ทบทวนกระบวนทัศน์...ม.มหิดล - ม. แห่งภูมิปัญหาของแผ่นดิน


ขอปรบมือให้กับทีมสภามหาวิทยาลัย ทีมอธิการบดี และทีมสภาคณาจารย์ ที่ช่วยสร้างสรรค์ Harmony in Diversity ให้กับประชาคม ม.มหิดล

ประเด็นที่ได้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของ ม.มหิดล ตลอด 1 ปีแห่งการเป็น ม.ในกำกับของรัฐ มีดังนี้

  • Governance Function ของสภามหาวิทยาลัย คือ การกำกับ การตรวจสอบ และการเกื้อหนุนให้ฝ่ายบริหารทำงานสอดคล้องกับฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งต้องเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของสถาบันร่วมกันระหว่างอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา
  • Generative Function ของฝ่ายสภาฯ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายปฏิบัติการ คือ การสร้างสรรค์โอกาสให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและวิจัยสู่การช่วยเหลือสังคมไทยและนานาชาติ
  • ม.ในกำกับ เกิด More Freedom More Accountability Less Money ทำให้ ม.มหิดล ต้องสร้างกระบวนทัศน์ให้ประชาคมรู้จักดึงสมบัติทางปัญญาของแต่ละคนมาสร้างสรรค์วิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมไทยและนานาชาติ ถือเป็นโอกาสสร้างกำไรที่ไม่จำกัดมูลค่าเพื่อการพัฒนาตนเอง (องค์กร)
  • ม.มหิดล ขาดความสมบูรณ์ของการมีคณะนิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ บัญชี และต้องรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายด้านการสาธารณสุขเป็นจำนวนมากเพราะมี รพ. ใน ม.มหิดล ที่ช่วยเหลือผู้คนจำนวนมากที่มีฐานะปานกลางถึงยากไร้ ค่าหน่วยกิตต่ำกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบหลักสูตรเดียวกัน แต่โชคดีที่มีคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมสู่สังคมและนานาชาติมากมายในรอบปี
  • การใช้เวลาเรียนรู้และปรับตัวต่อโครงสร้าง ระเบียบ ข้อบังคับ และทีมผู้บริหาร ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ หรือ/และ เปลี่ยนแปลงตามปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และแต่ละบุคคล
  • คนทุกคนควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยธรรมชาติ - Individual Social Responsibility (ISR) เน้นสัมพันธภาพทางสังคมที่เกื้อกูลกัน มุ่งมั่น สร้างสรรค์ ไว้ใจกัน เข็มแข็ง สามัคคี พัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างยั้งยืนแน่นอน - Corporate Social Responsibility (CSR)
  • คนเราต้องไว้ใจกัน แม้ว่าจะชังกัน ...ไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และพัฒนาจิตใจตนเองให้บริสุทธิ์ คิดด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานของ "คิดดี พูดดี ทำดี" ...คุณค่ามหาศาลของการพัฒนาจิตใจเชิงลึกให้กับทุกฝ่ายขององค์กรเพื่อการพัฒนากระบวนทัศน์ที่ยั้งยืน
  • การสร้าง Cuture of Peace มีความสำคัญมากกว่าค้นหาสันติวิธี ประชาคม ม.มหิดล ต้องรู้จักชี้แนะสังคมแบบเย็นมากกว่าแบบร้อน เพราะการชี้แนะแบบร้อนย่อมยากแก่การเปลี่ยนทัศนคติของคนที่ไม่ยืดหยุ่นทางความคิด หากเรื่องเย็นจะค่อยๆปรับเปลี่ยนแบบไม่รู้สึกว่าชี้นำจากผู้นำที่มีคุณธรรมอย่างลึกซึ้ง
  • ไม่มีใครในโลกนี้ที่คนเราไม่รัก ไม่ไว้วางใจ และไม่ให้อภัย ......คำคมของความเชื่อคุณความดีแห่งมนุษย์

 

หมายเลขบันทึก: 231753เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับอาจารย์ รูปแบบก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่การสร้างความเข้าใจของคนนี่ยากกว่า เพราะต้องไปกระทบกับวิถีชีวิตเดิม แต่หากทุกคนมี "Individual Social Responsibility (ISR) เน้นสัมพันธภาพทางสังคมที่เกื้อกูลกัน มุ่งมั่น สร้างสรรค์ ไว้ใจกัน เข็มแข็ง สามัคคี พัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างยั้งยืนแน่นอน - Corporate Social Responsibility (CSR)" อย่างที่อาจารย์เขียนไว้ ผมเชื่อว่าการขับเคลื่อนของ ม.มหิดล จะพุ่งไปอย่างมีพลัง และทิศทางที่ชัดเจนแน่นอนครับ

ขอบคุณครับคุณเอกราช

ผมก็เชื่อมั่นว่า ม.มหิดล จะมีพลังมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ

ส.ค.ส. ปีใหม่แด่คุณเอกราชครับ

มาเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

100p_6.gif

ขอบคุณมากครับ Krutoi

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท