ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาบุคลากร


ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาบุคลากร

ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาบุคลากร

KM, LO, HRM, HRD, CM, Outsourcing

1. KM  การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

                                การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด   ความรู้มี 2 ประเภท คือ

                1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง เรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

                2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม 

 กระบวนการจัดการความรู้  (Knowledge Management)

                เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้มีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใดและ อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า   กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์   เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน   กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้   เป็นต้น

7. การเรียนรู้ ควรทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

                สรุปได้ว่าการจัดการความรู้  คือ   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการหรือองค์กรเอกชน  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ แต่หากองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆกับการที่บุคลากรที่ลาออกหรือเกษียณอายุราชการ    ความรู้ต่างๆ ก็จะต้องมาเรียนรู้ใหม่หมดในคนรุ่นหลัง  ซึ่งทำให้องค์กรต้องสูญเสียเวลาในจุดนี้  ดังนั้นหากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบ  เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรให้มีความรู้และสามารถที่จะพัฒนาตนเองให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น

2. LO องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization : LO)

                องค์การแห่งการเรียนรู้  เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร  ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก  เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices)  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง (Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 

 องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้  มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้

1.        การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1)       ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ

2)     ประเภทของการเรียนรู้  ได้แก่  การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

3)       ทักษะการเรียนรู้  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ

3.1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)                

3.2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model) 

3.3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)          

3.4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

3.5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) 

3.6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)

2.  องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation)  ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  ได้แก่ วิสัยทัศน์  วัฒนธรรมองค์การ  กลยุทธ์  โครงสร้าง

3.  สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ บุคลากร, ผู้บริหาร / ผู้นำ ,ผู้รับบริการ / ลูกค้า,คู่ค้า,พันธมิตร / หุ้นส่วน,ชุมชน

4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย

1)       การแสวงหาความรู้            2)       การสร้างความรู้

3)       การจัดเก็บความรู้               4)       การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์

5.เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย

1)       เทคโนโลยีสารสนเทศ

2)       เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้

3)       ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน

สรุปได้ว่าเป็นองค์กรที่ถ่ายทอดความรู้ซึ้งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร  ควบคู่กับการรับความรู้จากภายนอก  สำคัญ  คือ  เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด  เพื่อที่จะนำเข้าไปสู่การพัฒนาองค์กร  และสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็งขององค์กร  เพื่อที่จะส่งผลในการพัฒนาองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้ามาก

3. HRM 

โดยการจัดหาคนเพื่อจัดอบรม ฝึกทักษะ การพัฒนาตัวบุคลากรในองค์กรเพื่อให้พนักงานอยู่ได้นานลดการจ้างงาน ลดการเข้า-ออกในองค์กรบ่อยครั้ง สามารถเพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการที่มีความพึงพอใจต่อลูกค้าได้

สรุปได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อที่จะให้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การให้มากที่สุด

 4. HRD.  การวางแผนเชิงยุทธ์และการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงยุทธ์       

                คือ  การตัดสินใจขององค์กรเกี่ยวกับภาระหน้าที่และวิธีการ  ที่จะนำองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จ   เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับเป้าหมายกลยุทธ์  เพื่อปรับปรุงสมรรถนะขององค์กร  ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ  และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

องค์ประกอบที่สำคัญของ HRD

1.การพัฒนารายบุคคล (Individual Development ) หมายถึงการวิเคราะห์ความจำเป็นรายบุคคลในส่วนของ  ความสนใจ ค่านิยม ความสามารถ เพื่อที่จะนำไปวางแผนพัฒนาให้มีความรู้ ทักษะ เพื่องานในอนาคต ซึ่งส่วนนี้มักเรียกว่าการพัฒนาบุคคล (Development)

2. การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)   โดยมีเป้าหมายเพื่อประกันหรือรับรองว่าบุคลากรจะต้องมี ความรู้ ทักษะ มีแรงจูงใจ และมีสภาพแวดล้อมที่ดีในการสนับสนุนให้บุคลากรสร้างผลงานได้อย่างเกิดผลสัมฤทธิ์

3. การพัฒนาองค์กร (Organization ) หมายถึงการแก้ไขปัญหาขององค์กร การปรับปรุงหรือวางระบบโครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การกำหนดกลยุทธ์ กระบวนการบริหารงาน และภาวะผู้นำ  ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้จนเกิดความรู้ความเข้าใจแล้วสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันขององค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กล่าวคือทั้งในระดับบุคคล และภาพรวมองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนขององค์กรต่อไป

สรุปได้ว่าHRM คือ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์และกับเป้าหมายกลยุทธ์เพื่อที่จะใช้ในการปรับปรุงสมรรณะขององค์กร  ให้เกิดความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ  ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

5 .CM  Category Management : CM
                คือ กระบวนการในการร่วมมือกันระหว่าง ผู้ผลิต (Supplier) และผู้จำหน่าย (Retailer) ในการจัดการบริหาร Category ให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจร่วมกัน โดยจะมุ่งเน้นที่การนำคุณค่าไปสู่ผู้บริโภค

แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการ Category Management
1) การกำหนดคำจำกัดความ         

2) การกำหนดบทบาท
3) การประเมิน                                       

4) การกำหนดวิธีการประเมินผล
5) การกำหนดกลยุทธ์                  

6) การกำหนดกลวิธี
7) การวางแผนการดำเนินงาน     

8) การดำเนินการ และประเมินผล
9) การพิจารณาและตรวจสอบ
                สรุปได้ว่า  กระบวนการจัดการด้านบริหาร  และการประเมินผลต่างๆ  ที่จะเกิดกับบริษัทหรือองค์กรการทำงานของท่านเอง  จะเป็นส่วนหนึ่งของงานโดยตรง  ผู้ที่จะใช้ในการบริหารสินค้าในห้างร้านคือ  ผู้บริหารสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์   ให้มีขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ

6.  การจัดหาจากภายนอก (Outsourcing)
                เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ ซึ่งเคยถูกดำเนินการภายในองค์กร มาเป็นการจัดหาจากแหล่งภายนอกแทน (Outsourcing) ซึ่งจะทำให้องค์กรมีขนาดเล็กลงแต่คล่องตัวขึ้น ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆลงได้ และสามารถเน้นการดำเนินการเฉพาะแต่กิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัดจัดเจน  ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน           

               สรุปได้ว่า  เป็นการบริการที่สามารถเน้นกิจกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับการทุ่นกำลังคนและทรัพยากรไปที่ธุรกิจที่มีความชำนาญ  และสามารถที่จะทำให้ธุรกิจมีความอยู่รอดและมีความเจริญก้าวหน้าต่อไป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 232095เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2008 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท