กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักสูตร 2551


ถ้าทุกคนคิดว่า "จิตสาธารณะ" เป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ เป็น 1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเยาวชนไทย/คนไทยที่จะช่วยให้สังคมอยู่รอดได้....ถ้าคิดเช่นนี้ เราลองมาช่วยกันเถอะครับ นอกจากหลักสูตรจะประสบความสำเร็จแล้ว ประเทศไทยก็คงประสบความสำเร็จไปด้วย..อย่างแน่นอน

 

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  ซึ่งจะเริ่มใช้ในลักษณะทดลองนำร่องในปี 2552 และใช้แบบทั่วไปในทุกโรงเรียน ในปี 2553 ตามหลักสูตรนี้ นอกจากการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระแล้ว ในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็ถือเป็นส่งสำคัญยิ่ง ซึ่งหลักสูตร ได้จำแนกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) กิจกรรมแนะแนว  2) กิจกรรมนักเรียนและ  3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องเน้นการสร้างเยาวชนที่มีความสมดุลย์ ลูกศิษย์ต้อง “เป็นคนเก่ง เป็นคนดี  มีคุณลักษณะและมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด”

การให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นความมุ่งหวังที่จะสร้าง “จิตสาธารณะ” และคุณลักษณะแฝงอื่น ๆ อีกมากมาย ผ่านกิจกรรมนี้

ในการสร้างจิตสาธารณะ คงมีหลายแนวทาง “สถานศึกษาจะต้องคิดกิจกรรม ที่มีความเป็นไปได้ ง่าย และสะดวกในการปฏิบัติ แต่ให้ผลดี”  ต่อไปนี้ อาจเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเพื่อการสร้างจิตสาธารณะแก่นักเรียน

1) ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการดูแลรักษาบ้าน และรับผิดชอบงานบ้าน ถือเป็นงานสาธารณะที่ใกล้ตัวที่สุด โดยมีพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น  ตื่นนอนแต่เช้า   กวาดบ้าน-ถูบ้าน จัดระเบียบ/กวาดบริเวณบ้าน 

2) ส่งเสริมให้เด็กร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาซอย/หมู่บ้านที่อยู่อาศัย  โดยมีพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น  ปลูกต้นไม้(ไม้ดอก ไม้ประดับ)หน้าบ้านพร้อมดูแลรักษา   กวาด/ทำความสะอาดถนนหรือที่สาธารณะรอบบ้านในรัศมี 5 เมตร  เป็นกรรมการฝ่ายเยาวชนเพื่อการดูแลรักษาซอย/หมู่บ้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น( หากสถานศึกษากำหนดคุณสมบัติของเยาวชนที่เป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างข้างต้น พร้อมผลักดัน หรือส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างจริงจัง ท่านเชื่อหรือไม่ว่า “ชุมชนจะเป็นแหล่งที่น่าอยู่ในชั่วพริบตา”  อีกทั้งเยาวชนจะเกิดคุณลักษณะอื่น ๆ ตามมา เช่น ความเสียสละเพื่อส่วนรวม  ทักษะการจัดการ ฯลฯ)

3) จัดกิจกรรมเพื่อชี้นำทิศทางการพัฒนาหรือแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน  อาทิ  ในช่วงฤดูกาลของการเสียภาษีเงินได้ประจำปี  ครูคณิตศาสตร์มอบหมายให้นักเรียนสอบถามเงินได้ของพ่อแม่และนำใบคำนวณภาษี (ภ.ง.ด.91)มาคำนวณที่โรงเรียนแล้วมอบหมายให้นักเรียนนำกลับไปบ้านเพื่อหารือกับคุณพ่อ-คุณแม่เพื่อชำระภาษีต่อไป  ครูวิทยาศาสตร์/ครูสังคมศึกษาให้นักเรียนร่วมปฏิบัติการรณรงค์การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้าน  ครูสุขศึกษาร่วมกับชุมนุมสุขภาพในโรงเรียนจัดทำจดหมายเตือนหรือปฏิบัติกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก  หรือโรคอื่น ๆ เป็น

4) สถานศึกษาเป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชนในรัศมีที่เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา เช่น รับผิดชอบดูแลในรัศมี 1 กิโลเมตร รอบสถานศึกษา โดยร่วมกับชุมชนอย่างจริงจังในการพัฒนาบรรยากาศ/สิ่งแวดล้อมของชุมชน ทั้งนี้ อาจปฏิบัติการผ่านกิจกรรมชุมนุมที่มีอยู่ในโรงเรียน  และเน้นให้นักเรียนมีบทบาทหลักในการร่วมวางแผนพัฒนา  การปฏิบัติการเช่นนี้ เสมือน “การใช้ชุมชนที่เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา เป็นห้องปฏิบัติการทดลองประสบการณ์ชีวิตต่าง ๆ แก่ผู้เรียน”  ทั้งนี้เชื่อว่า หากนักเรียนมองเห็นแนวทางการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม 1 ชุมชน   นักเรียนเหล่านั้นจะสามารถนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชุมชนที่อยู่อาศัยของตนเองได้ในอนาคต  อีกทั้ง โรงเรียนเองก็จะเป็นที่รักใคร่/เป็นที่พอใจของชุมชนที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน เป็นโรงเรียนของชุมชนอย่างแท้จริง(อนึ่งชุมชน อาจให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในส่วนนี้

5) ประสานงานกับผู้ปกครอง หรือเครือข่ายผู้ปกครอง ให้ร่วมกันวางแผนเพื่อทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วมกันเป็นวงศ์ตระกูล  โดยวางแผนเป็นรายปี พร้อมแจ้งแผนงานให้โรงเรียนทราบตั้งแต่ต้นปี การกระทำเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงเรียนในการส่งเสริมให้นักเรียนจัดทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และส่งเสริมให้ครอบครัวไทย “มีจิตสาธารณะไปในตัวด้วย”

ผมคิดว่า แนวทางการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะคงทำได้หลายแนวทาง ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมส่วนหนึ่งเท่านั้น ...ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะทำกันอย่างจริงจังเพียงใด เราเห็นคุณค่าของเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด...ถ้าทุกคนคิดว่า จิตสาธารณะเป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ เป็น 1 คุณลักษณะที่จะช่วยให้สังคมอยู่รอดได้....ถ้าคิดเช่นนี้  เราลองมาช่วยกันเถอะครับ   นอกจากหลักสูตรจะประสบความสำเร็จแล้ว  ประเทศไทยก็คงประสบความสำเร็จไปด้วย ...อย่างแน่นอน

 

หมายเลขบันทึก: 237567เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์

    ตอนนี้ผมได้รับมอบหมายให้ทำโครงการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนของจังหวัดอยู่ครับ

    และกิจกรรมหนึ่งที่ผมเสนอ คือ กิจกรรมจิตอาสา  โดยให้กลุ่มเยาวชนรวมตัวกันทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ตามความคิดของเขาเอง

    ผมว่าถ้าเด็กเขาได้ทำกิจกรรมที่มีคุณค่าและ "ได้รับการยอมรับ"  น่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเด็กกลุ่มเสียงได้มากครับ

   ที่สำคัญที่สุด คือ การยอมรับ  ครับ

   ต้องสร้างการยอมรับขึ้นมาจาก  เพื่อน ครอบครัว ครู  ชุมชน  ท้องถิ่น   ให้ยอมรับการทำกิจกรรมสาธารณะของเด็ก  เพื่อให้พัฒนาอย่างยั่งยืนครับ

                        ขอบคุณครับ 

              ขอบคุณครับ

ท่าน small man~natadee

  • ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์นะครับ ผมเชื่อเช่นเดียวกับท่าน
  • ขณะนี้ หลักสูตรใหม่ เปิดโอกาสให้เรา(เด็ก  ผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียน)ได้มีโอกาสทำในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น เป็นสิ่งท้าทายมาก  ถ้าทำอย่างจริงจัง คงจะเกิดผลดีต่อประเทศแน่ ๆ

หากต้องการให้เกิดมี "จิตสาธารณะ" ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และ เหมือนกันทุกโรงเรียน

  1. อาจต้องใช้ การกำหนดกิจกรรมหลักที่สอดคล้องเข้าไปในรายวิชา
  2. กำหนดให้ครูที่จะทำผลงานต้อง ระบุกิจกรรมที่สอดคล้องกับจิตสาธารณะ ลงในแผนการสอนด้วย
  3. กำหนด อย่างน้อยเทอมละ 1 รายวิชา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและติดตามการพัฒนาผู้เรียนที่ต่อเนื่องได้  จนจบการศึกษาชั้นสูงสุด ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นอยากแต่ไม่ได้ปฏิบัติจริงจัง
  4. ต้องสร้างเครื่องมือวัด"จิตสาธารณะ" วัดคุณลักษณะนี้ให้ครูใช้ด้วยค่ะ

 

จากข้อ2) ส่งเสริมให้เด็กร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาซอย/หมู่บ้านที่อยู่อาศัย ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ จำไม่ได้แล้วว่าได้ยินเรื่องการศึกษาที่เวียดนามจากใคร(น่าจะเป็นอาจารย์นะครับ)ที่เล่าว่าเมื่อนักเรียนกลับบ้านคุณครูจะให้การบ้านให้นักเรียนทำใส่สมุดแล้วมาส่งในวันรุ่งขึ้น การบ้านที่เด็กนักเรียนเวียดนามต้องทำทุกๆวันเหมือนกันๆกันคือ

1.เมื่อวานนี้นักเรียนได้ช่วยเหลืองานพ่อแม่อะไรบ้าง

2.เมื่อวานนี้นักเรียนได้ทำงาน/กิจกรรม เพื่อชุมชุนของนักเรียนอะไรบ้าง

ฯลฯ

ฟังแล้วก็อึ้งครับว่าขณะที่เรากำลังสาละวนกับคำว่า "ผลสัมฤทธิ์" เพื่อนบ้านเราเขากลับมองไปที่การสร้างจิตสาธารณะและความรักใชมชน ท้องถิ่นตนเอง

ปีใหม่นี้รักษาสุขภาพนะครับจะได้เขียนบทความบ่อยๆ

จิรเมธ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตามมาเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี 51

ถ้าเราร่วมด้วยช่วยกัน ความฝันของไทยคงไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ

สู้ๆคร๊า จิตอาสา เรื่องของใจ ใจเป็นสำคัญ ใจเป็นที่ตั้ง ใจเป็นประธาน

เรียบนอาจารย์ที่เคารพ

  • หลังจากที่ได้กลับจากการนำเสนองานวิจัย ฯ ที่รงเรียนหอวัง ปี 2548  มานั้น
  • ดิฉันได้นำคำว่า "จิตสาธารณะ" มาศึกษา  และนำมาจัดกิจกรรมให้นักเรียนในโรงเรียน  ชั่วโมงแนะแนว
  • ต่อสู้มาเรื่อย ๆจนขณะนี้ กิจกรรมได้เบ่งบานอย่างช้า ๆและมีความตระหนักแล้วค่ะ
  • ส่วนเรื่องการลงมือนั้นเป็นเรื่องของพฤติกรรมและจิตใจ  ต้องคอยกระตุ้นเตือน บอกกล่าวและส่งเสริมอยู่เสมอ ๆ
  • กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ ที่ได้เห็นรูปร่างชัดเจนขึ้นมาอีกครั้ง

จิด้า

  • ขณะนี้หลักสูตรกำหนด เด็กประถม ต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมปีละ 10 ชั่วโมง   ม.ต้น ปีละ 15 ชั่วโมง  ม.ปลาย ปีละ 20 ชั่วโมง ซึ่งถ้าตามนี้ หมายถึงเด็กต้องทำตลอด 12 ปี
  • คงจะต้องสอดแทรกในทุกวิชา  และทำภายใต้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • อาจจะต้องพัฒนาเครื่องมือ  อย่างที่จิด้าเสนอ  หรืออีกทางหนึ่ง คือ นิยามให้ชัดว่า พฤติกรรมจิตสาธารณะ คือ อย่างไร ต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน แต่ละเดือน ซึ่งก็สังเกตหรือประเมินได้ไม่ยากเลย   ....สำคัญที่ ทุกคนต้องจริงจังในการผลักดันให้เกิดคุณลักษณะตัวนี้ให้ได้ และต้องสังเกต หรือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง

ดีจังเลยครับผมอยากเห็นมาก

คุณเทียนน้อย และ คุณเบดูอิน ครับ

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาติดตามและช่วยสนับสนุน
  • ถ้าทุกคนร่วมมือกัน ผมคิดว่า อีก 10 ปี เด็กเราจะมี "จิตสาธารณะ" มากขึ้นอย่างแน่นอน
  • ที่สำคัญที่สุด คือ ทุกคนต้องช่วยกันบอกผู้ปกครองและพ่อแม่เด็ก ประมาณ 30 ล้านคนว่า ขณะนี้  "หลักสูตรกำหนดเงื่อนไขให้เด็กไทยต้องทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ และคาดหวังให้เด็กไทยทุกคนมีจิตสาธารณะ"....ถ้าคน 30 ล้านคนรับทราบและร่วมกันส่งเสริมควบคู่ไปกับโรงเรียน ความฝันของเราก็น่าจะเป็นจริงครับ

ครูคิมครับ

  • ผมได้ติดตาม/เข้าไปดูเว็บไซด์ของอาจารย์ ดีใจมากที่อาจารย์ได้ทำหน้าที่เป็นครูแกนนำสำคัญคนหนึ่งในการคิดและพัฒนาในเรื่อง "จิตสาธารณะ"
  • ผมฝากว่า อยากให้นำผลการทดลองมาเล่าเป็นระยะ ๆนะครับ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
  • ในปลายปี 2552 ผมจะพยายามหาโอกาสจัดสัมมนา เพื่อให้ครูทั่วประเทศได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนี้ สักครั้งครับ

เรียน คุณครู

  • เพิ่งถึงบางอ้อเดี๋ยวนี้เองค่ะ ว่าเริ่มมีการนำไปใช้บ้างแล้ว
  • เพียงแต่ผลักดันให้เป็นรูปธรรม อย่างต่อเนื่อง
  • เห็นด้วยกับการ "ประชาสัมพันธ์" ให้มาก ๆ ให้เกิดการร่วมด้วยช่วยกันของสถาบันครอบครัว ฯลฯ
  • หากมีโอกาส /เวลา  หนูอยากมีส่วนเข้าสัมมนาเรื่องนี้กะเขาบ้าง  จะได้นำไปใช้กับนศ.ของตัวเองให้ชัด ๆ ขึ้น (เดี๋ยวนี้ก็สาธารณะอยู่บ้างแล้วค่ะ)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะอาจารย์
  • เริ่มต้นจากการจุดประกายของอาจารย์
  • ก่อตัวขึ้นมาเป็น..นักเรียนธรรมาภิบาล
  • กลายมาเป็น..โครงการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะสู่กระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนมีส่วนร่วม
  • ดิฉันจะนำเล่าในบันทึกค่ะ

ได้ทำแล้วอย่างต่อเนื่อง ในสถานศึกษาขนาดเล็ก

โรงเรียนไกล้บ้านเกิดท่านอาจารย์

แม้ไม่ได้เห็นหลักสูตร

แม้ไม่ได้เป็นโรงเรียนนำร่อง

ขออนุญาต นำบทความเผยแพร่ อีกครั้งในวันประชุมกรรมการศึกษาว่า...

เราเดินทางนี้กันมานาน

คุณจีด้า ครูคิม และ ผอ.วาสนา

  • ดูแนวโน้มแล้ว น่าจะดีนะครับ เพราะมีการเริ่มต้นอย่างจริงจังกันแล้ว
  • ถ้าทุกคนช่วยกันจริง ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จะเกิดผลเร็วขึ้นแน่ ๆ ครับ
  • เอาเป็นว่า สิ้นปี 2552 เราลองจัดสัมมนาเพื่อให้มีการนำเสนอผลงานเรื่องนี้กัน จะดีไหมครับ...จะได้รวบรวมผลงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น   ผมขอจองครูคิม กับ ผอ.วาสนา ไว้คนละ 1 เรื่อง ก่อนนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ดิฉันได้เรียนผู้บริหาร เพื่อนครูและเด็ก ๆ ทราบแล้วค่ะ
  • โรงเรียนวิทยสัมพันธ์  ยินดีให้ความร่วมมือค่ะ
  • วันนี้เครื่องติดค่ะ..
  • http://gotoknow.org/blog/krukim/238432

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

วันนี้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์...ได้ติดต่อมาเพื่อบันทึกถ่ายทำ"กิจกรรมนักเรียนจิตสาธารณะ" ของโรงเรียนวิทยสัมพันธ์ค่ะ

โรงเรียน..เตรียมความพร้อมเพื่อที่รอเข้ามาร่วมสัมมนานำเสนอผลงานนักเรียน  ร่วมกับโครงการของอาจารย์ค่ะ

ครูคิม

  • ขอชื่นชมในความจริงจังและความสำเร็จของโรงเรียนนะครับ
  • จะพยายามจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้ อย่างแน่นอน

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • เดิมโรงเรียนมีเว็ปไซทNแต่ใช้พื้นที่ของ obec  เจ้าหน้าที่ย้ายไป ลาออก ทำให้รัสหายไปพร้อมด้วย
  • เป็นเวลากว่า ๒ ปี วันนี้โรงเรียนเริ่มมีเว็ปไซท์ใหม่แล้วค่ะ http://www.wittayasamphan.net
  • บริษัทที่ผลิตรายการเขาบอกว่าติดตามกิจกรรมเช่นนี้มานาน จากของโรงเรียนที่นำไปบันทึกไว้ในวิชาการดอทคอมและในเว็ปจิตอาสา รวมทั้งเว็ปบ้านครูคิม
  • ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ  ที่เป็นผู้จุดประกายให้ความสนใจกับดิฉันที่การสัมมนางานวิจัยที่โรงเรียนหอวัง
  • หลังจากนั้นดิฉันพยายามไปศึกษาเรียนรู้ และเริ่มฝึกกับเด็กมาโดยตลอด
  • ดิฉันจะมาเล่าให้อาจารย์ทราบที่บันทึกฉบับนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มาส่งข่าวคืนหน้าเกี่ยวกับจิตสาธารณะ
  • และขอขอบคุณอาจารย์ที่จุดประกายให้ค่ะ
  • ขอบคุณมากครับ ครูคิม
  • ผมจะคอยติดตามผลงานนะครับ และต้องรบกวน "ขอให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในเรื่องจิตสาธารณะ" อีกโรงหนึ่ง

 

ต้องการให้อาจารย์ช่วยเคลียให้เข้าใจกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน"จิตสาธารณะ"กับกิจกรรมนักเรียน"ลูกเสือ"การวัดผลประเมินผลด้วยคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

อ่านบทความของอาจารย์ หลายๆ เรื่อง รู้สึก ดีจังเลยค่ะ แต่จิตอาสาบางครั้งก็ต้องขึ้นอยู่กับ ผู้สอนที่จะมีจิตอาสาด้วย ถึงจะดีที่สุด

แต่ที่ได้รับ / เคยพบเห็นปัจจุบันในสถาบันการศึกษา มีแต่การเก็บ / เก็บ / ได้ / ได้ เข้าผู้สอน ได้รับประโยชน์ สักส่วนใหญ่ บางครั้งถึง เรียกเป็นเงินทอง ก็ว่าได้ แค่แบบอย่างที่เห็นอยู่ แล้ว พวก เด็กๆ จะมีจิตอาสา ได้ไงค่ะ

เห็น / ได้ยิน

แต่ไม่สามารถทำอะไร ได้ เพียง ภาวนา ขอให้หยุด โดยเร็ว แต่..,มีแต่เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น

เห็น แต่พูดไม่ได้ ผู้ใหญ่กว่ารู้เห็น มาตรวจสอบ แต่เรื่องผ่านโดยดี ความ bias มีทุกที

อาจเป็นเพราะกิเลส คน ไม่ยอม หยุด

นี่เป็นสถาบันการศึกษาจิตสำนึก ไม่รู้อยู่ไหน

แล้วจะทำอย่างไรดีค่ะ

นาย ธนารักษ์ พรมทองคำ

เป็นโดน

นางสาว เนตรวงแหวน อยู่พักดี

พี่หล่อจัง เลย รักนะ จุ๊บๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เรียน ดร.สุพักตร์และท่านผู้รู้ทุกท่าน

ดิฉันเป็นศึกษานิเทศก์ มีความสนใจศึกษาและทำรูปแบบการทำกิจกรรมเพื่อสังคมให้ง่ายต่อการนำไปใช้จริงในสถานศึกษา ขอคำปรึกษาและช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

เรียน ดร.สุพักตร์และท่านผู้รู้ทุกท่าน

จากประสบการณ์ที่ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาตั้งแต่ก่องหลักสูตร 51 จะประกาสใช้ ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาให้แก่นักเรียนในฐานะที่เป็นหัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อต้องการให้เป็นกิจกรรมป้องกันปัญหา แก้ปัญหาและพัฒนาพฤติกรรมนักเรียน ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นว่า

การทำตามครูสั่ง บำเพ็ญประโยชน์เพื่อต้องการลายเซ็นในสมุดบันทึกการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่งครู หรือการทำงานบ้านตามหน้าที่ของสมาชิกในบ้าน แล้วก็จบ จะไม่เกิดความสำนึกว่าสิ่งที่ทำเป็นประโยชน์ต่อสังคม มักคิดว่าหมดภาระหน้าที่ตามที่ถูกสั่ง ไม่น่าจะเกิดจิตสาธารณะ

การทำกิจกรรมจิตอาสาควรต้องมีกระบวนการจิตอาสา เพราะทุกขั้นตอนของกระบวนการจะปลูกฝั่งและสร้างจิตสำนึกให้อยากอาสาให้เกิดขึ้นได้ในที่สุด เมื่อทำAAR และเกิดความคิดที่อยากทำต่อ ทำแล้วมีความสุขที่ได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคม เกิดปิติสุข จึงจะเกิดจิตสารณะอย่างยั่งยืนในตัวเด็กและเยาวชน

แนวการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ควรจัดให้ผู้เรียนดำเนินการตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและการต้องการความช่วยเหลือต่างๆทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาต่างๆ และจัดลำดับปัญหาตามความสำคัญ ความจำเป็นและเร่งด่วนจากมากไปหาน้อย

ขั้นตอนที่ 3 วางแผน ออกแบบกิจกรรม และจัดทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรม

ขั้นตอนที่ 4 ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ และทำAAR หลังเสร็จกิจกรรมทุกครั้งเพื่อสะท้อนความรู้สึก

เช่นทำทำไม? ทำแล้วรู้สึกอย่างไร? เกิดประโยชน์อะไรในสังคม? เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในตัวเอง?

ขั้นตอนที่ 5 จัดวงสนทนาร่วมกับกลุ่มอื่นๆเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อถอดบทเรียนและสะท้อน ในประเด็นดังนี้ คือ ผลที่เกิดกับผู้ปฎิบัติกิจกรรมและผลที่เกิดแก่สังคมภายหลังจากการปฏิบัติกิจกรรม

จากนั้นนำไปสรุป รายงานและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

การวัดและประเมินผลกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

ส่วนที่ 1 จึงควรพิจารณที่บันทึกAAR รายงานสรุป หรือแฟ้มสะสมงาน

ส่วนที่ 2 คือระยะเวลาทำกิจกรรมตามโครงสร้างหลักสูตร และโครงสร้างเวลาตามหลักสูตร51

ศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือแนวการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผูเรียน ของ สพฐ ได้ค่ะ

กิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท