การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 4


หน่วยงานรับการประเมินมักวิเคราะห์ผลบนฐานของความรู้สึกมากกว่าฐานข้อมูล ดังนั้น ผลการดำเนินงานหลายเรื่องจึงวิเคราะห์ไม่ออก แล้วเว้นว่างไว้ แล้วข้อนี้ จะแก้ไขกันอย่างไร ?

ติดตามตอน 3 ได้ที่  การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 3

ติดตามตอน 2 ได้ที่  การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2

ติดตามตอน 1 ได้ที่  การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 1

ในรายงานผลประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัย (ในแต่ละคณะวิชา)  ดิฉันขอวิพากษ์ว่า ส่วนใหญ่ยังขาดการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของตนเอง  ยกตัวอย่างของ มน.เอง แม้ได้มีการกำหนดรูปแบบของรายงาน SAR (Self assessment report) ที่เป็นมาตรฐาน  ซึ่งมีส่วนที่ให้ทำ SWOT analysis ของผลการดำเนินงานทุกตัวบ่งชี้ (ดัชนีชี้วัด) แล้วก็ตาม  สิ่งที่มักปรากฎแก่ผู้ประเมินคือ หน่วยงานรับการประเมินมักวิเคราะห์ผลบนฐานของความรู้สึกมากกว่าฐานข้อมูล ดังนั้น ผลการดำเนินงานหลายเรื่องจึงวิเคราะห์ไม่ออก แล้วเว้นว่างไว้  แล้วข้อนี้ จะแก้ไขกันอย่างไร ?

 

 

 

 

เพื่อให้มีทักษะในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ  ดิฉันขอเสนอว่า การจัดการความรู้อาจช่วยได้

ก่อนที่จะชี้แจงแถลงไขว่า การจัดการความรู้ช่วยได้อย่างไร  ดิฉัน  ขอเสนอนิยามของการจัดการความรู้ก่อนนะคะ   การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆกัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน  บรรลุเป้าหมายของงาน  และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้  (ที่มา:ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช)

เครื่องมือจัดการความรู้  มีหลายชิ้นแต่ละชิ้นมีคุณประโยชน์เหลือหลาย ดิฉันจำแนกเครื่องมือตามคุณประโยชน์ในการสร้างวัฒนธรรมของการทำงาน ทั้งของปัจเจกบุคคล  และของกลุ่มคน  ดังนี้ 

1. เครื่องสร้างวัฒนธรรมการประเมินตนเอง

ใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า AAR = After action review   และ River Diagram

 

2. เครื่องสร้างวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า  Stair Diagram, Peer Assist   และ Blog

 3. เครื่องสร้างวัฒนธรรมชื่นชมยินดี  ใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า  Dialogue,  Story Telling, Deep Listening

 4. เครื่องสร้างวัฒนธรรม สุ  จิ  ปุ  ลิ  ใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า  Deep Listening, Dialogue, Blog

5. เครื่องสร้างวัฒนธรรมเชื่อถือไว้วางใจ   และ  6. เครื่องสร้างวัฒนธรรมทำงานเป็นทีม  ใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า  Cop = Community of practice

เครื่องมือ ชื่อแปลกๆ แต่ละชิ้น ช่วยให้เกิดทักษะในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และช่วยในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้อย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไปนะค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 23776เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2006 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์มาลินี...
  • บทความนี้ทำให้ว่า blogs เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้ (สุ-จิ-ปุ-ลิ) และเข้าใจภาพรวมดีมากๆ
  • โชคดีที่ NUKM มี "cheer leaders" มาก ทำให้สมาชิกมีกำลังใจ
  • ต่อไปถ้านิสิตมีส่วนร่วมมากขึ้นก็น่าจะดี จะได้เป็นสถาบันแรกที่ "อาจารย์-บุคลากร-นิสิต-คนนอก" มีส่วนร่วมในกิจกรรม km กว้างขวางที่สุด...
  • ยินดีด้วยครับ ประชาชาติธุรกิจ (13-16 เมย. 49) หน้า 44 เรื่อง "เปิดโผ ม.รัฐ-เอกชน ยอดนิยม ศิลปากร-มธ.-เอแบค สุดฮิต!!"...
  • มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "The most popular university 2006" โดย www.eduzones.com พบว่า มน. พิษณุโลก เป็นมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดที่น่าเรียนที่สุด...

อยากรู้จังเลยค่ะว่า ที่เด็กๆ เขาโหวตว่า มน.เป็นมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดที่น่าเรียนที่สุด เพราะอะไร?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท