การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 8) Buffer


Buffer

                   ในกล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆ จะมีตัวเลือกหนึ่งคือตัวเลือกในการถ่ายภาพต่อเนื่องหลายๆ ภาพติดต่อกัน การที่กล้องถ่ายภาพจะสามารถถ่ายภาพแล้วบันทึกลงในการ์ดได้นั้นค่อนข้างใช้เวลานาน ดังนั้นกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ จึงมีการพัฒนาระบบหน่วยความจำสำรองที่มีการทำงานรวดเร็วแต่มีหน่วยความจำจำกัด ซึ่งเรียกหน่วยความจำนี้ว่าบัฟเฟอร์ ดังนั้นในขณะที่ผู้ใช้ปรับโหมดการใช้งานถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง กล้องบางรุ่นอาจระบุว่าสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องกัน 5 ภาพต่อวินาที นั่นหมายความว่ากล้องตัวนั้นจะสามารถมีหน่วยความจำบัฟเฟอร์ที่เก็บภาพจากการถ่ายไว้ก่อน และหลังจากที่หยุดถ่ายกล้องก็จะทำการประมวลผลนำภาพในบัฟเฟอร์บันทึกลงบนหน่วยความจำหลัก หรือการ์ดบันทึกภาพอีกทีหนึ่ง

       

 ภาพทั้ง 4 ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้อง

 ดิจิตอลในโทรศัพท์มือถือ ของ sony

 Ericson k-750i โดยตั้งโหมดถ่ายต่อ  เนื่อง

 

                   ดังนั้นสรุปได้ว่า บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำที่ใช้สำหรับพักข้อมูลเป็นการชั่วคราว หลังจากกดชัตเตตอร์ถ่ายภาพไปแล้ว ไฟล์ภาพจะจัดเก็บไว้ในบัฟเฟอร์ก่อน จากนั้นจึงทยอยถ่ายโอนไปยังการ์ด ถ้ามีบัฟเฟอร์มากก็จะถ่ายภาพต่อเนื่องได้มาก แต่ถ้าบัฟเฟอร์เต็ม จะไม่สามารถถ่ายภาพได้จนกว่าจะบันทึกภาพลงในการ์ด และมีที่ว่างเหลือในบัฟเฟอร์ สำหรับถ่ายภาพต่อไป

 

ภาพนี้ดัดแปลงแก้ไขจากเว็บไซต์ Dpreview

 ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง buffer คลิก
 
  1. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 1) Budged

  2. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 2)Image Sensor

  3. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 3) Bit Depth

  4. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 4) Effective

  5. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 5) Interpolate

  6. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 6) Image size

  7. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 7) Response

  8. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล (ตอน 8) Buffer

หมายเลขบันทึก: 24532เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • เป็นการถ่ายทอดที่ใช้ทั้งภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และการ์ตูนอานิเมชั่น (animation) เห็นครั้งแรกในบล็อก
  • เป็นการนำเสนอที่โดดเด่นมาก = นวัตกรรม
  • เรียนเสนอให้อาจารย์สอนวิธีทำ ทำเป็นชุดบทความ (series) แบบนี้เป็นวิทยาทานครับ
- ขอบคุณคุณหมอวัลลภมากครับที่ให้ข้อเสนอแนะดีๆ กับผม - ภาพเคลื่อนไหวที่ทำนั้นผมใช้ _โปรแกรม Adobe Image Ready ทำครับ และผมจะนำเสนอวิธีการทำตามข้อเสนอแนะของคุณหมอครับ

ขอตามมาเป็น กำลังใจ  ให้  adviser คนเก่งของหนู

จาก ลูกศิษย์ที่น่ารักที่สุดของอาจารย์ อิอิ (จำได้หรือเปล่าค่ะ)

http://gotoknow.org/panarat

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท