การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท (๒)


ตอนที่ ๑

ดังเล่าในบันทึกที่แล้ว    ว่าผมเตรียมไปให้ความเห็นในการประชุม   แล้วพอถึงเวลางานจริง   ผมกลับใช้วิธีด้นกลอนสด คือตีความสิ่งที่มีการพูดไปแล้วอย่างไพเราะงดงาม ครบถ้วน   รวมทั้งในนิทรรศการมีการนำเสนอผลงานของเครือข่ายโรงเรียนทางเลือกที่มีการเรียนรู้เข้มข้น   มีผลให้เด็กนัดเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกและมีความสุข  

 

ผมให้ความเห็นว่า สิ่งที่เครือข่ายโรงเรียนไทยไทกำลังทำกันอยู่นี้คือการปฏิรูปการเรียนรู้/การศึกษาตัวจริง   และให้การตีความใน ๑๐ ประเด็นคือ

1.     การให้ความหมายของคำว่า การเรียนรู้ ต่างกัน ๒ แบบ

-         เรียนรู้ความรู้สำเร็จรูปที่จับใส่จากภายนอก หรือจากมีผู้ถ่ายทอดให้

-         เรียนรู้โดยการงอกงามจากภายใน ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้เรียนรู้

2.     ครูทำหน้าที่ต่างกันในกระบวนการเรียนรู้ ๒ แบบข้างบน

-         ทำหน้าที่บอกสาระหรือเนื้อความรู้

-         ทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ ออกแบบการเรียนรู้ ให้เหมาะสมต่อเด็กแต่ละกลุ่ม และให้เรียนสนุก   และเกิดทักษะในการเรียนรู้  การทำหน้าที่ ๒ แบบนี้ ต้องการทักษะคนละแบบ

3.     ความรู้ ๒ แบบ

-         Explicit Knowledge

-         Tacit Knowledge

4.     เป้าหมายของการเรียนรู้ ๒ แบบ

-         ได้ความรู้

-         ได้ทักษะ และฉันทะในการเรียนรู้

5.     การเรียนรู้เปรียบเสมือนเป็นการสร้างโปรแกรมในสมอง   การเรียนรู้แบบเน้น Explicit Knowledge จะสร้างโปรแกรมให้เป็นคนคิดชั้นเดียว หรือ simple thinking   ในขณะที่การเรียนรู้จากชีวิตจริงจะสร้างโปรแกรม complex thinking   ผู้เรียนจะเข้าใจ Complex Adaptive Systems โดยไม่ต้องสอน หรือไม่ต้องรู้ทฤษฎี

6.     ไม่ควรเน้นเฉพาะ individual learning   ควรมีการเรียนรู้แบบ team learning ด้วย   หรือให้มากกว่า individual learning   ซึ่ง team learning จะเน้นการ ลปรร. จากประสบการณ์ตรงของแต่ละคน  เป็น group reflective learning โดยใช้เครื่องมือ AAR   จะสร้างคุณสมบัติความเป็นคนมั่นใจตนเอง เคารพตนเอง    และในขณะเดียวกัน ก็เคารพผู้อื่นด้วย   ไม่เกิดอหังการ์   และจะเกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึก

7.     เน้นการเรียนรู้เพื่องอกงามธรรมชาติด้านดีของความเป็นมนุษย์   ซึ่งจะทำให้ธรรมชาติด้านลบค่อยๆ ฝ่อไปเอง

8.     ครูคือใคร   ครูต้องไม่เน้นความเป็นผู้สอน หรือผู้บอกวิชา   ครูต้องเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้   ในมิติที่ประเสริฐสุด ครูคือผู้เรียนรู้ ที่มุ่งเรียนรู้และพัฒนาวิธีออกแบบการเรียนรู้ของศิษย์   ครูคือผู้ร่วมเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ ว่าด้วยสมองกับการเรียนรู้    และนำเอาความรู้นั้นมาทดลองประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ 

                            ครูต้องเป็นบุคคลเรียนรู้ (Learning Person)  และโรงเรียนเป็น  

                     Learning Organization 

9.     โรงเรียนคือชุมชนของ ผู้เรียนรู้ ที่มีผู้เรียนรู้ที่หลากหลาย

10. เครือข่ายโรงเรียนไทยไท ไม่ควรจำกัดอยู่แค่ ๑๑ โรงเรียน   ควรแสวงหาภาคีที่ดำเนินการเรียนรู้แนวเดียวกันอยู่แล้ว   ขยายการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือ SSS – Success Story Sharing  

 

ผมจบด้วยการย้ำประเด็นสำคัญที่สุดที่ ศ. สุมน ได้กล่าวไว้แล้ว    ว่าหัวใจหรือส่วนสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ คือการเรียนรู้ที่สร้างคนที่มีจิตใจแห่งความรัก ไม่ใช่สร้างคนที่มีจิตใจแห่งความเกลียดชัง    เราต้องช่วยกันสร้างคนที่รักตนเองและรักผู้อื่นให้แก่สังคม 

ตอนพูดก็มีการยกตัวอย่าง ใส่บทเร้าอารมณ์ ฯลฯ   จนการพูด ๑๐ ประเด็นนี้ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที  

ตั้งใจไว้ว่าจะเน้น ครูเพื่อศิษย์ แต่ก็ลืมจนได้

 

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ธ.ค. ๕๑

 

<table border="0"><tbody>

1. เด็กในความเชื่อของครู โรงเรียนจิตตเมตต์

2. ศิลปะ การเล่น การเรียนรู้ ของเด็กอนุบาล 3

3. การนั่งสมาธิ กับการเรียนรู้

4. เรียนรู้ด้วยผัสสะของตนเอง

5. ศิลปะกล่อมเกลาจิตใจ

6. การเรียนรู้บนฐานวัฒนธรรม

</tbody></table></span></span></span> <p class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt;"> </p><p class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt;"></p>  

หมายเลขบันทึก: 232413เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2008 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาอ่านเรื่องดีมีคุณค่าของอาจารย์ค่ะ

   สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงหมอ

         น้องจิก็ไปร่วมงานนี้ด้วย น้องจิไปกับพ่อครูบา ลุงหมอสุธี ลุงเอก ป้าจุ๋ม  แต่ไม่กล้าเข้าไปทักลุงหมอค่ะ กลัวนิดๆ ปีใหม่ขอให้ลุงหมอมีความสุขมากๆนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ...หนูจิ

มาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมห่างจากบล็อกของ สสส. ไปนาน วันนี้เปิดมาอ่านบันทึกของอาจารย์เกี่ยวกับ "การศึกษาเพื่อความเป็นไท" ซึ่งตรงกับการศึกษาที่ผมกำลังปฏิบัติอยู่ สำหรับตัวเองที่ปฏิบัติอยู่ก็เพื่อ "ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสรภาพ" นอกจากปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสรภาพ "จากตัวเอง" แล้ว ผมยังได้นำประสบการณ์ที่ผมประสบมาไปถ่ายทอดแก่เด็ก ๆ ด้วย ผมบันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ในบันทึก "โรงเรียนชีวีเป็นสุข"

อาจารย์อาจจะไม่มีเวลามาตอบบันทึก เพราะอาจารย์มีงานมาก เท่าที่อาจารย์แบ่งเวลามาเขียนบันทึกสู่พวกเราอ่าน ก็นับว่าเป็นบุญของพวกเราแล้ว ที่นำมาเล่าสู่กันฟังนี้ ก็ด้วยหวังว่า "แฟน ๆ" บันทึกของอาจารย์จะแวะไปเยี่ยม "โรงเรียนชีวีเป็นสุข" เพื่อทักทายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้างครับ

ตามอ่านมาตลอด เห็นว่า มีคุณค่า ขออนุญาตนำไปขยายผลนะครับ ขอขอบพระคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท