092 : หัดดูเมฆเบื้องต้น (1) แผนภาพชนิดของเมฆ


 

หลังจากที่คนรักเมฆอย่างพวกเรา

ได้เห็นเมฆสวยๆ ชนิดต่างๆ กันไปพอสมควรแล้ว

ผมก็เลยคิดว่า

น่าจะลองกลับมาทบทวนเรื่องพื้นฐานกันสักนิด

เวลานำความรู้ไปใช้งาน หรือต่อยอด จะได้แม่นยำและสนุกเพลิดเพลิน

ดีไหมครับ?

^__^


 

เริ่มจากแผนภาพชนิดของเมฆ (Cloud Chart) กันก่อนเลย

ดูแล้วตาลายจริงวุ้ย!

 

 

ลองมาดูตัวเลขที่สำคัญกันก่อนครับ

(ไม่ต้องไปจำ แต่จับประเด็นให้ได้)

วงล่าง 6,500 AGL คือ 6,500 ฟุต สูงจากพื้น (AGL = Above Ground Level)

วงบน 20,000 AGL คือ 20,000 ฟุต สูงจากพื้น

[ดูคำอธิบายเกี่ยวกับ AGL ใน Wikipedia เพิ่มเติม]

 

สังเกตว่า ในทางอุตุนิยมวิทยา (และการบิน) นิยมใช้หน่วยเป็นฟุต

6,500 ฟุต คือ 2 กิโลเมตร
(ถ้ากดเครื่องคิดเลขก็ 1.95 กิโลเมตร)

 20,000 ฟุต ก็ 6 กิโลเมตร

 

ตัวเลข 2 ตัวนี้สำคัญ เพราะใช้ในการแบ่งประเภทเมฆตามความสูงครับ

 

เมฆที่อยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 6,500 ฟุต (2 กิโลเมตร) เรียกว่า เมฆชั้นต่ำ (Low Clouds)

 

เมฆที่อยู่สูงจากพื้นเกิน 20,000 ฟุต (6 กิโลเมตร) เรียกว่า เมฆชั้นสูง (High Clouds)

ส่วนตรงกลางๆ คือ เมฆที่อยู่ระหว่า 6,500-20,000 ฟุต ก็เรียกว่า เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds)

 

 

คำถาม :ทำไมท่านผู้รู้จึงได้แบ่งเมฆเป็น 3 ชั้นอย่างนี้หนอ?

(จะเฉลยในบันทึกถัดไป!)

 


เพิ่มเติม

แผนภาพเมฆอีกภาพหนึ่งซึ่งระบุความสูงไว้ด้วย

(เผื่อใช้งาน)

 

ดาวน์โหลดภาพ Hi-Resolution ของแผนภาพเมฆข้างบนนี้

 


คำสำคัญ (Tags): #cloud#เมฆ
หมายเลขบันทึก: 238813เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีครับอาจารย์ชิว

ขอบพระคุณมากครับ อธิบายได้ละเอียดดีจัง

ช่วงนี้เหงามากครับอาจารย์ท่านเมฆไม่ลอยไปลอยมาบนฟ้านานแล้ว

:)

  • สมาชิกชมรมเข้านั่งประจำที่เพื่อทบทวนความรู้ค่ะ (พีรอเน็ตสามบาทบ้านพี่เปิดหน้าบันทึกนี้สามนาทีกว่าๆ ค่ะ...อดทนนะคะ^^)
  • เหมือนที่คุณเดย์เขียนเลย เมฆลอยหายไปไหนกันหมดนะคะหน้าหนาวนี้
  • เมื่อวานจะโทรมาให้พี่ชิวถ่ายภาพดาวและเดือนมาเรียงตัวกันเป็นภาพลูกตาหลับข้าง ลืมข้างแน่ะค่ะ สวยมากสวยสู้จันทร์ยิ้มได้ค่ะ

ขอบคุณความรู้จากอาจารย์ครับ :)

สวัสดีครับ

       เดย์ adayday : นี่เพิ่งเริ่มออกสตาร์ทเกี่ยวกับเมฆครับ พอลงรายละเอียดไปสักพัก เรื่องราวต่างๆ จะมาเชื่อมโยงกัน และที่สำคัญคือ เชื่อมโยงกับเมฆและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เราเห็นบนท้องฟ้า - คราวนี้แหละสนุกเลย!

              ที่ว่าทำไมฤดูหนาวไม่ค่อยมีเมฆนี่ ความเข้าใจของพี่เป็นอย่างนี้ครับ (หมายความว่า ที่จะอธิบายต่อไปนี้อาจจะยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ 100% - แต่เราค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน ^__^)

              ลมหนาว (ที่เรียกว่า "มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ") ที่มาจากประเทศจีนนั้น เป็นอากาศที่ค่อนข้างแห้งครับ "แห้ง" หมายถึงว่า ในบรรดาแก๊สต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นอากาศนี่ มีไอน้ำไม่มากนัก เมื่ออากาศแห้ง โอกาสเกิดเมฆชนิดต่างๆ ก็น้อยลงตามไปด้วย

              แต่มีข้อยกเว้นอยู่คือ สำหรับจังหวังทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกนี่ ลมหนาวซึ่งพัดผ่านอ่าวไทย จะหอบเอาความชื้น (ไอน้ำที่ระเหยขึ้นมาจากผิวน้ำทะเลในอ่าวไทย) เข้าสู่ฝั่ง ทำให้เกิดเมฆ ซึ่งถ้ามีมากพอ ก็กลายเป็นฝนครับ

              นี่เองที่ทำให้ฤดูฝนทางภาคใต้ยาวนานกว่าภาคอื่นๆ เช่น ปลายเดือนพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม ภาคอื่นๆ เริ่มเข้าหน้าหนาวแล้ว แต่ภาคใต้ยังมีฝนกระหน่ำอยู่เลย (ลองถามคุณ poo และเพื่อนๆ ทางใต้ดูได้ครับ)

        พี่ดาว : เมื่อวานเห็น ดวงจันทร์หลับตาข้างหนึ่งเหมือนกันครับ แต่ตอนนั้นกำลังจะไปช้อปปิ้ง (ซื้ออาหารให้สุนัขที่มีจำนวนมากกว่า 1 โหล!)

               หมู่นี้ปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" ดูเหมือนเกิดขึ้นบ่อยจัง...เอ!....หรือว่าเรามองดวงจันทร์มากขึ้นน้อ....

        อ.Wasawat Deemarn : ด้วยความยินดีครับ มีภาพเมฆที่เชียงใหม่มาฝากก็ได้นะครับ

 เมฆที่วัดป่าบ้านค้อ....จ.อุดรธานี 

 

                                

 เอาเมฆยามเย็นที่จ.มหาสารคามมาฝากค่ะ...ภาพไม่ค่อยชัดเพราะถ่ายบนรถ...ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เรื่องเมฆค่ะ.....ช่วงนี้อากาศหนาวมากไม่ค่อยเห็นก้อนเมฆเลยค่ะ...

สวัสดีครับ

เมื่อวานลองถ่ายดู ไม่ค่อยชัดนะครับ อิๆ เล็กจิ๊ดเดียว

 

Moon1

อ. หมอเมฆค่ะ

วันนี้ตื่นเต้นค่ะ เห็นน้องดาว กับ พี่พระจันทร์

เกือบยิ้ม แต่มีตาเดียว ภาพเหมือนกับของ

คุณธวัชชัยเลยค่ะ Moon1

ช่วงกลางวัน เอาภาพมาฝากค่ะ

....

สวัสดีครับอาจารย์ และพี่ๆสมาชิกคนรักมวลเมฆทุกท่าน

ช่วงนี้เราไม่ค่อยได้เห็นเมฆกันเลย ผมรู้สึกคิดถึงมากจัง

ขอเอาเมฆเก่าๆที่ถ่ายเก็บไว้มาแจมนะครับ พอให้หายคิดถึงได้นิดนึง :)

เช้าวันที่ 19 มิ.ย. 2551 7.51 น. ไฟลท์ อุดรฯ - กรุงเทพฯ เดาว่าน่าจะก่อนถึงโคราชนะครับ

อรุณสวัสดิ์ค่ะอ.หมอเมฆ

....

ยังค้างคาใจ มาอ่านอีกรอบ ค่ะ ขอเดาว่า แบ่งตามชั้นบรรยากาศ รึเปล่าคะ

เพราะเมื่อก่อนเด็กๆ ยังหลงจำผิดคิดว่า เมฆมีชื่อ ว่า สตราโตสเฟียร์ :)

....

ได้แผนภูมิแล้ว จะลองไปสังเกต และเรียกชื่อ ขอบคุณค่ะ ... ก้อนนี้ ก็น่าจะ cumulus ใช่ไหมคะ ... แต่จะคิวมูลัส แบบไหนคะอ.  ดูยังงง ค่ะ

  • ขอบคุณค่ะ ที่กรุณาทบทวนการดูเมฆเบื้องต้น
  • หลังจากศึกษาพอเป็นสังเขป
  • อันนี้น่าจะเป็นเมฆชั้นสูงไหมค่ะ Cirrus หรือปล่าวค่ะ

 

ถ่ายวันที่ 30 มกราคม 2552 ที่โรงเรียนบ้านเชียวเฟือง ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี เวลาประมาณเที่ยง

สวัสดีครับ

       คุณ nussa-udon : ภาพสวยจังครับ เดินทางไปหลายแห่งเลยนะครับเนี่ย ภาพล่างนี่ขนาดไม่ชัด สีสันยังสวยงามทีเดียว

       อ.หมู : พี่มองเป็นไฝริมฝีปากครับ :-)  ขอบคุณสำหรับภาพดาวเคียงเดือนครับ

       คุณ poo : มีภาพดาวเคียงเดือนเหมือนกัน แถมเมฆคิวมูลัสแบบมาเดี่ยวด้วย

            เมฆคิวมูลัสใน #9 อยู่ระดับใกล้พื้นครับ เพราะก้อนใหญ่ เป็นเมฆระดับต่ำ หรือเมฆชั้นต่ำ (low cloud)

            เรื่องการแบ่งระดับเมฆ จะตอบไว้ในบันทึกนี้เลยครับ

       เดย์ : ภาพทะเลเมฆ สวยจัง มีอีกไหมครับ (งกๆๆ 555)

       คุณ จินตมาศ : เป็นเมฆชั้นสูง หรือ cirrus จริงๆ ด้วยครับ เหมือนในแผนภาพเลย

            มีภาพเมฆซีร์รัส (cirrus) ให้ชมเพิ่มเติม ลองตาม หนูนิ (ลูกสาวคนเล็ก) ไป โดยคลิกที่ภาพนี้สิครับ

      

 

  • สวัสดีค่ะ
  • เมฆคิวมูลัส อยู่ในกลุ่มของเมฆชั้นต่ำด้วยหรือคะ
  • เคยจำมาว่ามันอยู่ในเมฆที่วางตัวในแนวตั้ง เหมือนเมฆคิวมูโลนิมบัส
  • อยากทราบจริง ๆ ค่ะ

สวัสดีครับ คุณ ♥< lovefull >♥

        คำถามเกี่ยวกับเมฆคิวมูลัส (cumulus) ดีมากครับ  ผมลองตอบให้แล้ว คลิกภาพเมฆคิวมูลัสนี้ตามไปอ่านเลยครับ! ^__^

        

  • ส่งเมฆ cirrus มาให้ชม ถ่ายตอนเช้าก่อน 8.00 น. ที่สุราษฏร์ธานี เช่นเคย
  • ถามคุณบัญชาต่อ การพบเมฆชนิดนี้บ่งบอกอะไรได้บ้างคะ

สวัสดีครับ คุณจินตมาศ

         เมฆซีร์รัสที่เป็นเส้นๆ แล้วมีกระจุกตรงปลายหางแบบนี้ บอกทิศทางของลมในระดับสูงประมาณ 10 กิโลเมตรได้ครับ

         ลมพัดในทิศจากบริเวณหางที่เป็นกระจุกไปตามแนวเส้นเมฆอีกด้านหนึ่งครับ

         อย่างภาพแรกใน comment 15 นี้ ลมพัดจากมุมขวาบนของภาพ ไปยังมุมซ้ายล่างครับ

        บริเวณที่เป็นกระจุกตรงหางนั้น คือ น้ำแข็งที่กำลังจะตกลงมา

(เมฆซีร์รัสเป็นเมฆชั้นสูง คือ สูงระดับที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งหมด)

  • ขอบคุณค่ะคุณบัญชา
  • อย่างนี้แสดงว่าภาพแรก comment 14 ลมก็น่าจะพัดจากบนลงล่างซินะ

สวัสดีครับ

         เรื่องทิศทางนี่ผมขอกลับไปตรวจสอบอีกที แต่ที่แน่ๆ คือ ลมพัดตามแนวเส้นของเมฆซีร์รัสครับ

ขอเอา ข้อมูลไปแปะที่เวปได้ไหมค่ะ

ชอบถ่ายรูปนะค่ะ เรื่องเมฆนี่น่าสนใจมากเลย ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะค่ะ

คุณจุ๊บครับ

        ช่วย link ที่มาจาก URL นี้สักหน่อยด้วย ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ ป้าเพี้ยน

        ด้วยความยินดีครับ สมัครเป็นสมาชิกที่นี่เลยหรือครับ

ดร.ต้นสกุล ศานติบูรณ์

เรียน ดร.บัญชา ที่นับถือยิ่ง

ถ้าท่านได้รับข้อความนี้ โทร.กลับ 086 6368528 จะเป็นพระคุณยิ่งครับ

คุณครูสุวิทย์

บำรุงวิทยา

สามแยกไฟฉาน

  • สวัสดีครับ อาจารย์บัญชา
  • แวะมาทักทาย มาเติมเต็มความรู้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท