กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำภาพเขียนที่เขียนในขณะเป็นลูกจ้างบริษัทมาประกอบการเขียนตำราของผู้วาดภาพ


กรณีศึกษา :

กรณีที่บุคคลใดเป็นลูกจ้างบริษัท และได้เขียนภาพในฐานะลูกจ้างบริษัท ต่อมาประสงค์จะนำภาพเขียนนั้นมาประกอบการเขียนตำรา จะสามารถนำภาพนั้นมาประกอบได้มากน้อยเพียงใด

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

ต้องพิจารณาว่า ลิขสิทธิ์ในภาพเขียนหรือภาพวาดนั้น เป็นของบริษัทหรือผู้วาด เพราะพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 9 บัญญัติว่า ...

"มาตรา 9 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น"

กรณีที่เป็นลูกจ้างบริษัท ถือว่า เป็นกรณีจ้างแรงงานจากมาตรา 9 ข้างต้น ต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่า ในสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้ตกลงกันไว้หรือไม่ว่าให้ลิขสิทธิ์เป็นของบริษัท ถ้าตกลกันไว้เช่นนั้น ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลง ผู้วาด หรือ ผู้เขียนภาพ ไม่มีสิทธิ์นำภาพนั้นไปประกอบการเขียนตำราของตนเอง เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัทเสียก่อน

แต่ในกรณีที่ไม่มีการตกลงไว้ในสัญญาจ้างหรือตกลงเป็นหนังสือ ลิขสิทธิ์ในภาพวาดหรือภาพเขียนนั้น ย่อมเป็นของผู้วาด (ผู้สร้างสรรค์) ดังนั้น จึงมีสิทธิ์ที่จะนำภาพดังกล่าวไปประกอบการเขียนตำราได้

 

โดยสรุป...ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับ "สัญญาที่ลูกจ้างได้ทำไว้กับบริษัท" จริง ๆ ว่าจะตกอยู่ในเงื่อนไขใด

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (10 มกราคม 2552).

 

หมายเลขบันทึก: 234451เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2009 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

- ขอบคุณค่ะ

- เคยฟังบรรยายท่านอาจารย์มานิตย์ จุมปา เป็นท่านอาจารย์ที่พูดได้เร็ว ใช้

ถ้อยคำ สำนวนกฎหมายที่ร้อยเรียงกันได้ไพเราะ มีการเน้นคำสำคัญ สะกด

ให้คนฟังตั้งใจฟ้ง โดยไม่รู้สึกว่าพูดเร็วเลยค่ะ

ขอบคุณครับ ... คุณ Manager Sila Phu-Chaya :) ...

ผมชอบศึกษาหาความรู้จากหนังสือที่อาจารย์มานิตย์ได้เขียนเอาไว้ครับ ... งานเขียนท่านเยอะมาทีเดียว

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ :)

 

รบกวนสอบถามค่ะ คือถ้าเราเคยทำงานประชาสัมพันธ์อยู่บ.หนึ่งแล้วมีการถ่ายรูปการทำงานของเราทุกวัน แล้วก็อัพลงเฟตของตัวเอง(ใส่เสื้อบ.นั้นๆทำงาน) นานเป็นปีแล้ว แต่ไม่ได้เคยเอาภาพเก่ามาเล่าใหม่หรือใช้งานใหม่เลย แบบนี้จะถือว่าละเมิดลิกขสิทธิ์ไม๊คะ (บ.เก่าทักมาให้ลบตลอดเราก็ลบในส่วนเอกสารในการประชาสัมพันแต่ไม่ได้ลบการทำงาน เพราะอยากเก็บไว้ว่าเราเคยทำงานแบบนี้มาก่อนนะประมาณนี้) มันเยอะมากค่ะขี้เกียจลบเพราะเสียเวลาเรามาก และเฟตก็เป็นของเราเองไม่ใช่ของบ.เก่าค่ะ

(แต่งานใหม่ก็คล้ายงานเดิมค่ะ แต่ไม่ได้อ้างรูปหรือข้อมูลจากบ.เก่าเลย)

น่าจะต้องแยกระหว่าง "ภาพส่วนตัว" กับ "ชิ้นงาน" นะครับ

"ชิ้นงาน" คงเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทเก่า ควรต้องลบ ถูกต้องแล้ว

ส่วน "ภาพส่วนตัว" ควรเป็นลิขสิทธิ์ของตัวเราเอง เพราะไม่ได้ทำให้บริษัทเก่า
เสียผลประโยชน์ทางการค้าแต่อย่างใด

แต่อาจจะต้องไปดูกฏหมายอีกฉบับ คือ พรบ.ที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ว่าครอบคลุมถึงเรื่องนี้หรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท