จาก การสอนให้ "คิดต่างมุม" สู่ การเขียนให้ "ถึงเหตุผล"


 

อ่านหนังสือคุณหนุ่มเมืองจันท์ ชื่อ ฝันใกล้ใกล้ ไปช้าช้า (ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๔) ตอน เปลี่ยนมุมมอง

มีวิธีการสอนเรียนการสอนเด็กแบบให้เด็กรู้จัก "คิด" แทนที่จะให้ "จำ" เพียงอย่างเดียว จากประสบการณ์ของเพื่อนคุณหนุ่มเมืองจันท์ที่ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ ดังนี้

.......................................................................................................................................

 

"...ตัวอย่างหนึ่งที่ผมชอบมาก คือ ครูให้นักเรียนเขียนจดหมายถึงแม่

สมมติสถานการณ์ว่า ถ้านักเรียนจะขอย้ายไปอยู่กับแฟน

เราจะให้เหตุผลกับแม่อย่างไร แม่จึงจะยอมรับ

ให้เรียบเรียงเป็นจดหมายส่งในวันรุ่งขึ้น

 

พอวันรุ่งขึ้น ครูจะสร้างสถานการณ์ใหม่ สมมติให้เด็กนักเรียนเป็นแม่

คราวนี้ให้เขียนจดหมายถึงลูกที่ขอย้ายไปอยู่กับแฟน

เราจะให้เหตุผลคัดค้านลูกอย่างไร

ผมไม่รู้ว่าครูสรุปเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร แต่ฟังเท่านี้ก็อึ้งแล้ว

นี่คือ "การสอนแบบไม่ต้องสอน"

สอนให้นักเรียนรู้จักคิดเอง

และสอนให้รู้จักคิดต่างมุม

 

ไม่ต้องมาสอนให้นักเรียนท่องจำว่า วัยนี้เป็นวัยเรียน อย่าริรักในวัยเรียนนะ

แต่ใช้วิธีให้นักเรียนรู้จักคิดต่างมุม

เริ่มจากการคิดจากมุมของตัวเขา และไม่ใช่คิดด้วย "ความรู้สึก"

แต่คิดแบบมีเหตุผล

พอคิดจากมุมของตัวนักเรียนเสร็จ ก็เปลี่ยนองศาใหม่ เปลี่ยนมุมมองใหม่

ลองคิดจากมุมของคนที่เป็นแม่ดูบ้าง

ทุกคนคงยอมรับว่า คงยากที่แม่คนไหนจะเห็นด้วยกับลูกที่เรียนแค่ระดับ "ไฮสกูล" จะย้ายไปอยู่กับแฟน

เมื่อแม่ทุกคนคิดเหมือนกันก็แสดงว่า แม่ต้องมีเหตุผลของแม่

จดหมายที่ให้นักเรียนจึงเริ่มต้นด้วย "จุดยืน" ที่เหมือนกัน

คือ "ไม่เห็นด้วย"

 

อะไรคือเหตุผลของคนที่เป็นแม่

ไม่บอก แต่ให้คิดเอง

ลองคิดแบบเข้าใจคนเป็นแม่ และเรียบเรียงเหตุผลออกมา

ผมเชื่อว่า เมื่อนักเรียนถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องคิดแบบ "แม่"

เขาจะเข้าใจ "แม่" มากขึ้น

เข้าใจมุมมอง เข้าใจเหตุผลของคนที่เป็น "แม่"

อาจไม่ครบร้อย แต่เข้าใจมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

การสอนให้ "คิดต่างมุม" จะทำให้เขาเข้าใจคนอื่นดียิ่งขึ้น

และคิดแน่นทนนานกว่าการสอนแบบท่องจำ

เพราะท่องจำนั้นอาจพูดได้ แต่ไม่เข้าใจ

ส่วนการคิดต่างมุมนั้นท่องไม่ได้

แต่จดจำนาน

 

ผมชอบที่ครูใช้การเขียนจดหมายแทนการพูด

เพราะการเขียนคือการเรียบเรียงความคิดที่ดีที่สุด

ผมใช้วิธีนี้เป็นประจำ เวลาเจอน้อง ๆ ที่มีอาการสับสนทางจิต

คิดไม่ออกว่าจะเลือกทางไหนดี

ผมจะเสนอให้ใช้วิธีการเขียน แยกแยะเหตุผลเป็นข้อ ๆ

ข้อดีมีอะไรบ้าง ข้อเสียมีอะไรบ้าง

เหตุผลที่เสนอให้ใช้วิธีการเขียนมีอยู่ ๒ ข้อ

 

ข้อแรก ... เป็นการยึดเวลาให้กับตัวเราเอง

คิดไม่ออกแต่ดู "เท่"

ยึดเวลาได้ตั้งหลายวัน

 

ข้อที่สอง ... ผมเชื่อว่า การเขียนคือการเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบได้ดีที่สุด

พอบังคับตัวเองว่า ต้องเขียน

ความคิดที่กระเจิดกระเจิงจะเริ่มเป็นระบบ

"เหตุผล" เวลาอยู่ในสมองจะมีนิสัยเหมือนเด็กช่างกลชอบยกพวกตีกันเป็นประจำ

 

แต่การเขียนเหมือนการเป่านกหวีดจัดระเบียบ "เหตุผล"

จาก "สมอง" สู่ "แขน" ไป "มือ"

พอเรียงร้อยเป็นตัวอักษร มันผ่านกระบวนการกลั่นกรองมากมาย

"เหตุผล" ที่ยกพวกตีกัน พอเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ

บางทีเราจะตกใจที่คิดว่ามีกันมากมายหลายสิบหลายร้อย

แต่จริง ๆ มีแค่ไม่กี่ข้อ

จากนั้นก็ตัดสินใจไม่ยากว่าควรเลือกหนทางใดดีกว่ากัน

 

การรู้จักเปลี่ยนมุมความคิดนั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิต

เพราะการเข้าใจคนอื่นจะทำให้เรามีมุมมองที่หลากหลายขึ้น

ไม่ตัดสินอะไรจากมุมมองของเราเพียงด้านเดียว

 

..."

 

 

......................................................................................................................................

โห... คุณหนุ่มเมืองจันท์เขียนไว้ดีจริง ๆ ครับ

วิธีการสอนให้ "คิดต่างมุม" นี่ ... ทำให้เด็กรู้จักการใช้เหตุผลมากขึ้น

วิธีการสอนให้ "เขียน"  ... เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กมีโอกาสใช้เหตุผล

เห็นเรื่อง "การเขียน" ทีไร นึกถึงการเขียนบันทึกใน Gotoknow ทุกที

คงเป็นกระบวนการเรียบเรียงความนึกคิดเช่นกันนะครับ

ไม่ว่า "เด็ก" หรือ "ผู้ใหญ่" ก็สามารถใช้วิธีการเขียนได้เหมือนกัน

แตกต่างกันตรงเหตุผลและวิธีการเลือกใช้เท่านั้น

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน

บุญรักษา ครับ :)

 

......................................................................................................................................

แหล่งอ้างอิง 

หนุ่มเมืองจันท์.  ฝันใกล้ใกล้ ไปช้าช้า.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ : มติชน, 2551.

.......................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 243014เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2009 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

คุณว่าสวัสดีมั้ย(wasawatdeemarn)

ชื่อนี้ กออ่านไม่ออก กอเลยเรียก คุณว่าสวัสดีมั้ย ถูกต้องมั้ยค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ ที่เขียนบันทึกนี้ขึ้นมาให้กอได้อ่าน

เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โชคดีจังเลย

ขอบคุณน่ะค่ะ โชคดีมีความสุขมาก ๆ ค่ะ

เยี่ยม..ค่ะ เข้าทำนอง "..เอาใจเขามาใส่ใจเรา.."

อย่าด่วน "ตัดสิน" คนอื่น..

จะเข้ามาศึกษาอีกค่ะ

สวัสดีครับคุณWasawat Deemarn
ชอบวิธีเขียนจดหมายมากๆครับ อาจารย์น่ารักๆอย่างนี้ ใครก็อยากเรียนด้วยใช่มั้ยครับ

อีกอย่างมันทำให้เรารู้จักเด็กมากขึ้น และเค้าก็รู้จักตัวเองและคิดถึงคนอื่นด้วย

ขอบคุณมากเลยนะครับที่คัดเอามาให้อ่าน ตัวเองไม่เคยได้เรียนวิธีนั้นมาก่อนเลย :) น่าเอาไปใช้บ้างครับ

สวัสดีครับ คุณ ก้านกอคลับ :)

เรียนเชิญหาคำตอบของที่มาของชื่อที่บันทึกนี้ครับ

ที่มาของชื่อ "วสวัตดีมาร"

ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยือน :)

ขอบคุณครับ คุณ adayday ... ลองใช้จึงจะเป็นประโยชน์ครับ :)

สวัสดีค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

  • เทียนน้อยชอบวิธีสอนจังค่ะ
  • ขออนุญาตินำไปใช้กับลูกๆในปีการศึกษาหน้าบ้างนะคะ
  • บ่อยครั้งที่เราพร่ำสอนให้คิดตามมากกว่าสอนให้คิดเอง
  • บางครั้งก็ต้องตบๆแปะๆให้เข้ารูปเข้ารอย
  • ปีการศึกษาหน้าก็ต้องรับลูกสาวลูกชายมาใหม่
  • ชุดเก่าออกไปจากอกแม่ไปสู่โลกกว้างแล้ว ...
  • ขอบคุณค่ะอาจารย์

อ่านแล้วรู้สึกดีจังเลยค่ะ

ขอบคุณที่นำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

สวัสดีครับอาจารย์ อ่านบ่อยครับ หนุ่มเมืองจันทร์ได้ข้อคิดดีเสมอ

แลกเปลี่ยนกันอ่านครับ อาจารย์ "ชายบ้าและหญิงใบ้" ของวีระศักดิ์ ขันแก้ว นักเขียนผู้ผันตัวจากคณะทรัพฯ มอ.มารับรู้เสียงของคนที่สังคมไม่รับรู้ว่ามีเสียงครับ

ขอบคุณอาจารย์ แล้วจะมาคุยต่อครับ

  • ดีมากเลยนะครับ
  • จะลองนำไปใช้ในห้องเรียนครับ

ชยพร แอคะรัจน์

@ "คิดต่างมุม" และ "มองต่าง" แบบ 360 องศา

@ เหรียญ(บาท)มี 2 ด้านเสมอ..

@ เรียน "ครูที่ดี" และให้คิดในมุมกลับ "บทบาทการเป็นนักศึกษาที่ดี" นักศึกษาแอบอมยิ้มแทบทุกคน...

@ ขอบพระคุณครับอาจารย์ "วสวันดีมาร"

@ เป็นสิ่งไม่น่าให้อภัยยิ่ง..ขอประทานโทษครับ

@ ขอบพระคุณอาจารย์ "วสวัตดีมาร"

  • สวัสดีค่ะ
  • เคยอ่านหนังสือที่แนะนำให้พ่อแม่อ่านว่าจะสอนเพศศึกษาแก่ลูกอย่างไร
  • เขาก็ใช้วิธีการสอนแบบไม่ต้องสอน
  • แต่มิใช่ "ทำเป็นตัวอย่างให้เห็นนะคะ"  ...หุหุหุ อย่างนี้อันตราย
  • ขอให้มีความสุขนะคะ

ขอบคุณมากครับ น้องคุณครู  เทียนน้อย :) ...

ลองใช้แล้วได้ผลอย่างไร อย่าลืมเขียนบันทึกบอกเล่านะครับ

ขอบคุณครับ ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า- :) ...

จะลองหาอาหารสมองมาลองปัญญา ครับ อิ อิ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ ชยพร แอคะรัจน์ ที่แวะมาเยี่ยมเยือน ครับ :)

ถูกทุกข้อครับ คุณ ไทบ้านผำ อิ อิ

ไม่เป็นไร ๆ ครับ เรื่องชื่อน่ะ ...

ขอบคุณมากครับ :)

"ตัวอย่างแบบไม่ดี" ก็ไม่ควรใช้ครับ อิ อิ

เดี๋ยวเป็นข่าวดัง

ขอบคุณครับ ... คุณครู ♥< lovefull >♥ :)

มองต่างมุมเกิดมาจากความคิดต่างมุม เวลารู้สึกแย่กับบางสถานการณ์ แล้วลองคิดถึงเหตุผลเราที่รู้สึกแย่กับเหตุผลเค้าที่ต้องทำบางทีหักลบกันแล้วเหลือเป็นศูนย์ มองต่างมุมช่วยให้เรารู้จักคำว่า เอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยค่ะ

วัตถุทรงกลมมีมุม 360 องศา ... เรื่องราวในชีวิตของเราที่เกิดปัญหาต่าง ๆ ก็เช่นกัน ... มนุษย์ชอบเลือกที่จะเลือก 1 หรือ 2 องศาเท่านั้น โดยเป็นองศาที่ถูกใจตัวเองมากกว่ามุมมองของคนตรงกันข้ามกับใจ

นะครับ คุณครู ทรายชล :) ... ยิ้มสู้กับปัญหากันครับ

เข้ามา

ทายทัก แบบสบาย ๆ ครับผม

ยินดีและขอบพระคุณครับ ท่านอาจารย์ umi :)

ได้อ่านแล้วชอบค่ะ...

ชอบความต่างมุม เมื่ออยู่ในจุดยืนที่แตกต่าง..

ฝึกให้คิด ฝึกให้เอาใจเขามาใส่เรา

บางทีเราเองต้องมองที่ต่าง

เพื่อความต่างจะได้กลืน และเข้าใจมากขึ้น..

เพิ่งได้รู้จักบล๊อกนี้ และแวะมายาม..

ดีใจที่ได้รู้จักกันค่ะ

^__________________^

ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันครับ คุณ หมาอ้อ ;)

หามุมมองดี ๆ ให้กับชีวิตกันนะครับ

นันธิยา อนันตพานิช

เข้ามาทักทายกับอาจารย์ ว่ามาแล้ว

ป้าป้อม นันธิยา อนันตพานิช มาได้ไงครับเนี่ย ... โอ้ ไม่น่าเชื่อเลย อิ อิ ;)

ครูสอนที่ดีมักจะไม่สอนตามแผน

ขอบคุณครับ คุณ ประดิษฐ์ ;)

 

"เหตุผล"เวลาอยู่ในสมองจะมีนิสัยเหมือนเด็กช่างกล

ชอบยกพวกตีกันเป็นประจำ

 

แต่การเขียนเหมือนการเป่านกหวีดจัดระเบียบ "เหตุผล"

จาก "สมอง" สู่ "แขน" ไป "มือ"

พอเรียงร้อยเป็นตัวอักษร มันผ่านกระบวนการกลั่นกรองมากมาย

"เหตุผล" ที่ยกพวกตีกัน พอเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ

บางทีเราจะตกใจที่คิดว่ามีกันมากมายหลายสิบหลายร้อย

แต่จริง ๆ มีแค่ไม่กี่ข้อ

จากนั้นก็ตัดสินใจไม่ยากว่าควรเลือกหนทางใดดีกว่ากัน

 

การรู้จักเปลี่ยนมุมความคิดนั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิต

เพราะการเข้าใจคนอื่นจะทำให้เรามีมุมมองที่หลากหลายขึ้น

ไม่ตัดสินอะไรจากมุมมองของเราเพียงด้านเดียว

..........

โอ้...ดีจังเลยค่ะ

ขอบคุณมากมายเลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท