โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

งาน “มหกรรมสุขภาพชุมชน 2552” (Community Health & Primary Care Expo 2009) ปาฐกถาอาจารย์ประเวศ วะสี


สัตว์ร้าย 3 ตัวที่คอยกัดกินคุณค่าความเป็นมนุษย์ได้แก่ ตัญหา(อยาก)-มานะ(เอาชนะ)-ทิฐฐิ(ถือตนเป็นใหญ่) แก้ได้โดยสติ หากหลุดพ้นได้จะเป็นอิสระ นั่นคือความเป็นคนอย่างแท้จริงจะบังเกิด

ศ.นพ. ประเวช วะสี

เป็นมหกรรมสุขภาพที่ใหญ่มากงานหนึ่งในปีนี้ ผมได้มีโอกาสไปเล่าเรื่องในงานนี้ด้วยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในงานนี้ อาจารย์ประเวศ ได้กล่าวปาฐกถา "สร้างคุณค่าความเป็นคน สร้างสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็ง" ไว้น่าสนใจโดยมีในตอนหนึ่งของปฐกถาที่ว่า

การสร้างสุขภาพทชุมชนนั้นเริ่มต้นที่การเคารพคุณค่าของความเป็นมนุษย์ การพัฒนาใดๆ นั้นต้องพัฒนาขึ้น ไม่ใช่พัฒนาลง (พัฒนาจากรากฐาน คือชุมชนมากกว่าที่คิดจากเบื้องบน) จึงยั่งยืนและมั่นคง เปรียบได้กับเจดีย์ที่ต้องมีฐานกว้างเพื่อให้ยอดได้สูงตระหง่าน สัตว์ร้าย 3 ตัวที่คอยกัดกินคุณค่าความเป็นมนุษย์ได้แก่ ตัญหา(อยาก)-มานะ(เอาชนะ)-ทิฐฐิ(ถือตนเป็นใหญ่) แก้ได้โดยสติ หากหลุดพ้นได้จะเป็นอิสระ นั่นคือความเป็นคนอย่างแท้จริงจะบังเกิด

อุปสรรคการพัฒนาที่สำคัญคือ "รอยต่อฟ้าจรดดิน"(ไม่มีทางบรรจบ) องค์กร เงิน และนิยาม หากถือสิ่งเหล่านี้เป็นแกนหลักในการคิด จะไม่สามารถไปต่อได้เลย

หากเอากระทรวงทบวงกรม เป็นจุดตัวตั้ง ในประวัติศาสตร์ระบบราชการไทยน้อยครั้งที่จะสำเร็จ เนื่องจากระบบราชการแข็ง ไม่ยืดหยุ่น ไม่เอื้อต่องานในชุมชน

เงิน เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาผิดทิศทาง (โยนเงินลงมาแล้วคิดว่าจะใช้อย่างไรให้หมดเป็นปัญหาที่เราเห็นกันจนชินตา) ควรให้เงินเป็นเพียงปัจจัยหนุนในการทำงาน

นิยาม เรามักจะนิยามงานหนึ่งว่ามีของเขตดังนี้-ต้องรอให้ชัดเจนถึงจะทำงาน-นอกขอบเขตงานตนก็ไม่สนใจไม่ทำ ทำให้ขาดการเชื่อมโยง (โลกนี้ไม่มีอะไรที่ลอยอยู่เดี่ยวๆ ต้องมีการเชื่อมต่อและเปลี่ยนแปลงเสมอ นิยามหนึ่งในเวลาหนึ่งอาจถูกต้อง แต่เวลาผ่านไปนิยามนั้นคงต้องเปลี่ยนไป)

ทางแก้ "ต้องสละแนวคิดเชิงอำนาจ" แล้วเริ่ม interactive learning through action คือ เรียนรู้จากฐานรากผ่านการลงมือทำ (ทำไปเรียนไป) โดยเน้นคุณค่าความเป็นคน (ทุกคนมีศักยภาพและคุณค่าในตัวเอง) ร่วมมือกันเป็นชุมชนผู้ปฏิบัติ รวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างมีเป้าหมาย (ยุทธศาสตร์แสงเลเซอร์) และเข้าหาองค์ความรู้ผ่านงานวิจัยในพื้นที่

komart

ช่วงท้ายหลังปาฐกถาอาจารย์ประเวศ  อาจารย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ มาชี้แจงภาพรวมงาน อาจารย์พูด 2 ประโยคโดนใจผมคือ

"ระบบราชการมีความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งในการทำลายความคิดสร้างสรรคของคนทำงาน"

"นวัตกรรมเป็น indicator ของการมีชีวิตอยู่ขององค์กร"

ถึงตรงนี้ผมคงทิ้งไว้ให้ท่านผู้อ่านได้ลองขบคิดจากปฐกถาสั้นกับ 2 ประโยคของอาจารย์ประเวศ และอาจารย์โกมาตร

แล้วพบกันใหม่เมื่อผมว่างครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 243934เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณที่นำสาระดีๆมาถ่ายทอดค่ะ

ชอบมากโดนใจค่ะประโยคแรก แต่ประโยคหลังยังไม่ลึกซึ้ง

"ระบบราชการมีความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งในการทำลายความคิดสร้างสรรคของคนทำงาน"

"นวัตกรรมเป็น indicator ของการมีชีวิตอยู่ขององค์กร"

ระบบราชการเป็นบล็อกที่ผู้คิดๆว่าได้มาตราฐานง่ายแก่การตรวจสอบ ติดตาม และพัฒนา...หากแต่จริงๆแล้ว พบว่า มันไม่เป็นดังที่เข้าใจ ทุกพื้นที่ในบล็อกนั้นๆมีช่องโหว่ มีทางไหล มีที่พัก มีหลุมหลบภัย มีเวทีสำหรับผู้ที่ถูกคัดเลือก  มีช่องว่างระหว่างใจ มีความดี ที่มักเดินสวนทางกับความชอบ ความชอบที่ผู้มีอำนาจกำหนดขึ้นมา บนฐานของความพอใจ  การวางตัวไว้แล้วด้วยหลักเกณฑ์ ที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของคนในองค์การนั้นๆ และผู้มีอำนาจที่พาไป แอบแฝง เบี่ยงเบน ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ยังมีเจ้าตัวร้ายทั้งสามตัวสิงอยู่ จนกลมกลืนเป็นร่างเดียวกัน

ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณคุณหมอมากนะครับ
  • ผมมีโอกาสไปร่วมงานมหกรรมสุขภาพชุมชน ในครั้งนี้ด้วยครับ
  • กำลังจะเขียนบันทึกอยู่เหมือนกันครับ
  • อิ่มอก อิ่มใจ ชื่นใจ จากงานในครั้งนี้ ...มากครับ

ขอบคุณ คุณอำนวย และkrutoi ที่แวะมาครับ

  • เสียดายที่พี่ไม่ได้ไป ไม่งั้นคงได้เจอกันเนอะ
  • ขอบคุณนะที่หมอนำมาเล่าสู่กันฟัง

เคยมนุษย์คนหนึ่งพูดกับผมว่า "คนที่พูดว่าเงินไม่สำคัญต่อการทำงานนั้น เพราะตอนนี้เค้ามีกินมีใช้ไม่เดือดร้อน ลองเค้ากลายมาเป็นคนจนหาเช้ากินค่ำซิจะรู้ว่าเงินมันจำเป็น"

สวัสดีครับ

  • นับเป็นอีกงานหนึ่งที่สร้างพลังคนทำงานชุมชนให้กระชุ่มกระชวยขึ้นมาอีกครั้ง
  • แต่ในวันนั้น จำได้ว่ามีเวทีคู่ขนานของกระทรวงฯ ในเรื่องของการผลักดันสปาไทยสู่สากล โดยมีกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพ
  • รวมไปถึงนโยบายการทำเมืองไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical HUB) ที่อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเน้นการบริการในระดับทอง ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพียงแต่ถ้ามีช่องว่างตรงนี้มากเกินไป อาจจะทำให้หมอรุ่นใหม่ๆ และคนที่จะเข้ามาทำงานชุมชนน้อยลง คุณภาพการบริการอาจจะต่างกันได้
  • ก็หวังว่างานนี้จะไม่เป็นเพียงการจุดประกายฝันเท่านั้น แต่จะก้าวไปพร้อมๆ กันของเครือข่ายการทำงานที่สร้างพลังได้จริง
  • ซึ่งผมก็จะขอเดินไปด้วยกันครับ

ด้วยความเคารพรัก

งาน นี้ ผมก็ได้ไปครับ คนเยอะมากๆ

สวัสดีครับ ขอบคุณที่แวะมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท