นาฏศิลป์


ประสานใจน้องพี่ท่าดีรำสวย

แบบรายงานผลการดำเนินงาน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

"การปฏิบัติการสอนชุมนุมนาฏศิลป์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ"

โรงเรียนกุดบงพิทยาคาร   อำเภอโพนพิสัย   จังหวัดหนองคาย

*************************************

 

1. ชื่อผลงาน              "การปฏิบัติการสอนชุมนุมนาฏศิลป์

                                   โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ"

2. ผู้จัดทำผลงาน

                         นางจารุวรรณ   ชิตตะเสน

                                  โรงเรียนกุดบงพิทยาคาร   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย   เขต 2

                                

3. ประเด็นปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542  มาตรา 6  การจัดการศึกษาต้องเป็นไป

เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา  ความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรม

และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ให้มีประสิทธิผลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ปรับปรุงและเลือกปฏิบัติได้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของสถานศึกษา

            จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชานาฏศิลป์  พบว่ามีกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาขาดทักษะการปฏิบัตินาฏยศัพท์   ทำให้เกิดปัญหาในชั้นเรียน เพราะนักเรียนกลุ่มนี้ไม่สามารถเรียนตามทันเพื่อนร่วมชั้นได้  และส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชานาฏศิลป์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ  ดังนั้น ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว  จึงหาวิธีจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ  พี่สอนน้อง  เพื่อนสอนเพื่อน ที่นำมาแก้ปัญหาทักษะการปฏิบัติของนักเรียนกลุ่มนี้   เพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน  ให้นักเรียนมีการพัฒนาเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ  และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4.วัตถุประสงค์

  • 1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนเฉพาะกลุ่ม
  • 2. นักเรียนที่มีปัญหาทักษะ การปฏิบัตินาฏยศัพท์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
  • 3. นักเรียนได้รับทักษะทางสังคม และทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้พี่สอนน้อง และเพื่อนสอนเพื่อน

 

 

5. หลักการแนวคิด หรือทฤษฎี ที่นำมาใช้แก้ปัญหา

5.1 ) การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของกาเย่  คือ  การจัดขั้นตอนการเรียนรู้จากง่ายไปหายาก 

โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

1)  สร้างความสนใจให้กับผู้เรียน 

2)  แจ้งจุดประสงค์ให้ผู้เรียนทราบว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไร 

3)  กระตุ้นให้ผู้เรียนประมวลความรู้จากความรู้เดิมเพื่อถ่ายโยงไปสู่การเรียนรู้ใหม่ ๆ 

4)  เสนอสาระการเรียนใหม่ 

5)  วางแผนออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ 

6)  ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ 

7)  ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อการปรับปรุงพัฒนาการทำงาน 

8)  ประเมินผลการเรียนรู้ 

9)  ส่งเสริมความคงทนในการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้ 

ทฤษฎีดังกล่าว  ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีหากได้มีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ  และมีโอกาสแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  จะสร้างความหมายของสาระการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ผู้สอนจึงต้องดำเนินการ

อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้   ซึ่งจากปัญหา   ของนักเรียน ทำให้เป็นปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน จึงต้องได้รับการแก้ไข โดยอาศัยชุดการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นรูปแบบการสอนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีการพัฒนาได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

                - การเรียนรู้แบบร่วมมือ " The New Circles  of Learning : Cooperation in  the Classroom  and  School ของ  David  W. Johnson, Roger  T. Johnson และ Edythe Johnson  Holubec  "  ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้สูงสุดแกตนเองและแก่กันและกัน  ทำให้เกิดการพึ่งพาอย่างสร้างสรรค์  และนักเรียนเกิดความมั่นใจและมีกำลังใจที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายเดียวกันกับเพื่อนร่วมชั้น 

                5.2)  การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
-   ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
-  การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

-  บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

 

6. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

             6.1 ขั้นเตรียมการ

6.1.1วิเคราะห์หลักสูตร

6.1.2วิเคราะห์ผู้เรียน

6.1.3สำรวจความต้องการของผู้เรียน  ผู้ปกครอง และชุมชน

6.1.4ปรับพื้นฐานของผู้เรียนและจัดกลุ่มผู้เรียน

                6.1.5กำหนดกิจกรรม รวมทั้งแบบประเมินกิจกรรม

6.1.6จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และประเมินผลกิจกรรมว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้านักเรียนไม่ผ่านวัตถุประสงค์ต้องปรับปรุงและซ่อมเสริมแล้วประเมินอีกครั้ง รูปแบบที่ใช้ในการสอนแบบสาธิต พี่สอนน้อง และเพื่อนสอนเพื่อน

6.1.7รายงานผลการจัดกิจกรรม

6.2 ขั้นดำเนินงาน

1.การคัดเลือกนักแสดง รับสมัครนักเรียนที่สนเข้าร่วมกิจกรรมชุมุมนาฏศิลป์ โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจ  ความรับผิดชอบ มีพรสวรรค์ในด้านนาฏศิลป์ รู้จักพัฒนาฝีมือตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  และใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ

2.ขั้นตอนความพร้อมและสร้างความตระหนักให้เกิดความรักในศิลปวัฒนธรรมไทย

  • - ฝึกการปฏิบัติการดัดมือ แขน หลัง ลำตัว การทำความเคารพ มารยาทต่างๆ
  • - ฝึกปฏิบัตินาฏยศัพท์พื้นฐาน จีบ วง ล่อแก้ว กระดกเท้า กระทุ้งเท้า เป็นต้น
  • - ฝึกปฏิบัติการรำเป็นเพลง โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเพลงที่นักเรียนมีความสนใจ และอยากฝึกปฏิบัติ
  • - ศึกษาประวัติความเป็นมา ลักษณะการแต่งกาย วงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบ และโอกาสที่ใช้ในการแสดง เพื่อจะนำไปใช้ในการจัดการแสดงได้อย่างถูกต้อง

3.ขั้นฝึกปฏิบัติ

3.1 ให้ผู้เรียนชมวิดีทัศน์การแสดงชุดนั้นๆ เพื่อสังเกตท่าทาง  ลีลาการร่ายรำ  ลักษณะการแต่งกาย และเพลงดนตรีของเพลงนั้นๆ

3.2 ฝึกปฏิบัติโดยดูท่ารำจากวิดีทัศน์  ครูสาธิต  พี่สอนน้อง และเพื่อนสอนเพื่อน จนสามารถปฏิบัติได้ อย่างสวยงามและแม่นยำและความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทย

3.3 ฝึกหัดการทำผม  แต่งหน้า  แต่งกาย  เพื่อให้สามารถทำทรงผม  แต่งหน้า  และแต่งกายได้อย่างสวยงาม และสามารถช่วยเหลือ หรือแนะนำผู้อื่นได้

6.3  ขั้นสรุปผลและประเมินผล

                6.3.1ประเมินผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน

                6.3.2 นักเรียนประเมินตนเอง

                6.3.3 ครูประเมิน

                6.3.4ผู้ปกครอง  ชุมชนประเมิน

วิธีการประเมินผล

1.สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนของผู้เรียน

2.การจัดการแสดงในห้องเรียน  นอกห้องเรียน และในชุมชนต่างๆ

เครื่องมือวัดผลประเมินผล

  • 1. แบบสังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม

ผลการประเมิน

1.นักเรียนสามารถปฏิบัติท่ารำได้

2.นักเรียนสามารถแสดงการฟ้อนรำบนเวทีในโรงเรียนและชุมชนได้

3.นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในการจัดการแสดงของนักเรียนทุกครั้ง

7. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน

7.1.นักเรียนสามารถปฏิบัติท่ารำได้

7.2.นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักการแบ่งหน้าที่อย่างรับผิดชอบ และรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

7.3.นักเรียนมีความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

7.4.นักเรียนมีความรักและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย

7.5.รายงานผลการจัดกิจกรรมต่อทางโรงเรียนตามขั้นตอน

8. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น

8.1 นักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมได้รับการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีกิจกรรมหลังเลิกเรียนบ่อยครั้ง  

                8.2 ครูมีภาระงานเร่งด่วน ไม่สามารถไปควบคุม ดูแลได้อย่างสม่ำเสมอในบางกรณี

9. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                9.1 ความร่วมมือของผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการและผู้ปกครอง

                9.2 การเตรียมชุดการแสดงและกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน               

9.3 การติดตามและประเมินผลนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องทั้งในห้องเรียนชุมนุมและห้องเรียนปกติ

10. ความภาคภูมิใจและบทเรียนที่ได้รับ

                10.1  เกิดความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน

                10.2  นักเรียนมีความกล้าที่จะแสดงออกในทางที่ถูกต้อง

                10.3  นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนในรายวิชานาฏศิลป์

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 240997เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้อ่านแล้วเป็นแนวทางที่ดีค่ะ....

สู้ๆน่ะคะหนูเป็นกำลังใจให้คะ

I Love You คะ

ได้อ่านเนื้อหาทั้งหมดแล้วใช้ได้ นำไปเป็นแนวทางในการสอนนักเรียนได้เป็นอย่างดี

ขอเป็นกำลังในให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท