เรื่องน่ารู้ของวันคริสต์มาส


คำทักทาย Merry X'masคำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่า สันติสุข และความสงบทางใจ เพราะฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรให้แก่ผู้ที่เรารัก เคารพ และนับถือ ขอให้เราได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

คริสต์มาส

  Jingle Bells.... Jingle Bells... วันคริสต์มาส เป็นอีกหนึ่งเทศกาลของคนตะวันตก ที่แพร่หลายไปทั่วโลกจะเปรียบได้ก็เหมือนวันสงกรานต์ของบ้านเรานั่นเอง วันนี้เป็นวันที่ทุกคนจะอยู่กับครอบครัว หลังจากที่ทำงานมาทั้งปี วันนี้เป็นวันสำคัญของผู้นับถือศาสนาคริสต์ เพราะเป็นวันครบรอบวันประสูติของพระเยซู  หรืออีกความหมายคือ   คือการฉลองการกำเนิดของพระเยซู

 คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ ว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของ   พระคริสตเจ้าเพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ถือปฏิบัติกันในวันคริสต์มาส
คำว่า Christas Maesse พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี 1038 และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ในภาษาไทย "คริสต์มาส" ก็มีความหมายเช่นกัน คำว่า มาส แปลว่า เดือน เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นเดือนที่เราระลึกถึง พระเยซู
คริสตเจ้าเป็นพิเศษ อีกความหมายหนึ่งของคำว่า มาส คือ ดวงจันทร์ ฉะนั้นจึงตีความหมายเป็นภาษาไทยได้อีกอย่างหนึ่งคือ พระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์เป็นแสงสว่างในตอนกลางคืน

ชื่อคริสต์มาส มาจากภาษาอังกฤษ "มิสซาของพระคริสต์" คือพิธีนมัสการที่ชาวคาทอลิค ทำกันในเวลาเที่ยงคืนของ
คืนวันที่ 24 เดือนธันวาคม ชาวเยอรมันเรียกว่า "ไวน์หนากท์" ซึ่งแปลว่า "คืนศักดิ์สิทธิ์"

การให้ของขวัญในวันคริสต์มาส
  เป็นธรรมเนียมนี้ เริ่มกับชาวโรมที่เคยให้ของขวัญแก่เพื่อนในวันขึ้นปีใหม่(มักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือทองคำ) ต่อมาชาวอังกฤษถือ "วันกลอง" (ในวันที่ 26 ธันวาคม)เป็นวันที่ศิษยาภิบาลเคยเปิด "กลองทาน" ในโบสถ์ และแจกเงินให้สมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาวอังกฤษก็ให้ของขวัญแก่พวกคนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในวันนั้นด้วย ในทวีปยุโรป เด็กๆ มักจะเข้าใจว่า พระกุมารเยซูเป็นผู้นำของขวัญมาให้เขา (แท้จริงแล้วพ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ต่างหาก) แต่เด็กที่สหรัฐอเมริกามักจะคิดว่า "ซานตาคลอส" เป็นผู้ให้ในคืนก่อนวันคริสต์มาส หรือคริสต์มาสอีฟ จะมีงานแครอลลิ่ง ซึ่งจะมีเด็กๆไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการแสดง ร้องเพลง 
คำทักทาย Merry X'mas    คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่า สันติสุข และความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรให้แก่ผู้ที่เรารัก เคารพ และนับถือ ขอให้เราได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

 

ความเป็นมาของเทศกาลคริสต์มาส
   ชาวไทยฉลอง "เฉลิมพระชนม์พรรษา" วันที่ 5 ธันวาคม เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกปี
ในสมัยโบราณก็มีประเพณีเช่นเดียวกัน ชาวโรมันมีการระลึกถึงการสมภพของพระเจ้าจักรพรรดิ คนท้องถิ่นอื่นก็ระลึกถึงและเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมืองของตนด้วยความยินดี แม้แต่ชาวยิวในสมัยของพระเยซูเอง ก็ฉลองการเกิดของ กษัตริย์เฮรอด เช่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ชาวคริสต์สมัยโบราณถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้น มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลอง เพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลกผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ ได้เริ่มมาจากกรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป

   สำหรับเทศกาลเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสนั้น ทางประเทศตะวันตกเริ่มฉลองการประสูติของพระเยซู ในวันที่ 25 ธันวาคมมาตั้งแต่ ค.ศ.354 เป็นอย่างช้า เหตุที่เลือกวันนี้ เพราะตรงกับงานฉลองเทพและฤดูกาลในสมัยนั้น เช่น วันเหมายัน ซึ่งดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในจุดใต้สุดในฤดูหนาว และเป็นวันที่กลางคืนยาวกว่ากลางวัน สัปดาห์เฉลิมฉลองของชาวโรมัน งานฉลองเทพเจ้าแซตเทิร์น และการฉลองวันสิ้นปี เป็นต้น

   ค.ศ. 1645 ชาวอังกฤษผู้เคร่งศาสนากลับให้ถือศีลอดแทนการฉลอง แต่พระเจ้าชาลส์ที่สองฟื้นฟูเทศกาลคริสต์มาสขึ้นมาอีกครั้ง ในค.ศ.1660 การฉลองในรัชสมัยของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียกลายเป็นต้นแบบของงานคริสต์มาส และแพร่หลายไปทั่วโลก ในเวลาต่อมา ตลอดเดือนธันวาคม ร้านรวงส่วนใหญ่จะตกแต่งซุ้มพระกุมารเยซู และที่ขาดไม่ได้คือ ซานตาคลอส


ตัวจริงของซานตาครอสคือนักบุญนิโคลัสซึ่งเป็นบาทหลวงในตุรกีช่วงคริสต์ศตวรรษที่สี่ ผู้ขึ้นชื่อในเรื่องความใจดีโดยเฉพาะกับเด็กๆ ต่อมาท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วฮอลแลนด์ในชื่อ "ซินเตอร์คลาส"
ราวค.ศ.1870 ชาวอเมริกันเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น"ซานตาคลอส"


   ตั้งแต่แรกจนถึงค.ศ. 1890 ภาพของซานตาคลอสเป็นชายร่างผอมสูงสวมชุดสีเขียว หรือน้ำตาลสลับแดง เจนนี
ไนสตรอม ศิลปินชาวสวีเดน เป็นผู้คิดค้นรูปลักษณ์ของซานตาครอสอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยวาดภาพ   ลงในบัตรอวยพรคริสต์มาส ภาพเหล่านี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เมื่อชาวสวีเดนอีกคนชื่อ แฮดดอน ซันด์บลอม นำภาพวาดของไนสตรอมสวมชุดขาวแดง อันเป็นสีเดียวกับเครื่องหมายการต้าของโคคา-โคล่า ซันด์บลอมยังเปลี่ยนโฉมซานตาคลอสให้ทรวดทรงอ้วนท้วน และมีกวางเรนเดียร์เป็นพาหนะประจำตัว

   ความคิดที่ว่าซานตาคลอสเข้าบ้านทางปล่องไฟเริ่มขึ้นในค.ศ.1822 เมื่อ คลีเมนต์ มัวร์ นักคิดชาวอเมริกัน ประพันธ์บทกลอนชื่อ "เมื่อนักบุญนิโคลัสมาเยี่ยมเยือน"

อิ่มอร่อยกับไก่งวง
   ไก่งวงเริ่มแพร่ไปสู่อังกฤษเมื่อวิลเลียม สทริกแลนด์ ซื้อไก่งวงหกตัวจากพ่อค้าชาวอินเดียนแดงในเม็กซิโก และนำไปขายในเมืองบริสทอล ประเทศอังกฤษเมื่อค.ศ.1526 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดทรงโปรดเสวยไก่งวงฉลองเทศกาลและชาวอังกฤษก็ปฎิบัติตาม แต่ยังถือเป็นของหรูหราจนถึงทศวรรษ 1650 ปัจจุบันคนหลายล้านคนกินไก่งวงอบในวันที่ 25 ธันวาคม

ทำไมจึงฉลองคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคม

ตามหลักฐานในพระวรสาร มีว่า พระเยซูบังเกิดในสมัยที่จักรพรรดิ ซีซาร์ ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัว ทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีริริอัส เป็นเจ้าเมืองซีเรีย ซึ่งในพระวรสารไม่ได้บอกว่าเป็นวันหรือเดือนอะไร สมัยก่อนคริสตชนคิดเอาว่าที่มีการฉลองคริสต์มาส ในวันที่ 25 ธันวาคมนั้น ก็เพราะเป็นวันเกิดของพระเยซูตามทะเบียนเกิด ซึ่งเป็นเอกสารที่คีรินิอัสเก็บไว้ แต่ที่จริงแล้ว เอกสารนี้ได้สูญหายไปหมดแล้ว นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถค้นพบได้นักประวัติศาสตร์หาสาเหตุต่างๆ ว่า ทำไมคริสตชนจึงเลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม   เป็นวันฉลองคริสต์มาสตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา    และก็ให้คำอธิบายหนึ่งที่ สมเหตุสมผล หรือมีน้ำหนักมากที่สุด     คือ ปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิ AURELIAN ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม  เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ ผู้ทรงพลัง

 

   กล่าวตามความรู้ทางวิชาดาราศาสตร์     สมัยนั้น เห็นว่าวันนั้นเป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลที่สุดจากเส้นศูนย์สูตรของโลก   และเริ่มหมุนไปทางด้านเหนือของท้องฟ้า วันใหม่เริ่มยาวขึ้น ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า   และถือเสมือนว่าเป็นวันฉลองของพระเจ้าจักรพรรดิไปในตัวด้วย   เพราะพระเจ้าจักรพรรดิ  เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์

   ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมันรู้สึกอึดอัดใจ ที่จะฉลองการบังเกิดของดวงอาทิตย์ ตามประเพณีของชาวโรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซู แทน ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 330 เริ่มมีการฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและอย่างเปิดเผย เนื่องจากก่อนนั้น มีการเบียดเบียนคริสตชนอย่างรุนแรง (ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 64-313) ทำให้คริสตชนไม่มีโอกาสฉลองอะไรอย่างเปิดเผย อีกนัยหนึ่ง ชาวคริสต์ได้เห็นว่า ในพระคัมภีร์  เรียกพระเจ้าว่า เป็นดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรม จึงเห็นว่ามีหลักฐานในพระคัมภีร์สนับสนุนให้ ถือวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันเกิดของพระเยซู

วิวัฒนาการแห่งการฉลองวันคริสต์มาส
   การฉลองคริสต์มาสแพร่มาจากกรุงโรม ไปยังทุกประเทศพร้อมกับศาสนาคริสต์ที่ค่อยๆ แผ่ขยายไปในที่ต่างๆ จนในปี ค.ศ. 1100 ประชาชนก็เป็นคริสตชนทั้งหมด ทั่วยุโรป เพราะถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในศาสนา เราสามารถแบ่งวิวัฒนาการ ของการฉลองวันคริสต์มาสเป็น 4 ช่วง คือ

   (1) ค.ศ. 330-1100 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทีละเล็กทีละน้อย ก็มีการฉลองวันคริสต์มาส และก็มีการเริ่มเทศกาล เตรียมรับเสด็จพระเยซูเป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนคริสต์มาส เป็นเวลาเตรียมตัวโดยการใช้โทษบาป อดอาหารและภาวนาเป็นพิเศษ

   (2) ค.ศ. 1100-ศตวรรษที่ 16 ช่วงนี้มีการพัฒนาประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการฉลองคริสต์มาส เช่นการแต่งเพลงคริสต์มาส การทำถ้ำพระกุมาร ทำต้นคริสต์มาส

   (3) ศตวรรษที่ 16-19 ระยะนี้มีการแตกแยกในคริสต์ศาสนา เกิดมีนิกายบางนิกายขึ้นมา ซึ่งบางนิกายไม่สนับสนุนให้มีการฉลองวันคริสต์มาส ด้วยเหตุผลที่ว่า คริสต์มาสเป็นวันที่มนุษย์เลือกเอาเองโดยได้รับอิทธิพลจากชาวโรมัน ที่ฉลองดวงอาทิตย์คล้ายเป็นพระเจ้าของเขา และชาวบ้านก็ให้ความสำคัญแก่วันนี้ มากกว่าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้ากำหนดให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตามชาวคาทอลิกพร้อมกับคริสตศาสนาหลายๆ นิกาย เช่น Lutheran เป็นต้น ยังรักษาการฉลองนี้ไว้ด้วยความอบอุ่น และศรัทธาจนถึงปัจจุบัน

   (4) ศตวรรษที่ 19 - ปัจจุบัน เริ่มมีประเพณีอื่นทางโลกแทรกเข้ามา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการฉลองนี้มาก เช่นเรื่องซันตาคลอส การให้ของขวัญ การส่งบัตรอวยพรคริสต์มาส ซึ่งร้านต่างๆ ยินดีสนับสนุน เพราะเป็นโอกาสดีที่จะขายสินค้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นไปในตัว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านทั่วไปอาจจะลืมความสำคัญ หรือความหมายที่แท้จริงของคริสต์มาส โดยหันมาเพิ่มความสนใจในสิ่งภายนอกมากกว่า.

การทำ "ถ้ำพระกุมาร"
   ตามความในพระคัมภีร์พระเยซูเกิดในรางหญ้า (ลก.2,7) ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าอยู่ตรงไหน แต่เนื่องจากในแถบเบธเลเฮมมี ถ้ำอยู่มากมาย ที่พวกดูแลฝูงแกะใช้เป็นที่พักของสัตว์ (รางหญ้า) และตัวเอง เป็นความคิดของชาวคริสต์ธรรมดาว่า รางหญ้าที่พระวรสารอ้างถึงนั้น คงอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเบธเลเฮม ประเพณีการทำถ้ำนั้น มาจากอิตาลีโดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซีเป็นผู้เริ่ม โดยวันคริสต์มาส ปี ค.ศ. 1223 นักบุญฟรังซิลชวนชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้านที่ Greccio ที่ท่านอยู่ ร่วมแสดงละคร มีการเตรียมถ้ำพระกุมารและใช้สัตว์จริงๆ เช่น วัวและลา อยู่ในถ้ำด้วย การที่ใช้วัวและลา เพราะเป็นสัตว์ที่ชาวบ้านใช้เป็นประจำ  จากนั้น ก็จุดเทียนมายืนรอบๆ ถ้ำที่ทำขึ้น ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าจนถึงสว่างและฟังมิสซาด้วยกันตั้งแต่นั้นมา ประเพณีทำถ้ำพระกุมารทั้งในวัดและในบ้านก็แพร่หลายไปทั่วทุกหนทุกแห่ง 

ต้นคริสต์มาส

 

 ในสมัยโบราณ ต้นคริสต์มาส หมายถึงต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาปไม่เชื่อฟัง พระเจ้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลางเพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุดในประเทศเหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี 
จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดงเนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเกล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนาซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดายที่ไม่มีโอกาสดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน เพราะต้นไม้เป็นจุดเด่นในลานวัด ที่เขาเคยร่วมสนุกสนานกัน หลังจากนั้นก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล และแขวนแผ่นขนมปัง เพื่อระลึกถึงศิลมหาสนิทซึ่งมีวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็กลายเป็นขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ 

   นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิดไว้ตลอดคืนคริสต์มาสโดยมีดาวิดอยู่ที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญและไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาสและมีดาวของดาวิดไว้สุดยอด ประเพณีนี้เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาสมีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ก็ยังนิยมทำกันอยุ่ เพราะเห็นว่ามีควรามหมายถึงพระเยซูผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิตที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาลซึ่งหมายถึงนิรันดรภาพขอพระเยซู และนอกจากนั้นยังหมายถึงความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึงความชื่นชมยินดีและความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น. 

    ชาวเยอรมันเป็นคนเริ่มใช้ต้นไม้คริสต์มาสก่อนคนอื่น (ประมาณปีค.ศ. 1000) เขาใช้ต้นไม้คริสต์มาสเพื่อตกแต่งบ้านด้วย และในปีค.ศ.1800 การใช้ต้นไม้คริสตมาสได้แพร่หลายไปทั่วภาคเหนือของยุโรป แล้วต่อมาอีกไม่นานชาวเยอรมันอพยพไปยังสหรัฐอเมริกาจึงได้เริ่มใช้ต้นไม้คริสต์มาสที่นั้นด้วย ปัจจุบันชาวอเมริกาก็ใช้กันเกือบทุกครอบครัว
ดอกไม้คริสตมาส ในภาษาอังกฤษมีชื่อว่า "พอยน์เสตทา" ตามชื่อของ ดร.โจเอล โรเบิร์ท พอยน์เสตทา เอกอัครราชฑูตของสหรัฐอเมริกา ที่ได้พบดอกไม้ชนิดนี้ในประเทศเม็กซิโก เมื่อ ค.ศ.1828 ชาวอเมริกากลางก็เรียกว่า
"ดอกไม้คืนศักดิ์สิทธิ์"
 

    ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวเยอรมันเริ่มนำต้นไม้มาประดับบ้านในช่วงคริสต์มาสและตกแต่งด้วยเทียนไข ธรรมเนียมนี้เริ่มแพร่หลายในอังกฤษเมื่อ เจ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งเป็นชาวเยอรมันนำต้นคริสต์มาสในพระราชวังวินเซอร์ในค.ศ.1840
กว่า 20 ปีต่อมา ต้นไม้ประดับด้วยเทียนไขได้รับความนิยมอย่างสูง โดยถือเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่
ค.ศ.1882 มีการติดตั้งต้นคริสต์มาสซึ่งตกแต่งด้วยหลอดไฟฟ้าต้นแรกในบ้านเพื่อนของ โทมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ในนิวยอร์ก ใช้หลอดไฟทั้งหมด 80 หลอด ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากทีเดียว ในค.ศ.1903 เริ่มมีการผลิตไฟราวประดับวันคริสต์มาสออกจำหน่ายแต่ราคายังแพงมาก ครอบครัวทั่วไปไม่สามารถซื้อไฟราวนี้ได้จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ซานตาคลอส  เป็นจุดเด่นหรือสัญญาลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุดในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้จริงแล้ว ซานตาคลอสแทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้เป็นสัวฆราชของ ไมรา (อยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4    เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้  คือฉลองนักบุญนิโคลาสในวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ 

  

 ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนมาเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือมีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น          

 

ตามความประพฤติของเขาลักษณะภายนอกของซานตาคลอสที่ถูกสมมุติขึ้นนี้ เหมือนกับจะลอกเลียนแบบมาจาก Thor ซึ่งเป็นเทพเจ้าในนิยายโบราณของเยอรมัน และลอกเลียนแบบนักบุญนิโคลาสที่นำของขวัญมาแจกเด็กๆ อันที่จริงซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารักเหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้แทนการบังเกิดของพระเยซู ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้. 
 

  การร้องเพลง คริสต์มาส

 เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนี้มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่งร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซู แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุนให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบคือมีท่วงทีทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ. 1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันคือเพลง "ขอเชิญท่านผู้วางใจ" O, Come All Ye Faithful หรือภาษาลาตินว่า "Adeste Fideles"

 เพลงคริสต์มาสที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมันและประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ Silent Night, Holy Night เป็นภาษาไทยว่า "ราตรีสวัสดิ์ ราตรีสงัด" ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ. 1818 คุณพ่อ joseph Mohr เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก.   

เทียน และ พวงมาลัย 

      ในสมัยก่อน มีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัยแล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรก ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ        และจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวดภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน
 เขาจะทำดังนี้ทุกอาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายในที่หลายแห่งโดยเฉพาะที่
สหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมามีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียน ที่จุดไว้ตรงกลาง 1 เล่ม ไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อช่วยให้คนที่ผ่านไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็นสัญญาลักษณ์ ที่คนโบราณใช้   หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึง การที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบสมบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า. 

 

การทำมิสซา เที่ยงคืน
   เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) แล้วในปีนั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนาและขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม ยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติพอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืนพระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซา ณ ที่นั้นเมื่อเสร็จและก็กลับมาที่พักเป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้งหนึ่ง และสัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับแต่ก็นยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสัตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายมิสซาได้ 3 ครั้งในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัตของพระองค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนัยมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาสและพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซาในโอกาสวันคริสต์มาสเช่นเดียวกัน. 

ความสำคัญของ วันคริสต์มาส
   เราจะเห็นได้ว่า วันคริสต์มาสเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เนื่องจากเป็นการระลึกถึงวันที่พระบุตรของพระเจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระองค์เป็นพระเจ้า ที่จะอยู่กับเราตลอดไป ส่วนหนึ่งของมนุษย์เป็นพี่หัวปีที่จะนำมนุษย์ทั้งมวลไปสู่พระบิดาเจ้า พระองค์เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ตามคำสัญญาของพระเจ้า ที่จะดูแลป้องกันรักษาเราผู้เป็นประชากรของพระองค์ เราเป็นเหมือนลูกแกะที่หายไป แต่พระเยซูเป็นชุมพาบาลใจดีที่ตามหาเราจนพบและจะไม่มีอะไร ที่จะแยกเรากับพระองค์ได้อีกเลย มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหนจะรวยหรือจน คนศรัทธาหรือคนบาป ล้วนมีความสำคัญต่อหน้าพระเจ้าเสมอ เพราะตั้งแต่การเสด็จมาบังเกิดของพระเยซูนั้น พระเป็นเจ้าพระบิดาทรงเห็นพระฉายาลักษณ์ของพระบุตรในมนุษย์ทุกคน เราก็เช่นเดียวกัน เราต้องรักซึ่งกันและกันเหมือนอย่างที่เรารักพระเจ้า นั่นหมายถึงเราต้องเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นคนยากจน คนต่างชาติ หรือคนที่วางตัวเป็นศัตรูกับเรา 

   "เขาจะรักพระเจ้าที่เขามองไม่เห็นได้อย่างไร ถ้าเขาไม่รักพี่น้องที่มองเห็นได้ นี่แหละเป็นพระดำรัสที่พระเยซูเจ้าประทานแก่เรา คนที่รักพระเจ้าต้องรักพี่น้องของตนด้วย"
   ประเพณีของการฉลองคริสต์มาสที่มีความเป็นมาดังกล่าวนี้ ควรเป็นสิ่งที่ชักจูงเราให้เปรี่ยมไปด้วยความรักที่พร้อมที่จะรับใช้ ผู้อื่นอย่างเต็มที่. 

พระนางมารีย์ร่วมมือกับพระเป็นเจ้า 
   เพื่อให้พระอาณาจักรของพระองค์มาถึง     ในพระคัมภีร์มีกล่าวว่า พระเจ้าทรงสัญญากับมนุษย์คู่แรกว่าพระองค์จะทรงประทานพระผู้ไถ่พระองค์หนึ่งมาลบล้างบาปทุกชนิดรวมทั้งบาปกำเนิดด้วยพระเจ้าตรัสกับงูว่า "ข้าจะให้มีความเป็นอริระหว่างเจ้ากับหญิง ระหว่างเชื้อสายของเจ้ากับเชื้อสายของนางเขาจะเหยียบหัวเจ้า ส่วนเจ้าจะขบส้นเท้าของเขา" หญิงที่พระเจ้ากล่าวถึงนี้ได้แก่ใคร? หญิงผู้นี้ร่วมมือกับพระเจ้าในการนำความรอดมาสู่มนุษย์อย่างไร? 

การส่งบัตรอวยพร

  เซอร์เฮนรี โคล นักธุรกิจสิ่งพิมพ์
ชาวอังกฤษ ส่งบัตรอวยพรคริสต์มาส
แผ่นแรกใน ค.ศ. 1843 แต่ยังไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ บัตรในระยะแรกทำด้วยมือ
และราคาแพงมาก
ชาวแคนาดาสองคนคือ แฟรงก์ โรส กับกอร์ดอน ลูเท็ต ส่งบัตรอวยพรแผ่นเดิมให้แก่กันไปมาทุกปี ตั้งแต่ค.ศ.1929
 ขณะนั้น ทั้งคู่อายุ 12 ขวบ และบ้านอยู่ละแวกเดียวกันบนถนนนอร์ท แวนคูเวอร์ แฟรงก์เสียชีวิตใน ค.ศ.1995 แต่ภรรยาม่ายของเขาก็ยังส่งบัตรอวยพรแลกเปลี่ยนกับกอร์ดอนวัย 81 เรื่อยมา

 


ขนมกรอบ

    ทอม สมิท เจ้าของโรงงานขนมในกรุงลอนดอนเริ่มผลิตขนมปังกรอบสำหรับคริสต์มาในทศวรรษ 1940 โดยเริ่มจากผลิตลูกกวาดเป็นห่อๆแบบที่สมิทเคยเห็นวางขายอยู่ในกรุงปารีส ต่อมาจึงแทรกข้อความเกี่ยวกับความรัก ลงในห่อเลียนแบบคำทำนายที่สอดไส้อยู่ภายในขนมนำโชคของชาวจีน
หลายปีต่อมา สมิทสังเกตเห็นฟืนในเตาผิงติดไฟลั่นเปรี๊ยะๆ จึงเกิดความคิดจะทำขนมที่ดังเปรี๊ยะเวลาเคี้ยว ขนมกรอบสูตรใหม่เรียกว่าโคซัก (Cosaques) ออกวางตลาดครั้งแรกใน ค.ศ.1870 จากนั้นเปลี่ยนมาบรรจุกล่องโลหะ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยอดจำหน่ายขนมกรอบคริสต์มาสทั่วโลกสูงถึง 13 ล้านชิ้น ปัจจุบันกลุ่มบริษัททอม สมิทผลิตขนมปังกรอบคริสต์มาสถึงปีละ 50 ล้านชิ้น,

อ้างอิงจาก http://www.snr.ac.th/wita/story/about_christmas.htm

นางฟ้ามาจากไหน
   กำเนิดของนางฟ้าบนยอดต้นคริสต์มาสมาจากตุ๊กตาตัวเล็กๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของพระเยซู ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตุ๊กตานี้ก็กลายเป็นเทวดาเปล่งแสงระยิบระยับในเยอรมนี ในอังกฤษสมัยพระนางเจ้าวิกตอเรีย เด็กผู้หญิงจะเก็บตุ๊กตาเทวดาเหล่านี้ไว้เล่นแต่งตัวหลังสิ้นสุดการฉลอง ในที่สุดเทวดาก็กลายเป็นนางฟ้าถือคฑาวิเศษ ละครเพลงที่แสดงในวันคริสต์มาส และภายหลังได้รับความนิยมในหมู่ชาวอังกฤษในสมัยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ช่วยตอกย้ำความเปลี่ยนแปลงนี้ให้เด่นชัดยิ่งขึ้นเพราะมีตัวละครนางฟ้า

 

หมายเลขบันทึก: 233505เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2009 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีปีใหม่ครับ อ.ประเสริฐ

Dscf2658

ขอให้มีสุขภาพที่ดี และ มีพลังในการทำงานปีใหม่- ตลอดไป

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ขอให้มีสุขภาพที่ดี และ มีพลังในการทำงานปีใหม่- ตลอดไป เช่นกันครับ ภาพสวยมากเลยนะครับ

สวัสดีปีใหม่..ค่ะ...น้องชาย ประเสริฐ ศรีแสนปาง

  • ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้น้องและครอบครัว ประสบแต่ความสุขความเจริญ
  • สุขภาพกายและใจแข็งแรงสมบูรณ์
  • โชคดีตลอดปีใหม่และตลอดไปนะคะ

จากครูอ้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท