ทำความเข้าใจ "คนหลงใหล" ที่ใช้ภาพลักษณ์เป็นกระจก


คนประเภทหลงใหลที่สร้างภาพลักษณ์ตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของสังคม…นำตัวตนไปผูกติดกับภาพอุดมคติ (เพ้อฝัน) ที่อยากให้คนอื่นมองว่าเราเป็นแบบนั้น แบบนี้…

อาการของคนหลงใหล สืบเนื่องมาจากการยึดติดในอารมณ์รัก ความหลงใหลในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ไม่ว่าจะกับเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม หรือวัยที่สูงกว่าหรือน้อยกว่าตน 

 

คนที่ใช้หัวใจเป็นหลักในการดำเนินชีวิตมากเกินกว่าปกติ ...เน้นภาพลักษณ์ที่อยากให้คนอื่นมองเห็นว่าตนเป็นอย่างไร มากกว่าจะยอมรับในสิ่งที่ตนเป็นจริงๆ  

 

อธิบายคร่าว ๆ มาพอสังเขป แต่ก็คงไม่มีคำอธิบายใดจะชัดเจนได้ดีไปกว่าเรื่องจริง ของคนจริง ๆ ใช่ไหมคะบุคคลที่จะกล่าวต่อไปนี้ ปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับผู้เขียนแล้วค่ะ (เราขาดการติดต่อกันไปนานแล้ว) ขอยกตัวอย่างเพื่อประกอบการศึกษาเรื่องการรู้ตัวเพื่อการพัฒนานะคะ

 

 

คนแรกชื่อทิวา เป็นเด็กที่คุณปู่ของผู้เขียนรับมาเลี้ยงดู คุณปู่บอกว่าเป็นลูกภรรยาน้อยของน้องคุณปู่เองลำดับญาติดูนะคะ เกรงว่าจะงง พี่ทิวาอายุมากกว่าผู้เขียนไม่กี่ปี แต่เรียนมัธยมชั้นเดียวกัน อยู่คนละห้องเรากลับบ้านด้วยกัน และอยู่บ้านในอาณาบริเวณเดียวกัน โดยเธออยู่ในเรือนหลังเล็กติดกับห้องครัว(บ้านคุณปู่หลังใหญ่)  ผู้เขียนอยู่บ้านคุณปู่ได้ไม่นานก็ย้ายไปอยู่บ้านพักข้าราชการตามคุณพ่อคุณแม่ จึงห่างเหินจากพี่ทิวาไป

 

พี่ทิวาเป็นคนผิวขาวเหมือนคุณปู่ เป็นคนวางตัวดี มีบุคลิกท่าทางสง่างาม พูดจาเหมือนลูกผู้ดีผู้เขียนเคยเห็นคุณแม่ของพี่ทิวาไม่กี่ครั้ง ดูแตกต่างกันมาก คุณแม่พี่ทิวาเป็นคนผิวคล้ำ ผอมเกร็งเหมือนชาวสวนที่ตากแดดนาน ๆ

 

พี่ทิวาเรียนเก่ง และเป็นหัวหน้าห้องด้วย มีนักเรียนชายมารุมจีบกันเยอะวันดีคืนดี ก็ได้ข่าวว่าพี่ทิวาย้ายออกจากบ้านคุณปู่และย้ายออกจากโรงเรียนสาเหตุเพราะอะไรไม่ทราบได้ 

 

แต่สิ่งที่มากระทบกับตัวผู้เขียนคือเพื่อนห้องเดียวกับพี่ทิวาต่างพากันมาดักพบผู้เขียนและถามหาพี่ทิวาว่าไปอยู่ที่ไหนเพราะเป็นหัวหน้าห้องเก็บเงินค่าห้องไป จะมาขอรับคืน ผู้เขียนก็งงบอกว่าไม่รู้จริงๆ และพวกเพื่อน ๆ ของพี่ทิวาก็เปรยให้ฟังว่าเห็นว่ารวย มีฐานะไม่ใช่หรือ ทำไมเชิดเงินห้องเรียนหายไปและก็เห็นว่ามีคนใช้คอยนำเงินมาให้บ่อย ๆ หายไปด้วยกันเลย

 

ผู้เขียนก็งง ถามว่าคนไหน พวกเขาก็บอกผู้หญิงผอม ๆ ผิวคล้ำที่มาที่โรงเรียนบ่อย ๆ ผู้เขียนก็สะอึกเลยเล่นบอกว่าคุณแม่ตัวเองเป็นคนใช้

 

นั่นเป็นคนแรกและครั้งแรกในชีวิตที่ทำให้ผู้เขียนรู้จักคนประเภทหลงใหลที่สร้างภาพลักษณ์ตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของสังคมนำตัวตนไปผูกติดกับภาพอุดมคติ (เพ้อฝัน) ที่อยากให้คนอื่นมองว่าเราเป็นแบบนั้น แบบนี้

 

 

 

คนที่สองชื่อพี่นิตยา เธอเป็นผู้หญิงที่หน้าตาดี เท่ มีเสน่ห์ หัวเราะร่าเริง เป็นกันเองและมีนิสัยใจกว้าง ชอบให้สิ่งของแก่คนอื่น ๆ เธอมีเพื่อนมากมาย และติดเพื่อนมากไปไหนมาไหนก็จะมีเพื่อนฝูง บริวารห้อมล้อมเป็นผู้หญิงที่แต่งตัวได้ดูดี มีระดับ มียี่ห้อตั้งแต่หัวจรดเท้า

 

เธอบอกว่าเธอมีแฟนแล้วแต่ขณะเดียวกันเธอก็ไปติดพันเด็กหนุ่มที่ชื่อเดชอายุห่างกว่าเธอเป็นรอบ  เธอจะอ้างความเป็นพี่เป็นน้องและความเป็นคนบ้านเดียวกัน(จังหวัดบ้านเกิดเดียวกัน) ให้เด็กหนุ่มใสซื่อ (จริงหรือเปล่าไม่ทราบ) ไปรับ มาส่งเป็นประจำ  ทั้งที่เด็กหนุ่มก็มีแฟนสาวที่รอจะแต่งงานอยู่ที่จังหวัดบ้านเกิดนั้นแล้ว

 

วันดีคืนดี เธอก็มาร้องไห้คร่ำครวญว่าโดนแฟนสาวของเดชที่มีนามว่าอ้อนขู่ว่าจะมาตบมาตี มาราดน้ำกรดถ้ามายุ่งกับแฟนเธออีก  เธอบอกว่าเธอโดนคุกคาม  ข่มขู่หลายคนเชื่อตามที่เธอพูด  และไปไหนมาไหนเป็นเกราะกำบังช่วยเธอ ปลอบเธอกันใหญ่ผู้เขียนไม่ใช่ว่าไม่เชื่อที่เธอพูดเพียงแต่มองว่าถ้าเราไม่ไปยุ่งกับคู่เขาก่อน เขาก็คงไม่พูดจากับเราเช่นนี้

 

ผู้เขียนได้แต่บอกพี่นิตยาว่าลองอยู่ห่าง ๆ นายเดชสักพักดีไหม จะได้ไม่มีเรื่อง และก็ขู่เพิ่มไปว่าความหึงหวงของผู้หญิงทำให้เกิดอะไรที่คาดไม่ถึงก็ได้นะ  แต่แทนที่พี่เขาจะกลัวกลับถลำลึกพยายามทำตัวใกล้ชิดนายเดชมากขึ้น จนถึงวันหนึ่ง ก็ได้ข่าวว่าเดชกลับไปแต่งงานกับแฟนสาวที่ต่างจังหวัด

 

พี่นิตยาเสียสติไปพักใหญ่ และบอกใครต่อใครว่าอ้อนแฟนเดชเป็นคนบังคับให้เดชไปแต่งงานด้วยในที่สุด เดชต้องกลับมาหาเธออย่างแน่นอน ฟันธง

 

ไม่มีใครยืนยันได้ว่าสิ่งที่เธอพูดเป็นจริง หรือจะเป็นจริงในอนาคตหรือไม่แต่เธอก็จะตอกย้ำความหลงใหลของตนเองให้ใคร ๆ มองว่าผู้ชายคนนี้รักเธอ และจะต้องกลับมาหาเธออย่างแน่นอน  โดยที่เธอก็ลืมไปเลยว่า เธอมีแฟนแล้วเช่นกัน และเธอก็เคยบอกว่าเธอกำลังจะแต่งงานกันแฟนของเธอเร็ว ๆ นี้  ...นี่มันเรื่องอะไรกัน

 

 

 

คนที่สามชื่อพี่ดาว เธอผิดหวังในความรักจากการหย่าร้าง ทั้งที่อายุยังพึ่ง 30 กว่า ๆ เธอมีลูกชายคนหนึ่ง และก็เลี้ยงลูกคนเดียวแต่เธอก็มีความรักครั้งใหม่กับพัฒน์ผู้ชายที่อายุน้อยกว่าเธอถึงสิบปี พี่ดาวใช้ชีวิตร่วมกับพัฒน์ได้ไม่นานก็ต้องจากกัน เพราะพัฒน์อยากไปทำงานและเรียนต่อที่ต่างประเทศ

 

ตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่พวกเขาจากกัน ความสุขของพี่ดาวคือการโทรศัพท์ทางไกลคุยหากัน และเขียนจดหมาย (สมัยนั้นยังไม่ใช้ internet)

 

พี่ดาวเป็นผู้หญิงที่น่าสงสารในสายตาผู้เขียนมาก เพราะเธอผิดหวังเรื่องความรักมาก่อน และก็ไม่อยากให้เธอผิดหวังอีก  ผู้เขียนเคยยุให้พี่ดาวเปิดตัวคบหาผู้ชายคนอื่นบ้าง คนไกล ห่างกันทั้งระยะทาง และเวลาก็เนิ่นนานขนาดนี้ อาจจะไม่เหมือนเดิม และอีกอย่างหนึ่งก็คือนับวันผู้หญิงอายุมากขึ้นก็จะหมดโอกาสลงทุกที

 

พี่ดาวก็ไม่ฟัง หล่อเลี้ยงชีวิตด้วยความรักที่จับต้องอะไรไม่ได้เลย มีแต่ลม..และความเสน่หา หลงใหลในความทรงจำเดิมๆ ที่ เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งด้วยกัน ...เข้ากันได้ดี Born to be soulmate..

 

ผู้เขียนเห็นพี่ดาวติดต่อนายพัฒน์ตั้งแต่สาววัย 30 กว่า จนจะ 40 ปลายๆ จนวันหนึ่งก็เห็นพี่ดาวถึงกับอาการทรุดเข่าอ่อน เพราะนายพัฒน์เขียนจดหมายมาบอกเลิก และจะแต่งงานกับภรรยาเพื่อนตัวเองที่ไปพักอาศัยบ้านเดียวกันในต่างประเทศ โดยทั้งเพื่อนและภรรยาเพื่อนก็เขียนมา confirm ว่าพวกเขาจะอยู่กันแบบสามคนเป็นครอบครัวเดียวกันไม่ต้องแปลกใจมันเป็นเรื่องจริง... ไม่ต้องเดาว่าพี่ดาวจะด่าทอสาปแช่งไปอย่างไร เพราะมันนอกจากจะสะเทือนใจรับไปไม่ได้แล้ว ยังขยะแขยงสังคมฟรีเซ็กส์ในประเทศนั้นอีก...

 

เวลาที่คนเราอยู่กับความเพ้อฝันมาเป็นเวลายาวนานนับสิบกว่าปี และเวลาที่จะเผชิญกับความจริง (เกินไป) มันเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างมาก  พี่ดาวไม่มีอะไรจะนำมายึดสร้างฝัน หลอกให้ตัวเองอยู่กับความรักลม ๆ แล้ง ๆ ได้อีก  

 

เธอหายหน้าหายตาไปพักใหญ่ กว่าจะกลับมาเป็นผู้เป็นคนดำเนินชีวิตตามปกติได้ ที่เธอไม่เป็นอะไรมากไปกว่านี้ เพราะเธอมีลูกชายที่เธอต้องเลี้ยงดู

 

ตัวอย่างทั้งสามคนที่ยกมานั้น เป็นตัวอย่างของคนที่ใช้ศูนย์หัวใจเป็นหลักในการดำเนินชีวิตมากเกินไป เน้นความมีตัวตนโดยอิงกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้อื่น และสังคมที่อยู่รอบตัวหากคนอื่นไม่ยอมรับในแบบที่เขาอยากให้เป็น เขาก็รู้สึกว่าไม่มีตัวตน ไม่มีความคงอยู่อย่าแปลกใจเลยค่ะมีคนแบบนี้ในโลกจริงๆ  

 

ที่เล่ามาทั้งหมดอยากให้เราเข้าใจพวกเขามากกว่า  ความแตกต่างของพวกเขามาจากโลกทัศน์การมองโลกที่เป็นภาพลักษณ์เมื่อหลงใหลในภาพลักษณ์ใด ๆ มากเกินไปก็จะเกิดอาการหลงใหลและมีความสุข ปิติ ที่มีคนมาชื่นชม หากมีอาการในระดับพอดีก็ไม่มีทุกข์ หากเป็นมากก็เข้าข่ายฟุ้งซ่าน หมกมุ่นกับอารมณ์รัก ๆ ใคร่ๆ หลงใหล มากเกินไป จนไม่รู้ตัว ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว...ที่เราอาจจะเห็น แต่ไม่ได้สังเกต

 

ศูนย์หัวใจ ประกอบด้วยสามลักษณ์ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว

 

ลักษณ์สอง  อยากให้คนอื่นมองว่าเป็นผู้เสียสละ ช่วยเหลือผู้คน ยึดติดกับ 

                ความสัมพันธ์มิตรภาพ  และทำตัวเป็นนักสังคมสงเคราะห์   

                หากเป็นผู้เสียสละและช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนจริง 

                ก็เป็นคนดีจริง ๆ  อย่างเช่น แม่ชีเทเรซ่า ค่ะ

ลักษณ์สาม อยากให้คนอื่น สังคมยอมรับ เคารพยกย่องในแบบที่เขาอยากเป็น

               เช่น ถ้าเขาอยากเป็นผู้ประสบความสำเร็จ เขาก็จะไต่เต้าขึ้นสู่จุดที่

               เขาต้องการและให้ผู้อื่นยอมรับ  ถ้าเขาเป็นได้จริง ๆ โดยไม่

               หลอกลวงใครก็เป็นคนดีคนหนึ่งค่ะ  ตัวอย่าง ได้แก่ อดีต

               ประธานาธิบดี บิล คลินตัน

 

ลักษณสี่  อยากให้ผู้อื่นมองว่าพวกเขาเป็นคนพิเศษ แตกต่างจากคนทั่วไป พวก

             เขาจะสัมผัสถึงอารมณ์ลึกซึ้ง ความงามของธรรมชาติและไวต่อความ

             เข้าใจในอารมณ์ผู้อื่นได้ดี คนลักษณ์นี้มีจินตนาการสูง ตัวอย่างดี 

             ได้แก่ ท่านรพินทรนาถ ฐากูร และท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ค่ะ

หวังว่าคงเข้าใจคนศูนย์หัวใจทั้งสามลักษณ์นี้นะคะ  ตัวอย่างที่ยกมาก่อนหน้านี้ หากไม่รู้ตัว หลงลืมตนเอง ก็ยังไม่พัฒนาเข้าสู่กระบวนการ Self Transformation ค่ะ......ก็จะยังคงติดกับอารมณ์หลงใหล อันเป็นเหตุแห่งทุกข์นี้ต่อไปค่ะ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 243535เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

คนที่หลอกตัวเองเป็นคนที่ไม่มีความจริงใจให้ใครทั้งโลก..เพราะแม้แต่ตัวเองยังหลอกเลยนะคะ..คิดถึงจังค่ะ

อ่านเพลินครับ อาจารย์

วิเคราะห์เจาะลึก ทำให้เข้าใจลักษณ์มากขึ้น

ขอบคุณครับ

.....ยังไม่รู้เลยครับ ว่าพันคำเป็นลักษณ์ไหน เหมือนโน้นนิด เหมือนนี่หน่อย ไม่ฟันธง

ไว้จะมาติดตามต่อครับ

 

  • คุณ add P ไม่ต้องหลอกใครเลย ก็มีแต่คนมาหลงค่ะ
  • อยากอยู่ใกล้ อยากเห็นหน้าจัง คนอะไรเสน่ห์ส่งมาทาง online ได้ด้วย

 

ช่วงวัยรุ่นๆ การหลอกตัวเองบางครั้งก็มีความสุข แต่อย่าหลอกตัวเองนานเกินไป เพราะยิ่งนานยิ่งเจ็บนะคะ

  • เรียนท่านอาจารย์พันคำ P สิ่งที่เหมือนกันอาจเป็นภายนอกที่เราเลียนแบบกันและกันค่ะ
  • เวลาดูว่าเราเป็นลักษณ์ไหน ดูจากภายในที่เป็นแรงจูงใจในการผลักดันพฤติกรรมออกมาค่ะ  เชื่อว่าหากท่านอาจารย์พันคำได้เรียนรู้ทะลุเมื่อไร อ่านใจคนได้แน่ ๆ ค่ะ
  • ศิลาไม่ได้อยากอ่านใจใคร แต่เรียนรู้ไว้เพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง เพราะทำให้เราเข้าใจ "ทุกข์" และจะได้ปล่อยวางได้ค่ะ

มีเสียงกระซิบว่าพี่ศิลาเล่าเรื่องหลงต่อ ก็เลยตามมาอ่าน

ชอบอ่านชีวิตจริง จะได้ไว้เรียนรู้ดูใจคนรอบข้าง เพื่อเข้าใจ

และปรับตัวเข้าหากัน อ่านแล้วสงสารคนที่ยึดติดกับอารมณ์ค่ะ

งั้นมาส่งเสน่ห์ทางonline อีกรอบนะคะ..อิอิ..เขินเขิน...

ได้ความรู้และลักษณะคนดีจังค่ะ..พี่ศิลา..

อ่านซะเพลินเลยค่ะ..หนุกดีค่ะ..

ขอบคุณนะคะ..พี่ศิลา^^

มาอ่านเรื่องจริงผ่านจอ (คอมฯ) 555

เคยมีเพื่อนแบบนี้ แต่หลงใหลดารา คลั่งไคล้เป็นแฟนคลับดาราเด็กหนุ่มหล่อ ๆ เข้าข่ายไหมคะ ประมาณว่าแม่ยกว่างั้นเถอะ

สวัสดีครับ ขออนุญาตเข้ามาเรียนรู้ (น่าจะเป็นเรื่องความทุกข์)นะครับ

เข้ามาเรียนรู้ด้วยค่ะคุณศิลา ชอบงานเขียนของคุณศิลา ให้และเตือนสติในการคิดได้ดี แอบก๊อบปี่เอาไปให้นักเรียนวัยรุ่นอ่านบ้าง ขออนุญาตตรงนี้นะคะ ขอบคุณมากที่นำสิ่งดีๆมาให้อ่านค่ะ

ผมแวะมาอ่าน เพื่อพักสายตา จากงานประจำ ประมาณ 10 นาที

อ่าน บทความของคุณ ในไดอารี่ ฉบับนี้ ได้ความรู้จากประสบการณ์ จริง อิงกับบรรทัดฐานความรู้ ยอดเยี่ยม จังเลยครับ

 คุณ Sila Phu-Chaya

  ขอบคุณ ครับ

ขออนุญาต Bookmark ไว้ก่อนครับ แล้วจะเข้ามาคุยด้วยครับ :)

ขอบคุณครับ

  • สวัสีดค่ะคุณแก้ว... อุบล P  หลอกตัวเองบ้างเพื่อให้มีความสุข ความหวังก็ดีค่ะ...แต่ในเรื่องที่นำเสนอ ความไม่รู้ตัวทำให้ไปหลอกคนอื่นก็เลยกลายเป็นคนหลงใหลในภาพลักษณ์ที่ปรุงแต่งเอง
  • ช่วงเด็ก ๆ เราคงทำอะไรกันไว้มากมายตามวัยแห่งความฝัน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ความจริงดูต่างจากความฝันมากนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยียน

 

  • ขอบคุณคุณมะไฟที่แวะมาอ่านค่ะ การใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นเรื่องที่ดีในแง่การปลดปล่อยความเป็นธรรมชาติของคนเองออกมา แต่ถ้าปราศจากการควบคุมพลังงานนี้ให้อยู่ในความพอดี อารมณ์ก็จะฟุ้งปรุงแต่งได้ค่ะ
  • แค่อยากเรียนรู้เพื่อเข้าใจตัวเองและผู้อื่นก็เป็นพื้นฐานของความเมตตาและสันติที่มีต่อกันในโลกใบนี้แล้วค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณ Sila Phu -Chaya
  • "เมื่อหลงใหลในภาพลักษณ์ใด ๆ มากเกินไปก็จะเกิดอาการหลงใหล…และมีความสุข ปิติ ที่มีคนมาชื่นชม หากมีอาการในระดับพอดีก็ไม่มีทุกข์ หากเป็นมากก็เข้าข่ายฟุ้งซ่าน หมกมุ่นกับอารมณ์รัก ๆ ใคร่ๆ หลงใหล มากเกินไป จนไม่รู้ตัว ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว...ที่เราอาจจะเห็น แต่ไม่ได้สังเกต"
  • ต้องระวังตัวเองไม่ให้หลง...นะคะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีค่ะ 
  • ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ศิลา

อ่านแล้วรู้สึก แป่ววววววววววววววววววว

ต้องสำรวจดูว่า ตนมีความหลงอะไรอยู่มั่งน่ะค่ะ

อิอิ

เอาไอ้นี่มาฝากค่ะ

http://www.horhook.com/section/spinyarns/new/01726.html

  • แวะมาไปเยี่ยมคุณ add มาเพื่อกำลังใจที่สูญเสียบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งชีวิต
  • รู้สึกว่า G2K แห่งนี้ มีเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมากมาย เข้ามาก็หายเศร้า หายเครียดได้เหมือนกัน
  • จึงไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความรู้ แต่มีมิติของการแลกเปลี่ยนความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันด้วยค่ะ
  • ความรักที่ไม่รู้จบคงส่งถึงคุณ add นะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูแอ๊ว P ที่แวะมาเยี่ยม ส่วนใหญ่ของนิยายนำมาจากเรื่องจริงค่ะ และเรื่องจริงก็ช่วยสะท้อนบุคลิกลักษณะของผู้คนที่หลากหลาย ถ้าเราเข้าใจรากแห่งที่มาของเขา เราก็จะมีเมตตาในสิ่งที่เขาแสดงออกต่อเราค่ะ หลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้เรื่อง "คน" เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มองโลกผ่านตัวเราฝ่ายเดียวได้จริง ๆ ค่ะ

  • สวัสดีค่ะคุณละอองดาว กรณีแม่ยกถ้าไม่ทุ่มจนหมดตัวยกให้เป็นข้อยกเว้นค่ะ ถือว่าเป็นการกระจายรายได้ช่วยเด็กที่กำลังหาเลี้ยงตัวค่ะ 555

เจริญพร โยมศิลา

ความสับสนวุ่นวายในโลกนี้ มีสาเหตุมาจาก

คำพูดเท็จหลอกลวงของคนเราทั้งนั้น

อยู่้แบบประเภท รู้จักชื่อ รู้จักหน้า แต่ไม่รู้จักใจ

เจริญพร

ขอบคุณบันทึกและเคสตัวอย่างนะครับ...

  • สวัสดีค่ะคุณหนุ่มกร P โลภ โกรธ หลง เกินความพอดี ทุกข์ทั้งสิ้นค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม
  • ยินดีอย่างยิ่งค่ะคุณน้องทรายชล P 
  • เป็นความยากเหมือนกันค่ะสำหรับความกล้าที่จะเปิดเผยเรื่องราวชีวิตผู้คนเพื่อทำการศึกษา เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการพาดพิง หรือเม้าท์สู่กันฟัง
  • ในที่สุดพี่ศิลาก็ทำลายกำแพงความกังวลนั้น เนื่องจากมีผู้เชียร์ว่าทำความดี ตั้งใจดี ไม่ต้องกลัวผลกระทบ  เชื่อว่าสังคมดี ๆ ต่างมีความเข้าใจในภูมิปัญญาและเคารพซึ่งกันและกันอยู่แล้วค่ะ

เมื่อหลายวันก่อนไปฟังพระเทศนาจากพระอาจารย์ อดุลย์ เมธังกุโร (เมธา+อังกูร=หน่อเนื้อนักปราชญ์) มาได้คาถามาบทหนึ่งท่องว่า

โอม มณี ปัทมี ฮุม

โอม มาจากอะ+อุ/โอ+มะ แปลว่า

อ =อรหันต์ (หมายถึง พระพุทธเจ้า- ไกลจากกิเลส)
อุ=อุตมะ (หมายพระธรรม-มีลักษณ์อุดม)
ม=มหาสงฆ์(หมายถึงพระสงฆ์-มหาสังฆสมาคม)


มณี แปลว่าแก้ว หรือสิ่งประเสริฐ (การตื่นรู้)
ปัทมี แปลว่า ดอกบัว/ใจ

ฮุม แปลว่าอะไรก็ช่างมันเถอะ

แต่ โอม มณี ปัทมี แปลว่า ในใจมีแก้วมณี หรือแปลให้ลึกกว่านั้นก็คือ ในใจ(ฉัน)นี้ ตื่นรู้แล้ว

เตือนตัวเองโดยท่องคาถานี้ วันละหลายๆ รอบก็อาจจะตื่นรู้ได้ นะครับ ลองค้นดูมี เสียงสวดด้วย

http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/6892

เรื่องใหลหลง น่าเป็นทุกข์  สุขปลอมๆ สุขที่แท้เราละทิ้งกัน และวิ่งหาสิ่งปลอมๆที่มีความรสชาติ และเป็นรสชาติที่จิตปรุงแต่งว่าดี หลงตัวเองก็เพราะปรุงขึ้นมา ..ปรุงขึ้นมา กรณีตัวอย่าง

พี่มองว่ามนุษย์ ห่างไกลธรรมะ เหตุปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น และทำร้ายตนเองค่ะ

สวัสดีค่ะ  พี่ศิลา

ขอบคุณค่ะกับเรื่องราว  และตัวอย่างให้เห็นชัดเจนดีค่ะ

อ่านแล้ว ขอความรู้เพิ่มเติมนะคะ คือไม่แน่ใจว่าตนเองเข้าใจถูกไหม

ว่า อยากที่เป็นคำนำหน้าในแต่ละลักษณ์ ตนเองรู้สึกว่าอ่านแล้ว

มันคือ ภาพที่คนอื่นมอง ว่าเขาอยาก อย่างนั้น อย่างนี้ อันนี้ คือ ภาพภายนอกใช่ไหมคะ

เราจับได้ว่า มันเป็นอย่างนั้น เป็นการมอง เห็นและคิดไป เมื่อ แต่ละคน เจอคนลักษณืเหล่านั้น แต่หากถามใจคนเป็นจริงๆ ในตัวตนภายในของเขา ถามว่า เขาอยากพิเศษ

กว่าคนอื่นไหม เขาอยากเด่นกว่าคนอื่นไหม ตรงนั้น มันอาจจะไม่ใช่หรือว่ามันอาจจะใช่

ก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง ใช่ไหมคะ แต่ภาพที่คนภายนอกเห็นของแต่ละลักษณ์มักมีด้านเดียว เป็นสำคัญ อันนี้เป็นเพราะคนเรามักมองเห็นด้าน แฮ่ะๆ ไม่ดีของคนหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ภาพภายนอกที่คนเห็นนั้น มันก็อาจมีประโยชน์ในแง่การจำแนกสุข ทุกข์

ความเข้าใจคน มากกว่าไปมองเขาอย่างตัดสิน ทุกคน ก็มีภาพทั้งนั้น ภาพที่คนอื่นเห็น

แต่ภาพของเราเองนั้น เรามักไม่เห็น เช่นเดียวกับที่คนอื่น ก้ไม่เห็น ภาพภายนอกที่คนอื่นเห็น อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ให้เรามองภาพภายในของตนเองได้เช่นกัน ถ้าเราใจเย็น

รับฟัง (วงเล็บ จากการค่อยๆอ่านไป) อย่างภาพภายในที่แท้จริงของคนศูนย์ใจ

คือ ความหลงใหล ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เขากระทำ แต่ก็ไม่ใช่ความอยาก

อย่างภาพที่คนอื่นมอง แต่คนอื่นก็มีสิทธิ์ที่จะมองอย่างนั้น ตามการประมวลได้ จากการจำได้หมายรู้ คิด วิเคราะห์ ตามลักษณะภายนอกที่กำหนด แบบนั้นไหมคะ

อยากฟัง ศูนย์หัว และ ศูนย์ ท้อง บ้างค่ะ ว่า หากจับ จากความหลงใหล พวกเขาแตกต่างไปอย่างไร

ขอบพระคุณค่ะ

  • ขอคุยกับ "คุณสนใจค่ะ" ก่อนท่านอื่นนะคะ
  • ศิลากำลังจะเสนอความเห็นค่ะ ถ้ายังอยู่ใน G2K โปรดรอสักครู่นะคะ
  • ทานของว่างรอก่อนก็ได้ค่ะ

·         ขอเริ่มต้นก่อนว่าเรากำลังพูดคุยกันในบริบททางจิตวิทยาตามแนวนพลักษณ์นะคะ

·         นพลักษณ์มีมานานนับสหัสวรรษ โดยอาจารย์กลุ่มซูฟี นักภาวนาในศาสนาอิสลาม และมาแพร่หลายเป็นที่นิยมในยุโรปจากการนำเข้ามาโดย จี.ไอ.เกอร์ดเจฟ แก่นแท้คือการเข้าถึงตนเองเพื่อการยกระดับทางจิตวิญญาณ

·         นพลักษณ์เป็นการรวมรวม “คำอธิบายเกี่ยวกับตัวตนจากการสังเกตตนเอง” แล้วจึงแบ่งแยกประเภทตามกิเลสของมนุษย์ได้ 9 ลักษณ์

·         กล่าวได้ว่านพลักษณ์ไม่ใช่การคิด เขียนตำราขึ้นมาเองเป็นหลักทฤษฎีตามความเชื่อความเข้าใจของนักคิดคนใดคนหนึ่ง แต่มาจากการรวบรวม self description และการสังเกตพฤติกรรมมนุษย์ออกมาอย่างเป็นระบบ เป็นสถิติ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และการกระทำ “ที่มาของศาสตร์นี้ก็คือคำพูดเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวตนของแต่ละลักษณ์ และมีการรวบรวมยืนยันกันมาเรื่อย ๆ”

·         กลับมาที่คำถามของคุณนะคะ

·         ให้มองที่ “การสังเกตตัวตนของตนเอง” เป็นหลัก

·         ตัวอย่างความหลงที่ศิลายกมาในบันทึกนี้ คือปัญหาของการไม่ได้สังเกตตนเอง หลงลืมตัวเอง   แต่ไปยึดติดกับการให้คนอื่นมองภาพตนเองอย่างไร  ซึ่งเป็นกรณีของศูนย์หัวใจ ที่ให้ความสำคัญกับ Image มากเกินไป

·         ทดสอบถามศูนย์อื่นดูได้ค่ะ (ถ้าเข้าใจเรื่องศูนย์ต่าง ๆ แล้วนะคะ) เขาจะอธิบายเรื่องนี้อีกมิติหนึ่ง ไม่ได้ยึดติดกับ "ภาพลักษณ์" มากนัก

·         คำอธิบายในเรื่องอะไรก็แล้วแต่ก็สะท้อนลักษณ์ค่ะ วิธีนำเสนอเนื้อหา การเขียน การถ่ายทอด วิธีการมองโลกก็สะท้อนเช่นกันค่ะ

·         แต่ให้มองว่าสะท้อนตัวเราออกมา แล้วมองกลับมาที่ตัวเรา ตามดูตัวเรา ไม่เกี่ยวกับว่าคนอื่นมองเราอย่างไร จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของการศึกษานพลักษณ์

  • เมื่อเราเข้าใจตนเองแล้ว เราก็จะมีหลักในการสังเกต และเมื่อเราศึกษาทั้ง 9 ลักษณ์ เราก็จะมองเห็นและเข้าใจลักษณ์เดียวกับเรา และลักษณ์ที่ต่างจากเราอย่างมีเมตตา เพราะเราทราบที่มาของการเป็นเช่นนั้นเองของเราและเขาค่ะ
  • สิ่งที่ศิลาพบหลังจากศึกษาเรื่องนี้ คือกัลยาณมิตรที่ร่วมศึกษามีจิตที่อ่อนโยน อ่อนน้อมมาก ทุกท่านที่ไปอบรม (มาแล้ว) จะแลกเปลี่ยนกันด้วยความเข้าใจตัวตนซึ่งกันและกันและถ้อยทีถ้อยอาศัย คล้าย ๆ สังคม G2K อาจจะเพิ่มมิติตรงที่ลปรร จากการเข้าถึงซึ่งกันและกันค่ะ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาตนเองและผู้อื่น (ตามแนวจิตวิทยานะคะ) จะว่าไปกัลยาณมิตรที่ศึกษาเรื่องนี้คือพี่เมธี เป็นลักษณ์ 4  ที่อธิบายภาพลักษณ์ได้เข้าถึงมาก ผู้ศึกษาที่อยู่ต่างลักษณ์กันต้องอาศัยกันและกันในการอธิบายค่ะ

·         ศิลาอธิบายเป็นตัวหนังสือได้เท่านี้ ใจจริง อยากให้ลองไปอบรมกันดูตามสถานอบรมต่างๆ ที่มีไว้ค่ะ ลองค้นในเว็บไซต์เพียงพิมพ์คำว่านพลักษณ์

·         หากสนใจ แต่ไม่สะดวกไป มาแลกเปลี่ยนกับศิลาหลังไมค์ email มาได้ค่ะ เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ควรทำความเข้าใจในระดับหนึ่งแล้ว หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น จึงค่อยเผยแพร่ต่อไปค่ะ

·         นพลักษณ์เป็นเพียงคำอธิบายตัวตน เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการเข้าถึงตัวเองอย่างลึกซึ้งเท่านั้น

·         บทสรุปสุดท้าย วิธีการดับทุกข์แท้จริงคือหลักธรรม ค่ะ

บทสรุปสุดท้าย วิธีการดับทุกข์แท้จริงคือหลักธรรม ค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับคำตอบ และของว่าง ของอาจารย์

เขียนคำถามเสร็จปุ๊บ ออกเลยค่ะ

กลับมาอีกที มีคำตอบแล้ว จะค่อยๆทำความเข้าใจ ไปนะคะ

ทำไม ไม่ทำความเข้าใจเสียเลย ไม่รู้สิ คะ มัน อาจจะเป็นไป ตามลักษณ์

แบบเรานะคะ อิอิ มันเหมือน มีเหตุผล มากเลยค่ะ อาจารย์ เหตุที่จริงจัง

ทีดี เราจะได้เข้าใจ มันดี ขึ้นไงคะ แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่ดีคือ ขี้เกียจแล้วค่ะ

มันเมื่อยแล้วอ่ะ นั่งคิด นั่งคุยมาแต่เช้าแล้ว ถ้าไม่ปัดความรังเกียจเจ้าความขี้เกียจออกไป บางทีก็เจอเหตุผลอันควรแก่การลงมือหรือไม่ลงมือกระทำอะไรบางอย่างได้เหมือนกันใช่ไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมเคยเห็น..ลักษณะคนแบบที่น้องศิลาเล่าก็มากมายนะคะ ก็ได้แต่คิดเอาใจช่วยว่า..ทำอย่างไรหนอเขาจึงจะรู้ตัวตนสักที
  • ปัจจุบัน..พบอีกคนดูจะคิดว่าตัวเองเก่งดี รวย สวย ทำอะไรก็ไม่มีที่ติ ลูกสาวสวย ดี สามีเลิศเลอ แต่..คนที่อยู่รอบข้างเธอเสียหายในสายตาเธอทุกคน เธอรู้ความบกพร่องของคนอื่นทั้งหมด และสามารถเปลี่ยนแปลงคำพูดได้ทันตาจาก..ใช่เป็นไม่ใช่
  • สาเหตุ..เธอไม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ สภาพแวดล้อมก็ไม่มีคนรู้อยู่รอบข้าง
  • ช่างพูด ช่างคุย คุยได้ทุกเรื่อง ไม่ชอบรับฟัง คุยในขณะที่คนอื่นหรือเด็ก ๆนั่งสมาธิ
  • เห็นรอยยิ้มของเธอก็ยังพบความทุกข์หม่นหมองในดวงตา ใบหน้าไม่ผ่องใสสมวัยของสตรีเพศ
  • ว่า..เขาในทางลบหรือเปล่านี่
  • ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะคะ สำหรับ "คุณสนใจค่ะ"
  • นพลักษณ์ช่วยให้เราเข้าถึงตัวตนของตนเอง เราจะเห็นว่ากิเลสอะไรที่เราหมกมุ่นอยู่กับมันมากที่สุดกว่ากิเลสตัวอื่น ๆ
  • ความขี้เกียจ ก็เป็นกิเลสตัวหนึ่ง เราก็รู้ ตามดูความขี้เกียจไปเรื่อย ๆ ค่ะ ไม่ต้องรังเกียจหรือปฏฺิเสธสิ่งที่เราเป็น เราจะเห็นการเกิดขึ้นและการดับเป็นระยะ ๆ ...แค่นี้ก่อนค่ะ ในการฝึกฝนเรียนรู้ตัวเองเบื้องต้น
  • ศิลาก็มีกิเลสตัวหนึ่งที่เฝ้าตามดูอยู่ ดูไปเรื่อย ๆ ค่ะ
  • คนธรรมดาอย่างเรายังต้องเคล้าเคลียกิเลสและคนอื่น ๆ หลากหลายมากมาย เพียงแค่รู้ ตามดู ก็พอ อาจจะยังไม่ถึงขั้นละวาง
  • ถ้าเป้าหมายขั้นพื้นฐานคือการปรับตัวอยู่ในสังคม นพลักษณ์ก็จะช่วยตอบโจทย์ในการทำความเข้าใจซึ่งกันและกันค่ะ
  • สิ่งที่ศิลาประทับใจจากการศึกษานพลักษณ์กับการปฏฺิบัติธรรม ขอยกมากล่าวในที่นี้อีกครั้ง ซึ่งเป็นคำตอบของตนเองให้กับคุณปานวาด (ขออภัยหากจำคลาดเคลื่อน)
  • 1. ความกล้าในการแสดงตัวตนและยอมรับตัวเอง
  • 2. ความอ่อนน้อนถ่อมตน ในการยอมรับตัวตนของผู้อื่นค่ะ
  • บางท่าน (ที่เคยคุยกันตรง ๆ) ไม่ขอศึกษาเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าคนอื่นจะรู้จักกิเลสตัวเอง หรือกลัวที่ตนจะเห็นอัตตาตัวเองค่ะ
  • จริง ๆ แล้วหากเรา รู้ตัวเราก่อน เราก็จะรู้ว่าเราเฝ้าดูอะไรอยู่  จริงไหมค่ะ
  • หาก "คุณสนใจค่ะ" รู้ว่ามีกิเลสขี้เกียจ นั่นคือการสังเกตตัวเองและการเฝ้าดูตัวเอง...สุดยอดแล้วค่ะ เป็นความกล้าหาญในการตระหนักรู้ตนเองและยอมรับตนเองค่ะ
  • เรามาดูตัวเราเองกันเถอะค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ sila

ผมเข้ามาทักทายคุณ sila

ก่อนกลับบ้าน

มีความสุขกับวันหยุด นะครับ

 

  • ยกตัวอย่างได้ดีมากค่ะ
  • เข้าใจ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท