3 วิธีลด(บรรเทาอาการ)นอนกรน


...

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การบริหารกล้ามเนื้อลำคอ เช่น การฝึกเครื่องเป่าดิดจาริดู (didjaridoo) ของคนพื้นเมืองอบอริจิน ออสเตรเลีย การฝึกร้องเพลง ฯลฯ มีส่วนช่วยลดการนอนกรนให้น้อยลงได้

ผู้เขียนขอเรียนเสนอวิธีบริหารกล้ามเนื้อลำคอ 3 ท่า ซึ่งน่าจะช่วยลดการนอนกรนให้น้อยลงได้

... 

ท่าแรกเป็น "ท่าพระ" ที่ท่านพระอาจารย์สมบัติ นันทิโกกล่าวว่า การทำท่านี้ทำให้ลดความอยาก เช่น อยากอาหาร ฯลฯ ให้น้อยลงได้

ผู้เขียนทดลองทำดู พบว่า ท่านี้ใช้บริหารกล้ามเนื้อลำคอได้ดีมากๆ วิธีการก็ไม่ยากอะไร เพียงขอให้ดันลิ้นขึ้นไปติดกับเพดานปากแรงๆ นับ 1-10 ช้าๆ เป็น 1 เซ็ต (set) ทำวันเว้นวันหรือทุกวันก็ได้ (อย่ากลั้นหายใจ และถ้าเป็นโรคความดันเลือดสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนทำ)

...

 > [ FreeFoto ] 

ท่าที่ 2 เป็นท่าโยคะ คือ ท่า "สิงห์โต" หรือท่า "สิมหาสนะ" จากหนังสือ "โยคะก่อนนอน ผ่อนคลายบนเตียง" เขียนโดยท่านอาจารย์วทันยา วรสิริ. สำนักพิมพ์ยูโรบุ๊คส์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ราคา 90 บาท มีจำหน่ายที่ร้าน '7-eleven'

ท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่า หลังตรง สะโพกวางบนส้นเท้า วางมือบนหัวเข่า (ดังภาพ)

...

ภาพจากหนังสือ "โยคะก่อนนอน ผ่อนคลายบนเตียง"  ท่านอาจารย์วทันยา วรสิริ.

...

 > [ FreeFoto ]

จากนั้นให้หายใจเข้าลึกๆ พร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวตกลงบนหัวเข่ามากขึ้น กางนิ้ว 2 ข้างออก อ้าปากกว้างๆ แลบลิ้นออก โดยไม่ให้ลิ้นกระทบริมฝีปาก ตามองขึ้นบน พร้อมกับหายใจออกทางปากให้มีเสียง "แฮ่" (ประมาณว่า สิงห์โตคำราม หรืออะไรทำนองนี้)

ให้แลบลิ้นค้างไว้อย่างนี้ 15-20 วินาที (ดังภาพ) เป็น 1 เซ็ต (set) ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง อาจารย์วทันยากล่าวว่า ท่านี้เหมาะสำหรับท่านที่ทำงานใช้เสียงมาก เช่น ครูบาอาจารย์ นักพูด พ่อค้าแม่ขาย ฯลฯ

ภาพจากหนังสือ "โยคะก่อนนอน ผ่อนคลายบนเตียง"  ท่านอาจารย์วทันยา วรสิริ. 

... 

 > [ FreeFoto ]

ท่าที่ 3 เป็นท่า "โยม" (เนื่องจากมีท่าพระแล้ว จึงควรมีท่าฆราวาสหรือท่าโยมตามมาด้วย) ที่อาจารย์รังสรรค์ พรเรืองวงศ์ วิศวกร พัฒนาและทดลองด้วยตนเอง

ผลปรากฏว่า ช่วยลดอาการกรนได้อย่างมีนัยสำคัญ (เสียใจด้วยที่ไม่มีค่าทางสถิติ เช่น Pearson's score ฯลฯ มาด้วย) ลูกสาวท่านรับรองว่า ได้ผลจริงๆ มาแล้ว

...

วิธีการคือ ให้ฝึกกลืนน้ำลายโดยไม่ดื่มน้ำ 5 ครั้งเป็น 1 เซ็ต (set) ทำก่อนนอน หรือจะเพิ่มเวลาอื่น เช่น เวลาเหงา-เศร้า-เซง(เซ็ง) เวลาออกกำลัง ฯลฯ ด้วยก็ได้ จุดสำคัญคือ ขอให้ทำก่อนนอน 5 ครั้ง

ถึงแม้ท่านี้จะเป็น "ท่าโยม" แต่ถ้าพระคุณเจ้าที่นอนกรนจะทดลองนำไปทำดูก็ได้เช่นกัน

...

 > [ FreeFoto ]

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

[ หนังสือแนะนำให้อ่าน = Suggested Reading ]

 

  • ท่านอาจารย์วทันยา วรสิริ. โยคะก่อนนอน ผ่อนคลายบนเตียง.
  • Eurobooks. กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ 1. ราคา 90 บาท. มีจำหน่ายที่ร้าน '7-eleven'.

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       

วันนี้เราพูดกันถึง "ท่าพระ" , "ท่าโยม" ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "พระ" คือ 'monk' หรือ 'priest' ทีนี้โยมหรือฆราวาสเป็นอะไร คำตอบคือ 'layman'

 

  • 'layman' > [ เล้ - แหม่น ] > [ Click ] , [ Click ] , [ Click ]
  • 'layman' > noun = โยม ฆราวาส คนนอก คนที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม
  • 'laymen' > noun (pleural) = โยม ฆราวาส คนนอก คนที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม(หลายคน)

  • ตัวอย่าง > They are laymen, not professional golf players.
  • แปลว่า > พวกเขา (พวกเธอ) เป็นมือใหม่ ไม่ใช่นักกอล์ฟอาชีพ

 

  • ตัวอย่าง > There are 3 monks, 2 novices and 2 laymen in this monastery.
  • แปลว่า > วัดนี้มีพระ 3 รูป เณร 2 รูป และเด็กวัด (ฆราวาส โยม กัปปิยะ) 2 คน

...

[ FreeFoto ]

...

ขอให้ย้ำเสียงหนัก (accent) ตรงเสียงตัวอักษรหนา (ขีดเส้นใต้) เสียงอื่นๆ พูดให้เบาลง ส่วนตัวเสียงที่ใช้อักษรเอียงให้พูดเบาๆ คล้ายเสียงกระซิบ

พยายามอย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (ไม่มี accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

 

ที่มา                                                       

  • กราบนมัสการขอบพระคุณ > ท่านพระอาจารย์สมบัติ นันทิโก. คำสอนในปี 2541. 
  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์วทันยา วรสิริ. โยคะก่อนนอน ผ่อนคลายบนเตียง. Eurobooks. กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ 1. หน้า 66-67. ราคา 90 บาท. มีจำหน่ายที่ร้าน '7-eleven'. [ หนังสือแนะนำให้อ่าน = Suggested Reading ]
  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์รังสรรค์ พรเรืองวงศ์ อนุเคราะห์ "ท่าโยม" ในการฝึกลดนอนกรน > 22 กุมภาพันธ์ 2552. 
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 21 กุมภาพันธ์ 2552.
หมายเลขบันทึก: 244008เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท