๑๑. ฐานข้อมูลนั้นสำคัญไฉน (2) ตอนจบ


ฐานข้อมูลจะมีประโยชน์อย่างมาก หากจัดทำแล้ว ได้ประโยชน์ทั้งส่วนกลางและผู้ที่ต้องจัดเก็บข้อมูล

                

        คุณปกรณ์  ลิมประนาม   ผู้พัฒนาโปรแกรมบอกว่า  การรายงานควรจะแยกว่าอะไรเป็นกิจกรรมประจำ  อะไรเป็นเรื่อง Dynamic  เพราะการเก็บข้อมูลต่างกัน  หากเป็นกิจกรรมประจำ ก็ให้ทำเป็นรายงาน  แต่บางเรื่องควร Survey  มากกว่า   เช่น  การออกกำลังกาย  เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย    ข้อมูลไม่คงที่

 

ทาง สสจ.นครราชสีมา ได้สรุปปัญหาและข้อเสนอในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนี้

     ระบบรายงาน

     1. ระบบรายงานมีความซับซ้อนไม่คงที่ ทำให้การจัดการ Database มีความยากลำบากในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล

     2. การจัดการระบบงานแต่ละชนิดมีความยุ่งยากต้องใช้เวลาในการ วิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหา

     3. โปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับระบบงานต้องได้รับการยอมรับและมีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   

      ระบบการสื่อสาร


      1. ระบบการสื่อสารยังไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่
      2
. ระบบการสื่อสารมีราคาแพง ทำให้ต้องจำกัดงบประมาณ และผลทำให้ระบบช้า ไม่สะดวกรวดเร็ว
      3. ระบบการสื่อสารยังขัดข้องยังไม่คงที่

       4. เครื่องคอมพิวเตอร์/โปรแกรมระบบถูกรบกวนด้วย Virus 
      5. สถานบริการบางแห่งยังมีปัญหาด้านงบประมาณ

     บุคลากร

    1. บุคลากรยังไม่เข้าใจในการทำงานด้วยระบบ Computer
    2. บุคลากรยังไม่ชำนาญ
    3. บุคลากรยังขาดความรู้ในระบบโปรแกรมงาน และระบบ Computer 

     แนวทางแก้ไขปัญหา

     1. ผู้บริหารให้ความสำคัญของระบบสารสนเทศมากขึ้น

     2. จัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น

     3. พัฒนาบุคลากร ทั้งด้านความรู้  ทักษะ ในเรื่อง IT และความรู้

     4. เพิ่มช่องทางในระบบ  ให้การส่งผ่านข้อมูลเร็วขึ้น

     5. เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น

     6. จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงาน

    

        ผู้เขียนได้อะไรจากการดูงานครั้งนี้

       1.   ได้พันธมิตรที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำฐานข้อมูล

       2.     รู้ว่าการทำฐานข้อมูลไม่ง่ายอย่างที่คิด  ต้องค่อยทำค่อยไป  พัฒนาไปเรื่อย ๆ  พูดง่าย ๆ  คือ  อย่าโลภมาก  ทำเล็ก ๆ  ก่อนแล้วค่อยขยายไปที่ละเรื่อง  ไม่อย่างนั้นจะไม่ได้เรื่องสักเรื่อง

       3.   ส่วนกลางที่เป็นเจ้าของเรื่องแต่ละเรื่อง  หากเป็นไปได้ ควรไปบูรณาการกันก่อนว่าเรื่องที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน  จะมารวมกันได้ไหม  จะได้เก็บข้อมูลให้เป็นชุดเดียวกัน

      4.    ข้อมูลใดที่ไม่ใช้แล้ว  ส่วนกลางควรแจ้งให้ทราบด้วย จะได้ไม่ต้องเก็บให้รกเนื้อที่

         5.  งานใหม่ที่เพิ่มขึ้น  ก่อนจะเก็บเป็นรายงาน ควรคิดแบบพินิจ พิเคราะห์ก่อนว่า จะเก็บข้อมูลอะไรเพิ่ม  มิใช่ให้เก็บ ๆ  ไปก่อนก็แล้วกัน  จะใช้อย่างไรค่อยมาว่ากันทีหลัง  เพิ่มงานให้คนอื่นเปล่า ๆ

      6.   ท้ายสุด  ฐานข้อมูลที่จัดทำควรเป็นประโยชน์ทั้งส่วนกลางและผู้จัดเก็บด้วย  ผู้จัดเก็บสามารถใช้วิเคราะห์งานเพื่อพัฒนางานของตนเอง  ส่วนกลางได้ข้อมูลในภาพรวมเพื่อแก้ปัญหาในภาพใหญ่   จะได้ Happy  กันทั้งสองฝ่าย

                                  

                             สวัสดีค่ะ          

       

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 245480เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ใช่เลย "ต้องค่อยทำค่อยไป  พัฒนาไปเรื่อยๆ  พูดง่ายๆ  คือ  อย่าโลภมาก  ทำเล็กๆ  ก่อนแล้วค่อยขยายไปที่ละเรื่อง"
  • และต้องทำแบบท่านรองฯ ว่าด้วยนะว่า
  • ต้องทำ 20 ให้ได้ 100 ละ (ตัวเลขจำไม่ได้ อิอิ ตั้งเอง แต่ประมาณนี้ ถ้าเจ๊หนุ่ย จำได้ แก้ให้หน่อยนะ)
  • และเราว่า เอา SLM เข้ามาด้วย คือ ต้องมี "จุดหมายปลายทาง" ด้วยนะ

P

  • ใช่ค่ะ ท่านรองฯ บอกว่า เลือกที่สำคัญมาร้อยละ  20  ที่จะทำให้ครอบคลุมไปยัง ร้อยละ 80  ที่เหลือได้
  • คิดง่าย ๆ  คือ จับตัวหลัก ๆ  ให้ได้  เพราะที่ผ่านมาเก็บสารพัด ประเภทเผื่อไว้ก่อน...
  • เห็นด้วย... เพราะไม่มีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน ก็เลยเป็นอย่างที่เห็น ๆ  นี้
  • เฮ้...เริ่มเห็นแล้วว่าใครบ้างที่จะมารวมเป็นก๊วน SRM  ได้อีกคน...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท