สานสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา


สารสนเทศเป็นส่วนที่สำคัญมากในการดำเนินงานให้สำเร็จ การพัฒนาระบบ สารสนเทศ

สารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา   

ประกอบด้วยระบบข้อมูลสารสนเทศ 4 ประเภท คือ

1.             ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  อันประกอบด้วย ข้อมูลต่างๆ ดังนี้

1.1       ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ได้แก่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ Website สังกัด ระดับชั้นที่เปิดสอน  และเนื้อที่ของโรงเรียน เป็นต้น

1.2                       ศักยภาพของโรงเรียน ได้แก่ ระดับชั้นที่เปิดสอน จำนวนครูและบุคลากรจำแนกตามหน้าที่  เพศ ระดับการศึกษา อายุ และประสบการณ์ 

1.3       ความต้องการชุมชน  ได้แก่ ข้อมูลสภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน  จำนวนประชากรบริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน อาชีพหลักของชุมชน การนับถือศาสนา    ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป  ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับใด  อาชีพหลัก  ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว

1.4       แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ ข้อมูลแนวนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นความต้องการของชุมชน อาชีพ                               

1.5       คณะกรรมการสถานศึกษาและการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา

2.             ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน   อันประกอบด้วย ข้อมูลต่างๆ ดังนี้

2.1       ข้อมูลผู้เรียน จำนวนนักเรียนในแต่ละช่วงชั้น/ระดับชั้น นักเรียนที่มีความบกพร่องเรียนร่วม  นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ  นักเรียนที่มีปัญญาเลิศ  นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ  จำนวนนักเรียนต่อห้อง (เฉลี่ย) สัดส่วนครูต่อนักเรียน

-

 จำนวนนักเรียนที่ออกกลางคัน (ปีปัจจุบัน)และสถิติการขาดเรียน/เดือน

2.2       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในปีที่ผ่านมา ทั้งภาพรวม ระดับชั้น ระดับกลุ่มสาระ และรายวิชา             

2.3       ผลงานและการแสดงออกของนักเรียนด้านต่างๆ ที่ได้รับรางวัล

  

3.             ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ  อันประกอบด้วย ข้อมูลต่างๆ ดังนี้

3.1       หลักสูตรสถานศึกษา โครงสร้างหลักสูตร จำนวนเวลาเรียนแต่ละกลุ่มสาระที่จัดให้นักเรียนเรียนทั้งปี        

3.2       การวัดผลประเมินผล รูปแบบการวัดผลประเมินผล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน       และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

3.3       การพัฒนางานกิจกรรมแนะแนว ได้แก่ การแนะแนวส่งเสริมการศึกษา เงินกู้ยืมและทุนการศึกษา

3.4       กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมซ่อมเสริม และโฮมรูม

3.5       แหล่งเรียนรู้  ภายในโรงเรียน(นอกจากห้องสมุด) และภายนอกห้องเรียน  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้

4.             ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  อันประกอบด้วย ข้อมูลต่างๆ ดังนี้

4.1       สภาพการบริหารจัดการ ได้แก่  ข้อมูลผู้บริหารโดยมีชื่อ-สกุล   วุฒิการศึกษาสูงสุด  ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่โรงเรียน ทำเนียบผู้บริหาร  ประวัติโดยย่อของโรงเรียนและระบบโครงสร้างการบริหารงาน  โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

4.2       ทรัพยากร ได้แก่  ข้อมูลด้านอาคารสถานที่ จำนวนเนื้อที่  จำนวนอาคารเรียนและอาคารประกอบ    จำนวนห้องเรียนทั้งหมด   งบประมาณ(รายรับ-รายจ่าย)  ข้อมูลทรัพยากรที่จำเป็น เช่น จำนวนคอมพิวเตอร์ในการใช้งานด้านต่างๆ   ปริมาณสื่อ จำนวนห้องกิจกรรมและปฏิบัติการต่างๆ   ขนาดของพื้นที่ปฏิบัติกิจกรรม/นันทนาการ เช่น สนามกีฬาและสนามเด็กเล่น เป็นต้น

4.3       การพัฒนาวิชาชีพ ได้แก่ ข้อมูลจำนวนครูบุคลากร ที่ได้เข้ารับการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ

4.4       ความสัมพันธ์กับชุมชน ได้แก่ ข้อมูลการร่วมกิจกรรมกับชุมชนองค์ภายนอก    ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครูและนักเรียน

4.5       ผลการประเมินต่างๆ ได้แก่ ผลการดำเนินงานหรือโครงการในรอบปีที่ผ่านมา   งาน/โครงการ/กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จและที่ควรปรับปรุง  ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาทั้ง 3  ด้าน  คือ  ด้านผู้บริหาร  ด้านครู  และด้านผู้เรียน 

ข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาได้อย่างไร

ข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาได้ทั้งในด้านการ

บริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน  โดยข้อมูลสารสนเทศที่ได้มานั้นสามารถนำมาใช้วางแผนประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีลักษณะของการนำไปใช้ ดังนี้

1.             เพื่อการวางแผน (Plan) ในการกำหนดยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย การวิเคราะห์สภาพขององค์กร  การจัดทำแผนปฏิบัติงานสถานศึกษาและโครงการ การกำหนดการทำงานร่วมกัน  การวางแผนพัฒนาบุคลากร การกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน

2.             เพื่อการจัดการ (Organize) ใช้ในการจัดสรร จัดหา วางแผนการใช้และบริหารทรัพยากรต่างๆ ทางการศึกษา ที่ต้องการนำมาใช้ในองค์กร

3.             เพื่อการควบคุม (Control) ใช้ในการกำหนดมาตรฐานการทำงาน    กำหนดเป้าหมาย       การจัดทำระบบการควบคุมดูแลและติดตามงาน  เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปยังเป้าหมาย   ที่วางไว้

สารสนเทศเป็นส่วนที่สำคัญมากในการดำเนินงานให้สำเร็จ การพัฒนาระบบ สารสนเทศ

จะต้องเป็นไปตามการจัดองค์กรและกลยุทธ์ขององค์กรนั้นๆ

เอกสารอ้างอิง

 “การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการการศึกษาระดับพื้นฐาน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://school.obec.go.th/sokpakwan/school/paperfinal.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 245482เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท