ยึดติด-ไม่ยึดติด (ความข้างต้น)


(ไม่มีอะไร)

 

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-2130706429 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:1; mso-generic-font-family:roman; mso-font-format:other; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:0 0 0 0 0 0;} @font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1073750139 0 0 159 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-520082689 -1073717157 41 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin-top:0in; margin-right:0in; margin-bottom:10.0pt; margin-left:0in; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi; mso-bidi-language:AR-SA;} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; mso-bidi-font-size:11.0pt; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi; mso-bidi-language:AR-SA;} .MsoPapDefault {mso-style-type:export-only; margin-bottom:10.0pt; line-height:115%;} @page Section1 {size:8.5in 11.0in; margin:1.0in 1.0in 1.0in 1.0in; mso-header-margin:.5in; mso-footer-margin:.5in; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

ยึดติด-ไม่ยึดติด

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกว่า ๆ ข้าพเจ้าเขียนข้อความเกี่ยวกับการสังเวชต่อวัฏสังสาร ดังนี้ว่า

--------------
(ข้อความนี้มิได้สำคัญประการใด อีกอย่างหนึ่งเรื่องวัฏสังสารนั้น ยังเป็นความเชื่อที่ไม่สามารถทำให้กระจ่างชัดได้ หากผู้อ่านไม่เคยเชื่อมาก่อน โปรดข้ามไปจักดีที่สุด)


ไม่ว่าสิ่งใดเกิดมาแล้วก็ต้องดับ

ไม่ว่าใครเกิดมาแล้วก็ต้องตาย
ไม่เว้นแม้แต่พระพุทธเจ้า พระเยซูเจ้า เทวดา พรหมทั้งหลาย เมื่อถึงเวลาก็ต้องดับไป
โลกของเราก็ต้องดับในสักวัน

....

หากกล่าวถึงกฎแห่งกรรมนั้น .. แท้จริงเราไม่อาจเรียกร้องขอรับเฉพาะบทลงโทษแห่งกรรมชั่ว หรือวิงวอนขอรับเพียงผลแห่งกรรมดี กฏแห่งกรรมเป็นกฎระเบียบที่ไม่สามารถพึงเลือกให้เกิดผลอย่างใดได้ มีแต่ต้องเลือกทำก่อนที่จะเกิดผลเท่านั้น

...

การตายก็คือการเกิดใหม่เปลี่ยนภพ ต้องลืมทุกสิ่งที่เคยทำมา ลืมทุกคนที่เคยรู้จัก ลืมทั้งหมดที่เคยจำได้ .. เมื่อถึงเวลาก็ต้องกลับไปเกิดใหม่ ณ ภพใหม่ เริ่มทุกอย่างใหม่อีกครั้ง ...
ไม่มีอะไรเลยที่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะตัวเรา หรือคนที่เรารู้จัก แต่วัฏจักรแห่งกรรมยังเหมือนเดิม ..
เราจะต้องกลับไปรู้จักตัวเอง รู้จักคนที่เคยรู้จัก และรู้จักกฎแห่งกรรม ใหม่นับครั้งไม่ถ้วน

คนที่น่าสงสารที่สุดในวัฏสังสารย่อมเป็นผู้ที่ไม่เชื่อในบาปบุญว่าให้คุณโทษ และได้ลงมือกระทำผิดมหันต์ไปแล้ว เมื่อถึงเวลาต้องชดใช้สิ่งใดที่ทำ ก็ไม่สามารถหลบหนีจากความไม่รู้และไม่เชื่อนี้ได้เลย

(
ข้าพเจ้าสังเวชตัวเองที่แม้จะเชื่อและเข้าใจในโทษของสังสารวัฏ แต่ก็ไม่อาจเห็นได้ด้วยปัญญาของตัวเอง)

--------------

เมื่อฝากเพื่อนช่วยตรวจทานความเข้าใจ เพื่อนท่านหนึ่งให้ความคิดเห็นว่า
"หากยึดติดในนิพพาน จะนิพพานได้อย่างไร"

แน่นอนว่าข้าพเจ้าก็รู้สึกไปตามปกติของคนที่ยังมีมานะ-อัตตา
คิดปรามาสในใจว่า
 --
ตัวเราไม่ได้ยึดติดกับอะไรแบบที่ว่านั้นสักหน่อย เพื่อนเข้าใจข้าพเจ้าผิดนัก และยังเชื่อว่าหากไม่คิดอยากนิพพาน แล้วจะนิพพานได้หรือ?

จิตที่ขุ่นมัวก็เกิดขึ้นและรุมเร้าอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ก่อนจางหายไป


เวลาล่วงเลยผ่านมาสักพัก
ก็ได้คุยกับเพื่อนอีกท่าน เพราะสงสัยในลักษณะกรรมของ ชายที่รูปงามหมดจดกว่าหญิง
ตัวอย่างเช่น น้องปอย ที่ดูอย่างไรก็ไม่ผิดแปลกไปจากหญิง จึงข้องใจเล็กน้อยกับเรื่องกรรมของกระเทยเพิ่งได้อ่าน

เมื่อบอกเล่าข้อสงสัยให้เพื่อนได้ฟัง เพื่อนท่านนี้ก็พูดขึ้นว่า
"ถ้ายึดติดในกรรม จะหลุดพ้นได้อย่างไร"

ในเบื้องต้นข้าพเจ้านึกถึง ประโยคที่เพื่อนอีกคนกล่าวไว้
"หากยึดติดในนิพพาน จะนิพพานได้อย่างไร"

ในครั้งแรกข้าพเจ้ายังคงปล่อยให้จิตอันขุ่นมัวทำงานอยู่เป็นเวลาไม่น้อย แต่ครั้งนี้ข้าพเจ้าเห็นขณะการเกิดขึ้นของจิตที่มีอัตตา+มานะ และ
เห็นว่าจิตเหล่านี้ถูกดับไปอย่างอัตโนมัติในเวลาชั่วลมหายใจ
และเมื่อเห็นว่าจิตนี้ดับสนิทดีแล้ว ข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดต่อไปว่า
อะไรคือความยึดติด อะไรคือความไม่ยึดติด

นึกไปก็เห็นปัจจัยของความยึดติดมากมายไม่อาจประมาณ
และทำนองเดียวกัน ก็มองเห็นอะไรว่าง ๆ ในสิ่งที่เราเรียกว่าความยึดติด

** เกี่ยวข้อง **

คำสำคัญ (Tags): #มานะ#อัตตา
หมายเลขบันทึก: 236184เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2009 02:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท