มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

สธ.ฟันธงโฆษณาเหล้าบนรถไฟฟ้าผิด กม.องค์กรงดเหล้าทวงจริยธรรม "บีทีเอส"


รถไฟฟ้าน่าจะสร้างมาตรฐานเป็นต้นแบบให้กับรถขนส่งมวลชนอื่นๆ และมีจริยธรรมในการประการธุรกิจ

      โฆษณาเหล้าบนรถไฟฟ้าผิดชัด เยาวชน องค์กรงดเหล้า ร้องบีทีเอส มีธรรมาภิบาล หัดเลือกรับโฆษณา เป็นต้นแบบมีจริยธรรม
       
       จาก กรณีรถไฟฟ้าบีทีเอส มีการโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอ้างว่า ไม่มีกฎหมายควบคุมการโฆษณา เนื่องจากประกาศกรมประชาสัมพันธ์เรื่องหลักเกณฑ์ช่วงเวลาในการโฆษณาสินค้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ถูกยกเลิกภายหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 นั้น


       นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากที่ได้ดูภาพโฆษณาบนรถไฟฟ้าแล้ว พบว่า ผิดชัดเจน อีก ทั้งยังมีการแสดงภาพฉลากสินค้า ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องห้ามตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 อย่างชัดเจน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และผู้ฝ่าฝืนยังต้องโดนปรับอีกวันละไม่เกิน 5 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
       
       ด้านนายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าว ว่า ภาคีภาคประชาชนกำลังจับตาการกระทำผิดกฎหมายอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหน่วยงานที่ไม่ยอมรับกติกาสังคม และกฎหมาย การตีความกฎหมายที่แตกต่างกันของทั้งสองฝ่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังไม่มีกฎหมายลูกออกมา ดังนั้น ในช่วงต่อไปนี้ กระทรวงสาธารณสุขควรจะให้ความสำคัญ เร่งรัด การออกกฎหมายลูก ออกมาบังคับใช้ เพื่อยุติข้อขัดแย้ง แต่หากยังไม่มีกฎหมายลูกออกมา จะเกิดกรณีการตีความที่ไม่ตรงกันเช่นนี้อีก ซึ่งจะสร้างภาระงาน และความยุ่งยากให้กับกระทรวงอย่างมากในอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากๆ คือ การได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนที่เอาใจใส่ต่อปัญหาสังคม และไม่นิ่งเฉยต่อการละเมิดกฎหมาย รวมทั้งรู้เท่าทันกลยุทธ์ของบริษัทเหล้าที่พยายามทำให้เหล้าเป็นสินค้าทั่วไปและใกล้ชิดกับประชาชน การไปโฆษณาบนรถไฟฟ้าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความพยายามนี้
       
       ายพิริยะ ทองสอน เลขาธิการมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน กล่าวว่า รถไฟฟ้าบีทีเอสควรสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติให้ถูกต้องและมีจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ โดยมีนโยบายในการเลือกรับโฆษณา เพราะบนรถไฟฟ้ามีเยาวชนขึ้นลงมหาศาลในแต่ละวัน เป็นสื่อเคลื่อนที่ที่เยาวชนจะได้รับข้อมูลโดยตรง การโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงพุ่งเป้ามาที่เยาวชนโดยการพยายามแสดงว่าเป็นสินค้าที่มีภาพลักษณ์ดี และช่วยเหลือสังคมแต่ความจริงแล้วเป็นเพียงภาพจอมปลอมเท่านั้น รถไฟฟ้าน่าจะสร้างมาตรฐานเป็นต้นแบบให้กับรถขนส่งมวลชนอื่นๆ และมีจริยธรรมในการประการธุรกิจ
       
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าว ว่า ขณะนี้มี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เจตนารมณ์นั้นไม่ได้ต่อต้านคนกินเหล้า แต่ต้องการป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ที่จะถูกชักจูงไปสู่การดึ่ม ซึ่งการโฆษณาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาทางตรง หรือโฆษณาแฝง ในที่สุดจะนำไปสู่การเสพติดแอลกอฮอล์ของนักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง อุบัติเหตุ
       
       " ผมมองว่า กรณีที่ทำผิดกฎหมาย มีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะทางตรงหรือแฝง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามกฎหมาย หากเจ้าของกิจการมองว่าไม่ผิดกฎหมาย ผมเห็นว่า เขาต้องทบทวนหลักคุณธรรม และจริยธรรม เพราะการประกอบอาชีพต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และ สังคมต้องเฝ้าติดตามผู้ประกอบกิจการว่าทำธุรกิจที่เหมาะสมหรือไม่ กรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องนี้ขึ้นมาแสดงว่าเห็นความไม่ถูกต้อง ไม่ดีงาม ดังนั้น จะพึ่งกฎหมายอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องอาศัยความตระหนักของคนในสังคมเป็นสำคัญ" นพ.อำพล กล่าว

         
 ผู้จัดการ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000010839

หมายเลขบันทึก: 238933เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท