นิราศซิดนีย์ 3: Home visit (1) Mum, I love you


Mum, I love you

เมื่อวานนี้ตั้งใจจะเขียนเรื่อง First thing first แล้วเดินออกนอกทางไปนิดหน่อย ขอต่อ และตามด้วยเรื่องใหม่ คือ Mum, I love you เป็น progress ต่อไปของการทำ practicum ในครั้งนี้

บ้านพักที่จัดให้อยู่ในเขต รพ. Braeside Hospital ติดๆกับ Fairfield Hospital ออกมาห่างจาก city centre ประมาณ 45 นาที (รถยนต์) หรือ 1 ชม. (รถไฟ) เป็นชนบท (จริงๆ) หรือชานเมืองซิดนีย์ รหัสไปรษณีย์ยังเป็น NSW อยู่ เป็น basis มากๆคือ share ห้องนำ้และห้องครัว ซึ่งก็ไม่ได้หนักหนา เพราะมี 4 ห้องน้ำสำหรับ 8 ห้องพัก ตู้เย็นที่จะค่อนข้างแน่นเอี้ยดเพราะมีอยู่ตู้เดียว มีเครื่องซักผ้าและเครื่องปั่นผ้าให้ (ฟรี) เตียงฟูกหมอนฟรี มีผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ซึ่งทางโรงพยาบาลจะซักให้อาทิตย์ละครั้ง (สัญญา) ที่เหลือเราต้องซักเอง ในห้องมี air condition ให้ซึ่งเป็น save-life เพราะปีนี้ที่ซิดนีย์ร้อนสุดๆ มีโต๊ะติดผนังหนึ่งตัวและไฟกลางห้องหนึ่งดวง ปลั๊กไฟหน้าตาประหลาด 2 จุด (ทำให้ต้องไปซื้อ adapter มาใช้เพิ่ม เพราะเป็นปลั๊กสามขาแบบบิดๆเบี้ยวๆ) ไม่มีโทรศัพท์ในห้อง

First thing first

ดูแล้ว ท่าจะ survive ผมต้องหาทางติดต่อกับโลกภายนอกให้ได้ ดังนั้นสามประการที่ต้อง work out ให้เสร็จภายในวันแรกก็คือ โทรศัพท์ อินเตอร์เนท และการเดินทาง โชคดีมหาศาลที่ีมีกระจุกของ supermarkets อยู่ในระยะเดินจาก รพ. ชื่อ Stockland มีทั้งสวนอาหารและ supermarkets ใหญ่สองที่และอื่นๆเพียงพอที่จะรอดชีวิต แต่สวนอาหารจะปิด 5 โมงเย็นครึ่ง ถ้าจะกินอะไรหลังจากนั้น ต้องซื้อมาทำที่บ้านเอง ที่จรีิงควรจะไม่ยากถ้าไม่ปรากฏว่า microwave ที่เคยมีที่หอพักนี้ ได้อันตรธานหายไปนานพอควรแล้ว (ไม่แปลกใจมาก เพราะวันแรกที่ผมเข้ามา ไขกุญแจเข้่าปรากฏว่าประตูห้องนั่งเล่นที่เปิดออกสู่ลานหน้า รพ.เปิดอยู่ ไม่ได้ล็อกอะไร!!! โชคดีที่แต่ละห้องมีกุญแจต่างหากอีก แต่ของในครัวคงจะหายแน่นอน)

ณ ที่ Stockland มีซุ้มโทรศัพท์มือถือประมาณ 4-5 ร้าน ผม random หนึ่งร้านที่คนขายดู friendly ที่สุด (ที่จริง Aussie เป็น friendly folks อยู่แล้ว จึงตัดสินยาก มีทั้งหนุ่มอารมณ์ดี แขก active สาวน้อยตัวเล็ก และนักกีฬาตัวเท่านักรักบี้ คงไม่ต้องเดาก็ทราบว่าลงเอยที่ร้่านไหน อิ อิ อิ) ได้ pre-paid SIM มาหนึ่งใบที่สามารถโทรมาเมืองไทยในราคา 39 c/minute (ตก 10 บาทต่อนาที) ระหว่างซื้อก็คุยกับเจ้าของร้านเรื่องอากาศทำไมมันร้อนอย่างนี้ เธอก็หัวเราะกิ๊กกั๊ก บอกว่าร้อนจริงๆแล้วบอกว่ามีหลักฐานคือเธอไปเดินเล่นที่ beach ในซิดนีย์แป๊บเดียว ก็โดนแดดเผาไหม้เกรียมไปหมด พลางแสดง evidence รอยแดดรอบๆสายเดี่ยวของเธอ เล่นเอาเราใจหายวาบ ไม่แน่ใจว่าจะมองตามที่เธอให้ดูดีหรือไม่ พยายามรักษาระดับสายตาให้สบตาเธอเอาไว้ตลอดการสนทนา

สาวน้อยแนะนำร้านขาย internet package ต่อไป ก็เดินจากมาอย่างอาลัยอาวรณ์ ก็ได้ package USB modem ราคา 129 AUD พร้อม starter-pack เป็น broadband mobile internet ความเร็วประมาณ 3 Mbps ซึ่งไม่เลวทีเดียว ปัญหาคือต้องอยู่ใน coverage areas ที่มีสัญญาณโทรศัพท์ ผมไตร่ตรองดู เออ เราก็อยู่ใน Sydney นี่นา ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อนที่ไหน ก็เลยเสี่ยงซื้อมา ใช้เวลาทั้งบ่ายลอง set-up ดู ค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย เพราะมันถามเยอะจริงๆ (ทาง online) ปัญหาสำคัญคือ address ที่ต้อง register ทดลองเขียนไปหลายแบบ ปรากฏว่าไม่อยู่ใน format ที่ internet providers รู้จัก (ก็บอกว่าอยู่ใน รพ. มันไม่ยอมให้เรา register) สุดท้ายต้องไปถามเลขา supervisor ผมชื่อ Jasminka ว่าจะใช้ address อะไรดี ก็ได้มาไว้เติม

รู้สึกอารมณ์ดี เพราะจัดการสำเร็จทั้งโทรศัพท์และ internet แต่มันบอกว่าต้องใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จึงจะรู้ว่า work หรือไม่ ผมเลยใช้เวลาที่เหลือลองนั่งรถเมล์ไปลงสถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุด คือ fairfield station นั่งรอรถเมล์เกือบครึ่งชั่วโมง ร้อนสุดๆ ไปถึงสถานีรถไฟซึ่งมีลุงคนขายใจดีสุดๆ อธิบายตั๋วชนิดต่างๆ แบบ one-day แบบ weekly แบบ quarterly แบบมี discount สถานที่ท่องเที่ยว แบบ ฯลฯ พูดช้าๆ สองเที่ยว (คือผมบอกแกไปว่ามาจากประเทศสยาม พึ่งมาถึงวันแรก แกคงจะประเมินจาก accent และหน้าตาเรา สรุปว่าพูดช้าๆดีกว่า) ผมก็ได้ตั๋ว one-week pass ที่นั่งได้หมดทั้งรถเมล์ รถไฟ และ ferry ลองนั่งรถไฟ (ซึ่งหวานเย็นมากๆ ใช้เวลาเกือบชั่วโมงกว่าจะไปถึง Sydney Central) หยิบแผนที่มาดู สุ่มไป China Town ได้นั่งรถรางต่อ (Tram) อีกสายหนึ่ง ลงมาเดินสักประเดี๋ยว ร้อนสุดๆ บวกกับชักจะง่วงนอน เพราะเมื่อเช้าตื่นมากิน breakfast ตอนเที่ยงคืน และมาเช้าตอนเวลาเราคือตีสอง ตัดสินใจกลับบ้านดีกว่า ยังไงๆก็รู้จักทางแล้วคราวนี้

Mum, I love you

วันรุ่งขึ้น (หรือวันแรกในการทำงาน) ผมก็ได้ไป home visit กับหมอ palliative ที่นี่ชื่อ Vanessa ที่จริงปกติเราจะมี home visit ประมาณ 3-4 cases แต่วันนี้ ไปๆมาๆ เหลืออยู่ case เดียว Vanessa หยิบ file ส่งมาให้ผมอ่่าน แล้วเราก็เดินไปขึ้นรถด้วยกัน

ระหว่างทางเราคุยกัน ปรากฏว่า Vanessa เป็นหมอมาหลายปีแล้ว เดิมแกชอบเด็ก แต่ตอนหลังบอกว่าเจอกับพ่อแม่เด็กป่วยนี่ หนักหนาสาหัสจริงๆ เลยไม่เป็นหมอเด็ก ที่จริงเธอค่อนข้างจะชอบศัลยกรรม เพราะ hand skill ค่อนข้างดี แต่พอไปร่วมงานกันเจอหมอศัลย์ (typical surgeon) หลายๆคนรู้สึกทำงานร่วมไม่ได้ (ฮึ ฮึ เพราะอะไรเอ่ย) ครั้นจะไปทำวิสัญญี เธอก็บอกว่าต้องทนทำงานกับศัลยแพทย์อีก ก็เลยไม่เอา จนกระทั่งมาร่วมงานกับอลิซาเบธ หมอ palliative care อีกคน แกก็เลยเกิดแรงบันดาลใจอยากจะทำ

เป็น palliative care specialist ที่นี่ ต้องผ่านการอบรม และผ่านการสอบด้วย Vanessa เล่าให้ฟังว่าตอนที่เธอกำลังจะสอบ final ปรากฏว่าเธอตั้งครรภ์ และกำหนดคลอดคือประมาณ 4 weeks ก่อนสอบพอดี เรียกว่า เป็น the worst possible due date เลยทีเดียว ใครๆก็ทราบว่าการตั้งครรภ์นั้นจะมีผลต่อการทำงาน ต่อสมาธิการอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบได้อย่างมากทีเดียว ตอนนั้น เธอก็ย่ำแย่พอสมควรเรียกว่า ถ้าตกก็มีเหตุผลสมควรอย่่างไม่ต้องแก้ตัว แต่ถ้าตก แกอาจจะเปลี่ยนใจไปทำอย่างอื่นแทน

ปรากฏว่า "ผ่าน"

เธอบอกว่ามันช่างเป็นอะไรที่ meant to be จริงๆ เธอก็เลยสลับกับแม่เธอ และสามี ช่วยกันเลี้่ยงลูก 3 คน อายุอานามไล่ๆกัน รวมทั้งคนเล็กสุดนี้ด้วย ซึ่งก็ยังกินนมแม่อยู่เลย แม้ว่าจะได้ 7-8 เดือนแล้วก็ตาม

Vanessa บอกว่า case ที่ consult มา case นี้น่าสนใจ เพราะ primary caretaker เป็นลูกชายของคนไข้ ที่คนแม่เป็น multiple myeloma มาได้ 6-7 ปีแล้ว กำลังเริ่มแย่ลงๆ ลูกชายคนนี้อายุประมาณ 50 กว่าๆ พึ่งเสียน้่องสาวจากมะเร็งเต้านม เสียน้า และเสียภรรยา ไปจากมะเร็งต่างๆ 3 คนภายในหนึ่งปีมานี้ แกกำลังจะต้องดูแลมารดาที่กำลังจะตายจาก multiple myeloma อีกคน  Vanessa บอกว่าเราคงจะต้องดูแลลูกชายคนนี้ด้วย

พอไปถึง เราก็เจอ community nurse ที่ดูแลครอบครัวนี้อยู่ คือ cathy เป็นพยาบาลออสซี ตัวอ้วนใหญ่ เดินอุ้ยอ้ายย้ายซ้ายไปขวา หน้าตาใจดีสุดๆ  Vanessa แนะนำตัวผมให้ cathy แล้วเราก็เดินไปที่บ้านนี้ด้วยกัน Michael ลูกชายคนไข้ นั่งรออยู่แล้วที่หน้าบ้าน เขายิ้มดีใจที่เรามาถึง และเชิญเราเข้าไปในบ้าน

พอเราเดินเข้าไปก็รู้สึกเย็นสบายทันทีจาก air-condition คุณแม่ที่ป่วย นั่งอยู่บนโซฟาเอนหลัง หนังตาตกปิดไปข้างหนึ่ง อีกข้างลืมอย่างสะลึมสะลือ ขาสองข้างบวมและยกสูง มีรอยจ้ำเลือดเป็นจุดๆที่ตามขา และแขน หัวเข่าข้างซ้ายพันไว้ด้วย bandage แผ่นใหญ่ ที่ศีรษะสวม oxygen cannula ให้ oxygen เบาๆที่จมูก Michael ก็เล่า update อาการคุณแม่ให้ฟัง

ปรากฏว่าผมฟัง Michael เล่าไปด้วยความทึ่งมาก เพราะแกเล่าได้ละเอียดและเป็นขั้นเป็นตอน แกบอกได้แม้กระทั่ง progression ของ dose ยาที่แม่แกได้แต่ละชนิด อันนี้กี่มิลลิกรัม ทานตอนกี่โมง คุณ Michael เป็นฝรั่งตัวใหญ่ หนวดเคราครึ้ม ใบหน้ามีแววเศร้า (อาจจะเป็นเพราะผมทราบว่าแกเสียคนที่แกรัก สนิท ไปหลายๆคนในเวลาอันใกล้ก็ได้ ที่ทำให้รู้สึกไปอย่างนั้น) แต่ตอบคำถามชัดเจน ตรงไปตรงมา

ที่นี่เขาจะมีแผงจ่ายยาที่ดี เป็นแผงขนาดกระดาษ A4 มีหลุมยาเป็นมื้อๆ และเรียงไปตามวันที่ พอถึงมื้อไหน วันไหน ก็แคะมันออกมาจากหลุม ทำให้ไม่หลงยา หรือลืมกินยาง่ายๆ

ธรรมดา ดูแลคนไข้ที่ bed-ridden แบบนี้ จะ care ลำบาก ทั้ง mouth hygeine และ bedsore อีก ปรากฏว่าคุณ Michael แกดูแลได้เนี้ยบมากๆ ตัวคุณแม่ไม่มีกลิ่นอะไรเลย ช่องปากสะอาด nappy ที่สวมใส่ก็เป็นอันใหม่ สะอาดสะอ้าน แผล bedsore ไม่มี แต่มีถุง hematoma ใต้เข่าซ้าย แกเดินแล้วหกล้่ม (ตอนพยุง) เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว Michael ก็เลยหา bandage มาพันไว้หลวมๆ

Michael เล่าว่า ธรรมดา คุณแม่แกจะมีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่ไม่ได้สวนคาสาย ใช้่วิธีเปลี่ยน pampers แทน จะใช้วิธีนี่ได้ต้องเปลี่ยนเป็น และเปลี่ยนให้บ่อยๆ ผิวหนังจะได้ไม่หมักหมมกับปัสสาวะเกิดเป็นแผลขึ้นมาได้ แต่วันสองวันนี้ เริ่มมีกลั้นอุจจาระไม่ได้ด้วยเพิ่มมาอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็ยังใช้วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมไปเรื่อยๆ ตัวคุณแม่ไม่มีกลิ่นอะไรเหม็นเลย และสามารถนั่งอยู่ในห้องแอร์ได้สบายๆ หายใจได้โล่งๆ

Vanessa เข้าไปดูในช่องปากว่ามีเชื้อราอะไรไหม ก็สะอาด แห้งสนิท ออกจะแห้งเกินไปนิดนึง เป็นธรรมดาของคนที่ on oxygen อยู่ Vanessa ก็เลยถาม Michael ว่ามี gel หรือมีอะไรชุ่มๆคอให้คุณแม่อมไหม Michael ก็บอกว่ามีๆ มีอยู่ในตู้เย็น เป็นคล้ายๆวุ้น คล้ายเจลโล ป๊อบสิเคิลเย็นๆหวานๆมาให้คุณแม่กิน จะได้ช่วย moist ในปากของแม่ ตอน Michael เอามาป้อน แม่ก็ลืมตาบอก Thank you ก็เห็น Michael เอามือลูบเสยผมให้แม่เบาๆ สบตากันกับแม่พึมพัมสองสามคำ น่าจะเป็น you are welcome เป็นภาพที่ประทับใจเอามากๆเลย ในความอ่อนโยนของลูก นึกถึงภาพฝรั่งตัวโตที่อ่อนโยนกับแม่ได้แบบนี้ เป็นภาพที่น่าชมมาก

Michael หันมาถามผมว่า มาจากไหน ทำไมมาทำ palliative care ผมก็เลยเล่าให้ฟัง Michael เขาดูแลญาติๆจนเสียชีวิตไปทีละคนสองคนมา เขาเลย in กับ palliative care มาก เขาเล่าให้ฟังว่าเคยพาแม่ไปหา GP รอตรวจเลือด รอให้ยาตั้งสองวันสามวัน ไม่ยอมฟังว่าขอให้ช่วยอะไรนิดเดียวเท่านั้น เขาเห็นประโยชน์จากการที่ทีม palliative care ฟังคนไข้และญาติ และจะพยายามอธิบาย และคุยเรื่อง goals of care เสมอๆทุกระยะ แกเลยค่อยข้างรู้สึกดีที่มีศัลยแพทย์ (ผม) มาสนใจใน palliative care แบบนี้ แกยังขอบคุณที่ผมตาม Vanessa มาช่วยดูแลคุณแม่ของแกด้วย ผมเลยตอบขอบคุณ Michael ที่อนุญาตให้ผมอยู่ดูกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ

หมายเลขบันทึก: 239552เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2009 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • คุณหมเอล่าละเอียดมากเลยครับ
  • อันนี้แพงมากๆๆ
  • หนึ่งใบที่สามารถโทรมาเมืองไทยในราคา 39 c/minute (ตก 10 บาทต่อนาที)
  • แต่อันนี้เริ่มสงสัยว่าอาลัยอาวรณ์
  • อะไร
  • พลางแสดง evidence รอยแดดรอบๆสายเดี่ยวของเธอ เล่นเอาเราใจหายวาบ ไม่แน่ใจว่าจะมองตามที่เธอให้ดูดีหรือไม่ พยายามรักษาระดับสายตาให้สบตาเธอเอาไว้ตลอดการสนทนา
  • เดินจากมาอย่างอาลัยอาวรณ์
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ตามมาอ่านนิราศต่อค่ะ อืมม์ อาจารย์โชคดีนะคะที่เจอแต่คนออซซี่นิสัยดีๆ เคยเจอคนนิสัยไม่ดีด้วยค่ะ ใจร้ายกับเรามากทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันเลย แค่ถามทาง ไม่เห็นต้องรังเกียจกันขนาดนี้ ไม่ตอบแล้วเดินหนีไปเลยก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่นี่มองเราตั้งกะหัวจรดเท้าเหมือนเครื่องแสกนแล้วก็ไล่ว่าอย่ามาคุยกับเขา เขาไม่อยากเสวนากับคนเอเชีย T_T ตอนนั้นก็โมโหอยากจะถามว่าเป็นแสกนเนอร์ยี่ห้ออะไรถึงกลัวติดไวรัสนัก แต่ไม่อยากมีปัญหาเลยเดินจากมาแบบเสียใจ

ตาามมาอ่านนิราศด้วยค่ะ อ่านแล้วก็เลยเกิดคำถาม .. หลายคำถาม

เช่น

1. typical surgeon คืออะไรหรือคะ แล้ว .. typical surgeon ต่างจาก "surgeon" เฉยๆ แบบไม่มีคุณศัพท์ข้างหน้าตรงไหน ?

2. อะไรคือ "แรงบันดาลใจ" ที่ว่า ของ Vanessa จากการได้ร่วมงานกับ elizabeth? .. เข้าใจว่า อาจเกิดจากการส่งผ่านประสบการณ์ ทัศนคติ ความรู้สึก etc. หลายๆ อย่าง อยากทราบว่า ... คืออะไร อย่างไร?

3. Michael ทำงานอะไรคะ เค้ามี "เวลา" และ "รายได้" มาจากไหนในการใช้จ่าย เพื่อดูแลคุณแม่ที่นอน bed ridden >> totally dependent อยู่

4. อาจารย์คิดว่า "ปัจจัย" ที่ทำให้คุณ Michael สามารถ take care คุณแม่ได้อย่างน่าประทับใจดังที่เล่านั้น คืออะไร และถ้าเปรียบเทียบกับ ผู้ป่วยระยะเดียวกันที่บ้านเรา อะไรคือ "ข้อจำกัด" ที่ .. อาจจะ .. ทำให้เกิดผลต่างไป

อ.ขจิตครับ

ปกติไม่ได้ใช้โทรกลับหรอกครับ เอาไว้ติดต่อที่นี่มากกว่า (ที่ออสเตรเลีย) ผมโทรหาที่บ้านโดยใช้ google video chat ครับ ถูกมากกว่าเยอะ เห็นหน้าเห็นตากันด้วยทั้งบ้านเลย

ที่สงสัยก็ให้สงสัยต่อไปครับ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า มีอะไรอ๊ะป่าว

คุณ little jazz ครับ

ครับ คงไม่ได้มีแต่คนดี หรือคนไม่ดีไปหมดหรอกครับ แล้วแต่โชคเคราะห์ ตอนนี้เคราะห์ร้ายยังไม่มาเยือนผมเท่านั้นเอง ก็ขอ finger cross ไว้ก่อนว่าอย่ามาเยือนดีที่สุด

ของคุณ little jazz ก็คงต้องปลงอาบัติ เอ๊ย ปลงส่วนกุศลให้เขารีบไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้นเร็วๆเอานะครับ

Lucifer ครับ

ในเรื่องเล่า context เป็นสำนวนจงใจจะ stereotyping ครับ นั่นคือพูดแล้ว เดาได้ว่าน่าจะออกไปทางไหน ถ้าแกล้งโง่ไม่เข้าใจ ก็คงจะสื่อสารต่อลำบากหน่อย แต่คิดว่าพอไหวกระมังครับ

ผมไม่ได้ถามรายละเอียดกับ Vanessa เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่เราได้มาเจอกัน ผมจึงให้เป็น volunteer story มากกว่าการซักฟอกประวัติ แต่สรุปก็คือ คนเราสามารถทำให้เกิดแรงบันาดลใจแก่คนอื่นได้ นั่นคงจะเป็น chemistry ส่วนบุคคลกระมัง ไม่ใช่ของสาธารณะ และไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ละคนคงจะต้องให้ความหมายและทางเดินของตนเอง

เหตุผลหลักที่ผมคิดว่า Michael ทำอย่างที่เขาทำก็คือชื่อเรื่องครับ Mum, I love you แค่นั้น และบารมีดังกล่าวทำให้เกิด self organization ทำให้เกิดเวลา และต้นทุนที่จะมาดูแลแม่ของเขาได้ครับ

 

โธ่ .. อาจารย์ขา

หนูก็ไม่ได้มีโอกาสไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ อันมีค่า อย่างที่อาจารย์ได้ไป และกำลังทำอยู่ .. ไหนๆ อาจารย์ก็อุตส่าห์แบ่งปัน เรื่องราว ประสบการณ์ สู่สาธารณะดังที่ได้เล่ามาแล้ว และคิดว่าคงจะเล่าต่อไปอีกตั้งหลายตอน ก็ขอความกรุณาแบ่งปันทัศนคติต่อมาบ้าง .. สิคะ

คำถามที่ถามก็ไม่เห็นจะยวน กวนอารมณ์ที่ตรงไหนเลย ..

(แต่ก็ค่อยมีกำลังใจขึ้นมาหน่อย ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ควันอย่างนี้มาตั้งนาน คิดถึงจะแย่)

นะคะ .. เห็นแก่การศึกษานอกโรงเรียน ยังไงภาควิชา หรือคณะของเรา ก็คงจะไม่ส่งหนูไปถามเค้าเอง ... ก็ ... ฝากถาม ... มาแบ่งกัน ..

อาจารย์คะ พี่ต้อยว่าอาจารย์ขจิตนะ เขาคงอิจฉาละสิ ที่ไม่เห็น evidense แบบนั้นบ้าง ใช่ไหมคะ พี่ต้อยจะตามตอนต่อไปคะ น่าสนใจคะ

และขอให้อาจารย์ มีความสุขในซิดนีย์ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท