เมื่อวัยรุ่นเป็นมะเร็ง..เขาและเธอจะช่วยเหลือเยียวยากันอย่างไร


มิตรภาพบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง

ในตึกผู้ป่วยมะเร็ง ที่ดิฉันอยู่

หลังจากต้องรับเด็กวัยรุ่นที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว อายุ 18 ปี ขึ้นไป มารักษาที่ตึกเรา  คนไข้จะได้รับยาเคมีบำบัดขนาดยาที่สูงมาก เพื่อหวังผลว่ายาเคมีบำบัดจะทำให้โรคสงบ

ในอดีตที่ผ่านมา คนที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือด มักจะเสียชีวิตในเวลาที่รวดเร็ว  แต่ในปัจจุบันการรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้น 

แต่คนไข้จะพบปัญหา..ว่ายากดไขกระดูก ทำให้ติดเชื้อง่าย มีไข้  ต้องให้ยาฆ่าเชื้อโรคและยากระตุ้นเม็ดเลือด ...

การรักษาในโรงพยาบาลจะต้องใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน

ทำให้คนไข้

  • เบื่อหน่าย

  • ไม่อยากนอนในโรงพยาบาล

  • ร้องไห้ อยากกลับบ้าน

  • บางคนไม่สมัครใจอยู๋รักษา  ต้องเซ็นต์ไม่สมัครอยู่ รพ

  • แล้วก็กลับมารักษาใน รพ อีก

..............

วันนี้..ดิฉันมีโอกาสไปนั่งคุยกับเด็กชายวัยรุ่น อายุ 18 ปี  เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว  หมอให้กลับบ้านได้ 2 สัปดาห์ และนัดกลับมารักษาต่อ 

เขาก็ต่อรองด้วยใบหน้ายิ้มๆว่า.. ให้ผมกลับบ้านนิดเดียวแค่ 14 วัน เอง

เราก็ถือโอกาสนั่งคุยต่อ.. เขาบอกว่ากลับไปก็ไปคุยกับเพื่อน ดูหนัง ฟังเพลง

เราเลยแนะนำว่า..ถ้ามา รพ ก็ให้ถือแผ่นหนังมาดูที่ รพ ก็ได้

เราก็ถามต่อว่า.. ที่นี่มีเพื่อนวัยรุ่นอีก 3 คน ได้คุยกันไหม

เขาตอบว่า.. เขาก็คุยกันตลอด โทรไปคุยกันที่บ้านด้วย  บางวันก็โทรไปถามน้องนุ่นว่า อยู่บ้านเป็นอย่างไรบ้าง  สบายดีไหม แนะนำการปฏิบัติตัวด้วยจะต้องทำอย่างไร 

เราถามว่า...วันนี้จะกลับบ้าน จะต้องไปลาเพื่อนที่กำลังนอนอยู่ในห้องแยกไหม 

เขาบอกว่า.. ไม่ควรไปลาหรอก เพราะเขาจะอยากกลับบ้านด้วย 

ถ้าเป็นเขา..  เขาก็ไม่อยากรู้ว่าเพื่อนกลับบ้านหรือยัง ถ้าอยากคุยกันจะโทรคุยกันเอง

..................

จากการที่....   เราจัดตึกคนไข้ของเราให้เหมือนบ้าน  แนะนำให้รู้จักกัน มีการทำกลุ่มผู้ป่วยและญาติ การทำกลุ่มธรรมมะ 

ทำให้คนไข้...เราสร้างเครือข่ายแบบธรรมชาติ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการแนะนำกันและกันทางโทรศัพท์  มีการมีเยี่ยมกัน เมื่อแพทย์นัดมาตรวจ มีการนำของฝากจากบ้าน  มาให้พยาบาลและฝากคนไข้ด้วยกันเสมอ 

เรารู้สึก...ภาคภูมิใจที่เราเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ดูแลคนไข้มะเร็งที่ รพ

ทำให้คนไข้ของเรา...สามารถสร้างเครือข่ายระหว่างคนไข้ด้วยกันเองค่ะ

วัยรุ่น..ก็มีวิธีเยียวยากันและกัน เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง

แต่อย่างไรก็ตาม... เราจะต้องหาวิธีดูแลคนไข้ของเราร่วมกับทีมแพทย์อีกครั้ง เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดระหว่างที่อยู่กับเรา

 

หมายเลขบันทึก: 245339เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
  • ประสบการณ์ เมื่อรู้ว่าเป็น "มะเร็ง" หัวใจ แป้ว เลยท่านพี่แก้ว
  • แต่ก็ผ่านไปได้
  • นำดอกอะไรมาฝากให้กำลังใจครับ

 ท่านอาจารย์ JJ

คนไข้ด้วยกันจะเข้าใจกันและกันมากนะคะ ที่เราพยายามทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนหรือมิตรภาพบำบัด เป็นสิ่งที่ดีนะคะอาจารย์

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆนะคะที่ ลปรร ค่ะและนำดอกไม้สวยๆมาให้กำลังใจพยาบาลและคนไข้ด้วยค่ะ

  • สวัสดีค่ะพี่แก้ว
  • การที่   เราจัดตึกคนไข้ของเราให้เหมือนบ้าน  แนะนำให้รู้จักกัน มีการทำกลุ่มผู้ป่วยและญาติ การทำกลุ่มธรรมมะ ทำให้คนไข้เราสร้างเครือข่ายแบบธรรมชาติ ...  ชื่นชมในกิจกรรมนี้จังค่ะ 
  • เห็น ที่ 3ง  พี่กุ้งก็ทำคล้ายๆนี้เหมือนกันค่ะ
  • ดอกไม้อาจารย์ JJ งามแต้ๆเจ้า

น้องสุธิดา หมูหวาน

วันหลังมาเยี่ยมคนไข้พี่บ้างนะคะ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือนค่ะ

แวะมาอ่าน เรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ พี่แก้ว

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

ครู@..สายธาร..@

ดอกไม้สวย น่าจะเป็นวิธีเยียวยาพยาบาลและคนไข้ได้ด้วยนะคะ

ช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาล 

เป็น The Best Care Team เลยนะคะพี่

ชื่นชมค่ะ

น้องไก่ไก่...กัญญา

พี่ดีใจมาก ที่ทำให้เกิดเครือข่ายอย่างเป็นธรรมชาติภายในหอผู้ป่วยที่เราได้จัดระบบการดูแล แต่ยังมีเรื่องให้พัฒนาต่อไปได้อีกมากมายค่ะ

รู้สึกประทับใจ มากคะ เกินที่จะบรรยาย

  • สวัสดีค่ะพี่แก้ว
  • อ่านแล้วซาบซึ้งใจ  ชื่นชม กับคณะทำงาน จังเลยค่ะ
  • และรู้สึกสงสารน้อง ๆ ที่เป็นคนไข้
  • อยากให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่วนมากเป็นเหมือนพี่แก้ว
  • คนไข้ที่ใกล้ตาย คงยืดเวลาตายได้เยอะนะคะ
  • หรือไม่ก็รอดตายไปหลายคนค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้พี่แก้ว ขอให้ความดีคุ้มครองนะคะ

น้องกิ๋มคะ

พี่ทำให้น้องประทับใจได้ พี่ขอขอบคุณมากๆนะ

เพราะวันนี้..หลังจากที่พี่คุยกับคนไข้วัยรุ่นของพี่ พี่รู้สึกประทับใจในความเข้าอกเข้าใจกันและกัน รู้ใจกัน เห็นใจกัน กลัวเพื่อนอยากกลับบ้านด้วย จะต้องแอบกลับ  แล้วค่อยโทรให้กำลังใจกัน

วัยรุ่น...เขาก็มีวิธีการดูแลกันและกัน น่ารักมาก

แต่สิ่งหนึ่งที่พี่สอนน้องพยาบาลเสมอคือ ต้องไม่ไกรธคนไข้ ต้องเข้าใจเขา ถึงแม้คราวนี้จะไม่สมัครใจอยู่ คราวหน้ามาใหม่ เราก็จะไม่ต่อว่าแม้แต่คำเดียว

 

P

ครูอิงจันทร์คะ

พี่จะต้องสอนน้องพยาบาลพี่ด้วย

เราต้องลองเอาใจเราไปใส่ใจเขา

ถ้าเราป่วยเหมือเขา เราจะต้องการอะไรบ้าง

แล้วเราก็จะ ทำให้คนไข้เหมือนต้องการทำให้ตัวเอง

แล้วเราจะทำทุกอย่างได้ และไม่สามารถโกรธคนไข้ได้เลยค่ะ

ครูอิงค์จันทร์

ที่พี่พูดเรื่องโกรธให้คนไข้  เพราะพยาบาลจะต้องเขียนรายงานส่งเวลาคนไข้หนีออกจาก รพ โดยไม่บอก คนไข้วัยรุ่นของพี่ แต่ก่อนชอบหนี เพราะหมอจะไม่อนุญาตให้กลับบ้าน ถ้าเม็ดเลือดขาวยังต่ำ อาจติดเชื้อจนเสียชีวิตได้

  • สวัสดีค่ะคุณแก้ว
  • หลับตาเห็นภาพวัยรุ่นคนนั้นได้อย่างแจ่มชัดทีเดียว จากเรื่องเล่าของคุณแก้ว
  • พี่แจ๋วเคยเจอวัยรุ่น เป็นมะเร็งที่กราม ใบหน้าข้างที่เป็นจะบวมใหญ่ หู ตา ปาก ถูกก้อนเนื้อร้ายดึงจนเสียรูปร่างไปหมด รู้สึกว่าจะแตกเป็นแผลด้วย เพราะเขาปิดผ้าขาวที่บริเวณแก้มมาด้วย
  • ดูแววตาเขาแล้ว พี่อยากร้องไห้มากเลย
  • นึกถึงว่าถ้าเขาเป็นลูก เป็นหลานเรา เราจะทำอย่างไรหนอ
  • เลียบ ๆ เคียง ๆ จะไปพูดคุยด้วย ก็ดูเขาเครียด ๆ ไม่อยากคุยกับเรา
  • สงสารที่เขาต้องเว้นวรรคสิ่งดี ๆ ในโลกสดใสของวัยรุ่นไป
  • ระยะหลัง ไม่เจอเลย ไม่รู้เป็นอย่างไรบ้าง
  • อ่านเรื่องของน้องแก้วแล้ว คิดถึงเขาค่ะ
  • เป็นกำลังใจแด่คุณหมอและคุณพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกท่านค่ะ

เป็นกำลังใจให้คนทำงานเพื่อผู้ป่วยครับ...

อาชีพเพื่อชีวิต...

ปกติวัยรุ่นก็เป็นวัยที่เป็นช่วงรอยต่อของชีวิตอยู่แล้ว ซึ่งมีบางคนก็ไม่สามารถปรับตัวได้ การมีวิกฤติในชีวิตเป็นสิ่งที่ซ้ำเติมพวกเขามาก บางโรคมีโอกาสหาย ดีขึ้น มีหนทางรักษา มีโครงการดีดีมารองรับ แต่มีอีกมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึง อยากให้สังคมให้ความเกื้อหนุนค่ะ

สวัสดีคะพี่แก้ว

วัยรุ่นจะมีโลกส่วนตัวของเขา มีกลุ่มเพื่อนของเขา

เขาจะดูแลกันได้ดีกว่า เข้าใจกันมากกว่า

ดีใจแทนคนไข้พี่แก้วนะคะที่เข้าใจวัยรุ่น

คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน

เด็กวัยรุ่นมะเร็ง ดูน่าสงสารมาก เขาและเธอจะต้องอดทนต่ออาการข้างเคียงของยาเคมี  บางคนมีแผลในปาก กินข้าวไม่ได้ มีไข้ แต่ถ้าผ่านไปได้ ก็จะมีชีวิตต่อไป  เราพยายามให้คนไข้หาสิ่งที่ชอบมาทำ เช่น การฝีมือ ทำหมวก ถักเสื้อ ทำพวงกุญแจ เป็นต้น

ผู้ใหญ่บางคน ก็ท้อแท้จนยอมตาย สั่งลาญาติพี่น้อง เราพยาบาลจะต้องให้กำลังใจ พูดคุย หาวิธีการที่จะทำให้คนไข้มีกำลังใจที่จะสู้ จนผ่านไปได้

Mr.Direct
คุณดิเรก ขอบคุณที่ให้กำลังใจคนทำงาน

พี่คิดว่า..ถ้าพี่หาห้องพักผ่อน มีหนังสือการ์ตูนส์  มีทีวี ดีวีดี หนังดีดี  มีโต๊ะอ่านหนังสือ  มีกระดาษให้วาดภาพ ระบายสี

หรือเป็นห้องพักผ่อนน่าจะดีนะคะ เขาและเธอที่เป็นคนไข้พี่จะได้ไม่เบื่อหน่ายในการนอนใน รพ  จะได้มานั่งกินข้าวด้วยกัน ทำตึกคนไข้ให้เหมือนบ้านจริงๆ น่าจะช่วยได้

น้องไก่ ประกาย~natachoei ที่~natadee

วัยรุ่นบางครั้ง เขาและเธอไม่ต้องการให้เราไปจัดกระทำมาก

พี่เคยจะพามานั่งคุยกัน คนไข้จะไม่ชอบ

แต่เราแนะนำให้พ่อแม่ของคนไข้รู้จักกันก่อน

แล้วจัดคนไข้อยู่ในล๊อคเดียวกัน  พอรู้จักกัน เขาจะคุยกันเอง ขอเบอร์โทรกันเอง

แล้วพยาบาลไปคอยพูดคุย ซักถามและให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ให้ช่วยบอกเรื่อง ดีดีที่เราทำแล้วทำให้อาการต่างๆดีขึ้นด้วยนะจ๊ะ จะได้ช่วยกันได้มากขึ้น

เหมือนคนไข้วันนี้ที่พี่แนะนำให้ ช่วยแนะนำน้องนุ่นด้วย เธอจะได้ทำตามได้

คุณน้อยหน่า

พี่กำลังหาวิธีดูแลวัยรุ่น ขอบคุณนะคะ ที่มาช่วยแนะนำค่ะ

โครงการต่างๆที่พี่ทำ คงจะยังต้องพัฒนา  เพื่อให้เหมาะกับวัยรุ่นยิ่งขึ้น

ถ้ามีอะไรแนะนำเพิ่มเติม ก็ให้คำแนะนำด้วยนะคะ

วันนี้เดินเยี่ยมคนไข้ที่เตียง มีเด็กวัยรุ่นอายุ 17 ปี เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว  กำลังให้ยาเคมีบำบัด เธอนอนตะแคงข้าง หันหน้าไปหาแม่ เมื่อพยาบาลเดินมาทักทาย เธอยิ้มอายๆ บอกเราว่า อยากกลับบ้าน

แม่เลยบอกเราว่า วันนี้ก็นอนร้องไห้ไปแล้ว

พยาบาลบอกว่า ร้องไห้ก็ได้ วันละครั้งดีไหม

เธอยิ้มออก  ที่พยาบาลไม่ได้ห้ามเธอร้องไห้

พยาบาล ถามว่า คิดถึงใครที่บ้าน เธอบอกว่า คิดถึงน้อง

พยาบาลแนะนำว่า โทรคุยกันก็ได้นะคะ

เธอบอกอีกว่า คิดถึงคอมพิเตอร์ที่บ้านด้วย เราบอกว่า ยกมาด้วยก็ได้

เธอบอกว่า เครื่องใหญ่มาก

พยาบาล บอกว่า เห็นทีจะต้องหาคอมพิวเตอร์ให้คนไข้ รอก่อนนะ พี่จะหาเงินบริจาคมาซื้อก่อนค่ะ

พี่เเก้วคะ กุ้งแวะมาให้กำลังใจพี่เเก้วและทีมทำงานค่ะ เด็กวัยรุ่นที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งที่กุ้งเคยเจอ มี case ที่น่าสนใจหลาย case นอกจากเราจะได้บุญจากการที่ได้ช่วยเขาแล้วกุ้งได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากเขา การเข้าหาวัยรุ่นบางทีต้องให้คนที่เขาอยู่ในวัยเดียวกันค่ะเป็นสื่อ น้องๆพยาบาลใหม่นี่เเหละค่ะ ได้เลย เขาจะคุยภาษาเดียวกัน

รู้เรื่องแต่ก่อนอื่นต้องดุว่าบุคคลิกของพยาบาลคนนั้นต้องเป็นกันเอง มีความพร้อมในการที่จะให้ความช่วยเหลือแล้วค่อยๆสร้างสัมพันธภาพ การให้ไดอารี่ เพื่อให้เขาได้บันทึกความเป็นไปของเขาความรู้สึกที่ต้องมานอนให้ยาเคมีบำบัด สิ่งที่เขาฝันอยากจะทำอยากจะได้ขณะที่เขาป่วย เหมือนเราให้เขาค้นหาคุณค่าและความหมายของชีวิตขณะที่ป่วย

เป็นเส้นทางที่จะทำให้เราเข้าถึงและให้การตอบสนองความต้องการได้อย่างถูกต้องที่สำคัญเข้าถึง spiritual need เลยนะคะ

น้องกุ้ง สุธีรา

ขอบคุณน้องกุ้งมากที่แนะนำ ดีเหมือนกันนะ ให้ diary เขียนบันทึก จะลองดูนะคะ

วันนี้ไปเยี่ยมคนไข้วัยรุ่น 2 คน

คนแรก

บอกว่า ไม่อยากรักษา ไม่อยากนอน รพ เพราะหมอบอกคราวที่แล้วว่า ได้ยาครบแล้ว ทำไมให้มานอนอีก

เราก็ปลอบใจ รอคุยกับหมออีกทีไหม ถ้าจะต้องให้ยาอาจเป็นเพราะหมอเห็นว่า ยังต้องรักษาต่อ

นอนคิดดูอีกที และหนูอยากทำอะไรไหมวันนี้ เขียนไดอะรี่หรือวาดภาพดี

คนไข้บอก  ไม่อยากทำอะไร

 

คนไข้วัยรุ่นอีกคน

นอนยิ้ม เราเลยแนะนำคนไข้ให้รู้จักกัน บอกมาคุยกับอีกคนให้ด้วยนะ

เขายิ้มและบอกว่า ผมก็อยากกลับบ้านเหมือนกัน

 

ขอให้หายไวๆ.นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท