นิราศซิดนีย์ 4: Those kind aunties


Those kind aunties

วันนี้เป็นวันประชุมประจำเดือนของ Standard & Practice Committee Meeting โดยมีตัวแทนจากโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆที่ทำ palliative care ในเขต New South Wales นี้มาชุมนุมกัน Meera ซึ่งเป็น supervisor ผมบอกว่าการประชุมนี้น่าสนใจ อาจจะทำให้ได้ idea ที่ชัดขึ้นเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการ palliative care ภาคปฏิบัติ

Meera มาถึงโรงพยาบาลพอดีเวลาประชุม พอเธอพาผมไปเข้าประชุมก็ปรากฏว่าที่ประชุมเต็มพอดี เธอไปกระซิบข้างหูคุณป้าตัวเบ่อเริ่มที่หัวโต๊ะ บอกว่าผมเป็น visiting doctor จะมาขอเปิดหูเปิดตาหน่อย คุณป้าประธาน (เธอชื่อ Amanda Walker) หันขวับมายิ้มแป้น พูดเสียงดัง why not, please come แล้วก็หันไปบอกป้าๆอีก 12 คนในห้อง (ผมพึ่งสังเกตว่าทีมนี้เป็นเกือบหญิงล้วน มีผู้ชายนอกเหนือจากผมอีกคนเดียว เป็น young staff ที่เหลือเป็นป้าทรงเดียวกันหมดเลย) ให้แนะนำตัวเอง แต่ละคนก็แนะนำตัวกันไฟแล่บเลย ล้วนเป็นมือภาคสนามทั้งสิ้น มีทั้งหมอ พยาบาล co-ordinator community nurses

เสร็จแล้ว Amanda ก็แจกวาระ ปรากฏว่ามีทั้งหมด 16 วาระใหญ่ แต่่ละวาระมี small bullets อีก ผมถึงกับอึ้ง นี่แกจะทำหมดนี่เลยหรือเนี่ย

ในวาระต่างๆ ข้างท้ายจะปรากฏชื่อย่อ เช่น AW คือ Amanda Walker และ MA ก็คือ supervisor ผม Meera Agar แปลว่าเป็นคนนำเสนอ อันดับแรกของวาระก็คือคนมาร่วม และคนไม่มาร่วม (เขาใช้คำเพราะดี คือ Apologies แปลว่าขออภัยที่ฉันไม่มานะจ๊ะ ย่อมาจาก Apology for absence) แล้ว Amanda ก็นำประชุมไปอย่างรวดเร็ว

หะแรกคิดว่า พวกทำ palliative care จะเป็นพวกนิ่มๆ หนูๆ (ผู้นำสี่ทิศ) ที่ไหนได้ เธอๆเหล่านี้กระทิงซะส่วนใหญ่ แถมไม่ใช่กระทิงธรรมดา Amanda เป็นคนคุมเกมที่ละเอียดและใช้ข้อมูลเป็นประจักษ์ตลอดเวลา พูดง่ายๆก็คือ กระทิงหมี นั่นเอง มีตอนหนึ่ง แกบอกเคล็ดลับเวลาไปลุย เอ๊ย ไปประชุมที่อื่นก็คือ ให้ take over การนำเสนอ มิฉะนั้นจะถูกถามคำถามที่ตอบยากๆ ดังนั้นเวลาเราพูด เราก็เอา agenda ของเราลงไปถล่มซะเลย (ไม่ค่อยสุนทรีย์สักเท่าไหร่ แต่เป็น style กระทิงของแท้และดั้งเดิม)

ผมคิดว่าเคล็ดลับคงไม่ใช่เพียงแค่ที่ว่า แต่ทุกคนทีีมาประชุมนี้ ผมสัมผัสถึงการเชื่อมโยงกับ The Source ได้ชัดเจนมากเลยว่า แต่ละคนทำจริงและทำมานาน และที่ีทำทั้งหมดนั้นเพื่อคนไข้และญาติของคนไข้ palliative care ทั้งสิ้น ดังนั้นเวลาพวกนี้ demand อะไร เธอจะสู้และขอเพื่อคนอื่น ไม่ใช่ของเธอเอง เวลาพูด และให้เหตุผลจึงฉะฉาน ไม่มีกลัว (no fear) และวางอยู่บน Altruism คือการเสียสละเพื่อคนอื่น อันนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่เวลาเธอไปประชุมที่ไหน เธอจะ grap attention และพูดได้เต็มปากเต็มคำทุกครั้งไป

ในที่ประชุมมีบรรยากาศผสมผสานที่แปลกอีกประการก็คือ ยังมีความเป็นผู้หญิงผสมผสานได้อย่างแนบเนียน มีคำพูดประชดประชัน ถากถางงอนๆเล็กๆ แต่เล็กน้อยมาก สร้างสีสัน แต่ไม่เยิ่นเย้อเสียเวลาเลย ระหว่างประชุมมีขนมนมเนย มี muffin กองพะเนินเทินทึก มีองุ่น seedless กองเบ่อเริ่ม และ donut หลากหลายสีวางบนโต๊ะ

ในบรรดาวาระการประชุม มีวาระหนึ่งที่มีการถกกันอย่างจริงจัง ก็คือ ปรากฏว่าตามธรรมเนียม ถ้ามีคนไข้ใน รพ.เสียชีวิต พวกนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องส่ง condolence card ใบแสดงความเสียใจ เซ็นเขียนด้วยลายมือของผู้ดูแล และมีคนไปร่วมงาน funeral service ด้วย แต่ปรากฏว่าคนไข้ส่วนหนึ่งกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ทำให้ขาดการติดต่อ และเสียโอกาสแสดงความเสียใจไป ปรากฏเรื่องนี้กลายเป็น agendum สำคัญ ที่มีการ discuss หาทางแก้ไขกันอย่างกว้างขวาง ในที่สุด senior community nurse คนหนึ่ง (ชื่อ Pauline ซึ่งผมจะได้ตามเธอไปเยี่ยมคนไข้ที่บ้านอาทิตย์หน้า) ก็บอกว่าเธอจะแก้ปัญหาโดยการประสาน EMR (electronic medical record) ของ database คนไข้ palliative care เข้ากับ programme home visit และ list ของคนไข้ในเขตการดูแล ดูสิว่าจะทำให้ update ได้ทันและแจ้งมายังทีมหรือทันท่วงทีที่จะไปร่วมงานศพไหม

ที่ผมทึ่งก็คือ การที่ทีมเห็นว่า การแสดงความเสียใจ และการไปร่วมงานศพของคนไข้ที่พวกเธอดูแลมาตลอดนั้น เป็นวาระสำคัญ และต้องหา system มา address ปัญหา เป็นการแสดงให้เห็นว่าพวกเธอทำไมถึงได้มาทำงานพวกนี้ เพราะเธอมองเห็นความสำคัญของความรู้สึกของทั้งฝ่ายคนไข้ ญาติ และความรู้สึกของผู้ดูแลที่จะมีต่อคนไข้ และให้ความสำคัญเรื่อง relationship เป็นอันดับต้นๆ จึงจะทำให้งานของพวกเธอมีความหมายอย่างแท้จริง

Amanda ได้ยกอีกประเด็นสำคัญ คือการ train volunteer และการมี survivor volunteer เธอบอกว่าหลายต่อหลายครั้งที่ caretaker ของคนไข้ กลายเป็น expert และกลายเป็น volunteer สำคัญคนไข้คนอื่นๆต่อไป และพวกนี้จะมี (quote) "Strong sense of altruism" อยู่ในตัวเอง จะทำอย่างไรให้ programme นี้ แพร่ขยายออกไปให้มากที่สุด

เห็นคุณป้าๆเหล่านี้ทำงานแล้วชื่นชมและได้พลังมากเลย ปรากฏว่าทุกวาระเสร็จตามเวลา 3 ชั่วโมงเป๊ะ กินข้าวเที่ยงกันทัน พวกเธอทำงานอย่างที่ผมเคยคิดว่าน่าจะเป็นจริงๆ คือ not working, just living ชีวิตมีแต่การ "ลงมือทำ" แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่อง budget เรื่องกำลังคน แต่คนพวกนี้ทำงานมานานจนรู้ว่าวิธีทืี่ดีที่สุดก็คือ ทำให้ public เกิดมองเห็นว่างานพวกนี้สำคัญ สำคัยมากจนเรียกร้องต่อบรรดา politician และผลักดันงบประมาณ และกฏหมายมาเอื้อบรรยากาศของการทำงานในที่สุด

การประชุมครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ address เรื่องบริหารจัดการ ยังพูดถึงเรื่องการวิจัยและการฝึกอบรมอีกด้วย Meera เป็นคนนำเสนอเรื่อง research และ clinical trial ที่กำลังทำอยู่ เพราะเธอมี connection กับ Flinders University และมีการทำการศึกษา Ketamine ในคนไข้ palliative care และยา Magestro Acetate ที่ช่วยเรื่องเบื่ออาหาร โดยกลุ่มนี้จะทำต่างจากกลุ่มหมอ oncologist ที่วัดผลโดยการดูน้ำหนักเพิ่มของคนไข้ แปลว่า appetite หรือความอยากอาหารนั้น improve ขึ้น แต่อันนี้ในคนไข้ palliative care นั้นคงจะใช้ไม่ได้ เพราะ ณ end-of-life ที่ disease advanced มากๆนั้น น้อยคนจะ gain weight หรือจะมีน้ำหนักขึ้น ให้ไปวัด "ความรู้สึกอยากอาหาร" แทน ซึ่งเป็นความรู้สึก และเกิด sense of well-being แม้ว่าจะกินได้ แต่น้ำหนักไม่ขึ้น (เพราะเนื้องอกกินอาหารไปมากกว่า) ก็ถือว่ายาตัวนี้มีประโยชน์ต่อคนไข้

มีการพูดถึงการใช้เข็มฉีดยาที่บ้านรุ่นใหม่ ว่าใช่้ยากง่ายและปลอดภัยแค่ไหน ยิ่งฟังการวิจัยและหัวข้อวิจัย ยิ่งมองเห็นว่าล้วนแต่เป็นโจทย์ที่เกิดจากคนทำงานในพื้นที่โดยตรง รวบรวมปัญหามาสร้างเป็นคำถามวิจัยทั้งสิ้น เป็น practical point หรือที่บ้านเราเรียก R2R2R (routine to research to routine) นั้นเอง แต่ที่นี้ไม่มีใครมาตั้งชื่อให้หรูหราอย่างเราทำเท่านั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 239672เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2009 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

นั่นสิคะ .. หนูก็ยังสงสัยอยู่ว่า

ถ้า resident ทำงานวิจัยชิ้นนึง .. ใช้เวลาตั้ง สี่ซ้าห้าปี เพื่อที่จะตอบปัญหาสักข้อ

stakeholder จะว่าอย่างไร ..

ยังหาจังหวะดีๆ ถามความเห็นของ รองประธานกรรมการ คณะกรรมการดำเนินการ R2R2R ไม่ได้เลย

คนนอกวงการอ่านก็ได้ประโยชน์ ทีมสหวิชาชีพนี่ดีน่ะครับ ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันแชร์ แบ่งกันทำ บ้านเราระบบติดตามยังมีอยู่น้อย ไม่ทราบเพราะคนน้อยหรืออย่างไร ที่จริงการป้องกันดีกว่าการแก้ไขตั้งเยอะ รออ่านต่อครับ..อาจารย์ครับ ขอของแถมเป็นภาพ บ้างได้ไหมครับ..

คุณเอกราชครับ

กล้องยังอยู่ในกระเป๋า ยังไม่ได้ unpack เลยครับ คิดว่าเสาร์-อาทิตยนี้น่าจะเริ่มมีรูปประกอบเรื่องได้น่ะครับ

สงสัยว่าถ้าไปด้วยคงเพิ่มคุณป้าขึ้นอีกคนนะคะ แวะเข้ามาอ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลยค่ะ จารย์สกล คิดถึงค่ะ

อาจารย์คะ พี่เห็นภาพของบรรดาป้าๆกระทิงหมีที่ว่าแจ่มชัดเลยคะ ที่น่าทึ่งคือความละเอียดอ่อนของป้ากระทิง ที่พยายามอย่างมากในการแสดงความเสียใจต่อญาติ น่าทึ่ง คะ น่าทึ่งมากๆคะ

พี่กำลังจะเริ่มโครงการที่จะลองเอารพ.ที่ผ่านการรับรองแล้วมาต่อยอดในเรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ และ humanized care ซึ่งอาจจะรวม pallative care ด้วย

จะลองเริ่มทำใน ๕๐ รพคะ คงต้องหารืออาจารย์ แน่นอนคะ

  • ดีใจด้วยที่ใช้เน็ตได้
  • บันทึกละเอียดแบบนี้ เหมือนได้ตามไปเข้าประชุมด้วยเลย

ผมติดใจการต่อสู้เพื่อผู้อื่น และได้เรียนรู้ R2R ที่น่าประทับใจมาก

ประทับใจวิธีทำงานอาสาแบบมีประสิทธิภาพสูง

ที่ประทับใจที่สุดคือคนเล่า เล่าได้เหมือนถ่ายหนัง

วิจารณ์

พี่ติ๊กครับ

ขอโทษครับ ขนาดพี่ตัวเล็กไป ไม่ qualify อยู่ในทีมป้ากระทิงพวกนี้ครับ อิ อิ

แม่ต้่อยครับ

น่าทึ่งจริงๆครับ ของเราคงจะแล้วแต่บริบทแหละครับ จะใช้่การ์ด จะไปงานศพ ฯลฯ ขอให้กิจกรรมนั้นๆออกมาอย่าง authentic คือด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยว่า "ต้องมีกิจกรรม" รับรองว่าจะเกิดสภาวะ "ใจเชื่อมใจ" ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการขึ้นมาอย่างยั่งยืน

เป็นกำลังใจ เอาใจช่วยในโครงการครับ

พี่เต็มครับ

Internet facility เป็นอะไรที่ผมหาทางเตรียมตัวตั้งแต่เมืองไทยเลยทีเดียวครับ ว่ามี service provider กี่เจ้า coverage ยังไงบ้าง ผมเลย online ได้ตั้งแต่วันแรกที่มาเลยทีเดียว อิ อิ

เพื่อการอยู่รอดครับ ไม่งั้นเฉาตายแหงๆ

อาจารย์วิจารณ์ครับ

ตอนผมนึกถึงเรื่องเหล่านี้ ก็ออกมาเป็นภาพเหมือนภาพยนต์จริงๆครับ ก็เลยเล่าออกมาแบบนั้น เห็นคุณป้าเหล่านี้ทำงานแล้ว เป็นการทำงานที่ in กับงาน อยู่กับงาน และทุ่มเทเพื่องานที่มีความหมายต่อตัวเธอจริงๆ สมาธิสุดยอดครับ

ขอบพระคุณที่ให้กำลังใจครับผม

  • มาตามลิงค์ของ อ.หมอวิจารณ์มาครับ
  • อยากให้บรรยากาศการทำงานบ้านเรามีวัฒนธรรมการทำงานอย่างนี้(เพื่อผู้อื่น-เพื่องาน) เยอะๆ นะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ ที่นำสิ่งดีๆ มาแลกเปลี่ยน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท