ต่อจากที่แล้วครับ


ท่าทีต่อการบวชของกลุ่มเพศวิถี(7)

ท่าทีต่อการบวชของกลุ่มเพศวิถี

พระพุทธศาสนาเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลาย และเปิดกว้างรวมทั้งมีเป้าหมายเพื่อการปฏิวัติสังคมและชุมชนของชาวอินเดียในครั้งพุทธกาลที่จะต้องการให้คนมีสิทธิในทางศาสนาที่เท่าเทียมกัน ดังการตีความของหลาย ท่านที่มองว่าพระพุทธองค์ เป็นศาสดาพระองค์แรกที่ให้สิทธิ กับคนที่มีความหลากหลายทางสถานะทางสังคม ดังกรณีการอนุญาตให้ช่างตัดผม (ต่อมาคือพระอุบาลี) ได้บวชก่อนกลุ่มกษัตริย์หนุ่มศากยวงศ์ ด้วยเหตุผลเพื่อเป็นการลดสถานะทางสังคมและนำไปสู่การสร้างสังคมใหม่ที่มีความเป็นเอกภาพเหมาะควรกับพระธรรมวินัยของพระองค์ และในเวลาเดียวยังรวมไปถึง กลุ่มของเพศสภาพกรณีอนุญาตให้ สตรีบวช

ในพระพุทธศาสนาได้ ประเด็นนี้ในทัศนะผู้เขียนเท่ากับเครื่องชี้วัดว่า พระพุทธศาสนาส่งเสริมและยกสถานะศักดิ์ศรีของมนุษย์ในสังคมให้มีความเท่าเทียมกันไม่ได้จำกัดด้วยสถานะและเพศภาวะแต่อย่างใด แม้จะแตกต่างกันทางเงื่อนไขในสังคมดั้งเดิมก็ตาม ในทัศนะผู้เขียนมองว่าเป็นการวางท่าทีต่อความสัมพันธ์ของ สมาชิกกลุ่มต่าง โดยบางกรณียังอาจสัมพันธ์กับเงื่อนไขของสังคมเดิมบ้าง

ในส่วนของกลุ่มบุคคลห้ามบวช ถูกบัญญัติเพื่อรักษาคนกลุ่มใหญ่สังฆะไว้ อันเนื่องด้วยท่าทีต่อการบัญญัติ จึงเป็นการประนีประนอมกับคนในสังคมเดิมเพื่อเป็นการรักษาชุมชนสังฆะที่พระองค์ตั้งขึ้นมาจึงสร้างเงื่อนไขเพื่อปกป้องและป้องกันความแปลกแยกโดยใช้บริบทของสังคมเดิมมาเป็นชุดความรู้อธิบายต่อเงื่อนไขของสังคมสังฆะในช่วงเวลานั้น

ในครั้งพุทธกาลสังฆะวางท่าทีความสัมพันธ์ กับกลุ่มเพศที่สามไว้อย่างไร ?มีหลักฐานใน อุสสังกิตสูตร ว่าด้วยธรรมที่ทำให้น่ารังเกียจ และมีข้อหนึ่งให้รายละเอียดว่าเป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ทรงบัญญัติไว้ ในพรหมชาลสูตรในส่วนของมหาศีลว่า พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพผิดทางด้วยเดรัจฉานวิชา...ทำกะเทยให้เป็นชาย (วสฺสกมฺมํ) ทำชายให้เป็นกะเทย (โวสฺสกมฺมํ)จากหลักฐานที่ยกมาจะเป็นไปได้หรือไม่ว่านั่นคือท่าทีของสังฆะที่ปรากฏในพระธรรม

วินัยที่สะท้อนให้เห็นว่าเป็นหลักที่ใช้สำหรับวางท่าทีของความสัมพันธ์ของสังฆะที่พระพุทธองค์ทรงตั้ง เพื่อรักษาคนกลุ่มใหญ่ไว้ดังเหตุผลของการบัญญัติวินัยเพื่อความดีงาม และอยู่ร่วมกันอย่างผาสุขของหมู่คณะ กับบุคคลในสังคมที่มีความหลากหลาย โดยมีเป้าประสงค์ปลายทางในอันที่จะรักษาชุมชนที่ทรงจัดตั้งไว้ พร้อมทั้งมีเป้าประสงค์เพื่อป้องกันสิ่งเร้าภายนอกที่จะมาชี้นำให้เกิดความคลาดเคลื่อน และนำไปสู่เหตุที่ไม่พึงประสงค์จากข้อมูลที่ปรากฏเป็นไปได้หรือไม่ว่าเป็นการวางท่าทีความสัมพันธ์ ผ่านเพศภาวะและบัณเฑาะก์ หรืออุภโตพยัญชนะ ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องวางท่าทีด้วยเช่นกัน โดยการไม่เข้าไปข้องเกี่ยวในฐานะที่เป็นอโคจรสำหรับพระภิกษุ รวมไปถึงการไม่ประกอบอาชีพที่นับเนื่องเกี่ยวกับบัณเฑาะก์หรือกะเทย ซึ่งพระพุทธองค์บัญญัติไว้ชัดเจนโดยใช้คำว่าเว้นขาดจึงอาจมองเห็นเจตนารมณ์ของการปกป้องความเป็นสังฆะที่ทรงจัดตั้งขึ้นมา

คำถามสาธารณะปรากฏว่าถ้าในกรณีจะให้กลุ่มชายเพศวิถีมีพื้นที่ทางศาสนาได้หรือไม่ ? ประหนึ่งเป็นการยอมรับโดยตรงไม่ต้องมาในภาพลักษณ์ของชาย แล้วเปลี่ยนไปเมื่อขั้นตอนและวิธีการในการคัดสรรได้สำเร็จลง แล้วกลายเป็นชุมชนที่มีเป้าหมายเพื่อการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง สำหรับกรณีผู้ที่ประสงค์จะบวชเพื่อการเข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง (ไม่ใช่เป็นการเอากระบวนการของสิทธิ์มาเป็นเงื่อนไข จนละเลยคุณค่าในทางวิถีศาสนาแต่ประการใด) ประหนึ่งเป็นการสร้างทางเลือกและพื้นที่กลุ่มชายเพศที่สาม

 

หมายเลขบันทึก: 238753เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท