KM ช่วยประกันคุณภาพสถานศึกษาอย่างไรดี


จัดการความรู้ด้านต่างๆ ทำให้สามารถการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายคือ เป้าหมายของงาน เป้าหมายการพัฒนาคน เป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้

โครงการจัดการความรู้(KM) เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา 

เป้าหมายของโครงการการจัดการความรู้

1. เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น

2. เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน

3. เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กร หรือโรงเรียน เป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้ หรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรมีศักยภาพในการฟันฝ่า ความยากลำบาก หรือความไม่แน่นอนในอนาคตได้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.             เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้ในองค์กร

2.             เพื่อให้มีฐานความรู้ผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในเว็บไซด์ของโรงเรียน

3.             เพื่อให้ผู้บริหาร ครูและนักเรียน สามารถใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.             อบรมสัมมนาความรู้ด้านการจัดการความรู้ (KM) กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

2.             จัดสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการจัดการองค์ความรู้ผ่านทางเว็บไซด์โรงเรียน

3.             ประชุมเชิงปฏิบัติวางแผนกำหนดเป้าหมายและจัดการองค์ความรู้ภายในโรงเรียน

3.1      แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติงาน การสร้างระบบจัดการความรู้ในโรงเรียน

3.2      สร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs – Community of Practices) โดยใช้เกณฑ์การปฏิบัติงานฝ่ายเดียวกันหรือความต้องการองค์ความรู้ที่คล้ายกัน(กลุ่มสาระฯ เดียวกัน) หรือคัดเลือกจากผลการปฏิบัติงานที่เกิดผลเลิศ (Best Practices)  แล้วร่วมกันค้นหาแนวปฏิบัติสู่การปฏิบัติงานสู่ผลเลิศด้านอื่นๆ

3.3      สรุปรวบรวมองค์ความรู้

4.             บันทึกการจัดการองค์ความรู้ในระบบสารสนเทศ เผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

5.             ถักทอเครือข่ายกับระบบจัดการความรู้ในองค์กรหรือสถาบันอื่นๆ

6.             ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง

7.             ส่งเสริมให้มีการนำความรู้จากฐานความรู้มาพัฒนางานในองค์กร

 

 ประโยชน์ต่อสถานศึกษา

การจัดการความรู้ดังกล่าว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาและบุคคลต่างๆ ใน

สถานศึกษา ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูอาจารย์  นักเรียน  ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม 

                                การจัดการความรู้ ในสถานศึกษา เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์กร ปรับปรุงความรับผิดชอบและการลดต้นทุน เพิ่มการเรียนรู้และนวัตกรรมผ่านกระบวนการจัดการความรู้  และมีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง กระบวนการเรียนรู้ที่มีความสะดวก และเป็นการสร้างให้เกิดความสามารถทางการแข่งขัน  ช่วยให้บุคลากรเข้าถึงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  เป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตโดยการจัดการกับการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) ที่มีประสิทธิภาพ  กระบวนการจัดการมีประสิทธิภาพ และคล่องตัว

ทั้งยังเป็นการช่วยคัดกรองความรู้ ป้องกันความรู้สูญหาย และประหยัดต้นทุน

                จากประโยชน์ของการจัดการความรู้ด้านต่างๆ  ทำให้สามารถการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายคือ  เป้าหมายของงาน  เป้าหมายการพัฒนาคน เป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และเป้าหมายความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

เอกสารอ้างอิง

...และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ,สำนักงาน . คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้.

กรุงเทพมหานคร :  2548

 

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , สำนักงาน  .  ระบบการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ .  

                                                กรุงเทพมหานคร :  ชวนพิมพ์ , 2540 .

 

 

“การบริหารจัดการความรู้ ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://office.dwr.go.th/brdh/KMwebsite /p1_3_adventage.htm

  สงบ   ลักษณะ . “ แนวทางประกันคุณภาพการศึกษา ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

                                                http://www.moe.go.th/main2/article/ article1.htm.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 245488เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การบริหารโรงเรียน อาจต้องผ่านอุปสรรคที่จะต้องฝ่าฟันอย่าท้อแท้ ดังนั้น ใจของผู้บริหารจะต้องอดทนและยึดมั่นกับอุดมการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท