ต่อจากที่แล้วครับ


“กลุ่มเพศวิถี “ชาย” กับสิทธิ์ทางศาสนา”(4)

หลักฐานมีอย่างไรต่อการห้ามบวช

บัณเฑาะก์ คือ กลุ่มบุคคลที่ถูกบัญญัติไว้ห้ามบวชในพระพุทธศาสนาจึงเกิดการไขความเพื่อหาทางออกว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงมีบัญญัติเช่นนั้น หรือว่าเป็นกลุ่มชายนิยม” (เป็นคำนิยามของกลุ่มสตรีนิยม-ผู้เขียน) ที่บัญญัติวินัยในภายหลังเพื่อปกป้องกลุ่มของตัวเองโดยอาศัยฐานคิดจากความเชื่อในศาสนาเดิม อย่างที่พยายามตีความกันว่า บัญญัติวินัยโดยโลกทัศน์ของผู้ชาย จะเป็นความจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงหลักเชิงเงื่อนไขโดยมีเป้าประสงค์เพื่อปกป้องหมู่คณะอย่างที่ตีความกัน หรือว่าเป็นภาวะจริงแท้ที่บัญญัติไว้ในครั้งพุทธกาล ที่สอดรับกับสภาพสังคมเดิม และคนส่วนใหญ่ก็เข้าใจบริบทนี้ การเรียกร้องสิทธิ์ต่อการบวชจึงไม่เป็นประเด็นทางสังคม หรือว่ามีแต่ไม่ปรากฏหลักฐาน

หลักฐานต่อการบัญญัติห้ามบวชที่ปรากฏในคัมภีร์

หลักฐานตามคัมภีร์หลักในทางพระพุทธศาสนามีข้อบัญญัติเกี่ยวกับบัณเฑาะก์-กะเทยไว้อย่างไร และทำไมต้องบัญญัติอย่างนั้น

ในวินัยบัญญัติได้มีการห้ามบวชบัณเฑาะก์ไว้ชัดเจน จึงเกิดคำถามว่า ทำไมจึงห้ามกะเทยบวชเหมือนกับกลุ่มสตรีนิยม ตั้งคำถามว่าทำไมภิกษุณีหมดไปจากสังคมไทย ทำไมหญิงไทยจะบวชภิกษุณีในประเทศไทยไม่ได้ ? หรืออีกหลายคำถามที่โยนคำถามต่อสาธารณะเพื่อให้เกิดการวิพากษ์จนกลายเป็นวาทะกรรมหรือ อาจเลยไปถึงวิวาทะทางสังคมอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และยังหาทางออกร่วมกันไม่ได้ เพราะฐานของเหตุผล และการตีความแตกต่างกันไปตามสภาพเงื่อนของเจตนา ที่ตัวเองมุ่งหวังและตามสภาพของการรับรู้และฐานข้อมูล

สาเหตุของการห้ามบัณเฑาะก์-เกย์-กะเทยบวช

ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ มหาวรรค ภาค เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบทด้วยสาเหตุว่าในครั้งพุทธกาลมีการอนุญาตให้บัณเฑาะก์บวชได้ เมื่อเข้ามาบวชแล้วมีพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัย ยังคงแสดงพฤติกรรมตามเพศรสที่ตัวเองชื่นชอบและแสวงหาสุนทรียะจากพฤติกรรมทางเพศรุกรานพระภิกษุสงฆ์สามเณรจนไม่เป็นอันปฏิบัติธรรม

นำไปสู่การเพ่งโทษ ติเตียนของพระภิกษุสงฆ์สาวก และชาวพุทธและเป็นที่มาของบัญญัติห้ามบวชในพระพุทธศาสนาพระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย      นอกจากนี้ยังมีอุภโตพยัญชนะที่มีทั้งสองเพศอยู่ในร่างเดียวกัน ดังปรากฏในพระไตรปิฎกว่าอุภโตพยัญชนกคนหนึ่งได้บวชในสำนักภิกษุ เธอเสพเมถุนธรรมในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิตของตนบ้าง ให้บุรุษอื่นเสพเมถุนธรรมในอิตถีนิมิตของตนบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ อุภโตพยัญชนก ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย

การห้ามอุภโตพยัญชนะบวชยังเป็นกลุ่มที่ไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ในส่วนของบัณเฑาะก์กรอบของการให้ความหมายดังปรากฏในพจนานุกรมศัพท์พุทธศาสน์ที่ว่าบัณเฑาะก์ คือกะเทยคนไม่ปรากฏ ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่กะเทยโดยกำเนิด ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ชายมีราคะกล้าประพฤติ นอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น หรือในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ให้ความหมายทำนองเดียวกัน ดังนั้นในสภาพของการรับรู้ในสังคมไทย ในทัศนะผู้เขียนบัณเฑาะก์ กะเทย เกย์ ตุ๊ด แต๋ว จึงน่าจะถูกนิยามอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งหมายถึงเป็นกลุ่มที่ต้องห้ามตามวินัยบัญญัติในทางพระพุทธศาสนาแต่เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยน ท่าทีต่อประเด็นเหล่านี้เปิดกว้างมากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 238746เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท