การจัดการความรู้ในองค์กร


การจัดการความรู้ในสถานศึกษา
การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน เป็นสาเหตุให้องค์กรต้องพัฒนาและปรับตัวเอง เพื่อความก้าวหน้าและการอยู่รอด การเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาขององค์กร องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชนเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องของการจัดการความรู้หรือ Knowledge Management (KM) กันมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ดังเช่นความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาองค์กร ซึ่งการจัดการความรู้ มีแนวคิดที่เชื่อว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร (People are our most important Asset) โดยเชื่อมั่นว่า บุคลากรเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้องค์กรบรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายได้ โดยเฉพาะโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้เกิดการเติบโต และสร้างงานในอุตสาหกรรมทุกรูปแบบการที่องค์กรจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ขึ้นอยู่กับวงจรการเรียนรู้ในองค์กร ซึ่งมีกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปัน และใช้ความรู้ กระบวนการที่ว่านี้ คือ การจัดการความรู้ Knowledge Management : KM นั่นเอง คุณค่าของ KM ที่มีต่อหน่วยงาน - ทำอย่างไร จะใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวคนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงาน - คนในหน่วยงาน ทำงานแบบต่อยอดความรู้ โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ - คนในหน่วยงาน ไม่ต้องทำงานแบบลองผิดลองถูก มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการทำงาน ทำให้ประหยัดแรงงาน เวลา วัสดุอุปกรณ์ และได้ผลผลิตมาก ทั้งปริมาณและคุณภาพ - หน่วยงานได้ลงทุนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เมื่อคนออกจากหน่วยงานไปแล้ว ความรู้และประสบการณ์ของบุคคลนั้น ยังคงอยู่กับหน่วยงานและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก อุปสรรคของการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ จากการศึกษาพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการแลกเปลี่ยนความรู้ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ (ปรับจากบุญดี บุญญากิจ และคณะ 2547 :57) 1. ตัวบุคคล 1.1 มีทัศนคติว่า ความรู้ คือ อำนาจ จึงหวงความรู้ 1.2 ไม่ทราบว่า สิ่งที่ตนรู้ มีประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือไม่ 1.3 ไม่เห็นประโยชน์ ไม่มีแรงจูงใจของการแลกเปลี่ยนความรู้ 1.4 ไม่มีความมุ่งมั่นเพียงพอในการเรียนรู้จากผู้อื่น 1.5 ไม่มีความคุ้นเคยเพียงพอกับบุคคลที่ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ด้วย (ยังไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน) 2. ส่วนรวม/โครงสร้าง 2.1 ยังไม่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบ 2.2 ผู้บริหารไม่ให้การสนับสนุน 2.3 ระบบสารสนเทศไม่เอื้อ 2.4 ยังไม่มีระบบการยกย่องชมเชยหรือให้รางวัลแก่ผู้ที่แลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น 3. ค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กร 3.1 มีการแข่งขันภายในหน่วยงานสูง 3.2 บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือในการให้ความรู้ 3.3 ผู้บริหารไม่ยอมรับความล้มเหลวที่เกิดขึ้น จากการทดลองสิ่งใหม่ ๕ ขั้นตอนกระบวนการจัดการความรู้(KM) ๑. กำหนดวิสัยทัศน์ (KV)กำหนดวิสัยทัศน์ เป็นการพิจารณาทิศทางของ การจัดการความรู้ ก่อนลงมือทำการจัดการ ความรู้ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ ว่าจะทำเพื่ออะไร หรือจะมุ่งหน้าไปทิศทางไหนและมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ๒. สร้างทีมงาน (Workingหาคนที่มีความรู้ตามกลยุทธ์และภาระงาน กำหนดเป็นทีมงานเพื่อจัดทำชุมชนแห่ง การปฏิบัติ CoP (Community of Practice) ๓ . การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นส่วนสำคัญที่สุดและยากที่สุดในกระบวนการจัดการความรู้ เพราะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้คนยินยอมพร้อมใจที่จะแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ๔ . การนำความรู้ไปพัฒนางาน( Working Development)การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางานตามแผนยุทธศาสตร์ ตามระบบโครงสร้างการบริหาร และ พัฒนาสถานศึกษา ๕. การบริการและเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Service)การบริการและเผยแพร่ความรู้เป็นการให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย สะดวก เช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เวปบอร์ด บอร์ดประชาสัมพันธ์ เอกสาร ฐานข้อมูลความรู้ ทีมข้ามสายงาน ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น การจัดกิจกรรมเพื่อการดำเนินการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ 7 กลยุทธ์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพ ๑.สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษา ๒.ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การใช้ความรู้คู่ คุณธรรมในการดำรงชีวิต ๓.ปลูกฝัง ให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกเห็นคุณค่าและภูมิใจในความเป็นไทย ๔.พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ๕.พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ๖.สร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการสถานศึกษา ๗. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 242732เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท