งการอยู่ร่วมกันด้วยความดีก็จะเกิดความรู้ที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน  ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฐินี้จะเป็นฐานการพัฒนาไปสู่ความดีงามของผู้คนและชุมชนท้องถิ่นต่อไป ทั้งสามส่วนนี้จะขับเคลื่อนให้สลักของกุญแจประตูแห่งปัญญาเปิดนำชุมชนก้าวไปสู่ความเข้มแข็ง  การอยู่ร่วมกันอย่างอยู่เย็นเป็นสุข  ซึ่งต้องอาศัยสติปัญญา  ความรู้  ความสามารถที่ถูกต้องดีงามของทุกท่านด้วยเช่นกัน  ช่วยกันสานต่อความดี  ความงาม  ความรู้นี้เพื่อรักษา  และพัฒนาประเทศชาติของเรา  สืบต่อไป

 

สาระสำคัญของการจัดทำแผนชุมชน

 

โครงการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพเพื่อขยายผลการเรียนรู้สู่การปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผลมาจากการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แนวทางการพัฒนาประเทศและยุทธศาสตร์การพัฒนาของเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 4 ภาค ที่เน้นการปรับตัวและการดำเนินงาน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง  มีจุดม่งหมายที่จะสร้างพื้นที่รูปธรรมของการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพ ระดับหมู่บ้านและระดับตำบล ให้มีสาระครอบคลุมวิถีชีวิตชุมชนและการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนาศักยภาพของชุมชน จากพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่น และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ยกระดับเป็นแผนยุทธศาสตร์ของชุมชน มีการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานที่เป็นแกนนำแผนชุมชนทุกระดับ พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อขยายผลจากชุมชนสู่ชุมชน มีการจัดการความรู้และการสื่อสารสาธารณะเพื่อขยายผลในวงกว้าง   สร้างความเชื่อมโยงการพัฒนาที่ยึดชุมชนเป็นหลักกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการพัฒนาพื้นที่ระดับอำเภอ  จังหวัด  และยึดหลักการบริหารจัดการที่ดีในการขับเคลื่อนกระบวนการจัดทำแผนชุมชนของภาคประชาชน  เพื่อประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล   และการพัฒนาที่ยั่งยื

 

เป้าหมาย พันธกิจ

 

1) เพื่อขยายพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เชิงปฏิบัติการที่เป็นนวัตกรรม เพื่อเป็นต้นแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง  สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่  และมีการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

                2) เพื่อพัฒนาแกนนำเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง  4  ภาค  ที่มีความพร้อมและสมัครใจทุกระดับ  ให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพ  มีศักยภาพ  มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานของภาคประชาชน  ภาคประชาสังคม  และขบวนองค์กรชุมชน

                3) เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะของการให้ เพื่อขยายผลการเรียนรู้สู่ชุมชนอื่น  โดยใช้ช่องทางผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ที่หลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย

                4)            เพื่อพัฒนาการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพ     ยกระดับเป็นแผนยุทธศาสตร์ภาคประชาชนที่พอเหมาะ พอดี   สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และเชื่อมประสานแผนกับภาคีพัฒนาทุกภาคส่วน   ทั้งภาครัฐและเอกชน      และผลักดันเชิงนโยบายให้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคนพัฒนาองค์กรชุมชน    และพัฒนาเศรษฐกิจ      สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน อย่างต่อเนื่อง

                            5)            เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการของภาคประชาชน    ให้ยึดหลักการบริหารจัดการที่ดีมีความพร้อมมีความเข้าใจมีความรู้คู่คุณธรรม  และยอมรับการเปลี่ยนผ่านการทำงานจากรูปแบบเดิมไปสู่วัฒนธรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง มุ่งผลสัมฤทธิ์และเอื้อต่อการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและเชิงระบบ

 

ขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน

แนวทางการสนับสนุนทั่วไปจากคณะประสานงานเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 4 ภาค

“เน้นการสนับสนุนทางปัญญา”

โครงการฯ จะสนับสนุนกิจกรรมหลัก ดังนี้

1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเอง

2. ส่งเสริมการพัฒนาคน ชุมชน และกิจกรรมเพื่อการพัฒนาโดยกระบวนการจัดทำแผนชุมชน

3. เชื่อมโยงเวที / เครือข่ายองค์กรชุมชน / ภาคประชาชน ในระดับต่างๆ

4. เชื่อมโยงเวทีขบวนการชุมชนท้องถิ่น กับหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และสภาองค์กรชุมชนเพื่อหนุนเสริมการทำงานของภาคประชาชน

5. ผลักดันแผนชุมชนให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชนทุกระดับ และได้รับการยอมรับในระดับนโยบาย รวมทั้งนำนโยบายแนวทางพัฒนาของภาครัฐมาหนุนเสริมการทำงานภาคประชาชน

6. ส่งเสริมให้หมู่บ้าน ตำบล ที่มีกระบวนการแผนชุมชนเชิงคุณภาพที่มีรูปธรรมและมีคุณภาพสะท้อนหลักเศรษฐกิจพอเพียงทั้งด้านแนวคิดและการปฏิบัติเป็นหมู่บ้าน / ตำบล ศูนย์การเรียนรู้ และนำร่องในการพัฒนาสาระของแผนชุมชนให้เป็นแผนยุทธศาสตร์ภาคประชาชน สามารถยกระดับเป็นเครื่องมือการพัฒนาของภาคประชาชนทั้งระดับหมู่บ้าน ตำบล และจังหวัด

7. ส่งเสริมการจัดการความรู้ ระบบข้อมูล การพัฒนาองค์กรชุมชนให้มีการบริหารจัดการที่ดี และการพัฒนาสื่อเพื่อการขยายผล

นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน เพื่อสร้างพื้นที่รูปธรรมการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพ ที่พอแนะนำไว้ ดังนี้

แม้ว่าการจัดทำแผนชุมชนตามโครงการ ฯ ปี 2551 เป็นการต่อยอดเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน / ตำบล ที่มีศักยภาพให้เป็นศูนย์การเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชนเพื่อขยายผลชุมชนเข้มแข็ง ที่มีการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อจัดทำแผนชุมชนใหม่และไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอนของการจัดทำแผนชุมชน10ขั้นตอนดังเช่น โครงการจัดทำแผนชุมชนที่ผ่านมา แต่การดำเนินการโครงการนี้ก็จำเป็นที่จะต้องให้ชุมชนใช้ขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน

10ขั้นตอนที่มีการปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับหลักการแผนชุมชนเชิงคุณภาพทบทวนคุณภาพของแผนชุมชนที่มีอยู่ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าแผนชุมชนเดิมยังไม่สะท้อนผลผลิต ผลลัพธ์ และรูปธรรมพื้นที่ที่ต้องการให้เกิดขึ้น

ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขแผนชุมชนให้มีคุณภาพต่อไป

1) รายละเอียดขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน 10 ขั้นตอน มีดังนี้

ค้นหาแกนนำและองค์กรท้องถิ่น สร้างทีมงานที่จะจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพ ที่มีผู้แทนจากทุกภาคส่วนทุกองค์กรของชุมชนร่วมกันสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนว่าทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพเพื่ออะไร ทำอย่างไรถึงจะเริ่มกระบวนการว่างแผนชุมชนได้ถูกต้อง และได้คนที่มีจิตอาสาและมีประสิทธิภาพเข้าร่วมกระบวนการ

จุดประกายความคิด เป็นขั้นตอนกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาใส่ใจชุมชนของตนเอง โดยอาจจัดเป็นเวทีพูดคุยเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหา วิกฤติที่เกิดความหวังที่จะอยู่รอดร่วมกัน เช่นพูดคุยถึงเรื่องราวของชุมชนสิ่งดีงามในอดีต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับชุมชน สถานการณ์ชุมชนปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบกับวิถีชีวิตชุมชนความเป็นอยู่ และความหวังที่จะอยู่รอดร่วมกันด้วยตัวของชุมชนเอง ฯลฯ โดยในขั้นตอนนี้เมื่อชุมชนเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนชุมชนแล้ว ควรนำเสนอทีมงานแผนชุมชน วิทยากรกระบวนการ แผนการขับเคลื่อนและเครื่องมือและข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมงานและชุมชน

ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน ที่มา คุณค่า สิ่งดีงามของชุมชน ทำให้สมาชิกเห็นถึงที่มา ตัวตนที่แท้จริงของตนเอง ของชุมชนและเกิดเป็นความรักในท้องถิ่น โดยให้มีคน 3 รุ่น คือ เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการนำพาชุมชนให้รอดพ้นวิกฤติ อยู่ร่วมกัน ทำให้ชุมชนรู้จักเรื่องราวของตนเอง รู้จักมรดกทางวัฒนธรรม รู้เรื่องราวของชุมชนทั้งอดีต ปัจจุบัน เพื่อมองเห็นอนาคตร่วมกัน

สำรวจ รวบรวมข้อมูล กำหนดประเด็นที่จำเป็นต้องรู้ อยากรู้ เพื่อเก็บข้อมูล เช่น รายรับ รายจ่าย หนี้สิน การผลิต ศักยภาพชุมชนด้านวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ ฯลฯ การสำรวจข้อมูลอาจใช้แตกต่างกันไปตามพื้นที่ เรื่องที่ต้องการข้อมูลเชิงปริมาณต้องใช้แบบสอบถาม บางเรื่องใช้เวทีระดมความเห็น หรือการพูดคุยกลุ่มเล็กเพื่อเจาะลึกลงรายละเอียด โดยควรมีการจดบันทึกไว้ด้วย

วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อเข้าใจสถานการณ์และร่วมกันกำหนดอนาคตของชุมชน ขั้นตอนนี้ต้องหาวิธีให้สมาชิกในชุมชนได้เห็นข้อมูลทั้งหมดร่วมกัน และได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เรียนรู้ร่วมกันว่า สถานการณ์ของชุมชนปัจจุบันในเรื่อง การผลิต รายได้ ทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางสังคม เป็นอย่างไร ชุมชนอยู่ร่วมกันได้เพราะอะไร มีเรื่องราวอะไรบ้างที่สำคัญ มีปัญหาสำคัญอะไรที่จะส่งผลลบต่อชุมชนและสาเหตุของปัญหาคืออะไร โดยในขั้นตอนนี้ควรเชิญภาคีการพัฒนา เช่น ท้องถิ่น ส่วนราชการพื้นที่ หน่วยงานวิชาการชุมชนที่มีประสบการณ์การจัดทำแผนชุมชนเข้าร่วม ต่อชุมชน เอกลักษณ์ของชุมชนคืออะไร เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน

ยกร่างแผนชุมชน หลังจากรู้คำตอบว่าปัจจุบันชุมชนอยู่ตรงไหนแล้ว ต้องช่วยกันหาคำตอบว่า ชุมชนต้องการจะเป็น อยากจะเห็นอะไรในอนาคต และมีระยะห่างที่ชุมชนจะไปถึงจุดที่ต้องการแค่ไหนและจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร โดยอาจจะกำหนดวิสัยทัศน์ ว่าระยะ 5-10 ปี ข้างหน้าชุมชนต้องการหรืออยากเห็นอะไร อะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อบรรลุจุดหมายและแก้ไขปัญหา ชุมชนและองค์กรชุมชนจะต้องทำอะไรบ้าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและภาครัฐ จะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อขับเคลื่อนชุมชนไปข้างหน้า มีแผนงาน / โครงการกิจกรรมอะไรบ้างที่จะนำชุมชนไปถึงจุดที่ต้องการ มีค่าใช้จ่ายตามแผนงานโครงการเท่าใด โดยแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม ควรแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ สิ่งที่ชุมชนทำได้เอง สิ่งที่เกินความสามารถของชุมชนต้องทำร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / อำเภอ / จังหวัด หรือขอรับสนับสนุนจากภายนอก

ประชาพิจารณ์แผนชุมชน เป็นการให้สมาชิกชุมชนให้ร่วมกันพิจารณาถึงความถูกต้องของแผนชุมชนว่า สามารถสะท้อนเรื่องราวความเป็นจริงของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับคนและองค์กรชุมชนทุกกลุ่ม มีความชัดเจนว่าจะเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และภาวะแวดล้อมของชุมชนในทางที่ดีขึ้นโดยแผนชุมชนควรมีแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม ตามลำดับความสำคัญที่ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำไปปฏบัติได้มีความเชื่อมโยงกับภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนที่เป็นพันธมิตร

นำแผนสู่การปฏิบัติ นำแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม ตามแผนชุมชนมาปฏิบัติ โดยเน้นการให้ชุมชนพึ่งตนเองก่อน “ระเบิดจากข้างใน” โดยใช้ศักยภาพและทุนของชุมชนทั้งทุนทางสังคมทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ อย่างสมดุล ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ทบทวนปรับปรุง เมื่อนำแผนชุมชนไปปฏิบัติ อาจไม่ตรงกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติจึงต้องมีการทบทวนแผนชุมชนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้แผนชุมชนเป็นแผนที่มีชีวิตตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบ และสร้างภูมิคุ้มกันต่อชุมชน ประเมินสรุปบทเรียน เป็นขั้นตอนที่จะติดตามดูว่าแผนชุมชนที่ทำมาได้ผลเป็นอย่างไร เพื่อสรุปเป็นบทเรียนนำกลับมาใช้ปรับปรุงหรือถอดเป็นองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่นได้เรียนรู้ต่อไป โดยอาจใช้เป้าการประเมินเบื้องตนว่า แผนชุมชนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการพัฒนาคนทั้งผู้ปฏิบัติงานและคนในชุมชนหรือไม่ แผนชุมชนทำให้ชุมชน / องค์กรชุมชนมีความสัมพันธ์มีกิจกรรมร่วมกันเพิ่มขึ้น มีความเข้มแข็งขึ้นหรือไม่ แผนชุมชนมีผลต่อการพัฒนาชุมชนให้ก้าวหน้าอย่างสมดุลและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เช่น ปัญหาความยากจนปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน หรือไม่ ฯลฯ

2) การจัดทีมงานและวิทยากรกระบวนการ

การจัดทีมงานและวิทยากรกระบวนการเป็นการดำเนินการขั้นต้นที่สำคัญของการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดการร่วมตัวกันของแกนนำชุมชนที่มีจิตอาสา / รู้เรื่องราว / สนใจ ที่จะใช้การจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างการเรียนรู้และการจัดการตนเองของชุมชน ที่นำไปสู่ พัฒนาคน พัฒนาชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน โดยมีสาระสำคัญของการจัดทีมงานและวิทยากรกระบวนการ ดังนี้

การจัดทีมงานและบทบาท ควรมีผู้แทนจากทุกภาคส่วนและทุกองค์กรของชุมชนเข้าร่วมเป็นทีมงาน โดยต้องทำความเข้าใจประเด็นและความสำคัญของการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพ ร่วมกันกำหนดวิทยากรกระบวนการ กำหนดแผนการทำงาน แผนการบริหารคน เงิน งาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และแผนการปฏิบัติการ รวมทั้งการประสานงานภาคีพัฒนาร่วมการขับเคลื่อนแผนชุมชน

เนื่องจากมีสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนชุมชน ทั้งในเรื่องการพัฒนาจังหวัดและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น กรรมการหมู่บ้าน ทีมงานจัดทำแผนชุมชน จะต้องศึกษาบทบาทหน้าที่ของกรรมการหมู่บ้านสภาองค์กรชุมชนโดยต้องพูดคุยกันเพื่อจัดความสัมพันธ์กับกรรมการหมู่บ้านและองค์กรที่มีอยู่เพื่อประสานการดำเนินการโครงการด้วย

วิทยากรกระบวนการ ค้นหาวิทยากรกระบวนการที่เป็นคนในชุมชนหรือจากชุมชนใกล้เคียงและชุมชนอื่น ที่มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีความน่าเชื่อถือน่าไว้วางใจ รู้จักถาม กระตุ้นให้คิด พูดตรงประเด็น จับประเด็นได้ สามารถเชื่อมโยงความคิด และสรุปได้ดี มีความยึดหยุ่นทางความคิด คิดเชิงบวก เป็นมิตร วางตัวเป็นกลาง มีความสามารถในการพูดจูงใจคน เชื่อมั่นในตัวชาวบ้าน / ชุมชน และยึดหลักการพื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง เข้าใจและเห็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อวิถีชีวิตชุมชน จากนั้นเตรียมทีมวิทยากรกระบวนการ ออกแบบการเปิดเวทีที่จะใช้ กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหาขั้นตอนการะบวนการและเทคนิคที่ใช้ วิทยากรหลัก วิทยากรผู้ช่วย ซักซ้อมแนวคิด กระบวนการ เทคนิค วิธีการ เตรียมประเด็นพูดคุยในเวที เช่น หลักการแนวคิดการจัดทำแผนชุมชน หลักเศรษฐกิจพอเพียง เนื้อหาของแผนชุมชน และเตรียมพื้นที เตรียมคน เตรียมสถานทีจัดเวที อุปกรณ์ที่จะใช้

เนื่องจากโครงการฯเป็นการขยายผลการเรียนรู้การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาหมู่บ้าน / ตำบล โดยนำมาใช้ในการคิด ตัดสินใจ และดำเนินกิจกรรมของชุมชน ดังนั้น ทีมงานและวิทยากระบวนการแผนชุมชนต้องสร้างความเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ ต้อง “รู้ดี ทำได้ ใช้เป็น เห็นผล” โดยเริ่มต้นที่ตัวเอง ตั้งสติ ทำความเข้าใจเห็นคุณค่า และปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเรียนรู้จาการปฏิบัติด้วย ซึ่งจะทำให้การจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพ บรรลุเป้าหมายที่จะให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งที่มีการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งเกิดสภาองค์กรชุมชน รวม 700 หมู่บ้าน

หลากหลายมุมมองของบุคคลสำคัญ

  1)  แผนชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง  โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ  วะสี

          นายแพทย์ประเวศ วะสี เน้นย้ำเรื่องแผนชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียงว่าถ้าทุกตำบลทั้งประเทศ 7,000 กว่าตำบล  เป็นตำบลแห่งความพอเพียง กล่าวคือ มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติพอเพียง มีพลังงานพอเพียง มีความปลอดภัยพอเพียง มีสุขภาพพอเพียง มีสังคมเข้มแข็งพอเพียง มีจิตใจพอเพียง มีการเรียนรู้และการจัดการพอเพียง ก็จะเป็นฐานของสังคมที่พอเพียง เข้มแข็ง และอยู่เย็นเป็นสุข โดยส่งเสริมให้ชาวบ้าน รวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ จัดทำแผนแม่บทชุมชน และขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนแม่บทชุมชนที่ชุมชนทำเอง  ที่เป็นแผนการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา และสุขภาพพร้อมกันไป เมื่อชุมชนสามารถทำแผนและขับเคลื่อนแผนแม่บทชุมชนได้ จะหายจนอย่างถาวร มีศักดิ์ศรี เพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม เพิ่มพูนสุขภาพ และเพิ่มพูนคุณภาพชีวิต  ซึ่งในการจัดทำแผนชุมชน เครือข่ายแผนแม่บทชุมชน 4 ภาค ที่เป็นองค์กรภาคประชาชนได้เรียนรู้และสามารถสนับสนุนชุมชนให้จัดทำแผนแม่บทชุมชนได้ในขอบเขตทั่วประเทศ

    ในการจัดทำแผนชุมชน แต่ละตำบลควรสำรวจเป็นรายบ้าน ว่ามีคนแก่และเด็กถูกทอดทิ้งให้จมปลักอยู่กับความยากแค้นแสนสาหัสอย่างใดบ้าง และควรจัดการช่วยเหลือสงเคราะห์ไม่ให้มีการทอดทิ้งกันและควรจะมีการศึกษาประวัติศาสตร์ตำบล เพราะประวัติศาสตร์ท้องถิ่นช่วยให้คนภูมิใจในรากเหง้าของตน และช่วยให้เกิดการรวมตัวกันเข้มแข็งขึ้น โดยควรพยายามทำพิพิธภัณฑ์ตำบลเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของชุมชนและเศรษฐกิจวัฒนธรรมของชุมชน

  สำหรับเรื่องพลังงาน ควรมีการศึกษาวิจัยถึงพลังงานทางเลือกของชุมชนเพื่อลดการพึ่งพิงพลังงานจากน้ำมัน หากชุมชนมีความพอเพียงในเรื่องพลังงานนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนแล้ว   ยังเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศอีกด้วย   

 เมื่อตำบลมีเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานแล้วก็สามารถทำอะไรดีๆเพิ่มเติมขึ้นได้เรื่อยๆบนพื้นฐานของความสมดุล  โดยระมัดระวังมิให้ความโลภและความไม่สุจริต  ทำให้ชุมชนเสียดุลยภาพและแตกทลายลง  ทุกจังหวัดควรส่งเสริมให้ทุกตำบลในจังหวัดของตนเป็นตำบลแห่งความพอเพียง เมื่อทุกตำบลทั่วประเทศเป็นตำบลแห่งความพอเพียงและสันติ   ประเทศก็จะมีฐานล่างของสังคมที่แข็งแรงสามารถรองรับการเติบโตข้างบนอย่างมั่นคงและยั่งยืน

 2)    สภาพัฒน์ฯ กับบทบาทการหนุนเสริมขบวนการของแผนชุมชน          โดยนายกิติศักดิ์    สินธุวนิช    รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ฯ ในฐานะหน่วยงานเชิงนโยบาย ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมานานพอสมควร ในส่วนของการหนุนเสริมกระบวนการจัดทำแผนชุมชนนั้น   ได้เริ่มตั้งแต่การทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8  ที่เน้นการพัฒนาโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง จนกระทั่งแผนฯ 10 ที่ยังยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการปฏิบัติ  เพื่อสร้างสมดุลในการพัฒนาประเทศ สร้างความสุขและความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของคนไทย โดยในส่วนของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคนในชุมชน และกำหนดให้มีการจัดทำแผนชุมชนครอบคลุมทุกตำบล และมีสาระของแผนชุมชนครอบคลุมคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

   กระบวนการของแผนชุมชน เป็นทั้งกระบวนการเรียนรู้และการจัดการตนเองของชุมชน และเป็นเหมือนลายแทงที่จะบอกว่าชุมชน มีทิศทางเดินไปทางไหน คนและชุมชน จะดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร โดยใช้แผนชุมชนสะท้อนให้เห็นสิ่งที่ชุมชนอยากเห็น อยากจะเป็นที่พอดี พอเหมาะกับชุมชน และใช้ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ให้สมดุลและเกื้อกูลกัน มีความสามารถในการพึ่งตนเองและชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

  ดังนั้นแผนชุมชนเชิงคุณภาพที่ต้องการขยายผลการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง   ที่มีทั้งการพัฒนาคน การพัฒนาองค์กรชุมชน     และการยกระดับการจัดทำแผนชุมชนให้เป็นทั้งเครื่องมือของการเรียนรู้  และเป็นเครื่องมือนำทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน  จึงมีความสำคัญต่อการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของการพัฒนาประเทศ

   ในการขับเคลื่อนแผนชุมชนเชิงคุณภาพนี้มีประเด็นที่สำคัญยิ่ง คือจะต้องก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาคีการพัฒนาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชนว่า การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ต้องเกิดจากการร่วมคิด  ร่วมวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาส    โดยต้องให้คนในชุมชนเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเอง รู้จักชุมชน และรู้จักโลกภายนอก   จากนั้น คิดหาหนทางที่จะจัดการชีวิตของตนและชุมชน

 กระบวนการเรียนรู้เพื่อค้นหาความพอดี พอเหมาะตนเอง ค้นหาหนทางที่จะช่วยกันทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข   ควรมีภาคีการพัฒนาที่ประกอบด้วย    หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ฯลฯ    เข้าร่วมสนับสนุนในเรื่องข้อมูล และทำความเข้าใจสิ่งที่ชุมชนอยากจะเห็น อยากจะให้ชุมชนของตนเป็น       เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาที่จำเป็นและเกินขีดความสามารถของชุมชน   ที่จะดำเนินการเองได้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่เติบโตจากภายในและเน้นการพึ่งตนเองก่อน

 3)  แผนชุมชน กับ การสนับสนุนขบวนชาวบ้าน และสภาองค์กรชุมชน      

โดยนางสาวสมสุข  บุญญะบัญชา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

      แผนชุมชน เป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องถือว่าเป็นรูปธรรมของแนวการพัฒนาของชาวบ้านอย่างแท้จริง เป็นการปฏิรูปขบวนงานชุมชนรูปแบบใหม่ ที่เครือข่ายภาคประชาชนเป็นผู้คิด สร้างขบวน และขับเคลื่อนขบวนแผนชุมชนเอง ทำให้เห็นภาพมิติใหม่ของการพัฒนาชุมชน ที่ชุมชนเริ่มจัดการและวางระบบชุมชนด้วยกัน เป็นการจัดความสัมพันธ์ในแนวราบเพื่อโยงระบบต่างๆของภาครัฐเข้ามาหาชุมชน  ซึ่งทำให้ พอช. มีความชัดเจนด้านแนวคิดและการทำงานที่ให้ภาคประชาชนเป็นผู้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยพลังและการจัดความสัมพันธ์ของภาคประชาชนด้วยกันเอง  โดย พอช. เป็นเพียงผู้ร่วมคิดและสนับสนุน

 แผนชุมชนที่มีจุดเริ่มต้นที่ คุณประยงค์ รณรงค์ ดำเนินการที่ไม้เรียง และได้ขยายผลไปทั่วประเทศ  และสามารถขยายได้อย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาชุมชนเริ่มมีแผนงานมีภาพร่วมของการพัฒนาของตน มีการจัดการตนเอง เริ่มเสนอ เริ่มต่อรอง เริ่มมีส่วนในการกำหนดร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ถือว่าเป็นการปฏิรูปที่ค่อยเป็นค่อยไปและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเพิ่มขึ้น

 การจัดทำแผนชุมชนมีส่วนสำคัญ จากประสบการณ์ช่วงที่ผ่านมา การพัฒนาต่างๆ ของสถาบันฯ ถ้าได้เริ่มทำกับชุมชนที่ผ่านการจัดทำแผนชุมชนมาก่อน เรื่องต่างๆเหล่านั้นจะมีคุณภาพและสามารถทำได้ครอบคลุมทั้งชุมชน เราจึงมีบทเรียนงานพัฒนาว่าการทำงานกับชุมชนจะไปได้ดีต้องมีแผนชุมชนอย่างต่อเนื่องจริงจัง

 การทำแผนชุมชนเองมีข้อควรระวัง    เพราะทั้งจากชุมชนและหน่วยงานส่วนใหญ่จะทำแผนเพื่อรองรับงบพัฒนาในช่วงแรกๆ ของกระบวนแผนชุมชนเองก็มีการทำแผนเพื่อรองรับงบประมาณ ทำเพื่อรองรับกิจกรรม เราต้องปรับเปลี่ยนให้มาเป็นการทำแผนเพื่อพัฒนาและฟื้นระบบคนระบบชุมชนทั้งระบบ อย่างต่อเนื่องและปรับตัวตลอดเวลา

  การทำแผนชุมชนต้องมีความจริงจังชัดเจน ว่าทำแผนฯเพื่ออะไร ทุกงานที่ทำควรจะเป็นการโยงเข้าหากันหรือมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน การทำแผนต้องสะท้อนให้เห็นว่าทำแผนแล้ว ชุมชนสามารถทำเรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น มีแผนเรื่องการจัดสวัสดิการให้กับคนในชุมชนท้องถิ่นการฟื้นฟูทรัพยากรท้องถิ่น  การจัดการวัฒนธรรมภูมิปัญญาพื้นบ้าน การจัดการที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า การปลูกพืช การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ การแก้ไขปัญหาหนี้สิน การสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้มีความมั่นคง พึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีกองทุนที่โยงเข้ามาเป็นทุนของท้องถิ่น และใช้ทุนให้อย่างเหมาะสม และมีแผนด้านการใช้พลังงานของชุมชนผสมผสานทุนเดิมที่มีอยู่ในชุมชน

      การจัดทำแผนชุมชนทุกระดับต้องมีแผนที่ มีข้อมูล มีตัวชี้วัดการพัฒนาความก้าวหน้าของชุมชน โดยชุมชนเป็นหลัก เป็นศูนย์กลางในการกำหนดการพัฒนา และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นภาคีการพัฒนา  หมู่บ้าน/ตำบล ต้องมีแผนงานเป็นของตนเองและต่อเนื่อง พัฒนาตนองอย่างมีศักดิ์ศรีและมั่นคง ซึ่งทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาขบวนองค์กรชุมชน โดยใช้การวางแผนตามกระบวนการจัดทำแผนชุมชนเป็นเครื่องมือกลางในการเชื่อมโยงการพัฒนาเข้าด้วยกัน และยกระดับการพัฒนายุทธศาสตร์ของขบวนองค์กรชุมชน

     ในเรื่องสภาองค์กรชุมชน ที่สร้างความตื่นตัวให้กับขบวนองค์กรชุมชนทุกภาคส่วน ในการที่จะสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับขบวนการของชาวบ้าน เป็นโอกาสของการต่อยอดการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงระบบของชุมชน เชื่อมโยงและยกระดับงานพื้นที่ของภาคประชาชนให้มีสถานภาพและได้รับการยอมรับในวงกว้าง  หากมองกระบวนการได้มา องค์ประกอบและบทบาทภารกิจของสภาองค์กรชุมชน ที่จะเชื่อมโยงการพัฒนาทุกเรื่องทุกขบวน ทั้งกลุ่มการพัฒนาเชิงประเด็น และกลุ่มเชิงพื้นที่ จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกับเรื่องขบวนการจัดทำแผนชุมชน เป็นเสมือนการต่อยอดการจัดทำแผนชุมชนที่ต้องเน้นให้คนทุกภาคส่วน กลุ่ม องค์กร ในชุมชนเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ กำหนดอนาคตของตน และมีสาระของแผนครอบคลุมชีวิตของคน วิถีชีวิตชุมชน เชื่อมโยงกับการพัฒนาท้องถิ่นและพื้นที่  

          ดังนั้นขบวนการแผนชุมชนและสภาองค์กรชุมชนที่จะจัดตั้งขึ้น จึงมีบทบาทหนุนเสริมซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ขบวนการแผนชุมชนในแต่ละพื้นที่  สามารถไปจดแจ้งเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนได้ ขณะเดียวกันแผนชุมชนที่มีคุณภาพจะทำให้ภารกิจของสภาองค์กรชุมชน ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน การประสานความร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น และการให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ เป็นไปด้วยความมีคุณภาพ  ก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและการพัฒนาภาพรวม

          การขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนให้มีคุณภาพ   ด้านเนื้อหาจึงมีความคาดหวังถึงการเชื่อมโยง เครือข่ายแผนชุมชนให้เป็นขบวนชุมชน     ให้เกิดการทำงานขององค์กรชุมชนในพื้นที่ที่มีแผนพัฒนาของภาคประชาชนทุกระดับ     ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน  ตำบล   จังหวัด และระดับชาติ     เป็นแผนหลักที่หน่วยงานทุกหน่วยงานนำไปใช้   โดยมี พรบ. สภาองค์กรชุมชนสนับสนุน    ให้สถานภาพและเปิดพื้นที่ให้  ดังนั้นการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพระดับหมู่บ้านและตำบลครั้งนี้   จึงมีคำถามที่ขอให้เครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 4 ภาค   ช่วยกันคิดและหาคำตอบว่า   เราจะใช้แผนชุมชนช่วยการขับเคลื่อนและหนุนเสริมสภาองค์กรชุมชนได้อย่างไร   โดยขอให้เครือข่ายแผนชุมชนฯช่วยกันคิดต่อว่า      เครือข่ายฯจะใช้ทุนเดิมที่มีการจัดทำแผนชุมชนไว้ 2,000 ตำบล  และการจัดทำแผนชุมชนเชิงคุณภาพระดับตำบล / หมู่บ้าน รวม 700 หมู่บ้าน ไปหนุนเสริมการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนของพวกเราในพื้นที่ได้อย่างไร      สามารถที่จะพัฒนาพื้นที่รูปธรรมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ได้หรือไม่    และจะพัฒนาอย่างไร   รวมทั้งช่วยกันคิดต่อว่า สภาองค์กรชุมชนที่ดีคืออะไร เพื่อช่วยกันสร้างระบบที่ดีที่เกิดจากการร่วมคิด   ร่วมหาคำตอบ   จากขบวนการของชุมชนเป็นลำดับแรก

      ขบวนแผนชุมชนจะเป็นขบวนพื้นฐานให้เกิดคุณภาพ สภาองค์กรชุมชนที่มีคุณภาพได้อย่างไร? และสภาองค์กรชุมชนจะช่วย ยกระดับหรือต่อยอดงานของขบวนแผนชุมชนอย่างไร

                         นอกจากนั้น ขอให้เครือข่ายแผนฯ คิดเรื่องการใช้แผนเป็นเครื่องมือกลาง เป็นเครื่องเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ เข้ามาเป็นภาพรวมร่วมกัน มีแผนเป็นระบบกลาง สามารถดูความก้าวหน้า ความสำเร็จของการพัฒนา โดยมีการแตกย่อยรายละเอียดเป็นแผนด้านต่างๆ โดยมีผู้รู้ของชุมชนด้านเศรษฐกิจ  องค์กรการเงิน สวัสดิการ ทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม การใช้ที่ดิน ทุนทางสังคม การศึกษา ฯลฯ มาร่วมคิด ร่วมทำ ช่วยเติมเต็มเพื่อให้แผนชุมชนมีสาระ  ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ครอบคลุมวิถีชีวิตชุมชน พร้อมรับและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องมือที่สะท้อนให้เห็นการจัดการและการดูแลตนเองได้ และสร้างความเข้มแข็งให้สังคมจากองค์กรชุมชนฐานรากเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เข้มแข็งต่อเนื่องต่อไป    เป็นพลังพลิกฟื้นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศของเรา

 

ดีใจมากคะเพราะทำรายงานเกี่ยวกับประวัตศาสตร์อยู่คะ ขอบคุณมากคะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท