กำพร้าผีน้อย


นิทานท้าวกำพร้า

                               เรื่องท้าวกำพร้าผีน้อยเป็นชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่จุติลงมาเกิดที่เมืองอินทปัตถ์  เป็นกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเล็ก  อาศัยการขอทานเลี้ยงชีพ  ชาวบ้านบางคนก็เมตตาให้ทาน  บางคนก็รังเกียจหาทางกลั่นแกล้งเสมอ 

วันหนึ่งตากวานบ้าน(คำเรียกผู้ใหญ่บ้าน)  คิดกำจัดท้าวกำพร้า  จึงแนะนำให้ไปทำนาที่ทุ่งนาชายป่าซึ่งไม่มีใครทำกิน  เพราะเป็นถิ่นที่ผีดุร้ายอาศัยอยู่ (ความเชื่อ) ท้าวกำพร้าขยันทำนา  ขุดดิน  ถางป่าอย่างไม่ย่อท้อ  ทำให้ภูตผีทั้งหลาย  รวมทั้งผีย่าง่ามซึ่งอาศัยอยู่ปลายนา  คิดจะจับท้าวกำพร้ากินเป็นอาหาร  แต่เทวดาห้ามไว้  และเมื่อผีเหล่านั้นรู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิดเป็นท้าวกำพร้าจึงถวายตัวเป็นทาสรับใช้  และได้ช่วยท้าวกำพร้าทำไร่ทำนา  ปลูกพืชผักผลไม้

                                ขณะที่รอการเก็บเกี่ยวข้าว  ท้าวกำพร้าได้ออกขอทานตามปกติตากวานบ้านประหลาดใจที่ท้าวกำพร้าไม่ตาย  จึงคิดกลั่นแกล้งอีก  โดยนำข้าวบ้วนปากมาบริจาคทานเป็นจำนวนมาก  ท้าวกำพร้าจึงนำไปนึ่ง  แต่ปรากฏว่าข้าวบ้วนปากของตากวานบ้านส่งกลิ่นหอมอบอวล  ทำให้ผีทั้งหลายได้กลิ่นพากันมาขอแบ่งกิน  ผลการกินข้าวบ้วนปาก  ทำให้ท้าวกำพร้ามองเห็นภูตผีทั้งหลายได้

                                วันหนึ่งท้าวกำพร้านำไซไปดักปลา  แต่ไม่มีปลาติดเพราะผีน้อยขโมยกินหมด  ท้าวกำพร้าจึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาผีย่าง่าม  ผีย่าง่ามจึงเอาไหมของตน(ขนเพชร)ให้ท้าวกำพร้านำไปทำบ่วงดักไว้  ในที่สุดผีน้อยก็ติดบ่วง  ได้ร้องขอชีวิตต่อท้าวกำพร้า  ท้าวกำพร้าจึงได้ปล่อยไป(คุณธรรม)    ต่อมาก็มีสัตว์อื่น ๆ  มาติดบ่วงสายไหมที่ท้าวกำพร้าดักไว้อีก  เช่น  เสือ  อีเห็น  ช้างน้ำและนาค  ซึ่งสัตว์ทุกชนิดร้องขอชีวิตและยอมเป็นทาสรับใช้ท้าวกำพร้า  ส่วนพญาช้างน้ำ  ได้มอบงาทั้งสองข้างและแก้วมณีให้แก่ท้าวกำพร้า  ซึ่งในงาช้างนั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ  นางสีดาอาศัยอยู่  นางได้ออกมาทำอาหารไว้ให้ทุกครั้งที่ท้าวกำพร้าไม่อยู่บ้าน  จนท้าวกำพร้าเกิดความสงสัยจึงแอบดูและรู้ความจริง  ท้าวกำพร้าได้ทุบงาช้างนั้นเสีย  เพื่อไม่ให้นางเข้าไปอยู่ในงาช้างนั้นอีก  และทั้งสองได้แต่งงานกัน

                                ท้าวกำพร้าไม่ได้ไปขอทานในหมู่บ้านเป็นเวลาหลายวัน  ชาวบ้านจึงเกิดความสงสัยพากันไปแอบดูที่กระท่อม  เมื่อได้เห็นนางสีดาซึ่งมีรูปโฉมงดงาม  ต่างพากันตกตะลึงและโจษขานกันไป  จนทราบไปถึงพระยาพิมพ์ทองเจ้าเมืองอินทปัตถ์  ผู้มีใจพาล(ผิดศีลธรรม)จึงคิดอยากได้นางสีดาเป็นมเหสี  ได้ท้าพนัน(ผิดศีลธรรม)ท้าวกำพร้า  แข่งขันหลายอย่าง  โดยมีเดิมพันว่า  ถ้าท้าวกำพร้าแพ้จะยึดนางสีดา  แต่ถ้าท้าวอินทปัตถ์แพ้จะยอมยกเมืองให้ครึ่งหนึ่ง  เมื่อแข่งขันชนไก่  ชนควาย  และชนช้างท้าวกำพร้าเป็นฝ่ายชนะทุกครั้ง  ทั้งนี้เพราะได้รับความช่วยเหลือจากนางสีดาภรรยาของท้าวกำพร้าที่ใช้แก้วมณีเรียกสัตว์ต่าง ๆ  ซึ่งยอมเป็นทาสท้าวกำพร้ามาให้ความช่วยเหลือ  เมื่อชนไก่  ควาย  และช้างของเจ้าเมืองตาย  พระองค์ได้บังคับ(ผิดศีลธรรม)ให้ท้าวกำพร้ากินสัตว์เหล่านั้นเสียให้หมด  พญาฮุ่ง(รุ้ง)  หรือนาค  แปลงตัวเป็นท้าวกำพร้ามากินสัตว์ทั้งสามที่ตายไปให้หมด  ทำให้เจ้าเมืองโกรธแค้นท้าวกำพร้ายิ่งขึ้น  จึงได้ท้าแข่งเรือกับท้าวกำพร้า  พญานาคได้แปลงกายมาเป็นเรือ ช่วยเหลือท้าวกำพร้าอีก  แล้วฟาดน้ำถูกเรือของเจ้าเมืองล่ม  ในที่สุดเจ้าเมืองผู้ไร้สัจจะก็จมน้ำตาย (กฎแห่งกรรม) เจ้าเมืองได้ไปเกิดเป็นผีแถน  แต่มีใจเสน่หานางสีดา  และเจ็บแค้นที่ไม่สามารถเอาชนะท้าวกำพร้าได้  จึงวางแผนร่วมกับบ่างลั่วตัวหนึ่งให้ไปร้องเรียกเอาวิญญาณ(ขวัญ)นางสีดา  เมื่อขวัญออกจากร่างนางสีดาก็สิ้นชีวิต  ผีน้อยแนะนำไม่ให้เผาร่างของนางและอาสาจะพาวิญญาณของนางสีดาคืนมาให้ได้  จึงไปพบพญาแถนแล้วซ่อนข้องไปด้วย 

                                ต่อมาวิญญาณของนางสีดาได้ไปอยู่กับพญาแถน   ทำให้พญาแถนดีใจมากให้รางวัลแก่บ่างลั่ว  และได้เลี้ยงสุรา(ผิดศีลธรรม)  จนบ่างลั่วเมาไม่ได้สติ  ผีน้อยจึงอาสาพาบ่างลั่วไปส่งถึงบ้าน(ตอบแทนบุญคุญ)   ระหว่างทางผีน้อยได้หลอกให้บ่างลั่วเข้าไปนอนในข้อง  บ่างลั่วรู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงทำตามผีน้อยรีบปิดผาข้องแล้วนำมาให้ท้าวกำพร้าผีน้อยได้บังคับให้บ่างลั่วเรียกเอาวิญญาณนางสีดากลับมา  เมื่อนางสีดาได้ฟื้นคืนดังเดิมแล้ว  ผีน้อยจึงหลอกให้บ่างลั่วแลบลิ้นที่เคยใช้เอาวิญญาณคนมาเป็นจำนวนมาก(ความชั่ว) แล้วตัดลิ้นบ่างลั่วเสีย  เพราะเกรงว่ามันจะร้องเรียกเอาวิญญาณคนไปอีก  นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  บ่างลั่วจึงร้องได้ไม่ชัดเจน

                                เมื่อเจ้าเมืองอินทปัตถ์สิ้นชีพไปแล้ว  ชาวเมืองจึงเชิญท้าวกำพร้าและภรรยาปกครองบ้านเมืองสืบต่อมา  ทั้งนี้เพราะความดีของท้าวกำพร้าและภรรยาจึงปกครองบ้านเมือง  โดยประกอบด้วยคุณธรรมสืบต่อมาอย่างเป็นสุข

คำสำคัญ (Tags): #วรรณกรรมอีสาน
หมายเลขบันทึก: 244002เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ส่งดอกไม้ที่บ้านพี่สาวมาเป็นกำลังใจค่ะ

Az111

มาอ่านนิทาน ค่ะ

ไว้เล่าให้ลูกฟัง อ้อ แอ๊ดบล็อกดีกว่า ;p

ขอบคุณครับครูครูอ้อย แซ่เฮ ที่มามอบดอกไม้แสนงามให้ ขอให้บุญรักษานะครับ

ขอบคุณครับภูสุภา นิทานโบราณล้วนกลั่นกรองจากปราชญ์มาแล้ว นำไปใช้ได้เลยครับ

คุณครูออต หายหน้าหายตาไปนาน ครูศึกษารอยแต้ม แต่ผมเดินทางในรอยลาน ก็เลยมีความสัมพันธ์เนื้อหากันไม่น้อย รออ่านงานครูออตอยู่นะครับ

ปล. อาจารย์ที่ราชภัฏอุบลฯเข้าไปอ่านบล็อกของครูออต เค้าฝากบอกให้เขียนให้อ่านบ่อย ๆ ครับ

คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้นฮ่มสัปทน อย่าลืมเฮียมคนจนผู้ขี่ควายคอนกล้า

ม่วนหลายเด้

ขอบพระคุณครับคุณเปลวเทียน ที่เข้ามาเยี่ยมยามอ่านนิทานจากผู้มีความรู้น้อยนำฮอยครูบา

ซือวาแนวความเว้าของคนมันเกินง่าย

ได้เทิงหลายแลขว้ามความเว้าบ่อยู่ความ

เค้าฮักเขากะย้องเขาซังเขากะด่า

คือดังบักเข่าเหม่าหมาเฒ่าเห่าแต่เขา

คันเฮาเฮ้ดดีแล้วเขาซังกะตามซาง

คันเฮาเฮ้ดแม่นแล้วเขาย้องกะซางเขา

เขาสิพากันท้วงทั้งเมืองบ่มีเงยง

เขาสิติทั้งค่ายขายหน้ากะบ่อาย

อาจารย์ครับ

1-3 กันยายน 2552

ถ้าว่าง มาเรียน เล่น อ่านไทน้อยที่ฝนังสิมวัดศรีมหาโพธิ์กันครับ

ครูพิลคะขอยืมไปสื่อสอนนักเรียนหน่อยนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ พอดีได้มีโอกาสสอนวรรรกรรมพื้นบ้านนักเรียน

เลยได้สืบค้นหานิทานไปเล่าให้เด็กฟัง จึงได้รับข้อมูลความรู้ของอาจารย์

นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ขอบขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้นะคะ

....อ่านอยู่ต้องนานนึกว่าอาจารย์ที่ไหน มองรูปอาจารย์ก็ดูคุ้น ๆ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท