ต่อจากที่แล้วครับ


“กลุ่มเพศวิถี “ชาย” กับสิทธิ์ทางศาสนา”(5)

แนวคิดทางสังคมต่าง ได้เข้ามามีผลต่อปรากฏการณ์ทางสังคมมากขึ้นสิทธิถูกนำมากล่าวอ้างเพื่อรองรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นสมาชิกหนึ่งของสังคม หน้าที่ในฐานะลูกพึงกระทำต่อบุพการี แนวคิดเรื่องความทันสมัยที่สังคมต่าง เขาเปิดรับต่อกลุ่มเพศวิถีกับพื้นที่ทางศาสนากรณีบาทหลวงเป็นเกย์ได้ รวมไปถึงการโต้แย้งบัณเฑาะก์ คือตัวอะไรทั้งยังมีผู้พยายามหาคำอธิบายว่านั่นเป็นบัญญัติที่ถูกออกมาในบริบทเดิม แต่ถ้าในกรณีผู้ปฏิบัติดี ตั้งใจปฏิบัติไม่เสื่อมเสียตามพระธรรมวินัยจะบวชได้หรือไม่ ? เอาพฤติกรรมของคนในอดีตมากำหนดศรัทธาของคนในปัจจุบัน รวมไปถึงการที่มีผู้ตีความย้อนพจนานุกรมศัพท์พุทธศาสน์ว่า

               "กะเทยโดยกำเนิด" นั้น น่าจะหมายถึงคนที่มี อวัยวะเพศทั้งชาย

                      และหญิงตั้งแต่เกิด ในแง่นี้ กะเทยจึงไม่จำเป็นต้องหมายถึงเกย์เสมอไป

                      ขันที ก็เช่นกัน ไม่จำเป็นว่าต้องหมายถึงเกย์ บัณเฑาะในความหมายที่

                     น่าจะหมายถึงเกย์มากที่สุด เพราะมีข้อความระบุว่า "ประพฤตินอกจารีต

                     ในทางเสพกาม" อย่างไรก็ตาม ท่านไม่ได้ระบุเพียงแค่นั้น แต่ยังมีข้อความ

                     ต่อท้ายว่า"และ ยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น" ถ้าเช่นนั้นจะพูดได้ไหมว่า

                     เกย์ที่สงบเสงี่ยม มิได้ยั่วยวนชายอื่นให้"ประพฤตินอก จารีตในทางเสพ

                    กาม" ไม่จัดว่าเป็นบัณเฑาะก์ ดังนั้นจึงไม่อยู่ในข่ายห้ามบวช

ทัศนะนี้เป็นท่าทีตามกรอบคิดขัดแย้ง (Conflict) ถึงไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงใด แต่ก็ทำให้เห็นว่าทัศนะเชิงขัดแย้งอันเป็นกรอบที่ใช้อธิบายบทศึกษานี้ประการหนึ่ง และในอนาคตผู้เขียนเชื่อว่าประเด็นของความขัดกันเหล่านี้ โดยเฉพาะการตีความตัวอักษร บทบัญญัติ ทัศนคติ หรืออื่นใดที่เป็นไปเพื่อสร้างพื้นที่ จะถาโถมต่อองค์กรคณะสงฆ์และผู้ยึดกุมต่อหลักบัญญัติที่ปรากฏอยู่เดิม ดังกรณีการตีความกลุ่มสตรีต่อการบวชเป็นภิกษุณีในสังคมไทย การอธิบายย้อน การตีความ และการหาองค์ความรู้มาเพื่อปรับและสร้างโลกทัศน์ใหม่ต่อการมีส่วนร่วมของชาวพุทธ แต่ก็ไม่สามารปรับเข้าหากันได้จนกระทั่งแยกกันทำแยกกันเดินอย่างที่ปรากฏอยู่ ฉะนั้นองค์ความรู้ต่อกรณีศึกษา และประเด็นทางสังคมยังมีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นต่อการที่ปรับทัศนคติของสังคมไทยเพื่อเปิดรับ และยอมรับต่อปรากฏการณ์อื่นนอกเหนือจากที่มีอยู่ เพื่อมีส่วนร่วมในการรักษาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาในภาพลักษณ์ที่หลากหลายขึ้น และมีผลเป็นการก้าวเดินของสังคมไทยในองค์รวมต่อไป

ทางออกต่อการบวช-ไม่บวชอยู่ตรงไหน ?

ประเด็นคำถามเหล่านี้อาจจะไม่มีคำตอบเสียทีเดียว แต่เป็นการอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ผ่านเงื่อนไข ยอมรับในความเป็นผู้มีสิทธิในฐานะมนุษย์คนหนึ่งของสังคมที่จะมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงการปฏิบัติธรรมเพื่อธรรมในทุกรูปแบบ แต่ในเวลาเดียวกันก็ยังรู้สึกสงวนท่าที่ต่อพื้นที่อันเป็นลักษณะเฉพาะอยู่ ประเด็นคำถามต่อไปที่ว่าแล้วที่มีปรากฏอยู่และบวชอยู่จะมีคำถามอย่างไร ซึ่งตรงนี้ก็ต้องย้อนกลับไปที่องค์กรสงฆ์กระแสหลักว่าจะหาทางออกอย่างไร การอนุญาตให้บวชแต่แรกเท่ากับการยอมรับกระนั้นหรือไม่ ? คำอธิบายจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอุปัชฌาย์/เจ้าอาวาส ก็จะบอกว่าตอนมาบวชไม่ได้แจ้งว่าเป็นไม่เป็น ใช่หรือไม่ใช่ เมื่อบวชมาแล้วก็ไม่ได้ทำเสียอะไร ดังนั้นจึงเป็นประหนึ่งเป็นการสมยอมต่อการตั้งชุมชนของกลุ่มพระที่เข้ามาบวชไป จนกระทั่งเกินกว่าการตรวจสอบและควบคุม ดังกรณีปรากฏเป็นประเด็นทางสังคม ?

ในทัศนะข้อขัดแย้งและทัศนะส่วนใหญ่มุ่งมองไปที่ผู้ปกครองระดับสูงของคณะสงฆ์ว่าทำไมไม่ออกกฎมาเพื่อป้องกันเสียมากกว่าที่จะอนุญาต โดยเจาะจงไปที่พระอุปัชฌาย์ที่ทำหน้าที่เลือกเพื่อคัดสรรค์คนที่จะเข้ามาบวช แต่ในส่วนของอุปัชฌาย์ก็ให้ทัศนะว่าก่อนบวชเขาไม่ได้บอกแต่เมื่อเข้ามาอยู่แล้วจึงมีพฤติกรรมดังกล่าว แต่เขาเหล่านั้นเมื่อบวชแล้วก็ไม่ได้แสดงพฤติกรรมอันใดที่ขัดต่อวินัยก็ไม่ว่าอะไรกัน ประหนึ่งสมยอมจนกระทั่งกลายเป็นนิคมของกลุ่มพระเพศวิถีจนกระทั่งเป็นแสดงพฤติกรรมบางส่วนที่มากจนเกินขอบเขตที่กำหนด ดังเป็นข้อวิพากษ์ทางสังคมในช่วงที่ผ่านมา พร้อมกันนั้นคณะสงฆ์ก็ไม่ได้มีมาตรการอันใดที่จะมารองรับประหนึ่งยอมรับกลาย จึงทำให้ภาพที่ปรากฏเป็นความขัดกันระหว่างหลักบัญญัติเดิมกับข้อเท็จจริงในการปฏิบัติ

 

หมายเลขบันทึก: 238749เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท